สธ.สร้างเด็กไทยไอคิวเกิน 100 เร่งคัดกรองหากพบพัฒนาการล่าช้า

แสดงความคิดเห็น

กระทรวงสาธารณสุข

กระทรวงสาธารณสุข สร้างเด็กไทยไอคิวเกิน 100 ชี้ผลการคัดกรองเด็กปฐมวัย พบร้อยละ 1 พัฒนาการล่าช้าต้องได้รับการดูแลรักษาใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญ กำชับกรมสุขภาพจิต เร่งคัดกรองนำเข้าสู่กระบวนการรักษา พร้อมเน้นหนักงานส่งเสริมและป้องกันสุขภาพจิต

เมื่อวันที่(15 ส.ค.59)ที่ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) จังหวัดนนทบุรี ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะที่ปรึกษา ตรวจเยี่ยมติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการ รอบ 9 เดือน การดำเนินงานตามภารกิจ และให้สัมภาษณ์ว่า กรมสุขภาพจิตเป็นกรมที่สำคัญในการดูแลประชาชนให้มีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี โดยเป้าหมายสำคัญของกรมฯคือการดูแลเด็กไทยให้มีพัฒนาการสมวัย ไอคิวเกิน 100 โดยกรมสุขภาพจิต และกรมอนามัย จะไปคัดกรองพัฒนาการ หากพบมีปัญหา จะให้การช่วยเหลือกระตุ้นพัฒนาการ ซึ่งจากการคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยพบว่าร้อยละ 1 มีปัญหาที่ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต โดยกรมสุขภาพจิตได้รายงานผลการปฏิบัติงานตามกลุ่มวัย ดังนี้

1.กลุ่มปฐมวัย กรมสุขภาพจิตได้ร่วมกับกรมอนามัยดูแลเด็กปฐมวัย 1.2 ล้านคน คัดกรองพัฒนาการเด็กแล้ว 9 แสนคน พบมีปัญหาด้านพัฒนาการล่าช้าประมาณ 8 หมื่นคน ได้รับการกระตุ้นพัฒนาและตรวจประเมินซ้ำยังพบพัฒนาการล่าช้า ที่ต้องได้รับการกระตุ้นพัฒนาการด้วยเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้กลับมามีพัฒนาการสมวัย จำนวน 7,238 คน ทั้งนี้ ได้ร่วมกับ 4กระทรวงหลัก ตั้งเป้าจะพัฒนาเด็กปฐมวัย 4-6 ปีเพิ่มเติมเรื่องกระบวนการสร้างการเรียนรู้ก่อนเข้าเรียนให้เด็กมีความพร้อมก่อนเข้าเรียน ป.1 เป้าหมายในเด็กกลุ่มสงสัยบกพร่องด้านพัฒนาการตั้งแต่แรกเกิดและกลุ่มเสี่ยงสูง

2.ในกลุ่มเด็กวัยเรียน โรงพยาบาลชุมชน 590 แห่ง ร่วมกับโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 1,154แห่ง คัดกรอง พบนักเรียนกลุ่มเสี่ยงปัญหาระดับสติปัญญา การเรียนรู้ ร้อยละ 18 โดยสมาธิสั้นร้อยละ 6เรียนรู้ช้าร้อยละ 8 สติปัญญาล่าช้าร้อยละ 5 ออทิสติกร้อยละ 0.78 ซึ่งการคัดกรองกลุ่มวัยเรียนตั้งแต่ ป.1 สำคัญมากถ้าคัดกรองเร็ว ได้รับการแก้ไขเร็วเรื่องการเรียนรู้จะเป็นโอกาสสำคัญในการพัฒนา 3.กลุ่มวัยรุ่น มีคู่เครือข่ายระบบการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน 851 เครือข่าย นักเรียนกลุ่มเสี่ยง 15,778 คน ทั้งปัญหาท้องไม่พร้อม สารเสพติด ความรุนแรง โดยมีความร่วมมือตามโครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ สร้างกลไกระบบสารสนเทศ ร่วมกัน ป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ การคุมกำเนิด รวมทั้งมีเทรนนิ่งออนไลน์แอพพิเคชั่นสำหรับเด็กและพ่อแม่ 4.กลุ่มวัยทำงาน มีโครงการสถานประกอบการกายใจเป็นสุข และ5.กลุ่มผู้สูงอายุ มีการดูแลโรคเรื้อรัง คัดกรองภาวะซึมเศร้า เป็นต้น

“จากการตรวจตรวจเยี่ยมและรับทราบแผนการทำงานของกรมสุขภาพจิต รู้สึกมั่นใจ โล่งใจว่า อนาคตคนไทย ที่ได้รับการดูแลให้มีพัฒนาการสมวัยตั้งแต่ปฐมวัยในวันนี้ จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นผู้สร้างเศรษฐกิจ ความเจริญให้ประเทศ ส่วนผู้สูงอายุให้ดูแลให้คงการมีสุขภาพที่ดี ไม่เป็นภาระของสังคม” ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล กล่าว

ขอบคุณ... https://www.thansettakij.com/2016/08/15/85126

ที่มา: thansettakij.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ก.ย.59
วันที่โพสต์: 5/09/2559 เวลา 10:23:23 ดูภาพสไลด์โชว์ สธ.สร้างเด็กไทยไอคิวเกิน 100  เร่งคัดกรองหากพบพัฒนาการล่าช้า

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข สร้างเด็กไทยไอคิวเกิน 100 ชี้ผลการคัดกรองเด็กปฐมวัย พบร้อยละ 1 พัฒนาการล่าช้าต้องได้รับการดูแลรักษาใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญ กำชับกรมสุขภาพจิต เร่งคัดกรองนำเข้าสู่กระบวนการรักษา พร้อมเน้นหนักงานส่งเสริมและป้องกันสุขภาพจิต เมื่อวันที่(15 ส.ค.59)ที่ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) จังหวัดนนทบุรี ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะที่ปรึกษา ตรวจเยี่ยมติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการ รอบ 9 เดือน การดำเนินงานตามภารกิจ และให้สัมภาษณ์ว่า กรมสุขภาพจิตเป็นกรมที่สำคัญในการดูแลประชาชนให้มีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี โดยเป้าหมายสำคัญของกรมฯคือการดูแลเด็กไทยให้มีพัฒนาการสมวัย ไอคิวเกิน 100 โดยกรมสุขภาพจิต และกรมอนามัย จะไปคัดกรองพัฒนาการ หากพบมีปัญหา จะให้การช่วยเหลือกระตุ้นพัฒนาการ ซึ่งจากการคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยพบว่าร้อยละ 1 มีปัญหาที่ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต โดยกรมสุขภาพจิตได้รายงานผลการปฏิบัติงานตามกลุ่มวัย ดังนี้ 1.กลุ่มปฐมวัย กรมสุขภาพจิตได้ร่วมกับกรมอนามัยดูแลเด็กปฐมวัย 1.2 ล้านคน คัดกรองพัฒนาการเด็กแล้ว 9 แสนคน พบมีปัญหาด้านพัฒนาการล่าช้าประมาณ 8 หมื่นคน ได้รับการกระตุ้นพัฒนาและตรวจประเมินซ้ำยังพบพัฒนาการล่าช้า ที่ต้องได้รับการกระตุ้นพัฒนาการด้วยเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้กลับมามีพัฒนาการสมวัย จำนวน 7,238 คน ทั้งนี้ ได้ร่วมกับ 4กระทรวงหลัก ตั้งเป้าจะพัฒนาเด็กปฐมวัย 4-6 ปีเพิ่มเติมเรื่องกระบวนการสร้างการเรียนรู้ก่อนเข้าเรียนให้เด็กมีความพร้อมก่อนเข้าเรียน ป.1 เป้าหมายในเด็กกลุ่มสงสัยบกพร่องด้านพัฒนาการตั้งแต่แรกเกิดและกลุ่มเสี่ยงสูง 2.ในกลุ่มเด็กวัยเรียน โรงพยาบาลชุมชน 590 แห่ง ร่วมกับโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 1,154แห่ง คัดกรอง พบนักเรียนกลุ่มเสี่ยงปัญหาระดับสติปัญญา การเรียนรู้ ร้อยละ 18 โดยสมาธิสั้นร้อยละ 6เรียนรู้ช้าร้อยละ 8 สติปัญญาล่าช้าร้อยละ 5 ออทิสติกร้อยละ 0.78 ซึ่งการคัดกรองกลุ่มวัยเรียนตั้งแต่ ป.1 สำคัญมากถ้าคัดกรองเร็ว ได้รับการแก้ไขเร็วเรื่องการเรียนรู้จะเป็นโอกาสสำคัญในการพัฒนา 3.กลุ่มวัยรุ่น มีคู่เครือข่ายระบบการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน 851 เครือข่าย นักเรียนกลุ่มเสี่ยง 15,778 คน ทั้งปัญหาท้องไม่พร้อม สารเสพติด ความรุนแรง โดยมีความร่วมมือตามโครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ สร้างกลไกระบบสารสนเทศ ร่วมกัน ป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ การคุมกำเนิด รวมทั้งมีเทรนนิ่งออนไลน์แอพพิเคชั่นสำหรับเด็กและพ่อแม่ 4.กลุ่มวัยทำงาน มีโครงการสถานประกอบการกายใจเป็นสุข และ5.กลุ่มผู้สูงอายุ มีการดูแลโรคเรื้อรัง คัดกรองภาวะซึมเศร้า เป็นต้น “จากการตรวจตรวจเยี่ยมและรับทราบแผนการทำงานของกรมสุขภาพจิต รู้สึกมั่นใจ โล่งใจว่า อนาคตคนไทย ที่ได้รับการดูแลให้มีพัฒนาการสมวัยตั้งแต่ปฐมวัยในวันนี้ จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นผู้สร้างเศรษฐกิจ ความเจริญให้ประเทศ ส่วนผู้สูงอายุให้ดูแลให้คงการมีสุขภาพที่ดี ไม่เป็นภาระของสังคม” ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล กล่าว ขอบคุณ... https://www.thansettakij.com/2016/08/15/85126

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...