“สถานีประชาชน” ไทยพีบีเอส....เจาะปัญหารถเมล์สำหรับทุกคน

แสดงความคิดเห็น

เครือข่ายรถเมล์ประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน  และนายนเรศ บุญเปี่ยม รักษาการผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ร่วมรายการ ”สถานีประชาชน ไทยพีบีเอส”

เมื่อวันที่ 19 ก.พ.57 เวลา 15.00 น. เครือข่ายรถเมล์ประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน และนายนเรศ บุญเปี่ยม รักษาการผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ร่วมรายการ ”สถานีประชาชน ไทยพีบีเอส” เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่อง การจัดซื้อรถเมล์ใช้ก๊าสธรรมชาติจำนวน 3,183 คัน โดย ขสมก.

ภาพคนพิการนั่งรถเข็นขึ้นรถเมล์ประจำทางทั่วไปแบบบันได โดยต้องมีคนช่วยยกทั้งรถเข็นขึ้นบันได นายอุดมโชค ชูรัตน์ ประธานเครือข่ายฯ กล่าวว่า “ความพิการไม่ใช่เป็นข้อจำกัดต่อคนพิการ หากมีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตได้เหมือนกับคนทั่วไป โดยไม่เป็นภาระต่อคนอื่น คนพิการจึงต้องการรถเมล์ที่ทุกคนขึ้นได้ทุกคัน ทั้งผู้สูงอายุ เด็ก สตรีตั้งครรภ์ คนที่มีร่างกายอ่อนแอ และคนพิการ ทุกคนสามารถใช้รถเมล์ร่วมกันได้ ทั้งนี้ สังคมควรเปลี่ยนการช่วยเหลือคนพิการเพราะ “ความสงสาร” เป็นการส่งเสริมให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก “สิทธิ” อย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไปตามกฎหมาย

นางสาวอาภาณี มิตรทอง คณะทำงานเครือข่ายฯ กล่าวว่า ทุกวันนี้คนพิการยังไม่สามารถใช้รถเมล์ได้ ถ้าต้องการใช้ก็ต้องคลานขึ้นรถเมล์ ฉะนั้น คนพิการจึงต้องเดินทางด้วยรถยนต์รับจ้าง (แท็กซี่) ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าคนทั่วไป ถ้าคนพิการสามารถดูแลตนเองได้ เดินทางได้ด้วยตนเอง เราจะรู้สึกภูมิใจที่สามารถพึ่งพาตนเอง คนพิการต้องการที่จะอยู่ร่วมกับคนทั่วไปในสังคม ต้องการรถเมล์ที่ทุกคนใช้ได้เท่าเทียมกัน ไม่ต้องการให้สังคมแยกพวกเราออกจากสังคม พวกเราจึงต้องการรถเมล์ที่เป็นรถแบบชานต่ำ ไม่ใช่ลิฟต์ยกรถเข็นวีล เพราะต้องใช้เวลาในการยกขึ้นลง ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารคนอื่นต้องรอนาน โดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วนซึ่งจะทำให้สังคมรู้สึกไม่ดีกับคนพิการ

เครือข่ายรถเมล์ประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน  เข้าร่วมรับฟังภายในรายการ สถานีประชาชน นายนเรศ บุญเปี่ยม รักษาการผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้กล่าวว่า ขสมก.ได้เริ่มจัดหารถเมล์เพื่อคนพิการตั้งแต่ปี 2549 โดยได้จัดทำร่างทีโออาร์จัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 3,183 คัน รวม7 ครั้งแล้ว และได้ผ่านความเห็นชอบของเครือข่ายคนพิการแล้ว โดยทีโออาร์ครั้งที่8 นี้ ลงเว็บไซต์เพื่อยุติ และจะเริ่มขายซองตั้งแต่ 3 – 7 มีนาคม 2557 คาดว่าช่วงพฤษภาคม 2557 ก็น่าจะเซ็นสัญญาได้ และเริ่มส่งรถให้ขสมก.งวดที่1 จำนวน 250 คัน ภายในพฤศจิกายน 2557 จนครบทั้งหมดภายในพฤศจิกายน 2558 รวมระยะเวลา 1 ปี ทั้งนี้ จะใช้รถเมล์ทั้ง 2 ประเภท ได้แก่ 1)รถเมล์ไร้บันได หรือรถเมล์ชานต่ำ และ 2)รถเมล์ติดลิฟต์ยกรถเข็น เพื่อให้วิ่งได้ทั้งในและนอกกรุงเทพมหานคร รวม 5 จังหวัด

ทั้งนี้ จากที่ ขสมก.ได้สำรวจพื้นที่ และทดสอบวิ่งรถ พบว่า ท้องรถเมล์ชานต่ำ จะครูดไปกับคอสะพาน ซึ่งมีทั้งหมด 11 แห่ง จากจำนวน 57 เส้นทาง จึงจำเป็นที่จะต้องจัดซื้อรถเมล์ติดลิฟต์ยกฯ เพื่อให้สามารถวิ่งได้ทุกเส้นทาง นอกจากนี้ รถเมล์ใหม่จะไม่มีพนักงานเก็บเงิน พนักงานขับรถจะต้องลงมาช่วยคนพิการ และคิดว่ารถเมล์ชานต่ำและรถเมล์ติดลิฟต์ฯ ใช้เวลาไม่แตกต่างกัน แม้ว่าจะใช้เวลาในการขึ้นลงรถเมล์ สังคมก็ควรต้องแบ่งปันกันให้คนพิการร่วมใช้รถเมล์ช่วงเวลาเร่งด่วนด้วย

นายอุดมโชค ชูรัตน์ ประธานเครือข่ายฯ นายอุดมโชค ชูรัตน์ ได้กล่าวย้ำว่า รถเมล์ที่ทุกคนใช้ได้นั้น ควรเป็นรถเมล์ชานต่ำ ทั้งนี้การใช้ลิฟต์นั้น จะใช้เพื่อยกรถเข็นเป็นหลักเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงคนพิการที่ใช้รถเข็นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น การใช้ลิฟต์จึงไม่ได้ใช้บ่อยๆ และต้องใช้เวลามากกว่ารถเมล์ชานต่ำ ทั้งนี้การใช้รถเมล์ชานต่ำนั้น จะเป็นรถที่ทั้งเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ คนพิการที่ไม่ได้ใช้รถเข็นก็สามารถใช้ได้ด้วย

นางสาวอาภาณี มิตรทอง กล่าวเพิ่มเติมว่า ขสมก.ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยกันปรับพื้นที่ / พื้นถนน และคอสะพานทั้ง 11 แห่ง ที่เป็นปัญหาให้ไม่สามารถใช้รถชานต่ำ เช่น กรุงเทพมหานคร กรมทางหลวง และขสมก. เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องยินดีที่จะปรับแก้ไขเพื่อให้ทุกคนสามารถใช้รถเมล์ทุกคันได้

นอกจากนั้น เครือข่ายประชาชน ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน ยังได้เสนอให้ยึดเวลาการจัดซื้อออกไป เพื่อจัดปรับแก้ไขสะพาน 11 จุดก่อน (สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส / มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ก.พ. 57)

ที่มา: สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส / มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ก.พ. 57
วันที่โพสต์: 21/02/2557 เวลา 04:07:02 ดูภาพสไลด์โชว์ “สถานีประชาชน” ไทยพีบีเอส....เจาะปัญหารถเมล์สำหรับทุกคน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เครือข่ายรถเมล์ประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน และนายนเรศ บุญเปี่ยม รักษาการผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ร่วมรายการ ”สถานีประชาชน ไทยพีบีเอส” เมื่อวันที่ 19 ก.พ.57 เวลา 15.00 น. เครือข่ายรถเมล์ประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน และนายนเรศ บุญเปี่ยม รักษาการผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ร่วมรายการ ”สถานีประชาชน ไทยพีบีเอส” เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่อง การจัดซื้อรถเมล์ใช้ก๊าสธรรมชาติจำนวน 3,183 คัน โดย ขสมก. ภาพคนพิการนั่งรถเข็นขึ้นรถเมล์ประจำทางทั่วไปแบบบันได โดยต้องมีคนช่วยยกทั้งรถเข็นขึ้นบันได นายอุดมโชค ชูรัตน์ ประธานเครือข่ายฯ กล่าวว่า “ความพิการไม่ใช่เป็นข้อจำกัดต่อคนพิการ หากมีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตได้เหมือนกับคนทั่วไป โดยไม่เป็นภาระต่อคนอื่น คนพิการจึงต้องการรถเมล์ที่ทุกคนขึ้นได้ทุกคัน ทั้งผู้สูงอายุ เด็ก สตรีตั้งครรภ์ คนที่มีร่างกายอ่อนแอ และคนพิการ ทุกคนสามารถใช้รถเมล์ร่วมกันได้ ทั้งนี้ สังคมควรเปลี่ยนการช่วยเหลือคนพิการเพราะ “ความสงสาร” เป็นการส่งเสริมให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก “สิทธิ” อย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไปตามกฎหมาย นางสาวอาภาณี มิตรทอง คณะทำงานเครือข่ายฯ กล่าวว่า ทุกวันนี้คนพิการยังไม่สามารถใช้รถเมล์ได้ ถ้าต้องการใช้ก็ต้องคลานขึ้นรถเมล์ ฉะนั้น คนพิการจึงต้องเดินทางด้วยรถยนต์รับจ้าง (แท็กซี่) ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าคนทั่วไป ถ้าคนพิการสามารถดูแลตนเองได้ เดินทางได้ด้วยตนเอง เราจะรู้สึกภูมิใจที่สามารถพึ่งพาตนเอง คนพิการต้องการที่จะอยู่ร่วมกับคนทั่วไปในสังคม ต้องการรถเมล์ที่ทุกคนใช้ได้เท่าเทียมกัน ไม่ต้องการให้สังคมแยกพวกเราออกจากสังคม พวกเราจึงต้องการรถเมล์ที่เป็นรถแบบชานต่ำ ไม่ใช่ลิฟต์ยกรถเข็นวีล เพราะต้องใช้เวลาในการยกขึ้นลง ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารคนอื่นต้องรอนาน โดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วนซึ่งจะทำให้สังคมรู้สึกไม่ดีกับคนพิการ เครือข่ายรถเมล์ประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน เข้าร่วมรับฟังภายในรายการ สถานีประชาชน นายนเรศ บุญเปี่ยม รักษาการผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้กล่าวว่า ขสมก.ได้เริ่มจัดหารถเมล์เพื่อคนพิการตั้งแต่ปี 2549 โดยได้จัดทำร่างทีโออาร์จัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 3,183 คัน รวม7 ครั้งแล้ว และได้ผ่านความเห็นชอบของเครือข่ายคนพิการแล้ว โดยทีโออาร์ครั้งที่8 นี้ ลงเว็บไซต์เพื่อยุติ และจะเริ่มขายซองตั้งแต่ 3 – 7 มีนาคม 2557 คาดว่าช่วงพฤษภาคม 2557 ก็น่าจะเซ็นสัญญาได้ และเริ่มส่งรถให้ขสมก.งวดที่1 จำนวน 250 คัน ภายในพฤศจิกายน 2557 จนครบทั้งหมดภายในพฤศจิกายน 2558 รวมระยะเวลา 1 ปี ทั้งนี้ จะใช้รถเมล์ทั้ง 2 ประเภท ได้แก่ 1)รถเมล์ไร้บันได หรือรถเมล์ชานต่ำ และ 2)รถเมล์ติดลิฟต์ยกรถเข็น เพื่อให้วิ่งได้ทั้งในและนอกกรุงเทพมหานคร รวม 5 จังหวัด ทั้งนี้ จากที่ ขสมก.ได้สำรวจพื้นที่ และทดสอบวิ่งรถ พบว่า ท้องรถเมล์ชานต่ำ จะครูดไปกับคอสะพาน ซึ่งมีทั้งหมด 11 แห่ง จากจำนวน 57 เส้นทาง จึงจำเป็นที่จะต้องจัดซื้อรถเมล์ติดลิฟต์ยกฯ เพื่อให้สามารถวิ่งได้ทุกเส้นทาง นอกจากนี้ รถเมล์ใหม่จะไม่มีพนักงานเก็บเงิน พนักงานขับรถจะต้องลงมาช่วยคนพิการ และคิดว่ารถเมล์ชานต่ำและรถเมล์ติดลิฟต์ฯ ใช้เวลาไม่แตกต่างกัน แม้ว่าจะใช้เวลาในการขึ้นลงรถเมล์ สังคมก็ควรต้องแบ่งปันกันให้คนพิการร่วมใช้รถเมล์ช่วงเวลาเร่งด่วนด้วย นายอุดมโชค ชูรัตน์ ประธานเครือข่ายฯ นายอุดมโชค ชูรัตน์ ได้กล่าวย้ำว่า รถเมล์ที่ทุกคนใช้ได้นั้น ควรเป็นรถเมล์ชานต่ำ ทั้งนี้การใช้ลิฟต์นั้น จะใช้เพื่อยกรถเข็นเป็นหลักเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงคนพิการที่ใช้รถเข็นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น การใช้ลิฟต์จึงไม่ได้ใช้บ่อยๆ และต้องใช้เวลามากกว่ารถเมล์ชานต่ำ ทั้งนี้การใช้รถเมล์ชานต่ำนั้น จะเป็นรถที่ทั้งเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ คนพิการที่ไม่ได้ใช้รถเข็นก็สามารถใช้ได้ด้วย นางสาวอาภาณี มิตรทอง กล่าวเพิ่มเติมว่า ขสมก.ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยกันปรับพื้นที่ / พื้นถนน และคอสะพานทั้ง 11 แห่ง ที่เป็นปัญหาให้ไม่สามารถใช้รถชานต่ำ เช่น กรุงเทพมหานคร กรมทางหลวง และขสมก. เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องยินดีที่จะปรับแก้ไขเพื่อให้ทุกคนสามารถใช้รถเมล์ทุกคันได้ นอกจากนั้น เครือข่ายประชาชน ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน ยังได้เสนอให้ยึดเวลาการจัดซื้อออกไป เพื่อจัดปรับแก้ไขสะพาน 11 จุดก่อน (สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส / มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ก.พ. 57)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...