เตือนข้อมูลสุขภาพบนโซเชียลมั่วเยอะ อวดอ้างสรรพคุณ ไร้งานวิจัยรองรับ แอบแฝงการค้า

แสดงความคิดเห็น

ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานมอบโล่เกียรติคุณ ขอบคุณทีมแพทย์อาสา ในโครงการแพทย์เฉพาะทางบาทเดียว (SOS Specialist)

แพทย์เฉพาะทางบาทเดียว แฉข้อมูลสุขภาพโลกออนไลน์มั่วเยอะ อวดอ้างสรรพคุณสมุนไพรไร้งานวิจัยรองรับ แอบแฝงการค้า ไม่มีที่มาที่ไป อ้างอิงวิทยาศาสตร์เสมือน โน้มน้าวให้เชื่อ ไม่เปิดเผยตัวตน เตือนระวังอย่าเชื่อทั้งหมด ด้าน สสส. มอบโล่แพทย์เฉพาะทางบาทเดียว อาสาทำประโยชน์ให้สังคมผ่านเครือข่ายออนไลน์

เมื่อวันที่ 29 ก.ค. ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานมอบโล่เกียรติคุณ ขอบคุณทีมแพทย์อาสา ในโครงการแพทย์เฉพาะทางบาทเดียว (SOS Specialist) โดยมี นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนฯ คนที่ 2 รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. ร่วมแสดงความขอบคุณ ทีมแพทย์อาสา นำโดย นพ.อดุลย์ชัย แสงเสริฐ ผู้รับผิดชอบโครงการ พร้อมทีมแพทย์อาสาในโครงการซึ่งเป็นแพทย์เฉพาะทางทั้งหมด 33 ท่านรวมทั้งหมด 14 สาขาวิชา

นพ. อดุลย์ชัย แสงเสริฐ ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า โลกยุคดิจิตอลที่โซเชียลเน็ตเวิร์กมีอิทธิพลกับการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ทุกคนสามารถสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว จนเกิดเป็นวิกฤตข้อมูลข่าวสารล้น ขาดการกลั่นกรอง นำมาซึ่งความเข้าใจผิด โดยเฉพาะข้อมูลทางการแพทย์อย่างผิด ๆ และนำไปใช้หรือปฏิบัติตาม อาจทำให้เกิดความเสี่ยงถึงชีวิตได้ จึงเป็นที่มาของโครงการแพทย์เฉพาะทางบาทเดียว โดยการรวมตัวแพทย์จิตอาสาให้บริการตอบคำถามสุขภาพผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ โดยการสนับสนุนของ สสส. เพื่อช่วยลดการรับข้อมูลทางการแพทย์และความเชื่อที่ผิดแต่มักแชร์ต่อกัน โดยสร้างชุดข้อมูลความรู้โรคต่าง ๆ ให้เข้าใจง่ายผ่านอนิเมชัน และอินโฟกราฟิก ให้ข่าวสารกิจกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ http://www.sosspecialist.com และ Facebook “แพทย์เฉพาะทางบาทเดียว” ที่สำคัญ มีการให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับโรคต่าง ๆ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโดยตรง 16 ห้องตรวจ 14 สาขาวิชา ซึ่งในรอบ 1 ปี มีประชาชนสอบถามและขอคำแนะนำเป็นจำนวนมากถึง 50,519 คำถาม จากทั้งหมด 10,273 คน ส่วนใหญ่เป็นคำถามจากห้องอายุรกรรมเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง รูมาตอยด์ อัมพาต รองลงมาคือ ห้องเด็ก ห้องสูติ เช่น เรื่องการคุมกำเนิดประจำเดือนฯลฯและห้องจิตเวช

นพ.อดุลย์ชัย กล่าวว่า สำหรับผู้ที่มาปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางบาทเดียว แบ่งเป็น 1. กลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพต้องการทราบข้อมูลเบื้องต้นก่อนไปพบแพทย์ 2. กลุ่มที่ผ่านการตรวจรักษาแล้ว แต่ยังมีข้อสงสัย 3. กลุ่มที่ไม่มีเงินไปหาแพทย์ 4. กลุ่มที่ปรึกษาให้กับญาติ เพื่อน หรือคนรอบข้าง 5. กลุ่มที่มีความวิตกกังวลสูง และ 6. กลุ่มคนไทยในต่างประเทศ ซึ่งการให้คำแนะนำปรึกษาลักษณะนี้ ทำให้ประชาชนที่ห่างไกลได้เข้าถึงแพทย์เฉพาะทางในกรุงเทพฯ สามารถรักษาได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นและทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง

“ที่ผ่านมา ข้อมูลข่าวสารทางการแพทย์ที่มักแชร์กันบนโลกออนไลน์ ส่วนใหญ่เป็นการให้ข้อมูลสรรพคุณทางการเกษตร เช่น สารสกัดจากทุเรียนเทศช่วยรักษามะเร็งได้หลายชนิด หมามุ่ยอินเดียกินแล้วลดน้ำหนัก แต่ก็มีเด็กที่กินแล้วเสียชีวิต ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ไม่ระบุถึงงานวิจัยรองรับ ปริมาณของสารสกัดที่เหมาะสม และวิธีการสกัด จากการตรวจสอบต้นทาง ก็พบว่า มาจากแหล่งเพจสินค้าทางการเกษตร และตามด้วยข้อมูลยาลดอ้วน แต่ผู้บริโภคจะรู้โดยตรงว่าเป็นการขายของ ดังนั้น 5 ข้อพึงระวังจากการรับข่าวสารสุขภาพผ่านโซเชียลมีเดีย คือ 1. ข่าวสารที่แอบแฝงการค้า หรือธุรกิจสุขภาพ 2. ข่าวสารที่ไม่มีที่มาที่ไป เพียงแต่บอกว่า “เค้า” บอกมา 3. ข่าวสารที่อ้างอิงวิทยาศาสตร์เสมือน หรือข่าวที่เสมือนวิทยาศาสตร์ 4. ข่าวสารที่เร่งเร้าอารมณ์ หรือความรู้สึกโน้มน้าวให้เชื่อ และ 5. ข่าวสารที่มาจากหมอออนไลน์ที่ไม่เปิดเผยตัวตนที่แท้จริง ดังนั้น ก่อนจะเชื่อควรดูที่มาและพิจารณาข้อเท็จจริงให้ถี่ถ้วน”นพ.อดุลย์ชัยกล่าว

ด้าน นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนฯ คนที่ 2 กล่าวว่า สสส. ได้ให้การสนับสนุนทุนโครงการแพทย์เฉพาะทางบาทเดียว ในโครงการสนับสนุนการสร้างสรรค์สื่อ กิจกรรม และแผนงานการตลาดเพื่อสังคม ภายใต้การดำเนินงานของฝ่ายสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม เพื่อสนับสนุนการให้ข้อมูลความรู้ด้านการแพทย์ การดูแลสุขภาพที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน โดยแพทย์เฉพาะทางที่ข้อมูลมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ ที่สำคัญ ทีมแพทย์ที่เข้าร่วมตอบคำถามในโครงการเป็นแพทย์จิตอาสา มีจิตสาธารณะทำประโยชน์โดยการให้ความรู้ด้านสุขภาพที่ถูกต้องผ่านสื่อออนไลน์แก่ประชาชน นับเป็นแบบอย่างที่ดีเป็นโครงการที่สามารถก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนด้านการสร้างเสริมสุขภาวะได้ โดยสามารถลดภาระงานของแพทย์ในโรงพยาบาล ช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาล และลดภาระงบประมาณการรักษาพยาบาลของประเทศ

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000075368 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ค.59
วันที่โพสต์: 2/08/2559 เวลา 10:22:30 ดูภาพสไลด์โชว์ เตือนข้อมูลสุขภาพบนโซเชียลมั่วเยอะ อวดอ้างสรรพคุณ ไร้งานวิจัยรองรับ แอบแฝงการค้า

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานมอบโล่เกียรติคุณ ขอบคุณทีมแพทย์อาสา ในโครงการแพทย์เฉพาะทางบาทเดียว (SOS Specialist) แพทย์เฉพาะทางบาทเดียว แฉข้อมูลสุขภาพโลกออนไลน์มั่วเยอะ อวดอ้างสรรพคุณสมุนไพรไร้งานวิจัยรองรับ แอบแฝงการค้า ไม่มีที่มาที่ไป อ้างอิงวิทยาศาสตร์เสมือน โน้มน้าวให้เชื่อ ไม่เปิดเผยตัวตน เตือนระวังอย่าเชื่อทั้งหมด ด้าน สสส. มอบโล่แพทย์เฉพาะทางบาทเดียว อาสาทำประโยชน์ให้สังคมผ่านเครือข่ายออนไลน์ เมื่อวันที่ 29 ก.ค. ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานมอบโล่เกียรติคุณ ขอบคุณทีมแพทย์อาสา ในโครงการแพทย์เฉพาะทางบาทเดียว (SOS Specialist) โดยมี นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนฯ คนที่ 2 รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. ร่วมแสดงความขอบคุณ ทีมแพทย์อาสา นำโดย นพ.อดุลย์ชัย แสงเสริฐ ผู้รับผิดชอบโครงการ พร้อมทีมแพทย์อาสาในโครงการซึ่งเป็นแพทย์เฉพาะทางทั้งหมด 33 ท่านรวมทั้งหมด 14 สาขาวิชา นพ. อดุลย์ชัย แสงเสริฐ ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า โลกยุคดิจิตอลที่โซเชียลเน็ตเวิร์กมีอิทธิพลกับการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ทุกคนสามารถสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว จนเกิดเป็นวิกฤตข้อมูลข่าวสารล้น ขาดการกลั่นกรอง นำมาซึ่งความเข้าใจผิด โดยเฉพาะข้อมูลทางการแพทย์อย่างผิด ๆ และนำไปใช้หรือปฏิบัติตาม อาจทำให้เกิดความเสี่ยงถึงชีวิตได้ จึงเป็นที่มาของโครงการแพทย์เฉพาะทางบาทเดียว โดยการรวมตัวแพทย์จิตอาสาให้บริการตอบคำถามสุขภาพผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ โดยการสนับสนุนของ สสส. เพื่อช่วยลดการรับข้อมูลทางการแพทย์และความเชื่อที่ผิดแต่มักแชร์ต่อกัน โดยสร้างชุดข้อมูลความรู้โรคต่าง ๆ ให้เข้าใจง่ายผ่านอนิเมชัน และอินโฟกราฟิก ให้ข่าวสารกิจกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ http://www.sosspecialist.com และ Facebook “แพทย์เฉพาะทางบาทเดียว” ที่สำคัญ มีการให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับโรคต่าง ๆ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโดยตรง 16 ห้องตรวจ 14 สาขาวิชา ซึ่งในรอบ 1 ปี มีประชาชนสอบถามและขอคำแนะนำเป็นจำนวนมากถึง 50,519 คำถาม จากทั้งหมด 10,273 คน ส่วนใหญ่เป็นคำถามจากห้องอายุรกรรมเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง รูมาตอยด์ อัมพาต รองลงมาคือ ห้องเด็ก ห้องสูติ เช่น เรื่องการคุมกำเนิดประจำเดือนฯลฯและห้องจิตเวช นพ.อดุลย์ชัย กล่าวว่า สำหรับผู้ที่มาปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางบาทเดียว แบ่งเป็น 1. กลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพต้องการทราบข้อมูลเบื้องต้นก่อนไปพบแพทย์ 2. กลุ่มที่ผ่านการตรวจรักษาแล้ว แต่ยังมีข้อสงสัย 3. กลุ่มที่ไม่มีเงินไปหาแพทย์ 4. กลุ่มที่ปรึกษาให้กับญาติ เพื่อน หรือคนรอบข้าง 5. กลุ่มที่มีความวิตกกังวลสูง และ 6. กลุ่มคนไทยในต่างประเทศ ซึ่งการให้คำแนะนำปรึกษาลักษณะนี้ ทำให้ประชาชนที่ห่างไกลได้เข้าถึงแพทย์เฉพาะทางในกรุงเทพฯ สามารถรักษาได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นและทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง “ที่ผ่านมา ข้อมูลข่าวสารทางการแพทย์ที่มักแชร์กันบนโลกออนไลน์ ส่วนใหญ่เป็นการให้ข้อมูลสรรพคุณทางการเกษตร เช่น สารสกัดจากทุเรียนเทศช่วยรักษามะเร็งได้หลายชนิด หมามุ่ยอินเดียกินแล้วลดน้ำหนัก แต่ก็มีเด็กที่กินแล้วเสียชีวิต ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ไม่ระบุถึงงานวิจัยรองรับ ปริมาณของสารสกัดที่เหมาะสม และวิธีการสกัด จากการตรวจสอบต้นทาง ก็พบว่า มาจากแหล่งเพจสินค้าทางการเกษตร และตามด้วยข้อมูลยาลดอ้วน แต่ผู้บริโภคจะรู้โดยตรงว่าเป็นการขายของ ดังนั้น 5 ข้อพึงระวังจากการรับข่าวสารสุขภาพผ่านโซเชียลมีเดีย คือ 1. ข่าวสารที่แอบแฝงการค้า หรือธุรกิจสุขภาพ 2. ข่าวสารที่ไม่มีที่มาที่ไป เพียงแต่บอกว่า “เค้า” บอกมา 3. ข่าวสารที่อ้างอิงวิทยาศาสตร์เสมือน หรือข่าวที่เสมือนวิทยาศาสตร์ 4. ข่าวสารที่เร่งเร้าอารมณ์ หรือความรู้สึกโน้มน้าวให้เชื่อ และ 5. ข่าวสารที่มาจากหมอออนไลน์ที่ไม่เปิดเผยตัวตนที่แท้จริง ดังนั้น ก่อนจะเชื่อควรดูที่มาและพิจารณาข้อเท็จจริงให้ถี่ถ้วน”นพ.อดุลย์ชัยกล่าว ด้าน นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนฯ คนที่ 2 กล่าวว่า สสส. ได้ให้การสนับสนุนทุนโครงการแพทย์เฉพาะทางบาทเดียว ในโครงการสนับสนุนการสร้างสรรค์สื่อ กิจกรรม และแผนงานการตลาดเพื่อสังคม ภายใต้การดำเนินงานของฝ่ายสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม เพื่อสนับสนุนการให้ข้อมูลความรู้ด้านการแพทย์ การดูแลสุขภาพที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน โดยแพทย์เฉพาะทางที่ข้อมูลมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ ที่สำคัญ ทีมแพทย์ที่เข้าร่วมตอบคำถามในโครงการเป็นแพทย์จิตอาสา มีจิตสาธารณะทำประโยชน์โดยการให้ความรู้ด้านสุขภาพที่ถูกต้องผ่านสื่อออนไลน์แก่ประชาชน นับเป็นแบบอย่างที่ดีเป็นโครงการที่สามารถก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนด้านการสร้างเสริมสุขภาวะได้ โดยสามารถลดภาระงานของแพทย์ในโรงพยาบาล ช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาล และลดภาระงบประมาณการรักษาพยาบาลของประเทศ ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000075368

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...