"รถเมล์ขสมก" ซื้ออย่างไรให้สังคมไว้วางใจ โดย ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์

แสดงความคิดเห็น

รถเมล์ขสมก.เอ็นจีวี

เท่าที่ผู้เขียนติดตามการซื้อรถของ ขสมก.จนถึงวันนี้ ผู้เขียนคิดว่าก่อนที่ ขสมก.จะเริ่มออกทีโออาร์ (TOR) ฉบับแรกและฉบับต่อๆ มา คนที่เป็นแฟนประจำติดตามเรื่องนี้อยู่ต่างก็คาดกันว่า โครงการที่ใช้เงินหมื่นกว่าล้านบาทนี้ต้องมีคอร์รัปชั่นแน่นอน มีถึงขนาดเชื่อและปรากฏในหนังสือพิมพ์ว่าราคาอ้างอิงที่คณะกรรมการกำหนดราคา กลางนั้นสูงกว่าที่ควรจะเป็นถึงคันละ 1 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 30 ของวงเงิน 13,162.2 ล้านบาท ที่ใช้ซื้อรถเมล์ 3,183 คัน ในส่วนตัวอย่างน้อยในขณะนี้ ผู้เขียนคิดว่ายังเร็วเกินไปที่จะสามารถสรุปขนาดของคอร์รัปชั่น (ถ้ามี) ผู้เขียนคิดว่าถ้าขาประจำที่กัดไม่ปล่อยทำงานอย่างจริงจังในการหาข้อมูล เรื่องราคาที่เหมาะสมกับสเปกของรถมีการกำหนดสเปกที่มีรายละเอียดชัดเจนที่ดีพอ มีการกำหนดกติกาที่พอยอมรับกันได้ และรัฐมนตรีชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ให้ความสำคัญเรื่องนี้อย่างจริงใจ ขนาดของคอร์รัปชั่นที่ใหญ่หลวง ขนาด 20-30% ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ง่าย เหมือนหลายๆ กรณีในอดีต มันมีความจริงอยู่บ้างเหมือนที่ผู้เขียนเคยได้ยินจากผู้บริหารของ ขสมก.เองว่า "ราคารถมันซื้อขายกันเท่าไหร่ มันก็พอรู้กันอยู่แล้วในวงการ มันจะโกงกินกันได้สักแค่ไหน"

ภาพวาดการ์ตูน รถเมล์เพื่อทุกคน การกำหนดสเปกรถเพื่อให้ได้รถที่ดี ราคาที่เหมาะสมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้โดยสารและความเป็นธรรมสำหรับทุก ฝ่ายนั้นต้องการความร่วมมือจากผู้ที่มีความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริง จากผู้ที่อยู่ในวงการทั้งผู้ขายและผู้ซื้อประสบการณ์จากต่างประเทศ วงการวิชาการหน่วยงานภาครัฐ จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ติดตามเรื่องนี้มาปีเศษๆ ผู้เขียนพบว่าการที่จะได้มาซึ่งราคากลางหรือราคาอ้างอิงที่ควรจะเป็นที่ยอม รับกันได้ทุกฝ่ายไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ทำได้แบบสุกเอาเผากินตามใจชอบเพียงแค่โทรศัพท์ถามและไม่ลงรายละเอียด และถ้ามีหรือได้มาจะสามารถยัดเยียดให้คนรับและเชื่อถือได้ ในกรณีของภาครัฐ หน่วยราชการหลายหน่วยโดยเฉพาะกองทัพมีการซื้อรถโดยสารไว้ใช้จำนวนมาก มีการเช่ารถแทนการซื้อ ขสมก.เองก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ประกอบการรถร่วมที่ใช้รถเมล์ NGV ในรอบหลายปีที่ผ่านมา สำนักงบประมาณเป็นผู้จัดสรรงบประมาณและสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เป็นผู้จัดสรรงบประมาณและเงินกู้ตามลำดับ แต่สองหน่วยงานนี้ไม่มีข้อมูลเรื่องราคารถและสเปกรถที่ต้องมาคู่กัน ที่น่าแปลกใจก็คือ กรมบัญชีกลางก็ไม่เคยเก็บข้อมูลประเภทนี้ เก็บแต่ข้อมูลราคากลางการก่อสร้าง กรมศุลกากรต้องมีราคารถ (ตาม CIF หรือ FOB) ที่เป็นรถนำเข้าสำเร็จรูปทั้งคันขับได้เลย (CBU) ใช้ก๊าซ NGV และประเภท CKD คือนำเข้าแชสซีส์พร้อมเครื่องยนต์เพื่อประกอบตัวถังในประเทศไทย แต่ไม่มีหน่วยงานภาครัฐหรือแม้กระทั่ง ขสมก.ที่กำลังจะซื้อรถสนใจที่จะหาหรือใช้ข้อมูลจากกรมศุลกากรมาประกอบการ พิจารณาเพื่อหาราคาที่เหมาะสมตรงกับสเปกของรถนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ การพิจารณาเฉพาะราคาของรถโดยสารที่ตรงกับสเปกรถ มันไม่มีองค์กรในภาครัฐที่ถือเป็นองค์กรภายนอกทำหน้าที่คานและตรวจสอบกำกับ กลไกด้านวินัยความถูกต้อง ความเหมาะสมเช่นราคาที่เหมาะสมกับรถที่จะซื้อ ไม่มีการบูรณาการข้อมูลซึ่งควรจะรวมศูนย์อยู่ที่ใดที่หนึ่งเช่นสำนักงบ ประมาณและกรมบัญชีกลาง เมื่อเป็นเช่นนี้อะไรที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดหารถโดยสารโดย ขสมก.โดยเฉพาะโดยการกู้เงินก็เป็นเรื่องที่ดูแลและทำกันเอง กำกับควบคุมกันเองภายในกระทรวงคมนาคม ตั้งแต่รัฐมนตรีเจ้ากระทรวง กรมการขนส่งทางบก และ ขสมก.เป็นต้น ระบบนี้ถ้าเป็นระบบที่อิงกับเล่นพรรคเล่นพวก เห็นแก่พวกพ้อง และถ้ามีวัฒนธรรมการทุจริตอย่างเป็นระบบไม่ชอบให้ใครมาตรวจสอบระบบการทำงาน ไม่ใช่ระบบเปิดและไม่ค่อยโปร่งใส หน่วยราชการอื่นเน้นพิธีกรรมมากกว่าสาระหรือสังคมภายนอกอย่ามายุ่ง

ภาพวาดการ์ตูน รถเมล์เพื่อทุกคน ในสภาพที่กติกาแห่งเกมส์ หรือสถาบันมีลักษณะเช่นนี้การติดตามเอาใจใส่ของสังคมทุกส่วนย่อมมีความสำคัญ แต่ที่สำคัญไม่แพ้กันคือกลุ่มคณะบุคคลจำนวนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นองค์การต่อต้านคอร์รัปชั่น หรือคณะทำงานของ ป.ป.ช. หรือนักวิชาการอิสระ ผู้ประกอบการที่หาและรู้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ทำไมคนที่ติดตามเรื่องนี้ยังมีความคลางแคลงใจ และยังคิดว่าเรายังไม่ได้ทีโออาร์ที่ดีที่สุด หรือพึงปรารถนา และ ขสมก.ควรมีวิธีการทำงานอย่างไร

ด่านแรก ขสมก.ต้องไม่คิดว่าเราเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุด ต้องพร้อมจะแลกเปลี่ยนข้อมูลและรับฟังต้องพร้อมจะเปิดเผยข้อมูล เช่นข้อมูลราคาอ้างอิงของ ขสมก.ในปัจจุบันที่ตั้งราคารถธรรมดาไว้ที่ 3.8 ล้านบาท และรถปรับอากาศที่ 4.5 ล้านบาท ตัวเลขกลมๆ ที่ ขสมก.บอกว่าได้มาจากผู้ประกอบการ 8 แห่งนั้นต้องให้รายละเอียดว่ามีการคำนวณมาได้อย่างไร สัมพันธ์กับสเปกของรถ ซึ่งก็ต้องมีรายละเอียดเช่นกัน สามารถทำเป็นตาราง จริงๆ แล้ว การได้ราคาที่มีการซื้อขายกันจริงๆ ในตลาดต้องนำมาเสริมกับการที่ผู้ประมูลต้องแจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับต้นทุน ของแชสซีส์พร้อมเครื่องยนต์ที่นำเข้ามาประกอบเป็นรถสำเร็จรูปในประเทศไทย เนื่องจากรถที่นำเข้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศจะไม่สามารถเข้ามาร่วมประมูลใน ครั้งนี้ได้

ผู้เขียนคิดว่านี่เป็นวิธีทำงานที่ถูกต้องและโปร่งใสที่สุด ถ้าทำเช่นนี้ได้แม้ราคาของรถไม่ว่าจะสูงหรือต่ำในสายตาของสังคมมันจะสามารถ อธิบายได้ สังคมจะให้ความไว้วางใจ เราอยู่ในยุคที่ทุกคนรู้ข้อมูลและข่าวสาร ไม่มีใครโง่ที่จะโดนหลอกได้มากกว่าหนึ่งครั้ง

ถัดจากเรื่องราคาก็ เป็นเรื่องสเปกรถ เรายังเชื่อเหมือนผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ว่า ขสมก.ควรจะมีรถที่มีขนาดความยาวน้อยกว่า 12 เมตร เช่น รถความยาว 10 เมตรจำนวนหนึ่ง ใช้วิ่งในช่วงเวลาที่คนใช้รถน้อย ซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณหลวงไปได้หลายพันล้านบาท สเปกรถควรมีรายละเอียดที่ชัดเจนในหลายเรื่องเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เสนอราคาต่ำ แต่ได้รถที่ไม่ค่อยดี เพราะสเปกรถไม่ได้มีการกำหนดรายละเอียดในทีโออาร์ โดยเฉพาะเมื่อมันเป็นเรื่องความปลอดภัยและสวัสดิภาพของผู้โดยสาร เช่น การกำหนดความสูงของแชสซีส์จากพื้นถนนว่าเราต้องการรถประเภทพื้นต่ำหรือพื้น สูง หรือกึ่งสูงกึ่งต่ำ หรือถ้าเป็นได้ทั้งนั้นอาจต้องกำหนดเขตและถนนที่เหมาะกับระดับพื้นที่ของรถ ระบบเบรกควรจะมีระบบช่วยเบรกที่เกียร์หรือที่เพลาด้วยไหม รวมทั้งข้อสังเกตของผู้ประกอบการที่ผู้เขียนได้รับฟังมาว่ารถธรรมดาก็ควรจะ ใช้เกียร์ออโต้ เพราะรถในเมืองติดมาก มีการดึงองค์กรภาคประชาชนเข้า ไปมีส่วนร่วม อย่างน้อยก็เป็นผู้สังเกตการณ์ให้สังคมรับรู้ทุกขั้นตอนเมื่อมีการประมูลราย ละเอียดของราคาและสเปกของรถ พร้อมให้สังคมวิจารณ์และช่วยวินิจฉัย ผู้เขียนคิดว่าเราไม่จำเป็นต้องได้รถราคาที่ถูก หรือต่ำที่สุด ถ้ารถที่ได้นั้นเป็นรถที่ในระยะยาวไม่คุ้มกับราคาเพราะเราได้รถที่ไม่ดี

ในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา กระบวนการร่างทีโออาร์เพื่อซื้อรถเมล์ใช้ก๊าซ NGV ของ ขสมก. จำนวน 3,183 คัน ได้ดำเนินมาถึงช่วงสุดท้าย ผู้เขียนคิดว่ามีพัฒนาการในด้านบวกและด้านลบที่สังคมควรรู้อยู่หลายเรื่อง

เรื่องแรกคือผู้ที่สนใจติดตามเฝ้าระวังการเตรียมทีโออาร์ หรือการทำงานของ ขสมก. มีจำนวนมากพอสมควร มีทั้งองค์การต่อต้านคอร์รัปชั่น ผู้ประกอบการ และคณะทำงานของ ป.ป.ช. เป็นต้น เราพบว่าข้อเสนอสำคัญๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามข้อเสนอ ไม่มีการเปิดเผยข้อคิดเห็นของทุกฝ่ายลงในเว็บไซต์ของขสมก. กระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมีลักษณะปิด เพราะ ขสมก.ไม่จัดให้มีการประชาพิจารณ์แบบสัมมนา

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1382697509&grpid=&catid=02&subcatid=0207 (ขนาดไฟล์: 167)

( มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ต.ค.56 )

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 27/10/2556 เวลา 02:04:12 ดูภาพสไลด์โชว์ "รถเมล์ขสมก" ซื้ออย่างไรให้สังคมไว้วางใจ โดย ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

รถเมล์ขสมก.เอ็นจีวี เท่าที่ผู้เขียนติดตามการซื้อรถของ ขสมก.จนถึงวันนี้ ผู้เขียนคิดว่าก่อนที่ ขสมก.จะเริ่มออกทีโออาร์ (TOR) ฉบับแรกและฉบับต่อๆ มา คนที่เป็นแฟนประจำติดตามเรื่องนี้อยู่ต่างก็คาดกันว่า โครงการที่ใช้เงินหมื่นกว่าล้านบาทนี้ต้องมีคอร์รัปชั่นแน่นอน มีถึงขนาดเชื่อและปรากฏในหนังสือพิมพ์ว่าราคาอ้างอิงที่คณะกรรมการกำหนดราคา กลางนั้นสูงกว่าที่ควรจะเป็นถึงคันละ 1 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 30 ของวงเงิน 13,162.2 ล้านบาท ที่ใช้ซื้อรถเมล์ 3,183 คัน ในส่วนตัวอย่างน้อยในขณะนี้ ผู้เขียนคิดว่ายังเร็วเกินไปที่จะสามารถสรุปขนาดของคอร์รัปชั่น (ถ้ามี) ผู้เขียนคิดว่าถ้าขาประจำที่กัดไม่ปล่อยทำงานอย่างจริงจังในการหาข้อมูล เรื่องราคาที่เหมาะสมกับสเปกของรถมีการกำหนดสเปกที่มีรายละเอียดชัดเจนที่ดีพอ มีการกำหนดกติกาที่พอยอมรับกันได้ และรัฐมนตรีชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ให้ความสำคัญเรื่องนี้อย่างจริงใจ ขนาดของคอร์รัปชั่นที่ใหญ่หลวง ขนาด 20-30% ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ง่าย เหมือนหลายๆ กรณีในอดีต มันมีความจริงอยู่บ้างเหมือนที่ผู้เขียนเคยได้ยินจากผู้บริหารของ ขสมก.เองว่า "ราคารถมันซื้อขายกันเท่าไหร่ มันก็พอรู้กันอยู่แล้วในวงการ มันจะโกงกินกันได้สักแค่ไหน" ภาพวาดการ์ตูน รถเมล์เพื่อทุกคน การกำหนดสเปกรถเพื่อให้ได้รถที่ดี ราคาที่เหมาะสมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้โดยสารและความเป็นธรรมสำหรับทุก ฝ่ายนั้นต้องการความร่วมมือจากผู้ที่มีความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริง จากผู้ที่อยู่ในวงการทั้งผู้ขายและผู้ซื้อประสบการณ์จากต่างประเทศ วงการวิชาการหน่วยงานภาครัฐ จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ติดตามเรื่องนี้มาปีเศษๆ ผู้เขียนพบว่าการที่จะได้มาซึ่งราคากลางหรือราคาอ้างอิงที่ควรจะเป็นที่ยอม รับกันได้ทุกฝ่ายไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ทำได้แบบสุกเอาเผากินตามใจชอบเพียงแค่โทรศัพท์ถามและไม่ลงรายละเอียด และถ้ามีหรือได้มาจะสามารถยัดเยียดให้คนรับและเชื่อถือได้ ในกรณีของภาครัฐ หน่วยราชการหลายหน่วยโดยเฉพาะกองทัพมีการซื้อรถโดยสารไว้ใช้จำนวนมาก มีการเช่ารถแทนการซื้อ ขสมก.เองก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ประกอบการรถร่วมที่ใช้รถเมล์ NGV ในรอบหลายปีที่ผ่านมา สำนักงบประมาณเป็นผู้จัดสรรงบประมาณและสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เป็นผู้จัดสรรงบประมาณและเงินกู้ตามลำดับ แต่สองหน่วยงานนี้ไม่มีข้อมูลเรื่องราคารถและสเปกรถที่ต้องมาคู่กัน ที่น่าแปลกใจก็คือ กรมบัญชีกลางก็ไม่เคยเก็บข้อมูลประเภทนี้ เก็บแต่ข้อมูลราคากลางการก่อสร้าง กรมศุลกากรต้องมีราคารถ (ตาม CIF หรือ FOB) ที่เป็นรถนำเข้าสำเร็จรูปทั้งคันขับได้เลย (CBU) ใช้ก๊าซ NGV และประเภท CKD คือนำเข้าแชสซีส์พร้อมเครื่องยนต์เพื่อประกอบตัวถังในประเทศไทย แต่ไม่มีหน่วยงานภาครัฐหรือแม้กระทั่ง ขสมก.ที่กำลังจะซื้อรถสนใจที่จะหาหรือใช้ข้อมูลจากกรมศุลกากรมาประกอบการ พิจารณาเพื่อหาราคาที่เหมาะสมตรงกับสเปกของรถนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ การพิจารณาเฉพาะราคาของรถโดยสารที่ตรงกับสเปกรถ มันไม่มีองค์กรในภาครัฐที่ถือเป็นองค์กรภายนอกทำหน้าที่คานและตรวจสอบกำกับ กลไกด้านวินัยความถูกต้อง ความเหมาะสมเช่นราคาที่เหมาะสมกับรถที่จะซื้อ ไม่มีการบูรณาการข้อมูลซึ่งควรจะรวมศูนย์อยู่ที่ใดที่หนึ่งเช่นสำนักงบ ประมาณและกรมบัญชีกลาง เมื่อเป็นเช่นนี้อะไรที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดหารถโดยสารโดย ขสมก.โดยเฉพาะโดยการกู้เงินก็เป็นเรื่องที่ดูแลและทำกันเอง กำกับควบคุมกันเองภายในกระทรวงคมนาคม ตั้งแต่รัฐมนตรีเจ้ากระทรวง กรมการขนส่งทางบก และ ขสมก.เป็นต้น ระบบนี้ถ้าเป็นระบบที่อิงกับเล่นพรรคเล่นพวก เห็นแก่พวกพ้อง และถ้ามีวัฒนธรรมการทุจริตอย่างเป็นระบบไม่ชอบให้ใครมาตรวจสอบระบบการทำงาน ไม่ใช่ระบบเปิดและไม่ค่อยโปร่งใส หน่วยราชการอื่นเน้นพิธีกรรมมากกว่าสาระหรือสังคมภายนอกอย่ามายุ่ง ภาพวาดการ์ตูน รถเมล์เพื่อทุกคนในสภาพที่กติกาแห่งเกมส์ หรือสถาบันมีลักษณะเช่นนี้การติดตามเอาใจใส่ของสังคมทุกส่วนย่อมมีความสำคัญ แต่ที่สำคัญไม่แพ้กันคือกลุ่มคณะบุคคลจำนวนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นองค์การต่อต้านคอร์รัปชั่น หรือคณะทำงานของ ป.ป.ช. หรือนักวิชาการอิสระ ผู้ประกอบการที่หาและรู้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ทำไมคนที่ติดตามเรื่องนี้ยังมีความคลางแคลงใจ และยังคิดว่าเรายังไม่ได้ทีโออาร์ที่ดีที่สุด หรือพึงปรารถนา และ ขสมก.ควรมีวิธีการทำงานอย่างไร ด่านแรก ขสมก.ต้องไม่คิดว่าเราเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุด ต้องพร้อมจะแลกเปลี่ยนข้อมูลและรับฟังต้องพร้อมจะเปิดเผยข้อมูล เช่นข้อมูลราคาอ้างอิงของ ขสมก.ในปัจจุบันที่ตั้งราคารถธรรมดาไว้ที่ 3.8 ล้านบาท และรถปรับอากาศที่ 4.5 ล้านบาท ตัวเลขกลมๆ ที่ ขสมก.บอกว่าได้มาจากผู้ประกอบการ 8 แห่งนั้นต้องให้รายละเอียดว่ามีการคำนวณมาได้อย่างไร สัมพันธ์กับสเปกของรถ ซึ่งก็ต้องมีรายละเอียดเช่นกัน สามารถทำเป็นตาราง จริงๆ แล้ว การได้ราคาที่มีการซื้อขายกันจริงๆ ในตลาดต้องนำมาเสริมกับการที่ผู้ประมูลต้องแจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับต้นทุน ของแชสซีส์พร้อมเครื่องยนต์ที่นำเข้ามาประกอบเป็นรถสำเร็จรูปในประเทศไทย เนื่องจากรถที่นำเข้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศจะไม่สามารถเข้ามาร่วมประมูลใน ครั้งนี้ได้ ผู้เขียนคิดว่านี่เป็นวิธีทำงานที่ถูกต้องและโปร่งใสที่สุด ถ้าทำเช่นนี้ได้แม้ราคาของรถไม่ว่าจะสูงหรือต่ำในสายตาของสังคมมันจะสามารถ อธิบายได้ สังคมจะให้ความไว้วางใจ เราอยู่ในยุคที่ทุกคนรู้ข้อมูลและข่าวสาร ไม่มีใครโง่ที่จะโดนหลอกได้มากกว่าหนึ่งครั้ง ถัดจากเรื่องราคาก็ เป็นเรื่องสเปกรถ เรายังเชื่อเหมือนผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ว่า ขสมก.ควรจะมีรถที่มีขนาดความยาวน้อยกว่า 12 เมตร เช่น รถความยาว 10 เมตรจำนวนหนึ่ง ใช้วิ่งในช่วงเวลาที่คนใช้รถน้อย ซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณหลวงไปได้หลายพันล้านบาท สเปกรถควรมีรายละเอียดที่ชัดเจนในหลายเรื่องเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เสนอราคาต่ำ แต่ได้รถที่ไม่ค่อยดี เพราะสเปกรถไม่ได้มีการกำหนดรายละเอียดในทีโออาร์ โดยเฉพาะเมื่อมันเป็นเรื่องความปลอดภัยและสวัสดิภาพของผู้โดยสาร เช่น การกำหนดความสูงของแชสซีส์จากพื้นถนนว่าเราต้องการรถประเภทพื้นต่ำหรือพื้น สูง หรือกึ่งสูงกึ่งต่ำ หรือถ้าเป็นได้ทั้งนั้นอาจต้องกำหนดเขตและถนนที่เหมาะกับระดับพื้นที่ของรถ ระบบเบรกควรจะมีระบบช่วยเบรกที่เกียร์หรือที่เพลาด้วยไหม รวมทั้งข้อสังเกตของผู้ประกอบการที่ผู้เขียนได้รับฟังมาว่ารถธรรมดาก็ควรจะ ใช้เกียร์ออโต้ เพราะรถในเมืองติดมาก มีการดึงองค์กรภาคประชาชนเข้า ไปมีส่วนร่วม อย่างน้อยก็เป็นผู้สังเกตการณ์ให้สังคมรับรู้ทุกขั้นตอนเมื่อมีการประมูลราย ละเอียดของราคาและสเปกของรถ พร้อมให้สังคมวิจารณ์และช่วยวินิจฉัย ผู้เขียนคิดว่าเราไม่จำเป็นต้องได้รถราคาที่ถูก หรือต่ำที่สุด ถ้ารถที่ได้นั้นเป็นรถที่ในระยะยาวไม่คุ้มกับราคาเพราะเราได้รถที่ไม่ดี ในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา กระบวนการร่างทีโออาร์เพื่อซื้อรถเมล์ใช้ก๊าซ NGV ของ ขสมก. จำนวน 3,183 คัน ได้ดำเนินมาถึงช่วงสุดท้าย ผู้เขียนคิดว่ามีพัฒนาการในด้านบวกและด้านลบที่สังคมควรรู้อยู่หลายเรื่อง เรื่องแรกคือผู้ที่สนใจติดตามเฝ้าระวังการเตรียมทีโออาร์ หรือการทำงานของ ขสมก. มีจำนวนมากพอสมควร มีทั้งองค์การต่อต้านคอร์รัปชั่น ผู้ประกอบการ และคณะทำงานของ ป.ป.ช. เป็นต้น เราพบว่าข้อเสนอสำคัญๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามข้อเสนอ ไม่มีการเปิดเผยข้อคิดเห็นของทุกฝ่ายลงในเว็บไซต์ของขสมก. กระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมีลักษณะปิด เพราะ ขสมก.ไม่จัดให้มีการประชาพิจารณ์แบบสัมมนา ขอบคุณ… http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1382697509&grpid=&catid=02&subcatid=0207 ( มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ต.ค.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...