ชวนประกวดนวัตกรรมเพื่อคนตาบอดลุ้นต่อยอดเชิงพาณิชย์

แสดงความคิดเห็น

สมาคมหุ่นยนต์ฯ-มจพ.-มูลนิธิช่วยคนตาบอด-ซีเกท ผนึกกำลังจัดการแข่งขันนวัตกรรมเพื่อคนพิการครั้งที่ 2 ประจำปี 58 ภายใต้หัวข้อ "นวัตกรรมเพื่อผู้พิการทางสายตา"

สมาคมหุ่นยนต์ฯ-มจพ.-มูลนิธิช่วยคนตาบอด-ซีเกท ผนึกกำลังจัดการแข่งขันนวัตกรรมเพื่อคนพิการครั้งที่ 2 ประจำปี 58 ภายใต้หัวข้อ "นวัตกรรมเพื่อผู้พิการทางสายตา" ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ พร้อมเงินรางวัลกว่า 3 แสนบาท เฟ้นหาสุดยอดไอเดียเพื่อผู้พิการทางสายตาลุ้นต่อยอดเชิงพาณิชย์ พร้อมสิทธิ์แข่งขันต่อเวทีนานาชาติ i-CREATEd สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 29 ก.พ. 59

สมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.), มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ และบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จัดการประกวด "นวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการครั้งที่ 2" ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ห้องเกียรติยศ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ถ.ราชวิถี กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 20 ต.ค.58

น.ส.ศิริรัตน์ เอี่ยวผดุง รองประธานฝ่ายปฏิบัติการโรงงานเทพารักษ์ บ.ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากที่ผ่านมาที่ซีเกทฯ ได้สนับสนุนการการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทยในระดับอุดมศึกษาผ่านการแข่งขันหุ่นยนต์หลายรายการ เช่น หุ่นยนต์เตะฟุตบอล หุ่นยนต์กู้ภัย ทำให้เห็นความสามารถของเด็กไทยที่ไม่แพ้ชาติใดในโลก

เพื่อคืนประโยชน์สู่สังคม ซีเกทจึงมีแนวคิดที่ส่งเสริมให้เกิดการประดิษฐ์หุ่นยนต์สำหรับผู้พิการขึ้น จึงร่วมมือกับสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ประเทศไทยจัดประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการขึ้นเป็นครั้งแรกใน ปี '57 ที่ผ่านมาในหัวข้อ "นวัตกรรมสำหรับผู้พิการอัมพาตครึ่งซีก" ซึ่งได้รับการตอบรับและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ในปีนี้จึงได้จัดการประกวดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยเน้นไปที่นวัตกรรมเพื่อผู้พิการทางสายตา โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์เพิ่มเติม

รศ.ดร.สัญญา มิตรเอม นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การแข่งขันในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมคนพิการเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้พิการทางสายตา เพราะในปัจจุบันประเทศไทยยังมีสิ่งอำนวยความสะดวก หรือสิ่งก่อสร้างที่เอื้อต่อการดำเนินชีวิตด้วยตัวเองของคนตาบอดในสังคมน้อยมาก ทำให้ผู้พิการทางสายตาส่วนใหญ่ไม่กล้าออกจากบ้านหรือใช้ชีวิตอย่างอิสระ ซึ่งการร่วมมือระหว่างอาจารย์และนักศึกษาผู้มีความเชี่ยวชาญและสนใจในหุ่นยนต์ครั้งนี้ น่าจะเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ผลักดันให้เกิดนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีต้นแบบสำหรับผู้พิการทางสายตาขึ้นในสังคมไทย

ด้าน นายรักศักดิ์ ชัยรัญจวนสกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ ตัวแทนผู้พิการทางสายตา เผยแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า ปัญหาสำคัญของสิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีเพื่อผู้พิการทางสายตาในปัจจุบัน นอกจากจะมีไม่เพียงพอแล้ว ยังเข้าถึงยากด้วย เพราะเทคโนโลยีส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศซึ่งผู้พิการที่เข้าถึงได้จะต้องมีทั้งทักษะภาษาและกำลังเงิน

"ในฐานะตัวแทนของผู้พิการทางสายตา ผมรู้สึกตื่นเต้นและยินดีที่ได้ทราบว่าจะมีโครงการแบบนี้เกิดขึ้น เพราะปัจจุบันในประเทศไทยมีคนตาบอดที่ลงทะเบียนการเป็นผู้พิการกับกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตมากถึง 189,407 คน ในขณะที่นวัตกรรมเพื่อคนพิการจากฝีมือคนไทยยังมีไม่มากนัก ผมขอเป็นกำลังใจให้กับนักประดิษฐ์ทุกคน และคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีนวัตกรรมที่ถูกต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น"ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯกล่าว

สำหรับรายละเอียดการแข่งขัน รศ.ดร.ภูดิส ลักษณะเจริญ ประธานจัดการแข่งขัน และตัวแทนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เผยว่า ผู้เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นต้นไป หรือจะเป็นนิสิต นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับอาชีวศึกษา อุดมศึกษาหรือบัณฑิตศึกษาก็ได้ โดยต้องอยู่ในสถาบันเดียวกันเท่านั้น โดยจะรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการทีมละ 3คนพร้อมอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ1คนตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่29ก.พ.59

โดยมีโจทย์การออกแบบใน 4 ลักษณะดังนี้ 1.นวัตกรรมระบุสีสำหรับชีวิตประจำวัน เช่น การเลือกสีเสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ 2.นวัตกรรมระบุตำแหน่งสิ่งของและแจ้งเตือนการสูญหาย เช่น นวัตกรรมเตือนเมื่อมีสิ่งของหล่นจากกระเป๋า 3.นวัตกรรมการแจ้งเตือนสิ่งกีดขวางในระดับสูงกว่าพื้น และ4.นวัตกรรมอำนวยความสะดวกในการเดินทางเช่นนวัตกรรมระบุหมายเลขประเภทและเส้นทางของรถโดยสารประจำทาง

การแข่งขันรอบคัดเลือกจะเริ่มขึ้นในวันที่ 20 มี.ค.59 และแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในวันที่ 21 มี.ค.59 โดยทีมที่ชนะเลิศอันดับ 1 จะได้รับรางวัลเป็นเงินสดมูลค่า 150,000 บาทพร้อมถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และได้รับสิทธิ์เป็นตัวแทนเยาวชนไทยเข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติ International Convention on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology (i-CREATe) ในปี '59นี้ด้วย

ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนและสมัครเข้าร่วมการแข่งขันทางออนไลน์ได้ที่ http://www.tiatch.com โดยสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊ก : tiatch.com

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9580000117335 (ขนาดไฟล์: 168)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ต.ค.58
วันที่โพสต์: 21/10/2558 เวลา 11:14:24 ดูภาพสไลด์โชว์ ชวนประกวดนวัตกรรมเพื่อคนตาบอดลุ้นต่อยอดเชิงพาณิชย์

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สมาคมหุ่นยนต์ฯ-มจพ.-มูลนิธิช่วยคนตาบอด-ซีเกท ผนึกกำลังจัดการแข่งขันนวัตกรรมเพื่อคนพิการครั้งที่ 2 ประจำปี 58 ภายใต้หัวข้อ "นวัตกรรมเพื่อผู้พิการทางสายตา" สมาคมหุ่นยนต์ฯ-มจพ.-มูลนิธิช่วยคนตาบอด-ซีเกท ผนึกกำลังจัดการแข่งขันนวัตกรรมเพื่อคนพิการครั้งที่ 2 ประจำปี 58 ภายใต้หัวข้อ "นวัตกรรมเพื่อผู้พิการทางสายตา" ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ พร้อมเงินรางวัลกว่า 3 แสนบาท เฟ้นหาสุดยอดไอเดียเพื่อผู้พิการทางสายตาลุ้นต่อยอดเชิงพาณิชย์ พร้อมสิทธิ์แข่งขันต่อเวทีนานาชาติ i-CREATEd สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 29 ก.พ. 59 สมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.), มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ และบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จัดการประกวด "นวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการครั้งที่ 2" ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ห้องเกียรติยศ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ถ.ราชวิถี กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 20 ต.ค.58 น.ส.ศิริรัตน์ เอี่ยวผดุง รองประธานฝ่ายปฏิบัติการโรงงานเทพารักษ์ บ.ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากที่ผ่านมาที่ซีเกทฯ ได้สนับสนุนการการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทยในระดับอุดมศึกษาผ่านการแข่งขันหุ่นยนต์หลายรายการ เช่น หุ่นยนต์เตะฟุตบอล หุ่นยนต์กู้ภัย ทำให้เห็นความสามารถของเด็กไทยที่ไม่แพ้ชาติใดในโลก เพื่อคืนประโยชน์สู่สังคม ซีเกทจึงมีแนวคิดที่ส่งเสริมให้เกิดการประดิษฐ์หุ่นยนต์สำหรับผู้พิการขึ้น จึงร่วมมือกับสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ประเทศไทยจัดประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการขึ้นเป็นครั้งแรกใน ปี '57 ที่ผ่านมาในหัวข้อ "นวัตกรรมสำหรับผู้พิการอัมพาตครึ่งซีก" ซึ่งได้รับการตอบรับและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ในปีนี้จึงได้จัดการประกวดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยเน้นไปที่นวัตกรรมเพื่อผู้พิการทางสายตา โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์เพิ่มเติม รศ.ดร.สัญญา มิตรเอม นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การแข่งขันในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมคนพิการเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้พิการทางสายตา เพราะในปัจจุบันประเทศไทยยังมีสิ่งอำนวยความสะดวก หรือสิ่งก่อสร้างที่เอื้อต่อการดำเนินชีวิตด้วยตัวเองของคนตาบอดในสังคมน้อยมาก ทำให้ผู้พิการทางสายตาส่วนใหญ่ไม่กล้าออกจากบ้านหรือใช้ชีวิตอย่างอิสระ ซึ่งการร่วมมือระหว่างอาจารย์และนักศึกษาผู้มีความเชี่ยวชาญและสนใจในหุ่นยนต์ครั้งนี้ น่าจะเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ผลักดันให้เกิดนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีต้นแบบสำหรับผู้พิการทางสายตาขึ้นในสังคมไทย ด้าน นายรักศักดิ์ ชัยรัญจวนสกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ ตัวแทนผู้พิการทางสายตา เผยแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า ปัญหาสำคัญของสิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีเพื่อผู้พิการทางสายตาในปัจจุบัน นอกจากจะมีไม่เพียงพอแล้ว ยังเข้าถึงยากด้วย เพราะเทคโนโลยีส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศซึ่งผู้พิการที่เข้าถึงได้จะต้องมีทั้งทักษะภาษาและกำลังเงิน "ในฐานะตัวแทนของผู้พิการทางสายตา ผมรู้สึกตื่นเต้นและยินดีที่ได้ทราบว่าจะมีโครงการแบบนี้เกิดขึ้น เพราะปัจจุบันในประเทศไทยมีคนตาบอดที่ลงทะเบียนการเป็นผู้พิการกับกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตมากถึง 189,407 คน ในขณะที่นวัตกรรมเพื่อคนพิการจากฝีมือคนไทยยังมีไม่มากนัก ผมขอเป็นกำลังใจให้กับนักประดิษฐ์ทุกคน และคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีนวัตกรรมที่ถูกต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น"ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯกล่าว สำหรับรายละเอียดการแข่งขัน รศ.ดร.ภูดิส ลักษณะเจริญ ประธานจัดการแข่งขัน และตัวแทนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เผยว่า ผู้เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นต้นไป หรือจะเป็นนิสิต นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับอาชีวศึกษา อุดมศึกษาหรือบัณฑิตศึกษาก็ได้ โดยต้องอยู่ในสถาบันเดียวกันเท่านั้น โดยจะรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการทีมละ 3คนพร้อมอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ1คนตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่29ก.พ.59 โดยมีโจทย์การออกแบบใน 4 ลักษณะดังนี้ 1.นวัตกรรมระบุสีสำหรับชีวิตประจำวัน เช่น การเลือกสีเสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ 2.นวัตกรรมระบุตำแหน่งสิ่งของและแจ้งเตือนการสูญหาย เช่น นวัตกรรมเตือนเมื่อมีสิ่งของหล่นจากกระเป๋า 3.นวัตกรรมการแจ้งเตือนสิ่งกีดขวางในระดับสูงกว่าพื้น และ4.นวัตกรรมอำนวยความสะดวกในการเดินทางเช่นนวัตกรรมระบุหมายเลขประเภทและเส้นทางของรถโดยสารประจำทาง การแข่งขันรอบคัดเลือกจะเริ่มขึ้นในวันที่ 20 มี.ค.59 และแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในวันที่ 21 มี.ค.59 โดยทีมที่ชนะเลิศอันดับ 1 จะได้รับรางวัลเป็นเงินสดมูลค่า 150,000 บาทพร้อมถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และได้รับสิทธิ์เป็นตัวแทนเยาวชนไทยเข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติ International Convention on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology (i-CREATe) ในปี '59นี้ด้วย ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนและสมัครเข้าร่วมการแข่งขันทางออนไลน์ได้ที่ http://www.tiatch.com โดยสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊ก : tiatch.com ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9580000117335

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...