เกาะติดคนพิการด้วยแม่ฮ่องสอนโมเดล

แสดงความคิดเห็น

จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ร่วมกับทุกภาคส่วนราชการ จัดการเสวนาแม่ฮ่องสอนโมเดล

วันที่(5พ.ย.) ที่ศูนย์ส่งเสริมและจัดสวัสดิการสังคมระดับชุมชนแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ร่วมกับทุกภาคส่วนราชการและผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 8 ท้องถิ่นในอำเภอแม่ลาน้อยและสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จัดการเสวนาแม่ฮ่องสอนโมเดล สู่การยกระดับการพัฒนาการเรียนรู้เด็กพิการสู่การพัฒนาคนทุกช่วงวัย โดยการบูรณาการเชื่อมโยงความร่วมมือจากทุกภาคส่วนด้วยระบบสารสนเทศ

นายวิรุฬ พรรณเทวี รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ความร่วมมือที่เกิดขึ้นจากทุกภาคส่วนเพื่อดูแลเด็กและผู้สูงวัยด้อยโอกาสนั้น ไม่อยากให้มองเป็นการสงเคราะห์ แต่ต้องมองว่าเป็นการหาวิธีสร้างความเข้มแข็ง และสร้างความตระหนักให้เห็นว่าชาวแม่ฮ่องสอนทุกคนรวมถึงคนพิการสามารถสร้างประโยชน์ให้แผ่นดินได้

นายเอนก ไชยวงค์ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า จากสถิติประเทศไทยมีประชากรพิการทั้งประเทศ 1,859,200 คน พบคนพิการในแม่ฮ่องสอนจำนวน 6,066 คน คิดเป็น 0.33% และมีประชากรเด็กพิการด้อยโอกาสสูงสุดจังหวัดหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งขาดโอกาสเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานจากหน่วยงานภาครัฐ จึงเป็นที่มาของการค้นหานวัตกรรมช่วยเหลือเด็กพิการ จึงเป็นที่มาของการเกิด “แม่ฮ่องสอนโมเดล” ซึ่งมีจุดเด่นในการใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศส่งต่อข้อมูลเด็กพิการด้อยโอกาสอย่างบูรณาการในทุกภาคส่วน โดยความร่วมมือของสสค.และม.นเรศวร ทำให้เด็กพิการด้อยโอกาสจำนวน 300 คนถูกค้นพบและได้รับโอกาสขั้นพื้นฐานตั้งแต่ปี 2555 ถือว่าเป็นการสร้างโอกาสให้แก่เด็กพิการทางการศึกษาเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าในปี 2558

นายอเนก กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาได้มีการขยายผลการทำงานตั้งแต่การเปิดศูนย์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กพิการด้อยโอกาสแบบมีส่วนร่วมในอำเภอแม่สะเรียง อำเภอปาย และอำเภอปางมะผ้า และล่าสุดในวันนี้คือการยกระดับการบูรณาการเพื่อคนทุกช่วงวัยด้วยการเปิด “ศูนย์ส่งเสริมและจัดสวัสดิการสังคมระดับชุมชนแม่ลาน้อย และห้องศูนย์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กพิการด้วยโอกาสแบบมีส่วนร่วมอำเภอแม่ลาน้อย” เพื่อดูแลเด็กพิการในอำเภอแม่ลาน้อยเพิ่มขึ้นอีก 24 คน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลเด็กพิการและคนพิการร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.)แม่ฮ่องสอน เพื่อให้สามารถดูแลและพัฒนาคนพิการได้ทุกช่วงวัย

นางนฤมล ปาลวัฒน์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ในฐานะอดีตคุณยายผู้ว่าฯ พบว่า เด็กแม่ฮ่องสอนทุก 5 คน จะเป็นเด็กพิเศษ 1 คน ครั้งแรกที่เริ่มทำเรื่องนี้ ไม่เคยคิดว่า ต้องได้รับความสนใจจากส่วนกลาง หรือจากองค์กรต่างประเทศ แต่ต้องการให้ประชาชนเป็นตัวตั้ง ในฐานะที่เราเป็นแม่ เมื่อลูกเกิดมาเป็นเด็กพิเศษ เราต้องเสียกำลังคนที่ใช้ในการดูแล ในความคิดของคุณยายผู้ว่าฯ จึงคิดว่าเราน่าจะช่วยเหลือกัน จึงเป็นที่มาในการสร้างแม่ฮ่องสอนโมเดล และการขยายผลการทำงานต่อเนื่องยั่งยืน

ทั้งนี้ได้มีการลงบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการจัดตั้งห้องเรียนเพื่อพัฒนาเด็กพิการด้อยโอกาสแบบมีส่วนร่วมระหว่างเทศบาลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อยกับศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอนด้วย พร้อมกับการเปิดศูนย์ส่งเสริมและจัดสวัสดิการสังคมระดับชุมชนแม่ลาน้อย และห้องศูนย์การเรียนรู้เพื่อเด็กพิการด้อยโอกาสแบบมีส่วนร่วมอำเภอแม่ลาน้อย

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/359011 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 พ.ย.58
วันที่โพสต์: 9/11/2558 เวลา 12:05:07 ดูภาพสไลด์โชว์ เกาะติดคนพิการด้วยแม่ฮ่องสอนโมเดล

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ร่วมกับทุกภาคส่วนราชการ จัดการเสวนาแม่ฮ่องสอนโมเดล วันที่(5พ.ย.) ที่ศูนย์ส่งเสริมและจัดสวัสดิการสังคมระดับชุมชนแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ร่วมกับทุกภาคส่วนราชการและผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 8 ท้องถิ่นในอำเภอแม่ลาน้อยและสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จัดการเสวนาแม่ฮ่องสอนโมเดล สู่การยกระดับการพัฒนาการเรียนรู้เด็กพิการสู่การพัฒนาคนทุกช่วงวัย โดยการบูรณาการเชื่อมโยงความร่วมมือจากทุกภาคส่วนด้วยระบบสารสนเทศ นายวิรุฬ พรรณเทวี รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ความร่วมมือที่เกิดขึ้นจากทุกภาคส่วนเพื่อดูแลเด็กและผู้สูงวัยด้อยโอกาสนั้น ไม่อยากให้มองเป็นการสงเคราะห์ แต่ต้องมองว่าเป็นการหาวิธีสร้างความเข้มแข็ง และสร้างความตระหนักให้เห็นว่าชาวแม่ฮ่องสอนทุกคนรวมถึงคนพิการสามารถสร้างประโยชน์ให้แผ่นดินได้ นายเอนก ไชยวงค์ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า จากสถิติประเทศไทยมีประชากรพิการทั้งประเทศ 1,859,200 คน พบคนพิการในแม่ฮ่องสอนจำนวน 6,066 คน คิดเป็น 0.33% และมีประชากรเด็กพิการด้อยโอกาสสูงสุดจังหวัดหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งขาดโอกาสเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานจากหน่วยงานภาครัฐ จึงเป็นที่มาของการค้นหานวัตกรรมช่วยเหลือเด็กพิการ จึงเป็นที่มาของการเกิด “แม่ฮ่องสอนโมเดล” ซึ่งมีจุดเด่นในการใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศส่งต่อข้อมูลเด็กพิการด้อยโอกาสอย่างบูรณาการในทุกภาคส่วน โดยความร่วมมือของสสค.และม.นเรศวร ทำให้เด็กพิการด้อยโอกาสจำนวน 300 คนถูกค้นพบและได้รับโอกาสขั้นพื้นฐานตั้งแต่ปี 2555 ถือว่าเป็นการสร้างโอกาสให้แก่เด็กพิการทางการศึกษาเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าในปี 2558 นายอเนก กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาได้มีการขยายผลการทำงานตั้งแต่การเปิดศูนย์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กพิการด้อยโอกาสแบบมีส่วนร่วมในอำเภอแม่สะเรียง อำเภอปาย และอำเภอปางมะผ้า และล่าสุดในวันนี้คือการยกระดับการบูรณาการเพื่อคนทุกช่วงวัยด้วยการเปิด “ศูนย์ส่งเสริมและจัดสวัสดิการสังคมระดับชุมชนแม่ลาน้อย และห้องศูนย์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กพิการด้วยโอกาสแบบมีส่วนร่วมอำเภอแม่ลาน้อย” เพื่อดูแลเด็กพิการในอำเภอแม่ลาน้อยเพิ่มขึ้นอีก 24 คน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลเด็กพิการและคนพิการร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.)แม่ฮ่องสอน เพื่อให้สามารถดูแลและพัฒนาคนพิการได้ทุกช่วงวัย นางนฤมล ปาลวัฒน์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ในฐานะอดีตคุณยายผู้ว่าฯ พบว่า เด็กแม่ฮ่องสอนทุก 5 คน จะเป็นเด็กพิเศษ 1 คน ครั้งแรกที่เริ่มทำเรื่องนี้ ไม่เคยคิดว่า ต้องได้รับความสนใจจากส่วนกลาง หรือจากองค์กรต่างประเทศ แต่ต้องการให้ประชาชนเป็นตัวตั้ง ในฐานะที่เราเป็นแม่ เมื่อลูกเกิดมาเป็นเด็กพิเศษ เราต้องเสียกำลังคนที่ใช้ในการดูแล ในความคิดของคุณยายผู้ว่าฯ จึงคิดว่าเราน่าจะช่วยเหลือกัน จึงเป็นที่มาในการสร้างแม่ฮ่องสอนโมเดล และการขยายผลการทำงานต่อเนื่องยั่งยืน ทั้งนี้ได้มีการลงบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการจัดตั้งห้องเรียนเพื่อพัฒนาเด็กพิการด้อยโอกาสแบบมีส่วนร่วมระหว่างเทศบาลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อยกับศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอนด้วย พร้อมกับการเปิดศูนย์ส่งเสริมและจัดสวัสดิการสังคมระดับชุมชนแม่ลาน้อย และห้องศูนย์การเรียนรู้เพื่อเด็กพิการด้อยโอกาสแบบมีส่วนร่วมอำเภอแม่ลาน้อย ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/359011

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...