ภูเก็ตนำร่องเมืองเศรษฐกิจดิจิทัล รอยต่อก.ใหม่-ไอซีทียันยุบ"ซิป้า"ไม่กระทบแผน

แสดงความคิดเห็น

ภูเก็ตสมาร์ทซิตี้ เป็นหนึ่งในโครงการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศตามกรอบนโยบายไทยแลนด์ 4.0

จับตา "ภูเก็ตสมาร์ทซิตี้" ช่วงเปลี่ยนผ่าน ทั้งผู้ว่าฯ-ยุบซิป้า หวั่นซ้ำรอยปี"46 ฟาก "ไอซีที" การันตีไม่กระทบพร้อมเดินหน้า ขณะที่ผู้ว่าฯเตรียมชงนายกฯเร่งแผนร่นเวลาจาก 4 ปีเป็น 2 ปี งบฯ 4,200 ล้านบาท เอกชนรวมตัวหนุนเต็มสูบ

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ภูเก็ตสมาร์ทซิตี้ เป็นหนึ่งในโครงการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศตามกรอบนโยบายไทยแลนด์ 4.0 มีหน่วยงานอย่างสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า ขับเคลื่อนร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ตั้งเป้าให้เป็น Smart City ในปี 2563

ภายใต้แนวคิด 6 ด้าน ได้แก่ 1) Smart Economy เป็นเมืองที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ 2) Smart Environment เมืองประหยัดพลังงาน 3) Smart Governance เมืองที่บริหารจัดการโปร่งใส 4) Smart Living เมืองน่าอยู่ 5) Smart Mobility ติดต่อสื่อสารระหว่างกันสะดวกสบาย ปลอดภัย 6) Smart People มีสิ่งอำนวยความสะดวกคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส คนสูงอายุ

สมาร์ทซิตี้ไม่ใช่แค่เน็ตเร็ว นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า นโยบายสมาร์ทซิตี้เป็นวิสัยทัศน์สำคัญ ที่จะพาภูเก็ตไปสู่อนาคตภายใต้ความท้าทายและความทุ่มเทของภาครัฐและเอกชนในพื้นที่และสร้างความมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อให้มีการใช้ไอทีแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์ท้องถิ่น ไม่ใช่แค่การมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรืออุปกรณ์ไฮเทค แต่ต้องพัฒนาศักยภาพประชากร ทั้งการใช้ชีวิตและการทำธุรกิจ

"ภูเก็ตสมาร์ทซิตี้ที่เริ่มต้นขึ้นจะปรับเปลี่ยนทั้งการจัดทำงบประมาณการบริหารจัดการฯลฯ โดยปีงบฯ 2559 ได้จัดสรรเงิน 386 ล้านบาท" แบ่งเป็นงบฯกระทรวงไอซีที วางโครงข่ายฟรีไวไฟในพื้นที่สาธารณะ 240 ล้านบาท งบฯซิป้า 79 ล้านบาท สร้างอินโนเวชั่นปาร์ก 9.6 ล้านบาท สร้างสมาร์ทไวไฟ 6.05 ล้านบาท ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ 6.59 ล้านบาท โครงการอำนวยความสะดวกให้นักลงทุน และการออกใบอนุญาตทำงานให้ผู้ประกอบการดิจิทัล 8.2 ล้านบาท โครงการ Smart Tourism & Marine Safety & Smart Environment 37.94 ล้านบาท และมีงบฯสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อีก 67 ล้านบาท ทำระบบกล้องซีซีทีวีจัดการจราจรและป้องกันอาชญากรรม

กดปุ่ม 5 โครงการหลัก นายประชา อัศวธีระ ผู้จัดการซิป้า สำนักงานภูเก็ต กล่าวว่า การพัฒนาภูเก็ตสมาร์ทซิตี้ได้เริ่มแล้ว ได้แก่ 1.โครงการ สมาร์ทไวไฟที่ให้ร้านค้าย่านแหล่งท่องเที่ยวใช้แพลตฟอร์มบริหารจัดการร่วมกัน เพื่อแชร์สัญญาณไวไฟให้ครอบคลุมพื้นที่สาธารณะระหว่างรอการติดตั้งไวไฟภาครัฐ คาดว่า มี.ค.ปีหน้าจะเข้ามาใช้ถึง1,000ร้านค้า

"นอกจากเชื่อมสัญญาณไวไฟแต่ละร้านให้นักท่องเที่ยวใช้ได้ต่อเนื่องแล้ว ยังทำ Single Sign On ให้ลงทะเบียนครั้งเดียวก็ใช้ได้ต่อเนื่องทุกเครือข่ายไวไฟที่เข้าร่วม มีประโยชน์ในการดูแลเก็บข้อมูลการใช้งานตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยไม่เป็นภาระร้านค้า สอนให้ร้านทำมาร์เก็ตติ้งออนไลน์ อาทิ ทำ e-Voucher ดึงลูกค้า ต่อไปจะพัฒนาแอปเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวที่ไม่ได้มากับทัวร์ได้ดีขึ้น"

2.ระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ติดตั้งเซ็นเซอร์วัดคุณภาพอากาศรวมกับกล้องวงจรปิดช่วยวิเคราะห์การจราจร อาชญากรรม 3.ระบบ Marine Safety ติดตั้งอุปกรณ์ติดตามสัญญาณเรือนำเที่ยวเรียลไทม์ ซึ่งแต่ละวันมีนักท่องเที่ยวเดินทางในทะเลภูเก็ตกว่า 2 หมื่นคน 4.ระบบระเบียนสุขภาพส่วนบุคคล เชื่อมต่อแพลตฟอร์มข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลรัฐและเอกชน รวมถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้ประชาชนใช้บัตรประชาชนใบเดียวเข้ารับบริการสุขภาพได้ครอบคลุม

และ 5.โครงการภูเก็ตอินโนเวชั่นปาร์ก เป็นจุดเรียนรู้บ่มเพาะสตาร์ทอัพ ให้ความรู้ SMEs ในการใช้เทคโนโลยี ส่งเสริมการลงทุนร่วมกับ BOI มีพื้นที่ Coworking Space IoT Smart City Lab ศูนย์บ่มเพาะ โดย บมจ.กสท โทรคมนาคม (แคท) วางโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 1 Gbps และเอกชนหลายแห่งสนับสนุนด้านเทคโนโลยี

ชงนายกฯเร่งโครงการ

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ประธานกรรมการบริหาร ซิป้า กล่าวว่า แม้โครงการจะเดินหน้าไปได้มากและได้วางกรอบแผนงานชัดเจนแล้ว แต่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับความต่อเนื่อง เนื่องจากปรับเปลี่ยนกระทรวงไอซีที เป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแล้วซิป้าจะโดนยุบไป "ต้องรอดูว่าหน่วยงานใหม่จะรับช่วงอย่างไร แม้จะร่วมมือหลายหน่วยงานแต่ละคนมีแผนงานที่ต้องเดินต่อไปก็กังวลว่าจะมีผลกระทบให้บางงานต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่"

ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตกล่าวว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่พยายามพัฒนาภูเก็ตให้เป็นสมาร์ทซิตี้เมื่อปี 2546 ก็เคยมีนโยบายนี้ แต่ไม่เกิดขึ้นก็เพราะมีแต่นโยบาย ไม่มีงบประมาณและไม่มีความต่อเนื่องในการผลักดัน ซึ่งครั้งนี้เห็นได้ชัดว่า รัฐบาลและทุกภาคส่วนเอาจริง และพยายามให้เป็นต้นแบบการพัฒนาในจังหวัดอื่น ๆ ด้วย

ล่าสุดจังหวัดได้เสนอแผนโครงการ รวมงบฯ 4,200 ล้านบาท ให้กระทรวงไอซีทีเสนอให้ ครม.พิจารณา และเพื่อให้มั่นใจขึ้นวันที่ 16 ก.ย.นี้ ที่นายกรัฐมนตรีจะมาตรวจราชการที่ภูเก็ต จะเสนอให้เร่งรัดโครงการสมาร์ทซิตี้ จาก 4 ปีให้เสร็จใน2ปี

"1 ต.ค.นี้ ผมจะย้ายไปเป็นผู้ว่าราชการนครศรีธรรมราชแล้ว งานก็ยังเดินต่อได้ ไม่มีปัญหาเหมือน 13 ปีก่อน ที่ไม่มีทั้งงบฯและความต่อเนื่อง หากช้าอีก จะพลาดโอกาสที่จะพัฒนาเป็นเมืองเศรษฐกิจชั้นนำดึงเงินเข้าประเทศหลายแสนล้านจากศักยภาพที่มีนักท่องเที่ยวมากว่า13ล้านคน โตกว่า 17% ต่อปี สร้างเม็ดเงินไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้านบาท"

นางสาวสุวรรณา หล่อโลหการ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า แม้จะเริ่มมีนโยบายเป็น 10 ปีแล้ว แต่ยังไปได้ช้า ด้วยความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมของจังหวัด และข้อจำกัดงบประมาณ เนื่องจากมีประชากรน้อย แต่มีนักท่องเที่ยวมาก ซึ่งกระบวนการจัดสรรงบประมาณคิดตามจำนวนประชากร ทำให้การบริหารจัดการโครงการมีข้อจำกัด อาทิการวางระบบรักษาความปลอดภัยการควบคุมโรคจากนักท่องเที่ยว,การลดความแออัดในโรงพยาบาล

"หากพลาดจะเสียโอกาสในการพัฒนาสมาร์ทเฮลท์ โดยเฉพาะ Telemedicine ที่เชื่อมโยงกันทั้ง รพ.สต. รถฉุกเฉิน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจำเป็นสำหรับภูเก็ตขณะนี้ เนื่องจากภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพคือ ภาวะหัวใจขาดเลือด เส้นเลือดสมองตีบ ซึ่งการรักษาช่วง 4 ชั่วโมงแรกมีค่ากับชีวิตมาก แต่ภูเก็ตมีปัญหารถติด ข้อมูลล่าสุดพบว่าอายุแค่40ปีก็มีความเสี่ยงสูงวัยนี้คิดเป็นกว่า60%ของประชากรภูเก็ต"

ขณะที่นายกมล จิราพงษ์ คณบดีคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า ความต่อเนื่องของนโยบายและงบประมาณเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งในครั้งนี้เห็นนิมิตหมายที่ดีในการดึงความร่วมมือจากหลายฝ่าย ครอบคลุมหลายมิติเพราะสิ่งที่จะทำให้นโยบายสำเร็จคือทำให้ทุกภาคส่วนนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้เป็นรูปธรรม

"รัฐบาลต้องเรียงลำดับความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อให้งานเดินต่อเนื่องไม่ส่งเสริมสะเปะสะปะ เท่าที่คุยกับเอกชนด้วยกัน ทุกฝ่ายพร้อมสนับสนุน ในภูเก็ตเองก็เริ่มมีการรวมตัวกันเพื่อผลักดันแล้ว ขอให้รัฐทำให้ต่อเนื่องก็จะเห็นผล"

ด้านรัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีกล่าวว่า เมื่อยุบซิป้าแล้ว บุคลากรและงานบางส่วนจะนำไปฝากไว้กับสำนักงานปลัดกระทรวงไอซีทีก่อน ระหว่างรอจัดโครงสร้างกระทรวงใหม่ ซึ่งยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะกระจายคนกับงานไปอยู่จุดใดบ้าง แต่มั่นใจว่าไม่กระทบโครงการภูเก็ตสมาร์ทซิตี้

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1473928288 (ขนาดไฟล์: 143)

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ก.ย.59
วันที่โพสต์: 23/09/2559 เวลา 10:54:15 ดูภาพสไลด์โชว์ ภูเก็ตนำร่องเมืองเศรษฐกิจดิจิทัล รอยต่อก.ใหม่-ไอซีทียันยุบ"ซิป้า"ไม่กระทบแผน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภูเก็ตสมาร์ทซิตี้ เป็นหนึ่งในโครงการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศตามกรอบนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จับตา "ภูเก็ตสมาร์ทซิตี้" ช่วงเปลี่ยนผ่าน ทั้งผู้ว่าฯ-ยุบซิป้า หวั่นซ้ำรอยปี"46 ฟาก "ไอซีที" การันตีไม่กระทบพร้อมเดินหน้า ขณะที่ผู้ว่าฯเตรียมชงนายกฯเร่งแผนร่นเวลาจาก 4 ปีเป็น 2 ปี งบฯ 4,200 ล้านบาท เอกชนรวมตัวหนุนเต็มสูบ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ภูเก็ตสมาร์ทซิตี้ เป็นหนึ่งในโครงการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศตามกรอบนโยบายไทยแลนด์ 4.0 มีหน่วยงานอย่างสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า ขับเคลื่อนร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ตั้งเป้าให้เป็น Smart City ในปี 2563 ภายใต้แนวคิด 6 ด้าน ได้แก่ 1) Smart Economy เป็นเมืองที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ 2) Smart Environment เมืองประหยัดพลังงาน 3) Smart Governance เมืองที่บริหารจัดการโปร่งใส 4) Smart Living เมืองน่าอยู่ 5) Smart Mobility ติดต่อสื่อสารระหว่างกันสะดวกสบาย ปลอดภัย 6) Smart People มีสิ่งอำนวยความสะดวกคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส คนสูงอายุ สมาร์ทซิตี้ไม่ใช่แค่เน็ตเร็ว นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า นโยบายสมาร์ทซิตี้เป็นวิสัยทัศน์สำคัญ ที่จะพาภูเก็ตไปสู่อนาคตภายใต้ความท้าทายและความทุ่มเทของภาครัฐและเอกชนในพื้นที่และสร้างความมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อให้มีการใช้ไอทีแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์ท้องถิ่น ไม่ใช่แค่การมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรืออุปกรณ์ไฮเทค แต่ต้องพัฒนาศักยภาพประชากร ทั้งการใช้ชีวิตและการทำธุรกิจ "ภูเก็ตสมาร์ทซิตี้ที่เริ่มต้นขึ้นจะปรับเปลี่ยนทั้งการจัดทำงบประมาณการบริหารจัดการฯลฯ โดยปีงบฯ 2559 ได้จัดสรรเงิน 386 ล้านบาท" แบ่งเป็นงบฯกระทรวงไอซีที วางโครงข่ายฟรีไวไฟในพื้นที่สาธารณะ 240 ล้านบาท งบฯซิป้า 79 ล้านบาท สร้างอินโนเวชั่นปาร์ก 9.6 ล้านบาท สร้างสมาร์ทไวไฟ 6.05 ล้านบาท ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ 6.59 ล้านบาท โครงการอำนวยความสะดวกให้นักลงทุน และการออกใบอนุญาตทำงานให้ผู้ประกอบการดิจิทัล 8.2 ล้านบาท โครงการ Smart Tourism & Marine Safety & Smart Environment 37.94 ล้านบาท และมีงบฯสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อีก 67 ล้านบาท ทำระบบกล้องซีซีทีวีจัดการจราจรและป้องกันอาชญากรรม กดปุ่ม 5 โครงการหลัก นายประชา อัศวธีระ ผู้จัดการซิป้า สำนักงานภูเก็ต กล่าวว่า การพัฒนาภูเก็ตสมาร์ทซิตี้ได้เริ่มแล้ว ได้แก่ 1.โครงการ สมาร์ทไวไฟที่ให้ร้านค้าย่านแหล่งท่องเที่ยวใช้แพลตฟอร์มบริหารจัดการร่วมกัน เพื่อแชร์สัญญาณไวไฟให้ครอบคลุมพื้นที่สาธารณะระหว่างรอการติดตั้งไวไฟภาครัฐ คาดว่า มี.ค.ปีหน้าจะเข้ามาใช้ถึง1,000ร้านค้า "นอกจากเชื่อมสัญญาณไวไฟแต่ละร้านให้นักท่องเที่ยวใช้ได้ต่อเนื่องแล้ว ยังทำ Single Sign On ให้ลงทะเบียนครั้งเดียวก็ใช้ได้ต่อเนื่องทุกเครือข่ายไวไฟที่เข้าร่วม มีประโยชน์ในการดูแลเก็บข้อมูลการใช้งานตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยไม่เป็นภาระร้านค้า สอนให้ร้านทำมาร์เก็ตติ้งออนไลน์ อาทิ ทำ e-Voucher ดึงลูกค้า ต่อไปจะพัฒนาแอปเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวที่ไม่ได้มากับทัวร์ได้ดีขึ้น" 2.ระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ติดตั้งเซ็นเซอร์วัดคุณภาพอากาศรวมกับกล้องวงจรปิดช่วยวิเคราะห์การจราจร อาชญากรรม 3.ระบบ Marine Safety ติดตั้งอุปกรณ์ติดตามสัญญาณเรือนำเที่ยวเรียลไทม์ ซึ่งแต่ละวันมีนักท่องเที่ยวเดินทางในทะเลภูเก็ตกว่า 2 หมื่นคน 4.ระบบระเบียนสุขภาพส่วนบุคคล เชื่อมต่อแพลตฟอร์มข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลรัฐและเอกชน รวมถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้ประชาชนใช้บัตรประชาชนใบเดียวเข้ารับบริการสุขภาพได้ครอบคลุม และ 5.โครงการภูเก็ตอินโนเวชั่นปาร์ก เป็นจุดเรียนรู้บ่มเพาะสตาร์ทอัพ ให้ความรู้ SMEs ในการใช้เทคโนโลยี ส่งเสริมการลงทุนร่วมกับ BOI มีพื้นที่ Coworking Space IoT Smart City Lab ศูนย์บ่มเพาะ โดย บมจ.กสท โทรคมนาคม (แคท) วางโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 1 Gbps และเอกชนหลายแห่งสนับสนุนด้านเทคโนโลยี ชงนายกฯเร่งโครงการ นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ประธานกรรมการบริหาร ซิป้า กล่าวว่า แม้โครงการจะเดินหน้าไปได้มากและได้วางกรอบแผนงานชัดเจนแล้ว แต่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับความต่อเนื่อง เนื่องจากปรับเปลี่ยนกระทรวงไอซีที เป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแล้วซิป้าจะโดนยุบไป "ต้องรอดูว่าหน่วยงานใหม่จะรับช่วงอย่างไร แม้จะร่วมมือหลายหน่วยงานแต่ละคนมีแผนงานที่ต้องเดินต่อไปก็กังวลว่าจะมีผลกระทบให้บางงานต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่" ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตกล่าวว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่พยายามพัฒนาภูเก็ตให้เป็นสมาร์ทซิตี้เมื่อปี 2546 ก็เคยมีนโยบายนี้ แต่ไม่เกิดขึ้นก็เพราะมีแต่นโยบาย ไม่มีงบประมาณและไม่มีความต่อเนื่องในการผลักดัน ซึ่งครั้งนี้เห็นได้ชัดว่า รัฐบาลและทุกภาคส่วนเอาจริง และพยายามให้เป็นต้นแบบการพัฒนาในจังหวัดอื่น ๆ ด้วย ล่าสุดจังหวัดได้เสนอแผนโครงการ รวมงบฯ 4,200 ล้านบาท ให้กระทรวงไอซีทีเสนอให้ ครม.พิจารณา และเพื่อให้มั่นใจขึ้นวันที่ 16 ก.ย.นี้ ที่นายกรัฐมนตรีจะมาตรวจราชการที่ภูเก็ต จะเสนอให้เร่งรัดโครงการสมาร์ทซิตี้ จาก 4 ปีให้เสร็จใน2ปี "1 ต.ค.นี้ ผมจะย้ายไปเป็นผู้ว่าราชการนครศรีธรรมราชแล้ว งานก็ยังเดินต่อได้ ไม่มีปัญหาเหมือน 13 ปีก่อน ที่ไม่มีทั้งงบฯและความต่อเนื่อง หากช้าอีก จะพลาดโอกาสที่จะพัฒนาเป็นเมืองเศรษฐกิจชั้นนำดึงเงินเข้าประเทศหลายแสนล้านจากศักยภาพที่มีนักท่องเที่ยวมากว่า13ล้านคน โตกว่า 17% ต่อปี สร้างเม็ดเงินไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้านบาท" นางสาวสุวรรณา หล่อโลหการ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า แม้จะเริ่มมีนโยบายเป็น 10 ปีแล้ว แต่ยังไปได้ช้า ด้วยความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมของจังหวัด และข้อจำกัดงบประมาณ เนื่องจากมีประชากรน้อย แต่มีนักท่องเที่ยวมาก ซึ่งกระบวนการจัดสรรงบประมาณคิดตามจำนวนประชากร ทำให้การบริหารจัดการโครงการมีข้อจำกัด อาทิการวางระบบรักษาความปลอดภัยการควบคุมโรคจากนักท่องเที่ยว,การลดความแออัดในโรงพยาบาล "หากพลาดจะเสียโอกาสในการพัฒนาสมาร์ทเฮลท์ โดยเฉพาะ Telemedicine ที่เชื่อมโยงกันทั้ง รพ.สต. รถฉุกเฉิน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจำเป็นสำหรับภูเก็ตขณะนี้ เนื่องจากภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพคือ ภาวะหัวใจขาดเลือด เส้นเลือดสมองตีบ ซึ่งการรักษาช่วง 4 ชั่วโมงแรกมีค่ากับชีวิตมาก แต่ภูเก็ตมีปัญหารถติด ข้อมูลล่าสุดพบว่าอายุแค่40ปีก็มีความเสี่ยงสูงวัยนี้คิดเป็นกว่า60%ของประชากรภูเก็ต" ขณะที่นายกมล จิราพงษ์ คณบดีคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า ความต่อเนื่องของนโยบายและงบประมาณเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งในครั้งนี้เห็นนิมิตหมายที่ดีในการดึงความร่วมมือจากหลายฝ่าย ครอบคลุมหลายมิติเพราะสิ่งที่จะทำให้นโยบายสำเร็จคือทำให้ทุกภาคส่วนนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้เป็นรูปธรรม "รัฐบาลต้องเรียงลำดับความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อให้งานเดินต่อเนื่องไม่ส่งเสริมสะเปะสะปะ เท่าที่คุยกับเอกชนด้วยกัน ทุกฝ่ายพร้อมสนับสนุน ในภูเก็ตเองก็เริ่มมีการรวมตัวกันเพื่อผลักดันแล้ว ขอให้รัฐทำให้ต่อเนื่องก็จะเห็นผล" ด้านรัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีกล่าวว่า เมื่อยุบซิป้าแล้ว บุคลากรและงานบางส่วนจะนำไปฝากไว้กับสำนักงานปลัดกระทรวงไอซีทีก่อน ระหว่างรอจัดโครงสร้างกระทรวงใหม่ ซึ่งยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะกระจายคนกับงานไปอยู่จุดใดบ้าง แต่มั่นใจว่าไม่กระทบโครงการภูเก็ตสมาร์ทซิตี้ ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1473928288

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...