โฟกัสวิกฤติปฐมวัย(1) 'ติดเล่นไฮเทค' เป็น'ออทิสติกเทียม!'
ปัจจุบันปัญหาการ “ติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์” ที่เกิดมากขึ้นในเด็ก ส่งผลทำให้เด็กรุ่นใหม่เกิด ’สภาวะสมาธิสั้นเทียม“ มากขึ้น รวมถึงมีแนวโน้มที่เด็กไทยจะ มีพัฒนาการทางภาษาที่ช้าลง จนทำให้เกิดอีกสภาวะ สถานการณ์โลกปัจจุบันเสมือนเรียกร้องให้เด็กทั่วโลก รวมถึง ’เด็กไทยรุ่นใหม่“ จำเป็นต้องมี “ทักษะของศตวรรษที่ 21” ตั้งแต่กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ และรู้เท่าทันเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า... ด้วยระบบการเรียนการสอนในห้องเรียนในโรงเรียนรูปแบบเดิม ๆ ตั้งแต่ชั้นอนุบาล หรือ ’เด็กช่วงปฐมวัย“ ยังไม่เอื้อต่อการไปถึงเป้าหมายดังกล่าวได้อย่างที่ควรเป็น เพราะ ’ยังมีอุปสรรค-ข้อจำกัด“ ในหลายด้าน โดยเฉพาะกับ “การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก” ที่ดูเหมือนเกี่ยวกับเรื่องนี้ใน “ประเทศไทย” จะมีปัญหาอยู่ไม่น้อย...และเกี่ยวกับ “แนวทางการแก้ปัญหา” เพื่อการลดอุปสรรคและข้อจำกัดในการพัฒนาทักษะเด็กไทยให้สามารถรับมือกับโลกในศตวรรษที่ 21 นั้น
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทางสถาบันนานมีบุ๊คส์อินโนเวชั่น ได้มีการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ Sensory Integration & Active Learning For Active Citizen ขึ้น เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 25 ปีของทางนานมีบุ๊คส์ โดยได้มีการเชิญนักวิชาการ นักการศึกษา และครูปฐมวัย เข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงร่วมสะท้อนมุมมองในเรื่องนี้ ซึ่งก็ได้มีการหยิบยก นำเอา “กรณีศึกษาประเทศไทย” และ “กรณีศึกษาต่างประเทศ” ขึ้นมาสะท้อน...ผ่าน “มุมมอง” ของ “นักการศึกษา-นักวิชาการ” มีมุมสะท้อนทั้งส่วนของไทย และต่างประเทศ โดยเวทีนี้ก็มี ’มุมวิเคราะห์ที่น่าสนใจ“ ไม่น้อย
สำหรับ “มุมสะท้อน-มุมวิเคราะห์” ของ “นักวิชาการ-นักการศึกษาไทย” นั้น ทาง ธิดา พิทักษ์สินสุข คณะทำงานจัดทำรายงานการปฏิรูปการปฐมวัยของประเทศ ได้สะท้อนปัญหาดังกล่าวผ่านการบรรยายในหัวข้อ “แนวทางการขับเคลื่อนการศึกษาปฐมวัยในอนาคต” โดยได้โฟกัสไปที่เรื่องของ “การสร้างรากฐานการเรียนรู้ของเด็ก” สรุปได้ว่า ปัจจุบันปัญหาการ “ติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์” ที่เกิดมากขึ้นในเด็ก ส่งผลทำให้เด็กรุ่นใหม่มีแนวโน้มเกิด ’สภาวะสมาธิสั้นเทียม“ มากขึ้น รวมถึงมีแนวโน้มที่เด็กไทยจะ มีพัฒนาการทางภาษาที่ช้าลง จนทำให้เกิดอีกสภาวะ ที่เรียกกันว่า ’สภาวะของออทิสติกเทียม!!!“ จนอาจทำให้ไทยต้องเจอกับ ’วิกฤติปฐมวัย“ ทางอาจารย์ธิดายังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องนี้ไว้อีกว่า... จากผลการสำรวจเด็กไทย ช่วงอายุระหว่าง 1-3 ปี พบว่า... มีเด็กที่มี พัฒนาการล่าช้าไม่สมวัย โดยพบปัญหาดังกล่าวนี้มากถึงร้อยละ 28.6 ซึ่งต้องถือว่า เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ของประเทศไทย!!! เพราะ...พัฒนาการเรียนรู้ของเด็กช่วงปฐมวัยจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงพัฒนาการของเด็กในช่วงวัยที่โตขึ้น ดังนั้น “วิกฤติปฐมวัย” จึงเป็น “วิกฤติที่สำคัญของประเทศ” ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุก ๆ ภาคส่วนในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะ “ครูอนุบาล-ผู้บริหารโรงเรียน” ที่ถือเป็น “ผู้จุดประกายทักษะ” ต่าง ๆ ให้เด็ก ๆ
กุญแจสำคัญจึงอยู่ที่คุณครูอนุบาลทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้ที่ควรจะคำนึงถึงปัญหานี้มากที่สุด เพราะอนาคตของประเทศขึ้นอยู่กับอนาคตของปฐมวัย ดังนั้น หน้าที่ของครูอนุบาล จึงถือว่าเป็นผู้สร้างอนาคตของเด็ก ๆ โดยแท้จริง เป็นประเด็นน่าคิดที่ทางนักวิชาการด้านการศึกษาท่านนี้ได้มีการสะท้อนไว้ ส่วน “เสียงสะท้อน” จากฝั่ง “ครู” กับการแก้ไข “วิกฤติปฐมวัย” นั้น ทาง วรรณธนา เดวีเลาะห์ ครูประจำระดับชั้นอนุบาล รร.ศาลาคู้ ที่เข้าร่วมกิจกรรม ระบุไว้สรุปได้ว่า ก่อนหน้านี้กลุ่มครูด้วยกันก็เคยถกปัญหาเรื่องพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก และทำให้ต้องกลับมาคิดต่อกันว่า จะทำอย่างไรให้การสอนเด็กอนุบาลเชื่อมโยงกับการสอนของเด็กประถมได้? เพราะบางครั้งนโยบายที่ได้รับมานั้นอาจตรงกันข้ามกับสิ่งที่ครูเคยปฏิบัติ ที่สำคัญ...พอเด็กที่สอนขึ้นไปเรียนชั้นประถมฯ ก็จะถูกถามกลับมาว่า เพราะเหตุใดเด็กถึงอ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้? ซึ่ง กรณีนี้ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะตัวเด็ก...แต่ยังกลายเป็น ’ปัญหาของครู“ อีกด้วย!!!
ทั้งนี้ นอกจากปัญหาในเรื่องดังกล่าวข้างต้น อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่แพ้กัน นั่นคือ “ปัญหาการสอนเด็กระดับปฐมวัย” เช่น การขาดทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย ที่ทำให้คะแนนค่าเฉลี่ยวัดผลของเด็กไทยนั้นอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สำคัญของเด็กไทย และรวมถึงการศึกษาของไทย ในเวลานี้ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เกี่ยวโยงกับเรื่องนี้ ทาง คิม จงสถิตย์วัฒนา กรรมการและเลขานุการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการ สอนแบบ Active Learning ให้กับเด็กชั้นอนุบาล ได้ให้ข้อมูลและเป้าหมายเกี่ยวกับโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” ที่จัดขึ้น โดยสรุปบางส่วนคือ... วิธีการเรียนรู้ของบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย คือการ มุ่งเน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่กระบวนการคิดด้วยตัวเอง และคุณครูจะทำหน้าที่สอบถามเด็กเพื่อดูวิธีตอบคำถาม ซึ่งมักมีคำตอบที่แตกต่างกันไป และเมื่อครูทราบถึงวิธีการ ก็จะสามารถนำไปใช้เชื่อมโยงกับบริบทในโรงเรียนได้... เพื่อนำสู่การ ’ออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม“ ให้เด็ก ๆ ซึ่งนี่ก็เป็นตัวอย่างแนวทางแก้ปัญหา เรื่อง ’เด็กปฐมวัย“ ในไทยมิใช่แค่เรื่องเด็ก ๆ และก็ยังมี ’มุมมองนักวิชาการต่างประเทศ“ ที่วิเคราะห์ไว้น่าสนใจ...มาดูกันตอนต่อไป
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
โฟกัสวิกฤติปฐมวัย(1) 'ติดเล่นไฮเทค' เป็น'ออทิสติกเทียม!' ปัจจุบันปัญหาการ “ติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์” ที่เกิดมากขึ้นในเด็ก ส่งผลทำให้เด็กรุ่นใหม่เกิด ’สภาวะสมาธิสั้นเทียม“ มากขึ้น รวมถึงมีแนวโน้มที่เด็กไทยจะ มีพัฒนาการทางภาษาที่ช้าลง จนทำให้เกิดอีกสภาวะ สถานการณ์โลกปัจจุบันเสมือนเรียกร้องให้เด็กทั่วโลก รวมถึง ’เด็กไทยรุ่นใหม่“ จำเป็นต้องมี “ทักษะของศตวรรษที่ 21” ตั้งแต่กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ และรู้เท่าทันเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า... ด้วยระบบการเรียนการสอนในห้องเรียนในโรงเรียนรูปแบบเดิม ๆ ตั้งแต่ชั้นอนุบาล หรือ ’เด็กช่วงปฐมวัย“ ยังไม่เอื้อต่อการไปถึงเป้าหมายดังกล่าวได้อย่างที่ควรเป็น เพราะ ’ยังมีอุปสรรค-ข้อจำกัด“ ในหลายด้าน โดยเฉพาะกับ “การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก” ที่ดูเหมือนเกี่ยวกับเรื่องนี้ใน “ประเทศไทย” จะมีปัญหาอยู่ไม่น้อย...และเกี่ยวกับ “แนวทางการแก้ปัญหา” เพื่อการลดอุปสรรคและข้อจำกัดในการพัฒนาทักษะเด็กไทยให้สามารถรับมือกับโลกในศตวรรษที่ 21 นั้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทางสถาบันนานมีบุ๊คส์อินโนเวชั่น ได้มีการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ Sensory Integration & Active Learning For Active Citizen ขึ้น เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 25 ปีของทางนานมีบุ๊คส์ โดยได้มีการเชิญนักวิชาการ นักการศึกษา และครูปฐมวัย เข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงร่วมสะท้อนมุมมองในเรื่องนี้ ซึ่งก็ได้มีการหยิบยก นำเอา “กรณีศึกษาประเทศไทย” และ “กรณีศึกษาต่างประเทศ” ขึ้นมาสะท้อน...ผ่าน “มุมมอง” ของ “นักการศึกษา-นักวิชาการ” มีมุมสะท้อนทั้งส่วนของไทย และต่างประเทศ โดยเวทีนี้ก็มี ’มุมวิเคราะห์ที่น่าสนใจ“ ไม่น้อย สำหรับ “มุมสะท้อน-มุมวิเคราะห์” ของ “นักวิชาการ-นักการศึกษาไทย” นั้น ทาง ธิดา พิทักษ์สินสุข คณะทำงานจัดทำรายงานการปฏิรูปการปฐมวัยของประเทศ ได้สะท้อนปัญหาดังกล่าวผ่านการบรรยายในหัวข้อ “แนวทางการขับเคลื่อนการศึกษาปฐมวัยในอนาคต” โดยได้โฟกัสไปที่เรื่องของ “การสร้างรากฐานการเรียนรู้ของเด็ก” สรุปได้ว่า ปัจจุบันปัญหาการ “ติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์” ที่เกิดมากขึ้นในเด็ก ส่งผลทำให้เด็กรุ่นใหม่มีแนวโน้มเกิด ’สภาวะสมาธิสั้นเทียม“ มากขึ้น รวมถึงมีแนวโน้มที่เด็กไทยจะ มีพัฒนาการทางภาษาที่ช้าลง จนทำให้เกิดอีกสภาวะ ที่เรียกกันว่า ’สภาวะของออทิสติกเทียม!!!“ จนอาจทำให้ไทยต้องเจอกับ ’วิกฤติปฐมวัย“ ทางอาจารย์ธิดายังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องนี้ไว้อีกว่า... จากผลการสำรวจเด็กไทย ช่วงอายุระหว่าง 1-3 ปี พบว่า... มีเด็กที่มี พัฒนาการล่าช้าไม่สมวัย โดยพบปัญหาดังกล่าวนี้มากถึงร้อยละ 28.6 ซึ่งต้องถือว่า เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ของประเทศไทย!!! เพราะ...พัฒนาการเรียนรู้ของเด็กช่วงปฐมวัยจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงพัฒนาการของเด็กในช่วงวัยที่โตขึ้น ดังนั้น “วิกฤติปฐมวัย” จึงเป็น “วิกฤติที่สำคัญของประเทศ” ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุก ๆ ภาคส่วนในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะ “ครูอนุบาล-ผู้บริหารโรงเรียน” ที่ถือเป็น “ผู้จุดประกายทักษะ” ต่าง ๆ ให้เด็ก ๆ กุญแจสำคัญจึงอยู่ที่คุณครูอนุบาลทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้ที่ควรจะคำนึงถึงปัญหานี้มากที่สุด เพราะอนาคตของประเทศขึ้นอยู่กับอนาคตของปฐมวัย ดังนั้น หน้าที่ของครูอนุบาล จึงถือว่าเป็นผู้สร้างอนาคตของเด็ก ๆ โดยแท้จริง เป็นประเด็นน่าคิดที่ทางนักวิชาการด้านการศึกษาท่านนี้ได้มีการสะท้อนไว้ ส่วน “เสียงสะท้อน” จากฝั่ง “ครู” กับการแก้ไข “วิกฤติปฐมวัย” นั้น ทาง วรรณธนา เดวีเลาะห์ ครูประจำระดับชั้นอนุบาล รร.ศาลาคู้ ที่เข้าร่วมกิจกรรม ระบุไว้สรุปได้ว่า ก่อนหน้านี้กลุ่มครูด้วยกันก็เคยถกปัญหาเรื่องพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก และทำให้ต้องกลับมาคิดต่อกันว่า จะทำอย่างไรให้การสอนเด็กอนุบาลเชื่อมโยงกับการสอนของเด็กประถมได้? เพราะบางครั้งนโยบายที่ได้รับมานั้นอาจตรงกันข้ามกับสิ่งที่ครูเคยปฏิบัติ ที่สำคัญ...พอเด็กที่สอนขึ้นไปเรียนชั้นประถมฯ ก็จะถูกถามกลับมาว่า เพราะเหตุใดเด็กถึงอ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้? ซึ่ง กรณีนี้ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะตัวเด็ก...แต่ยังกลายเป็น ’ปัญหาของครู“ อีกด้วย!!! ทั้งนี้ นอกจากปัญหาในเรื่องดังกล่าวข้างต้น อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่แพ้กัน นั่นคือ “ปัญหาการสอนเด็กระดับปฐมวัย” เช่น การขาดทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย ที่ทำให้คะแนนค่าเฉลี่ยวัดผลของเด็กไทยนั้นอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สำคัญของเด็กไทย และรวมถึงการศึกษาของไทย ในเวลานี้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เกี่ยวโยงกับเรื่องนี้ ทาง คิม จงสถิตย์วัฒนา กรรมการและเลขานุการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการ สอนแบบ Active Learning ให้กับเด็กชั้นอนุบาล ได้ให้ข้อมูลและเป้าหมายเกี่ยวกับโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” ที่จัดขึ้น โดยสรุปบางส่วนคือ... วิธีการเรียนรู้ของบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย คือการ มุ่งเน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่กระบวนการคิดด้วยตัวเอง และคุณครูจะทำหน้าที่สอบถามเด็กเพื่อดูวิธีตอบคำถาม ซึ่งมักมีคำตอบที่แตกต่างกันไป และเมื่อครูทราบถึงวิธีการ ก็จะสามารถนำไปใช้เชื่อมโยงกับบริบทในโรงเรียนได้... เพื่อนำสู่การ ’ออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม“ ให้เด็ก ๆ ซึ่งนี่ก็เป็นตัวอย่างแนวทางแก้ปัญหา เรื่อง ’เด็กปฐมวัย“ ในไทยมิใช่แค่เรื่องเด็ก ๆ และก็ยังมี ’มุมมองนักวิชาการต่างประเทศ“ ที่วิเคราะห์ไว้น่าสนใจ...มาดูกันตอนต่อไป ขอบคุณ... https://www.dailynews.co.th/article/592167
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)