การเดินทางของ ‘หลอดยาเก่า’ สู่ ‘โอกาสใหม่ของผู้พิการ’ ภายใต้โครงการ ‘หลอดยาเก่าเพื่อขาใหม่’ [ADVERTORIAL]

การเดินทางของ ‘หลอดยาเก่า’ สู่ ‘โอกาสใหม่ของผู้พิการ’ ภายใต้โครงการ

40,836 โดยประมาณ คือตัวเลขผู้พิการขาขาดในประเทศไทยในปี 2560 3,000 โดยประมาณ คือจำนวนขาเทียมที่มูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ผลิตเพื่อส่งมอบให้กับผู้พิการฟรี ใช้งบประมาณราว 40-50 ล้านบาทต่อปี

แม้จะมีการจัดตั้งโรงงานผลิตขาเทียมในโรงพยาบาลชุมชน 95 แห่งทั่วประเทศ หรือมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจะลงแรงร่วมใจใช้ทุนส่วนตัวและระดมทุนเพื่อช่วยกันผลิตขาเทียมคุณภาพ ไปจนถึงพัฒนานวัตกรรมต่างๆ แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ

บริษัท เวียร์ทริศ ประเทศไทย ซึ่งเป็นบริษัทยาชั้นนำระดับโลกด้านการดูแลสุขภาพ ที่นำเสนอทางเลือกการรักษาที่มีคุณภาพครอบคลุมการรักษาโรคมากกว่า 10 สาขา ครอบคลุมโรคไม่ติดต่อและโรคติดเชื้อที่หลากหลาย เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ตระหนักถึงความจริงที่ว่า ยังมีผู้พิการในประเทศไทยอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงขาเทียมได้

เดือนมิถุนายน 2566 บริษัทจึงคิกออฟโครงการ ‘หลอดยาเก่าเพื่อขาใหม่’ ชวนคนไทยร่วมกันนำหลอดยาอะลูมิเนียมเก่ามาบริจาค เพื่อเปลี่ยนเป็นเงินทุนในการผลิตขาเทียมและอุปกรณ์ขาเทียมให้แก่ผู้พิการที่ยังขาดโอกาสเข้าถึงขาเทียม ซึ่งเปิดรับบริจาคต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2566 และมีการส่งมอบเงินทุนทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่ายให้กับมูลนิธิขาเทียมฯ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา

การเดินทางของ ‘หลอดยาเก่า’ สู่ ‘โอกาสใหม่ของผู้พิการ’ ภายใต้โครงการ

นี่ไม่ใช่ภารกิจแรกที่ ‘เวียร์ทริศ’ ทำเพื่อสังคม น่าจะเกินครึ่งของโครงการที่เน้นไปที่การรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของกลุ่มโรคต่างๆ เพราะเป็นพันธกิจขององค์กรที่ต้องการสร้างเสริมศักยภาพของผู้คนทั่วโลกให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นในทุกช่วงวัยของชีวิต

เช่น การรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าผ่านโซเชียลมีเดียร่วมกับชมรมความผิดปกติทางอารมณ์แห่งประเทศไทย (Thai Society for Affective Disorders) เพื่อช่วยให้คนไทยเข้าใจโรคได้ดีขึ้น, การร่วมมือกับแพทย์โรคหัวใจในโครงการ 25th Anniversary Trust and Protection in Thailand เพื่ออัปเดตการรักษาแบบองค์รวมในการป้องกัน ASCVD (โรคหัวใจและหลอดเลือดที่เกิดจากหลอดเลือดแดงแข็ง) ของผู้ป่วย, กิจกรรมคัดกรองโรคตับอักเสบที่มุ่งตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี, โครงการเรื่องเข่าต้องให้ไว สนับสนุนการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น

นอกจากนี้ยังร่วมกับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานวิ่ง MUSS Mini Marathon เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องมามากกว่า 5 ปี

ถึงแม้ว่าเงินทุนที่ส่งมอบให้กับโครงการ ‘หลอดยาเก่าเพื่อขาใหม่’ จะถูกเปลี่ยนเป็นขาเทียมให้กับผู้พิการได้ไม่ครอบคลุม แต่อย่างน้อยผู้พิการขาขาดส่วนหนึ่งก็มีโอกาสกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติเหมือนพวกเราทุกคน

ขอบคุณ... https://thestandard.co/reparil-gel-n-donation-campaign/

ที่มา: thestandard.co/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 มี.ค.67
วันที่โพสต์: 1/03/2567 เวลา 14:57:04 ดูภาพสไลด์โชว์ การเดินทางของ ‘หลอดยาเก่า’ สู่ ‘โอกาสใหม่ของผู้พิการ’ ภายใต้โครงการ ‘หลอดยาเก่าเพื่อขาใหม่’ [ADVERTORIAL]