รู้ทันพฤติกรรม ‘สตอล์คเกอร์’

แสดงความคิดเห็น

การเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์กในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นและมีผู้สนใจ เล่นกันเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีการโพสต์ การแชร์ข้อมูลต่าง ๆ ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กมากมายทั้งเรื่องในแง่บวกและแง่ลบที่สามารถเข้าถึง กลุ่มผู้เล่นอย่างกว้างขวาง และด้วยความยอดนิยมไม่รู้ว่าใครเป็นใครเหล่านี้เองได้ก่อให้เกิดผู้ที่มี พฤติกรรมหนึ่งที่เราเรียกว่า “สต๊อกเกอร์” มาติดตามสอดส่องเป้าหมายเพื่อวัตถุประสงค์ที่ดีและไม่ดี บางครั้งอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตของผู้เล่นที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์

รศ.ดร.เจริญศรี มิตรภานนท์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร.เจริญศรี มิตรภานนท์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล มีหลักสูตรไอซีที นานา ชาติ ระดับปริญญาตรี โท เอก หลักสูตรระดับ ปริญญาตรี ที่มีความโดดเด่น เช่น ระบบฐานข้อมูลและระบบเชิงฉลาด วิศวกรรมซอฟต์แวร์ ระบบเครือข่ายสื่อสาร ระบบสื่อผสม ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ มีนักศึกษาด้านไอซีที กว่า 800 คน มีผลงานโดดเด่นระดับชาติและนานาชาติจำนวนมาก สถาบันมุ่งเน้นส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเด็กไทยที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจใน วิชาชีพด้าน ไอซีที หรือทางด้านคอมพิวเตอร์สู่สากล จึงมีหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมกับให้ความรู้ในเรื่องการสะกดรอยตามบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก หรือ ไซเบอร์ สต๊อกเกอร์ จากการโพสต์ว่า “ดึกแล้วนอนดีกว่า”, “พรุ่งนี้จะได้ไปเที่ยวต่างจังหวัดแล้ว เย้!!”, “ได้กระเป๋าใหม่สุดหรูอะ!!” ซึ่งข้อความเหล่านี้เป็นข้อความที่พบเห็นได้ทั่วไปในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ผู้โพสต์ข้อความอาจไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบและความสุ่มเสี่ยงที่เกิดขึ้นจาก การโพสต์ข้อความเหล่านี้

เมื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ก อันเป็นนวัตกรรมที่สำคัญของวงการไอที กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของสังคมปัจจุบัน เกิดเป็นช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลาย ทำให้มีอัตราการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งในกลุ่มเด็ก เยาวชน และผู้อยู่ในวัยทำงาน ที่มากกว่านั้น โซเชียลเน็ตเวิร์กได้เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือไปอย่างสิ้นเชิง โดยโซเชียลเน็ตเวิร์กได้สร้างพฤติกรรมการ “แชร์” ให้กลายเป็นเรื่องที่ผู้ใช้รู้สึกสนุกสนานกับการได้แบ่งปันสิ่งต่าง ๆ ให้กับ “เพื่อน” ทั้งที่รู้จักในโลกแห่งความเป็นจริงและอาจไม่ได้รู้จักเลยแต่มีเพียงสถานะ ความเป็นเพื่อนในโลกแห่งโซเชียลเน็ตเวิร์กให้สามารถรู้ทุกความเคลื่อนไหวของเราได้จากการแชร์ของเรานี้เอง เช่น การโพสต์ข้อความบอกสถานที่ที่กำลังจะไปหรือแม้กระทั่งการโพสต์เรื่องส่วนตัว

รู้ทันพฤติกรรม ‘สตอล์คเกอร์’ เมื่อผู้คนเริ่มแสดงออกเรื่องส่วนตัวมากขึ้น เปิดเผยตัวเองมากขึ้นเพื่อให้คนอื่นมาสนใจเรื่องของตัวเองด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การคอมเมนต์ การแชร์รูป การโพสต์สถานะว่าทำอะไร คิดอะไร หรืออยู่ที่ไหน ทำให้กลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่ง คือพวกสะกดรอยตามหรือ ไซเบอร์ สต๊อกเกอร์ ที่แฝงตัวอยู่ในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กคอยติดตามความเคลื่อนไหวของเราได้จาก สิ่งที่เราแชร์หรือโพสต์ในโซเชียลเน็ตเวิร์กนั่นเอง ซึ่งพฤติกรรมของการติดตามนี้เรียกว่า ไซเบอร์ สต๊อกเกอร์ หรือการสะกดรอยตามบนโลกไซเบอร์ เพราะปัจจุบันผู้ใช้บางส่วนเริ่มแยกแยะไม่ออกว่าเรื่องใดควรเปิดเผยหรือไม่ควรเปิดเผย และควรเปิดเผยกับใครหรือไม่ควรเปิดเผยกับใคร ด้วยความนิยมโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟน จึงกลายเป็นปัจจัยในการกระตุ้นให้ มีการแชร์บนโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กมากขึ้นเพราะผู้ใช้สามารถแชร์สิ่งต่าง ๆ ได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันความสามารถในการระบุพิกัดตำแหน่งโลเกชั่นของผู้ใช้จากสมาร์ทโฟนด้วยสัญญาณจีพีเอสกลายเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ไม่ยากนัก จากจุดนี้ทำให้ไซเบอร์ สต๊อกเกอร์ ทั้งหลายสามารถสะกดรอยตามได้ง่ายขึ้น

เราสามารถตกเป็นเหยื่อของพวกไซเบอร์ สต๊อกเกอร์ ได้หากมีพฤติกรรมการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก ดังนี้ 1.มีเพื่อนเยอะไว้ก่อน ใครมาขอแอดเป็นเพื่อนก็ตอบตกลงหมดทุกคน บางครั้งไม่เคยเจอหน้ากัน เพียงแต่เป็นเพื่อนของเพื่อนก็รับเป็นเพื่อนหมด บางครั้งรายชื่อเพื่อนในโซเชียลเน็ตเวิร์กที่มีเป็นร้อย ๆ เราก็รู้จักกันจริงเพียงไม่กี่คน ดังนั้นเมื่อเรามีการโพสต์เรื่องส่วนตัวลงไป เท่ากับกำลังบอกเรื่องส่วนตัวกับผู้คนหลายร้อยคนให้ได้รับรู้ และอีกหลายพันคนที่เป็นเพื่อนของเพื่อนที่เราไม่รู้จัก ซึ่งถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะในชีวิตจริงเรายังต้องระวังในการบอกเรื่องบางเรื่องกับคนรอบข้าง แต่กลับไม่ระวังในการโพสต์เรื่องส่วนตัวในโลกโซเชียล เน็ตเวิร์กให้กับผู้คนที่เราไม่รู้จักเลยหรือรู้จักเพียงผิวเผินรับรู้ 2. ติดและชอบการเช็กอินตลอดเวลา ซึ่งการเช็กอิน คือ การบอกตำแหน่งสถานที่ของผู้ใช้ปัจจุบันลงบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก ผู้ใช้บางรายมีการเช็กอินทุกครั้งที่ถึงบ้าน และถึงที่ทำงานโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่ากำลังชี้ช่องทางให้กลุ่มไซเบอร์ สต๊อกเกอร์ ที่จ้องจะมาที่บ้านหรือดักพบโดยไม่ให้รู้ตัว เพราะไซเบอร์ สต๊อกเกอร์สามารถติดตามเวลาออกจากบ้านและเวลาถึงบ้านได้จากการ เช็กอินนี้เอง 3. ไม่ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว หรือ Privacy Setting ข้อนี้ถือเป็นข้อที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะบริการโซเชียล เน็ตเวิร์กนั้น ทุกบริการจะมีการให้ผู้ใช้ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวว่าต้องการให้ใครหรือ เพื่อนกลุ่มไหนสามารถเห็นสิ่งที่ตนเองโพสต์หรือแชร์หรือไม่ แต่ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะมองข้ามความสำคัญในส่วนนี้ไป จนทำให้การใช้โซเชียล เน็ตเวิร์กกลายเป็นเรื่องที่เปิดช่องทางให้กับไซเบอร์ สต๊อกเกอร์ได้ง่าย ๆ

รู้ทันพฤติกรรม ‘สตอล์คเกอร์’ อย่างไรก็ตามหากพูดถึงรูปแบบพฤติกรรมของพวกไซเบอร์ สต๊อกเกอร์จากเหตุการณ์ที่ได้มีการรายงานจริงนั้น ความจริงแล้วมีมาตั้งแต่ในยุคเริ่มต้นของการใช้อินเทอร์เน็ตและมีการตัดสิน หลายคดีความในต่างประเทศ รวมทั้งมีการศึกษาทั้งด้านพฤติกรรมเชิงจิตวิทยา เชิงจิตเวช เชิงเทคโนโลยี และเชิงกฎหมาย ซึ่งผู้ที่เป็นสต๊อกเกอร์บางคนเป็นคนที่เก่งมาก บางคนอาจมีสองบุคลิก โดยเฉพาะในปัจจุบันโซเชียลเน็ตเวิร์กทำให้พฤติกรรมนี้กระทำได้ง่ายขึ้น โดยรูปแบบนั้นจะแตกต่างกันไป ตั้งแต่เฝ้าติดตามข่มขู่เพื่อจุดประสงค์บางประการ จนกระทั่งมีเจตนาในการคุกคามทางทรัพย์สินและร่างกาย หรือแม้กระทั่งการรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้เพื่อทำให้ อับอายเสื่อมเสียชื่อเสียง แต่ทุกรูปแบบที่กล่าวมาหากผู้ใช้งานมีความระมัดระวังในการแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวมากขึ้นก็จะไม่ตกเป็นเหยื่อของสต๊อกเกอร์ได้ง่ายนัก

สำหรับแนวทางการป้องกันตัวเองจากผู้ที่มีพฤติกรรมสต๊อกเกอร์นั้น การเลิกใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กคงไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดในการป้องกันตัวเองจากสต๊อกเกอร์แต่การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างเข้าใจและตระหนักถึงความเป็นส่วน ตัวให้มากขึ้นนั้นสามารถช่วยได้ เพราะในความเป็นจริงความเป็นส่วนตัวบนโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กจะยิ่งน้อยลง ดั่งที่ผู้ก่อตั้ง Facebook.com ได้กล่าวไว้ว่า โลกของความเป็นส่วนตัวได้หมดไปแล้ว แต่ทั้งนี้เราอาจป้องกันตัวเองอย่างง่าย ๆ ได้แก่ 1.อย่ารับใครเป็นเพื่อนหากเราไม่รู้จักเขาจริง ๆ เพราะสต๊อกเกอร์ อาจสร้าง แอคเคานท์ ปลอมเข้ามาเพื่อเฝ้าดูการเคลื่อนไหวของเราก็เป็นได้ 2.ให้ศึกษาการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของบริการโซเชียลเน็ตเวิร์กที่ใช้ให้ดี และกำหนดค่าความเป็นส่วนตัวตามความเหมาะสม อาทิ ค่าความเป็นส่วนตัวของ เฟซบุ๊ก แนะนำให้กำหนดเป็นเพื่อนเท่านั้น เพื่อให้เพื่อนของเราสามารถเห็นข้อมูลเราได้เท่านั้น ผู้ใช้สามารถตรวจสอบง่าย ๆ ด้วยการล็อกเอาต์ออกจากเฟซบุ๊ก แล้วกลับเข้าไปดูหน้าโปรไฟล์ของเราเองเพื่อตรวจสอบว่าหากไม่ใช่เพื่อนจะ สามารถเห็นข้อมูลเราได้มากน้อยแค่ไหน 3.อย่าลืมล็อกเอาต์ทุกครั้งเมื่อไม่ได้เล่น บนอุปกรณ์ของเราเอง 4. อย่าเช็กอินตลอดเวลา จนคนอื่นสามารถเดาได้ว่าเราจะไปไหนมาไหนอย่างไร หรือคาดเดารูปแบบพฤติกรรมสม่ำเสมอของเรา และที่สำคัญอย่าเช็กอินที่บ้านของตัวเอง 5.หลีกเลี่ยงการโพสต์เนื้อหาเหล่านี้ เช่น บอกเวลานอนของตัวเอง บอกว่าตัวเองอยู่บ้านหรือไม่ บอกว่าตัวเองอยู่บ้านคนเดียว บอกว่าจะเดินทางไปต่างจังหวัด หรือระบายความในใจว่ากำลังขาดเพื่อน เป็นต้น

สุดท้ายพฤติกรรมการสอดแนมจากการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก เป็นเพียงหนึ่งในวิธีการของพวกไซเบอร์ สต๊อกเกอร์ที่จะเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ หากแต่ยังมีอีกหลายหลากวิธีที่จะได้มาซึ่งข้อมูลในการคุกคามความปลอดภัย เช่น การใช้เสิร์ช เอ็นจิ้น ชื่อดังในการค้นหาข้อมูลส่วนตัวซึ่งสามารถทำได้ไม่ยากนัก เพื่อให้การใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ก และอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างปลอดภัย ผู้ใช้เองควรตระหนักให้มากถึงความเสี่ยงและข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ที่จะเปิดเผยในโซเชียลเน็ตเวิร์กหรือในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และต้องทำความเข้าใจว่า โซเชียลเน็ตเวิร์ก คือเครือข่ายสังคมออนไลน์ย่อมมิใช่เครือข่ายส่วนตัว หากรู้จักใช้ก็จะได้ประโยชน์สูงสุด.

ขอบคุณ ... http://dailynews.co.th/Content.do?contentId=196119 (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 พ.ย.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 23/11/2556 เวลา 03:52:51 ดูภาพสไลด์โชว์ รู้ทันพฤติกรรม ‘สตอล์คเกอร์’

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์กในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นและมีผู้สนใจ เล่นกันเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีการโพสต์ การแชร์ข้อมูลต่าง ๆ ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กมากมายทั้งเรื่องในแง่บวกและแง่ลบที่สามารถเข้าถึง กลุ่มผู้เล่นอย่างกว้างขวาง และด้วยความยอดนิยมไม่รู้ว่าใครเป็นใครเหล่านี้เองได้ก่อให้เกิดผู้ที่มี พฤติกรรมหนึ่งที่เราเรียกว่า “สต๊อกเกอร์” มาติดตามสอดส่องเป้าหมายเพื่อวัตถุประสงค์ที่ดีและไม่ดี บางครั้งอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตของผู้เล่นที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ รศ.ดร.เจริญศรี มิตรภานนท์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร.เจริญศรี มิตรภานนท์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล มีหลักสูตรไอซีที นานา ชาติ ระดับปริญญาตรี โท เอก หลักสูตรระดับ ปริญญาตรี ที่มีความโดดเด่น เช่น ระบบฐานข้อมูลและระบบเชิงฉลาด วิศวกรรมซอฟต์แวร์ ระบบเครือข่ายสื่อสาร ระบบสื่อผสม ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ มีนักศึกษาด้านไอซีที กว่า 800 คน มีผลงานโดดเด่นระดับชาติและนานาชาติจำนวนมาก สถาบันมุ่งเน้นส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเด็กไทยที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจใน วิชาชีพด้าน ไอซีที หรือทางด้านคอมพิวเตอร์สู่สากล จึงมีหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมกับให้ความรู้ในเรื่องการสะกดรอยตามบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก หรือ ไซเบอร์ สต๊อกเกอร์ จากการโพสต์ว่า “ดึกแล้วนอนดีกว่า”, “พรุ่งนี้จะได้ไปเที่ยวต่างจังหวัดแล้ว เย้!!”, “ได้กระเป๋าใหม่สุดหรูอะ!!” ซึ่งข้อความเหล่านี้เป็นข้อความที่พบเห็นได้ทั่วไปในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ผู้โพสต์ข้อความอาจไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบและความสุ่มเสี่ยงที่เกิดขึ้นจาก การโพสต์ข้อความเหล่านี้ เมื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ก อันเป็นนวัตกรรมที่สำคัญของวงการไอที กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของสังคมปัจจุบัน เกิดเป็นช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลาย ทำให้มีอัตราการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งในกลุ่มเด็ก เยาวชน และผู้อยู่ในวัยทำงาน ที่มากกว่านั้น โซเชียลเน็ตเวิร์กได้เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือไปอย่างสิ้นเชิง โดยโซเชียลเน็ตเวิร์กได้สร้างพฤติกรรมการ “แชร์” ให้กลายเป็นเรื่องที่ผู้ใช้รู้สึกสนุกสนานกับการได้แบ่งปันสิ่งต่าง ๆ ให้กับ “เพื่อน” ทั้งที่รู้จักในโลกแห่งความเป็นจริงและอาจไม่ได้รู้จักเลยแต่มีเพียงสถานะ ความเป็นเพื่อนในโลกแห่งโซเชียลเน็ตเวิร์กให้สามารถรู้ทุกความเคลื่อนไหวของเราได้จากการแชร์ของเรานี้เอง เช่น การโพสต์ข้อความบอกสถานที่ที่กำลังจะไปหรือแม้กระทั่งการโพสต์เรื่องส่วนตัว รู้ทันพฤติกรรม ‘สตอล์คเกอร์’เมื่อผู้คนเริ่มแสดงออกเรื่องส่วนตัวมากขึ้น เปิดเผยตัวเองมากขึ้นเพื่อให้คนอื่นมาสนใจเรื่องของตัวเองด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การคอมเมนต์ การแชร์รูป การโพสต์สถานะว่าทำอะไร คิดอะไร หรืออยู่ที่ไหน ทำให้กลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่ง คือพวกสะกดรอยตามหรือ ไซเบอร์ สต๊อกเกอร์ ที่แฝงตัวอยู่ในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กคอยติดตามความเคลื่อนไหวของเราได้จาก สิ่งที่เราแชร์หรือโพสต์ในโซเชียลเน็ตเวิร์กนั่นเอง ซึ่งพฤติกรรมของการติดตามนี้เรียกว่า ไซเบอร์ สต๊อกเกอร์ หรือการสะกดรอยตามบนโลกไซเบอร์ เพราะปัจจุบันผู้ใช้บางส่วนเริ่มแยกแยะไม่ออกว่าเรื่องใดควรเปิดเผยหรือไม่ควรเปิดเผย และควรเปิดเผยกับใครหรือไม่ควรเปิดเผยกับใคร ด้วยความนิยมโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟน จึงกลายเป็นปัจจัยในการกระตุ้นให้ มีการแชร์บนโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กมากขึ้นเพราะผู้ใช้สามารถแชร์สิ่งต่าง ๆ ได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันความสามารถในการระบุพิกัดตำแหน่งโลเกชั่นของผู้ใช้จากสมาร์ทโฟนด้วยสัญญาณจีพีเอสกลายเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ไม่ยากนัก จากจุดนี้ทำให้ไซเบอร์ สต๊อกเกอร์ ทั้งหลายสามารถสะกดรอยตามได้ง่ายขึ้น เราสามารถตกเป็นเหยื่อของพวกไซเบอร์ สต๊อกเกอร์ ได้หากมีพฤติกรรมการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก ดังนี้ 1.มีเพื่อนเยอะไว้ก่อน ใครมาขอแอดเป็นเพื่อนก็ตอบตกลงหมดทุกคน บางครั้งไม่เคยเจอหน้ากัน เพียงแต่เป็นเพื่อนของเพื่อนก็รับเป็นเพื่อนหมด บางครั้งรายชื่อเพื่อนในโซเชียลเน็ตเวิร์กที่มีเป็นร้อย ๆ เราก็รู้จักกันจริงเพียงไม่กี่คน ดังนั้นเมื่อเรามีการโพสต์เรื่องส่วนตัวลงไป เท่ากับกำลังบอกเรื่องส่วนตัวกับผู้คนหลายร้อยคนให้ได้รับรู้ และอีกหลายพันคนที่เป็นเพื่อนของเพื่อนที่เราไม่รู้จัก ซึ่งถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะในชีวิตจริงเรายังต้องระวังในการบอกเรื่องบางเรื่องกับคนรอบข้าง แต่กลับไม่ระวังในการโพสต์เรื่องส่วนตัวในโลกโซเชียล เน็ตเวิร์กให้กับผู้คนที่เราไม่รู้จักเลยหรือรู้จักเพียงผิวเผินรับรู้ 2. ติดและชอบการเช็กอินตลอดเวลา ซึ่งการเช็กอิน คือ การบอกตำแหน่งสถานที่ของผู้ใช้ปัจจุบันลงบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก ผู้ใช้บางรายมีการเช็กอินทุกครั้งที่ถึงบ้าน และถึงที่ทำงานโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่ากำลังชี้ช่องทางให้กลุ่มไซเบอร์ สต๊อกเกอร์ ที่จ้องจะมาที่บ้านหรือดักพบโดยไม่ให้รู้ตัว เพราะไซเบอร์ สต๊อกเกอร์สามารถติดตามเวลาออกจากบ้านและเวลาถึงบ้านได้จากการ เช็กอินนี้เอง 3. ไม่ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว หรือ Privacy Setting ข้อนี้ถือเป็นข้อที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะบริการโซเชียล เน็ตเวิร์กนั้น ทุกบริการจะมีการให้ผู้ใช้ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวว่าต้องการให้ใครหรือ เพื่อนกลุ่มไหนสามารถเห็นสิ่งที่ตนเองโพสต์หรือแชร์หรือไม่ แต่ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะมองข้ามความสำคัญในส่วนนี้ไป จนทำให้การใช้โซเชียล เน็ตเวิร์กกลายเป็นเรื่องที่เปิดช่องทางให้กับไซเบอร์ สต๊อกเกอร์ได้ง่าย ๆ รู้ทันพฤติกรรม ‘สตอล์คเกอร์’อย่างไรก็ตามหากพูดถึงรูปแบบพฤติกรรมของพวกไซเบอร์ สต๊อกเกอร์จากเหตุการณ์ที่ได้มีการรายงานจริงนั้น ความจริงแล้วมีมาตั้งแต่ในยุคเริ่มต้นของการใช้อินเทอร์เน็ตและมีการตัดสิน หลายคดีความในต่างประเทศ รวมทั้งมีการศึกษาทั้งด้านพฤติกรรมเชิงจิตวิทยา เชิงจิตเวช เชิงเทคโนโลยี และเชิงกฎหมาย ซึ่งผู้ที่เป็นสต๊อกเกอร์บางคนเป็นคนที่เก่งมาก บางคนอาจมีสองบุคลิก โดยเฉพาะในปัจจุบันโซเชียลเน็ตเวิร์กทำให้พฤติกรรมนี้กระทำได้ง่ายขึ้น โดยรูปแบบนั้นจะแตกต่างกันไป ตั้งแต่เฝ้าติดตามข่มขู่เพื่อจุดประสงค์บางประการ จนกระทั่งมีเจตนาในการคุกคามทางทรัพย์สินและร่างกาย หรือแม้กระทั่งการรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้เพื่อทำให้ อับอายเสื่อมเสียชื่อเสียง แต่ทุกรูปแบบที่กล่าวมาหากผู้ใช้งานมีความระมัดระวังในการแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวมากขึ้นก็จะไม่ตกเป็นเหยื่อของสต๊อกเกอร์ได้ง่ายนัก สำหรับแนวทางการป้องกันตัวเองจากผู้ที่มีพฤติกรรมสต๊อกเกอร์นั้น การเลิกใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กคงไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดในการป้องกันตัวเองจากสต๊อกเกอร์แต่การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างเข้าใจและตระหนักถึงความเป็นส่วน ตัวให้มากขึ้นนั้นสามารถช่วยได้ เพราะในความเป็นจริงความเป็นส่วนตัวบนโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กจะยิ่งน้อยลง ดั่งที่ผู้ก่อตั้ง Facebook.com ได้กล่าวไว้ว่า โลกของความเป็นส่วนตัวได้หมดไปแล้ว แต่ทั้งนี้เราอาจป้องกันตัวเองอย่างง่าย ๆ ได้แก่ 1.อย่ารับใครเป็นเพื่อนหากเราไม่รู้จักเขาจริง ๆ เพราะสต๊อกเกอร์ อาจสร้าง แอคเคานท์ ปลอมเข้ามาเพื่อเฝ้าดูการเคลื่อนไหวของเราก็เป็นได้ 2.ให้ศึกษาการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของบริการโซเชียลเน็ตเวิร์กที่ใช้ให้ดี และกำหนดค่าความเป็นส่วนตัวตามความเหมาะสม อาทิ ค่าความเป็นส่วนตัวของ เฟซบุ๊ก แนะนำให้กำหนดเป็นเพื่อนเท่านั้น เพื่อให้เพื่อนของเราสามารถเห็นข้อมูลเราได้เท่านั้น ผู้ใช้สามารถตรวจสอบง่าย ๆ ด้วยการล็อกเอาต์ออกจากเฟซบุ๊ก แล้วกลับเข้าไปดูหน้าโปรไฟล์ของเราเองเพื่อตรวจสอบว่าหากไม่ใช่เพื่อนจะ สามารถเห็นข้อมูลเราได้มากน้อยแค่ไหน 3.อย่าลืมล็อกเอาต์ทุกครั้งเมื่อไม่ได้เล่น บนอุปกรณ์ของเราเอง 4. อย่าเช็กอินตลอดเวลา จนคนอื่นสามารถเดาได้ว่าเราจะไปไหนมาไหนอย่างไร หรือคาดเดารูปแบบพฤติกรรมสม่ำเสมอของเรา และที่สำคัญอย่าเช็กอินที่บ้านของตัวเอง 5.หลีกเลี่ยงการโพสต์เนื้อหาเหล่านี้ เช่น บอกเวลานอนของตัวเอง บอกว่าตัวเองอยู่บ้านหรือไม่ บอกว่าตัวเองอยู่บ้านคนเดียว บอกว่าจะเดินทางไปต่างจังหวัด หรือระบายความในใจว่ากำลังขาดเพื่อน เป็นต้น

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...