"AAC" เครื่องมือสื่อสารทางเลือก เปิดโลกเงียบด้วยเสียงที่ไม่ได้ยิน

แสดงความคิดเห็น

เครื่องมือสื่อสารทางเลือก AAC (Augmentative and Alternative Communication)

เชื่อว่าการติดต่อสื่อสารด้วย กิริยาหรือคำพูด ล้วนเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานในการแสดงออกที่ทำหน้าที่ให้ทุกคนในสังคมเข้าใจกัน ได้มากขึ้น หากแต่ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่สามารถเข้าใจและเข้าถึงสิ่งพื้นฐานเหล่นี้ได้ จึงส่งผลให้ผู้พิการ หรือผู้ที่มีปัญหาสภาวะบก.พ.ร่องทางการสื่อสารไม่สามารถแสดงออกทางการสื่อสารได้และหากจะอาศัยการหยิบยื่นความสะดวกจากสังคม ซึ่งนั่นอาจไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริง และไม่ได้ส่งผลต่อความช่วยเหลือระยะยาวได้เท่ากับการสร้างเครื่องมือเพื่อ ช่วยให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถสื่อสารได้โดยตรง

การสื่อสารแทนคำพูดจึงกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารทางเลือกให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ในชื่อที่เรียกว่า AAC (Augmentative and Alternative Communication) ภายใต้การควบคุมดูแลของ "นิษฐา อึ้งสุประเสริฐ" นายกสมาคมเทคโนโลยีการสื่อสารทางเลือกและการสื่อสารแทนคำพูดนานาชาติแห่งประเทศไทย หรือ ISAAC Thailand (The International Society for Augmentative and Alternative Communication) ผู้คร่ำหวอดในวงการการสื่อสารทางเลือกระดับนานาชาติ

"นิษฐา" ผ่านประสบการณ์การทำงานเป็นนักอรรถบำบัด และผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้อุปกรณ์ช่วยเสริมทักษะ อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มีปัญหาสภาวะบก.พ.ร่องทางการสื่อสารให้สามารถสื่อสารได้จากประเทศออสเตรเลีย ทั้งยังได้รับการยอมรับจนเป็นที่รู้จักทั่วโลก

"จากประสบการณ์การทำงานของดิฉัน ที่เปรียบเสมือนการเปิดโลกความเงียบให้มีเสียง เปิดโลกมืดให้สว่าง และเปิดความเข้าใจให้เกิดการสื่อสารที่ง่ายและสะดวกที่สุด ไม่ว่าจะเป็นวิธีการฟัง พูด อ่านเขียนล้วนแต่เป็นการสื่อสารที่จะทำให้เราได้ผลลัพธ์เชิงบวกร่วมกัน"

"สำหรับประเทศไทย เราดำเนินงานภายใต้กรอบวิสัยทัศน์ที่เน้นการส่งเสริมให้การสื่อสารที่ดีที่สุด สำหรับผู้ที่มีภาวะซ้ำซ้อนด้านการสื่อสารที่ต้องการสื่อสารกับคนทั่วไป โดยมีจุดมุ่งหมายไม่เพียงแต่ผู้พิการที่เป็นใบ้ หูหนวก ตาบอด หรือผู้พิการซ้ำซ้อนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยการพูดปกติได้"ด้วยการผ่านเครื่องมือ AAC ทั้ง 2 ระดับ คือ หนึ่ง แบบที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือช่วย เช่น การใช้ภาษามือ, การจ้องตา และการแสดงกิริยาท่าทาง และ สอง การใช้เครื่องมือช่วย แบ่งเป็นแบบที่ใช้สิ่งของโดยใช้วัตถุขนาดย่อเพื่อแทนสัญลักษณ์ อย่างรูปภาพ, แผนภาพ, หนังสือ, ลายเส้น หรือแบบที่ใช้เทคโนโลยีพื้นฐาน เช่น Eyegaze รวมถึงการใช้สมาร์ทโฟนที่มีแอปพลิเคชั่นที่ช่วยเกี่ยวกับเรื่องการสื่อสาร เช่น Proloquo2Go ถึงตรงนี้ "นิษฐา" กล่าวต่อว่า เมื่อเขาสามารถบอกความต้องการเบื้องต้นของตนเอง เช่น หิวข้าว, หิวน้ำ, อยากเล่น หรือแม้กระทั่งอยากเข้าห้องน้ำได้แล้ว

"เราจะนำไปสู่พัฒนาการอีกระดับหนึ่ง คือ การพัฒนาไปสู่การอ่านหนังสือ และเขียนหนังสือได้ในที่สุด ที่ผ่านมาอาจมีด้วยข้อจำกัดบางประการที่ทำให้คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ถูกละเลยในด้านการติดต่อสื่อสาร แต่ในความเป็นจริงเขาอาจมีความสามารถที่เกินความคาดหมาย เพียงแต่เขาไม่มีวิธีสื่อสารกับเราโดยตรงต่างหาก"

หรือบางคนสามารถพัฒนาไปได้ไกลจนสามารถเรียนจบในระดับปริญญาอย่าง"แดริล เชลวูด" นักศึกษาปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลีย ผู้ที่มีภาวะสมองพิการแต่กำเนิด

"แดริล เชลวูด" เล่าว่า จุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดความตั้งใจเข้าศึกษาต่อ คือ การได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรเลีย และครูที่เข้าใจการใช้ AAC, Assistive Technology ในระบบการเรียนการสอน ซึ่งถือเป็นส่วนช่วยสำคัญที่ทำให้ผมสามารถอ่านออกเขียนได้

"ด้วยความมหัศจรรย์ของเครื่องมือนี้ ทำให้ผมตั้งใจวางเป้าหมายที่จะติดตามการทำวิจัยของเครื่องมือ AAC และด้านการสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงผมต้องการสำรวจวิธีการปรับปรุง และขยายการเข้าถึงการสื่อสารโทรคมนาคมสำหรับคนที่มีความต้องการการสื่อสารที่ซับซ้อน นี่คือแรงบันดาลใจที่ทำให้ผมทุ่มเทการทำงานในด้านอาสาสมัคร เพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีสภาวะบก.พ.ร่องทางการสื่อสารให้มีชีวิตที่น่าพอใจและมีความสุขมากขึ้น"

ด้วยเหตุนี้ "นิษฐา" จึงมั่นใจว่า AAC น่าจะเป็นเครื่องมือที่สามารถตอบโจทย์ด้านการสื่อสารทางเลือก และการสื่อสารแทนคำพูดที่ตรงจุดที่สุด

"โดยเราหวังว่าเครื่องมือ AAC จะเป็นการไขกุญแจความอึดอัดของคนที่สื่อสารไม่ได้ หรือเขียนหนังสือได้ไม่ถนัดให้สามารถบอกความต้องการของตนเองได้อย่างมีสมรรถภาพสูงสุด" จะดีแค่ไหนถ้าเราสามารถเปิดโลกที่อยู่ในความเงียบให้ส่องสว่างด้วย คำพูดที่ (ไม่) เคยได้ยินมาก่อนเป็นเวลาแสนนาน

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1391503915 (ขนาดไฟล์: 143)

( ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ก.พ.57 )

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 5/02/2557 เวลา 04:23:45 ดูภาพสไลด์โชว์ "AAC" เครื่องมือสื่อสารทางเลือก เปิดโลกเงียบด้วยเสียงที่ไม่ได้ยิน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เครื่องมือสื่อสารทางเลือก AAC (Augmentative and Alternative Communication) เชื่อว่าการติดต่อสื่อสารด้วย กิริยาหรือคำพูด ล้วนเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานในการแสดงออกที่ทำหน้าที่ให้ทุกคนในสังคมเข้าใจกัน ได้มากขึ้น หากแต่ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่สามารถเข้าใจและเข้าถึงสิ่งพื้นฐานเหล่นี้ได้ จึงส่งผลให้ผู้พิการ หรือผู้ที่มีปัญหาสภาวะบก.พ.ร่องทางการสื่อสารไม่สามารถแสดงออกทางการสื่อสารได้และหากจะอาศัยการหยิบยื่นความสะดวกจากสังคม ซึ่งนั่นอาจไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริง และไม่ได้ส่งผลต่อความช่วยเหลือระยะยาวได้เท่ากับการสร้างเครื่องมือเพื่อ ช่วยให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถสื่อสารได้โดยตรง การสื่อสารแทนคำพูดจึงกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารทางเลือกให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ในชื่อที่เรียกว่า AAC (Augmentative and Alternative Communication) ภายใต้การควบคุมดูแลของ "นิษฐา อึ้งสุประเสริฐ" นายกสมาคมเทคโนโลยีการสื่อสารทางเลือกและการสื่อสารแทนคำพูดนานาชาติแห่งประเทศไทย หรือ ISAAC Thailand (The International Society for Augmentative and Alternative Communication) ผู้คร่ำหวอดในวงการการสื่อสารทางเลือกระดับนานาชาติ "นิษฐา" ผ่านประสบการณ์การทำงานเป็นนักอรรถบำบัด และผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้อุปกรณ์ช่วยเสริมทักษะ อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มีปัญหาสภาวะบก.พ.ร่องทางการสื่อสารให้สามารถสื่อสารได้จากประเทศออสเตรเลีย ทั้งยังได้รับการยอมรับจนเป็นที่รู้จักทั่วโลก "จากประสบการณ์การทำงานของดิฉัน ที่เปรียบเสมือนการเปิดโลกความเงียบให้มีเสียง เปิดโลกมืดให้สว่าง และเปิดความเข้าใจให้เกิดการสื่อสารที่ง่ายและสะดวกที่สุด ไม่ว่าจะเป็นวิธีการฟัง พูด อ่านเขียนล้วนแต่เป็นการสื่อสารที่จะทำให้เราได้ผลลัพธ์เชิงบวกร่วมกัน" "สำหรับประเทศไทย เราดำเนินงานภายใต้กรอบวิสัยทัศน์ที่เน้นการส่งเสริมให้การสื่อสารที่ดีที่สุด สำหรับผู้ที่มีภาวะซ้ำซ้อนด้านการสื่อสารที่ต้องการสื่อสารกับคนทั่วไป โดยมีจุดมุ่งหมายไม่เพียงแต่ผู้พิการที่เป็นใบ้ หูหนวก ตาบอด หรือผู้พิการซ้ำซ้อนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยการพูดปกติได้"ด้วยการผ่านเครื่องมือ AAC ทั้ง 2 ระดับ คือ หนึ่ง แบบที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือช่วย เช่น การใช้ภาษามือ, การจ้องตา และการแสดงกิริยาท่าทาง และ สอง การใช้เครื่องมือช่วย แบ่งเป็นแบบที่ใช้สิ่งของโดยใช้วัตถุขนาดย่อเพื่อแทนสัญลักษณ์ อย่างรูปภาพ, แผนภาพ, หนังสือ, ลายเส้น หรือแบบที่ใช้เทคโนโลยีพื้นฐาน เช่น Eyegaze รวมถึงการใช้สมาร์ทโฟนที่มีแอปพลิเคชั่นที่ช่วยเกี่ยวกับเรื่องการสื่อสาร เช่น Proloquo2Go ถึงตรงนี้ "นิษฐา" กล่าวต่อว่า เมื่อเขาสามารถบอกความต้องการเบื้องต้นของตนเอง เช่น หิวข้าว, หิวน้ำ, อยากเล่น หรือแม้กระทั่งอยากเข้าห้องน้ำได้แล้ว "เราจะนำไปสู่พัฒนาการอีกระดับหนึ่ง คือ การพัฒนาไปสู่การอ่านหนังสือ และเขียนหนังสือได้ในที่สุด ที่ผ่านมาอาจมีด้วยข้อจำกัดบางประการที่ทำให้คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ถูกละเลยในด้านการติดต่อสื่อสาร แต่ในความเป็นจริงเขาอาจมีความสามารถที่เกินความคาดหมาย เพียงแต่เขาไม่มีวิธีสื่อสารกับเราโดยตรงต่างหาก" หรือบางคนสามารถพัฒนาไปได้ไกลจนสามารถเรียนจบในระดับปริญญาอย่าง"แดริล เชลวูด" นักศึกษาปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลีย ผู้ที่มีภาวะสมองพิการแต่กำเนิด "แดริล เชลวูด" เล่าว่า จุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดความตั้งใจเข้าศึกษาต่อ คือ การได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรเลีย และครูที่เข้าใจการใช้ AAC, Assistive Technology ในระบบการเรียนการสอน ซึ่งถือเป็นส่วนช่วยสำคัญที่ทำให้ผมสามารถอ่านออกเขียนได้ "ด้วยความมหัศจรรย์ของเครื่องมือนี้ ทำให้ผมตั้งใจวางเป้าหมายที่จะติดตามการทำวิจัยของเครื่องมือ AAC และด้านการสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงผมต้องการสำรวจวิธีการปรับปรุง และขยายการเข้าถึงการสื่อสารโทรคมนาคมสำหรับคนที่มีความต้องการการสื่อสารที่ซับซ้อน นี่คือแรงบันดาลใจที่ทำให้ผมทุ่มเทการทำงานในด้านอาสาสมัคร เพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีสภาวะบก.พ.ร่องทางการสื่อสารให้มีชีวิตที่น่าพอใจและมีความสุขมากขึ้น" ด้วยเหตุนี้ "นิษฐา" จึงมั่นใจว่า AAC น่าจะเป็นเครื่องมือที่สามารถตอบโจทย์ด้านการสื่อสารทางเลือก และการสื่อสารแทนคำพูดที่ตรงจุดที่สุด "โดยเราหวังว่าเครื่องมือ AAC จะเป็นการไขกุญแจความอึดอัดของคนที่สื่อสารไม่ได้ หรือเขียนหนังสือได้ไม่ถนัดให้สามารถบอกความต้องการของตนเองได้อย่างมีสมรรถภาพสูงสุด" จะดีแค่ไหนถ้าเราสามารถเปิดโลกที่อยู่ในความเงียบให้ส่องสว่างด้วย คำพูดที่ (ไม่) เคยได้ยินมาก่อนเป็นเวลาแสนนาน ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1391503915 ( ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ก.พ.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...