เปิดโอกาส ลดช่องว่าง "ผู้ป่วยจิตเวช"

แสดงความคิดเห็น

ผู้ป่วยจิตเวช

ถึงแม้ว่าทุกคนนี้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ป่วยทางจิตเวชในสังคมไทยมีมากขึ้น เราจะเห็นว่าคนไทยเปิดใจ เข้ารับการรักษากับจิตแพทย์กันเยอะขึ้น แต่ยังคงมีปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยบางส่วน คือการยอมรับและโอกาสในการประกอบอาชีพ เพื่อให้มีรายได้และใช้ชีวิตในสังคมเหมือนคนทั่วไปได้ ติดตามจากรายงานของคุณศุภวิชช์

ทุกวันนี้ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาการป่วยทางจิตในสังคมไทยยังคงมีอยู่ ภาพจำว่าผู้ป่วยโรคจิตนั้น เป็นบุคคลอันตราย ที่มักจะทำร้ายตัวเอง หรือคนรอบข้าง ในภาวะคุ้มคลั่ง ได้กลายเป็นทั้งกำแพง และตราบาปว่า ผู้ป่วยทางจิต ไม่อาจใช้ชีวิตร่วมกับคนในสังคมตามปกติ ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องเก็บตัวกับอยู่บ้าน ขณะที่บางรายมีโรงพยาบาลเป็นบ้านหลังที่2

ไม่ว่าจะเป็น โรคจิต ซึมเศร้า อารมณ์ 2 ขั้ว วิตกกังวล ล้วนเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการทำสมาธิ อย่าง อุดม วิจิตพาวรรณ ผู้ที่เรียนจบปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ เคยทำงานที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งเมื่อชีวิตพบจุดพลิกผันทำให้เขากลายเป็นผู้ป่วยจิตเวชในที่สุด

อุดมเล่าถึงอาการที่ตัวเองต้องรับมือนั้น ตั้งแต่อาการ ลุกลี้ลุกลน หูแว่ว นอนไม่หลับ เครียดและวิตกกังวล ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นมาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมแล้ว จนเข้ารับการรักษาที่สถาบันจิตเวช ขณะเรียนมหาวิทยาลัยแต่อาการกลับมากำเริบรุนแรงขึ้นเมื่อหยุดยาด้วยตนเอง

หลังจากนั้น เขาได้เข้ารับการรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ถึงแม้ อุดมจะถือเป็นกรณีตัวอย่างที่ผู้ป่วยจิตเวชสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ก็ไม่สามารถกลับไปทำงานตามเดิมได้ มาวันนี้ อุดม มีรายได้จากการเป็นบารริสต้า พาร์ทไทม์ ในร้านกาแฟหลังคาแดง ซึ่งถือเป็นโครงการฝึกอาชีพ ของผู้ป่วยจิตเวชของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาทำให้มีรายได้ที่พอจะประทังชีวิตตนเองได้

การดูแลจิตใจซึ่งกันและกันภายในครอบครัว ด้วยการสังเกตอาการ รับฟังปัญหาอย่างใส่ใจ และอาจแนะนำให้เข้ารับการรักษาอย่างมีชั้นเชิงถือเป็นประตูบานแรกของการนำไปสู่การรักษา แต่ทางที่ดีที่สุด คือการป้องกันการเกิดอาการจิตเวช ด้วยการใส่ใจเลี้ยงดูตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็ก ให้มีพัฒนาการในทุกด้าน ใส่ใจในปัญหาเล็กๆ น้อยๆ และป้องกันเหตุการณ์ที่อาจกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เป็นคนที่มีสุขภาพจิตดีได้

ขอบคุณ…. http://www.now26.tv/view/92138 (ขนาดไฟล์: 162)

ที่มา: now26.tvออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 พ.ย.59
วันที่โพสต์: 8/11/2559 เวลา 10:08:28 ดูภาพสไลด์โชว์ เปิดโอกาส ลดช่องว่าง "ผู้ป่วยจิตเวช"

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผู้ป่วยจิตเวช ถึงแม้ว่าทุกคนนี้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ป่วยทางจิตเวชในสังคมไทยมีมากขึ้น เราจะเห็นว่าคนไทยเปิดใจ เข้ารับการรักษากับจิตแพทย์กันเยอะขึ้น แต่ยังคงมีปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยบางส่วน คือการยอมรับและโอกาสในการประกอบอาชีพ เพื่อให้มีรายได้และใช้ชีวิตในสังคมเหมือนคนทั่วไปได้ ติดตามจากรายงานของคุณศุภวิชช์ ทุกวันนี้ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาการป่วยทางจิตในสังคมไทยยังคงมีอยู่ ภาพจำว่าผู้ป่วยโรคจิตนั้น เป็นบุคคลอันตราย ที่มักจะทำร้ายตัวเอง หรือคนรอบข้าง ในภาวะคุ้มคลั่ง ได้กลายเป็นทั้งกำแพง และตราบาปว่า ผู้ป่วยทางจิต ไม่อาจใช้ชีวิตร่วมกับคนในสังคมตามปกติ ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องเก็บตัวกับอยู่บ้าน ขณะที่บางรายมีโรงพยาบาลเป็นบ้านหลังที่2 ไม่ว่าจะเป็น โรคจิต ซึมเศร้า อารมณ์ 2 ขั้ว วิตกกังวล ล้วนเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการทำสมาธิ อย่าง อุดม วิจิตพาวรรณ ผู้ที่เรียนจบปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ เคยทำงานที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งเมื่อชีวิตพบจุดพลิกผันทำให้เขากลายเป็นผู้ป่วยจิตเวชในที่สุด อุดมเล่าถึงอาการที่ตัวเองต้องรับมือนั้น ตั้งแต่อาการ ลุกลี้ลุกลน หูแว่ว นอนไม่หลับ เครียดและวิตกกังวล ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นมาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมแล้ว จนเข้ารับการรักษาที่สถาบันจิตเวช ขณะเรียนมหาวิทยาลัยแต่อาการกลับมากำเริบรุนแรงขึ้นเมื่อหยุดยาด้วยตนเอง หลังจากนั้น เขาได้เข้ารับการรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ถึงแม้ อุดมจะถือเป็นกรณีตัวอย่างที่ผู้ป่วยจิตเวชสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ก็ไม่สามารถกลับไปทำงานตามเดิมได้ มาวันนี้ อุดม มีรายได้จากการเป็นบารริสต้า พาร์ทไทม์ ในร้านกาแฟหลังคาแดง ซึ่งถือเป็นโครงการฝึกอาชีพ ของผู้ป่วยจิตเวชของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาทำให้มีรายได้ที่พอจะประทังชีวิตตนเองได้ การดูแลจิตใจซึ่งกันและกันภายในครอบครัว ด้วยการสังเกตอาการ รับฟังปัญหาอย่างใส่ใจ และอาจแนะนำให้เข้ารับการรักษาอย่างมีชั้นเชิงถือเป็นประตูบานแรกของการนำไปสู่การรักษา แต่ทางที่ดีที่สุด คือการป้องกันการเกิดอาการจิตเวช ด้วยการใส่ใจเลี้ยงดูตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็ก ให้มีพัฒนาการในทุกด้าน ใส่ใจในปัญหาเล็กๆ น้อยๆ และป้องกันเหตุการณ์ที่อาจกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เป็นคนที่มีสุขภาพจิตดีได้ ขอบคุณ…. http://www.now26.tv/view/92138

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...