กกต.จัดมาตรการช่วยคนพิการลงประชามติ7สิงหา

แสดงความคิดเห็น

นายประวิช รัตนเพียร คณะกรรมการ การเลือกตั้ง (กกต.)

กกต.ลุย อผศ.ประกาศความร่วมมือรณรงค์ประชาสัมพันธ์การออกเสียงประชามติ ลั่น กกต.พร้อมเข้า สู่ช่วงทางตรงสุดท้าย เตรียมพร้อมหน่วยออกเสียงประชามติ 1 แสนหน่วย 7 ส.ค. จัดมาตรการช่วยคนพิการย้ำไม่ชี้นำเชื่อปชช.ออกมาใช้สิทธิมากกว่าปี50

เมื่อวันที่ 27 ก.ค.59 ที่องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (อผศ.) นายประวิช รัตนเพียร คณะกรรมการ การเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการการมีส่วนร่วม กล่าวบรรยายพิเศษเรื่อง "ประกาศความร่วมมือรณรงค์ ประชาสัมพันธ์การออกเสียงประชามติ" ให้แก่ผู้บริหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่ของ อผศ. เพื่อทำความ เข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 ส.ค.59 พร้อมกับสาธิตการ ลงคะแนนออกเสียงประชามติสำหรับผู้พิการ เนื่องจาก อผศ.เป็นหน่วยงานที่ดูแลทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก และทหารนอกประจำการซึ่งมีผู้พิการทุพพลภาพจากการรบที่อยู่ในความดูแลเป็นจำนวนมาก

นายประวิช กล่าวตอนหนึ่งว่า การทำประชามติครั้งนี้ กกต.ใช้ทุกช่องทาง โดยเฉพาะโซเชียลมีเดีย เช่น แอพพลิเคชั่น ไลน์ เฟซบุ๊ก รวมถึงสื่อหนังสือพิมพ์ และโทรทัศน์ประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ ประชาชนผู้มีสิทธิออกมาใช้สิทธิลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญให้สุจริตและเที่ยงธรรม โดยจัดหน่วยออกเสียงประชามติประมาณ 1 แสนหน่วยทั่วประเทศ เพื่อเข้าถึงประชาชนให้มากที่สุด เพราะถือเป็นมาตรฐานในการจัดการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ ทุกคนสามารถไว้ใจได้ และ กกต.พร้อมแล้วที่จะเข้าสู่ช่วงทางตรงสุดท้าย คือการเตรียมคนจำนวน 1 ล้านคน ทำหน้าที่เป็นกรรมการประจำหน่วย ส่วนเรื่องบัตรออกเสียงจะใช้บัตร 1 ใบ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการสอบถามเกี่ยวกับเรื่องร่างรัฐธรรมนูญว่าเห็นด้วยทั้งฉบับหรือไม่ และส่วนที่ 2 เป็นคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเห็นว่าช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี ควรให้รัฐสภามีส่วนเลือกนายกรัฐมนตรีหรือไม่ เมื่อเข้าไปในคูหาก็ใช้สิทธิเห็นชอบหรือไม่สุดแล้วแต่ความเห็นของแต่ละคน ซึ่งบ้านเมืองขณะนี้อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ขึ้นอยู่กับท่านว่าจะตัดสินใจอย่างไรส่วนกกต.นั้นทำตามหน้าที่

นายประวิช กล่าวต่อว่า การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญปี 50 มีผู้มาใช้สิทธิคิดเป็น 57% ถือเป็นจำนวนของน้อยในการตัดสินใจเรื่องสำคัญของบ้านเมือง ทาง กกต.ตั้งเป้ากดดันตัวเองไว้ 80%เพราะการทำประชามติไม่เหมือนกับการเลือกตั้งทั่วไปที่มีคนไปหาเสียงเสนอนโยบายพรรคและเคาะประตูตามบ้าน การทำประชามติเป็นเพียงการออกมาบอกในภาพรวมและให้ประชาชนได้ศึกษา ดังนั้นทั่วโลกจึงเหมือนกัน อีกทั้งกฎหมายระบุว่าให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ ถ้าไม่ออกไปใช้สิทธิก็จะถูกตัดสิทธิทางการเมือง แต่การทำประชามตินั้นไม่มี กกต.จึงพยายามเชิญชวนประชาชนออกมาใช้สิทธิให้มากที่สุด เหลือเวลาอีก 12 วัน ดังนั้นขอให้ทุกคนช่วยกัน เพราะการออกเสียงประชามติถือเป็นวาระสำคัญของชาติที่ไม่ต้องไปคำนึงถึงผลว่าจะเห็นชอบหรือไม่ แต่สาระสำคัญอยู่ที่คนไทยต้องออกไปช่วยกันตัดสินใจตนเชื่อว่าการลงประชามติในครั้งนี้จะมีผู้มาใช้สิทธิมากกว่าการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญปี50

นอกจากนี้ นายประวิช ยังให้สัมภาษณ์ถึงมาตรการช่วยเหลือคนพิการที่จะไปใช้สิทธิออกเสียงประชามติว่า สำหรับผู้พิการทางสายตาได้มีการจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญด้วยอักษรเบรลล์ มีการแจกจ่ายไปตามมูลนิธิทางสายตาต่างๆ ส่วนผู้พิการทางขาที่ต้องใช้วีลแชร์ จะมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกให้ ทั้งนี้ขอย้ำว่าการออกเสียงลงประชามติต้องอยู่ภายใต้หลักการสากลที่ต้องสุจริตเที่ยงธรรม และเป็นความลับ การอำนวยความสะดวกดังกล่าวจะช่วยจนถึงหน้าคูหาการออกเสียง ซึ่งทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ปรับกฎหมายละเว้นให้ผู้พิการแขนทั้ง 2 ข้างที่ไม่สามารถกากบาทได้ สามารถให้ญาติเข้าไปช่วยเหลือได้ แต่ทุกอย่างต้องเป็นความลับ อย่างไรก็ตามตนขอย้ำว่าแนวทางนี้จะไม่มีการชี้นำใดๆ ทั้งสิ้น และเป็นไปตามหลักสากล ส่วนเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปอำนวยความสะดวกจะช่วยพาเข้าไปเพียงแค่หน้าคูหา หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะไม่อยู่ภายในคูหาโดยจะปล่อยให้เป็นตามดุลยพินิจของผู้มาใช้สิทธิเอง

สำหรับการอำนวยความสะดวกในการขนประชาชนไปลงประชามติ นายประวิช กล่าวว่า ต้องเข้าใจการขนประชาชนโดยหน่วยงานของรัฐแม้ว่าจะไม่ผิดกฎหมาย แต่ กกต.มีความเห็นว่าการใช้ยานพาหนะของรัฐ ขอให้ทำเฉพาะเท่าที่จำเป็นจริงๆ ในการอำนวยความสะดวกเท่านั้น อาทิ ผู้พิการถ้ามีความประสงค์จะไปใช้สิทธิ ทางหน่วยงานของรัฐต้องอำนวยความสะดวก

เมื่อถามถึงกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า เอกสารการออกเสียงประชามติของ กกต.เข้าข่ายบิดเบือนร่างรัฐธรรมนูญ นายประวิช กล่าวว่า กระบวนการเผยแพร่จัดพิมพ์เอกสารของ กกต.แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1.กติกาต่างๆ ที่จะให้การออกเสียงประชามติได้ไม่ผิดพลาดและบกพร่องเป็นหน้าที่ของกกต. 2.เนื้อหาสาระ และสรุปเรื่องต่างๆ เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และ 3.คำถามเพิ่มเติมและคำอธิบายต่างๆ นั้นมาจาก สนช. เพราะฉะนั้นกกต.ยึดตามหลักนี้.

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/674471

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ก.ค.59
วันที่โพสต์: 28/07/2559 เวลา 11:28:26 ดูภาพสไลด์โชว์ กกต.จัดมาตรการช่วยคนพิการลงประชามติ7สิงหา

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายประวิช รัตนเพียร คณะกรรมการ การเลือกตั้ง (กกต.) กกต.ลุย อผศ.ประกาศความร่วมมือรณรงค์ประชาสัมพันธ์การออกเสียงประชามติ ลั่น กกต.พร้อมเข้า สู่ช่วงทางตรงสุดท้าย เตรียมพร้อมหน่วยออกเสียงประชามติ 1 แสนหน่วย 7 ส.ค. จัดมาตรการช่วยคนพิการย้ำไม่ชี้นำเชื่อปชช.ออกมาใช้สิทธิมากกว่าปี50 เมื่อวันที่ 27 ก.ค.59 ที่องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (อผศ.) นายประวิช รัตนเพียร คณะกรรมการ การเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการการมีส่วนร่วม กล่าวบรรยายพิเศษเรื่อง "ประกาศความร่วมมือรณรงค์ ประชาสัมพันธ์การออกเสียงประชามติ" ให้แก่ผู้บริหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่ของ อผศ. เพื่อทำความ เข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 ส.ค.59 พร้อมกับสาธิตการ ลงคะแนนออกเสียงประชามติสำหรับผู้พิการ เนื่องจาก อผศ.เป็นหน่วยงานที่ดูแลทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก และทหารนอกประจำการซึ่งมีผู้พิการทุพพลภาพจากการรบที่อยู่ในความดูแลเป็นจำนวนมาก นายประวิช กล่าวตอนหนึ่งว่า การทำประชามติครั้งนี้ กกต.ใช้ทุกช่องทาง โดยเฉพาะโซเชียลมีเดีย เช่น แอพพลิเคชั่น ไลน์ เฟซบุ๊ก รวมถึงสื่อหนังสือพิมพ์ และโทรทัศน์ประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ ประชาชนผู้มีสิทธิออกมาใช้สิทธิลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญให้สุจริตและเที่ยงธรรม โดยจัดหน่วยออกเสียงประชามติประมาณ 1 แสนหน่วยทั่วประเทศ เพื่อเข้าถึงประชาชนให้มากที่สุด เพราะถือเป็นมาตรฐานในการจัดการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ ทุกคนสามารถไว้ใจได้ และ กกต.พร้อมแล้วที่จะเข้าสู่ช่วงทางตรงสุดท้าย คือการเตรียมคนจำนวน 1 ล้านคน ทำหน้าที่เป็นกรรมการประจำหน่วย ส่วนเรื่องบัตรออกเสียงจะใช้บัตร 1 ใบ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการสอบถามเกี่ยวกับเรื่องร่างรัฐธรรมนูญว่าเห็นด้วยทั้งฉบับหรือไม่ และส่วนที่ 2 เป็นคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเห็นว่าช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี ควรให้รัฐสภามีส่วนเลือกนายกรัฐมนตรีหรือไม่ เมื่อเข้าไปในคูหาก็ใช้สิทธิเห็นชอบหรือไม่สุดแล้วแต่ความเห็นของแต่ละคน ซึ่งบ้านเมืองขณะนี้อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ขึ้นอยู่กับท่านว่าจะตัดสินใจอย่างไรส่วนกกต.นั้นทำตามหน้าที่ นายประวิช กล่าวต่อว่า การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญปี 50 มีผู้มาใช้สิทธิคิดเป็น 57% ถือเป็นจำนวนของน้อยในการตัดสินใจเรื่องสำคัญของบ้านเมือง ทาง กกต.ตั้งเป้ากดดันตัวเองไว้ 80%เพราะการทำประชามติไม่เหมือนกับการเลือกตั้งทั่วไปที่มีคนไปหาเสียงเสนอนโยบายพรรคและเคาะประตูตามบ้าน การทำประชามติเป็นเพียงการออกมาบอกในภาพรวมและให้ประชาชนได้ศึกษา ดังนั้นทั่วโลกจึงเหมือนกัน อีกทั้งกฎหมายระบุว่าให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ ถ้าไม่ออกไปใช้สิทธิก็จะถูกตัดสิทธิทางการเมือง แต่การทำประชามตินั้นไม่มี กกต.จึงพยายามเชิญชวนประชาชนออกมาใช้สิทธิให้มากที่สุด เหลือเวลาอีก 12 วัน ดังนั้นขอให้ทุกคนช่วยกัน เพราะการออกเสียงประชามติถือเป็นวาระสำคัญของชาติที่ไม่ต้องไปคำนึงถึงผลว่าจะเห็นชอบหรือไม่ แต่สาระสำคัญอยู่ที่คนไทยต้องออกไปช่วยกันตัดสินใจตนเชื่อว่าการลงประชามติในครั้งนี้จะมีผู้มาใช้สิทธิมากกว่าการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญปี50 นอกจากนี้ นายประวิช ยังให้สัมภาษณ์ถึงมาตรการช่วยเหลือคนพิการที่จะไปใช้สิทธิออกเสียงประชามติว่า สำหรับผู้พิการทางสายตาได้มีการจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญด้วยอักษรเบรลล์ มีการแจกจ่ายไปตามมูลนิธิทางสายตาต่างๆ ส่วนผู้พิการทางขาที่ต้องใช้วีลแชร์ จะมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกให้ ทั้งนี้ขอย้ำว่าการออกเสียงลงประชามติต้องอยู่ภายใต้หลักการสากลที่ต้องสุจริตเที่ยงธรรม และเป็นความลับ การอำนวยความสะดวกดังกล่าวจะช่วยจนถึงหน้าคูหาการออกเสียง ซึ่งทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ปรับกฎหมายละเว้นให้ผู้พิการแขนทั้ง 2 ข้างที่ไม่สามารถกากบาทได้ สามารถให้ญาติเข้าไปช่วยเหลือได้ แต่ทุกอย่างต้องเป็นความลับ อย่างไรก็ตามตนขอย้ำว่าแนวทางนี้จะไม่มีการชี้นำใดๆ ทั้งสิ้น และเป็นไปตามหลักสากล ส่วนเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปอำนวยความสะดวกจะช่วยพาเข้าไปเพียงแค่หน้าคูหา หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะไม่อยู่ภายในคูหาโดยจะปล่อยให้เป็นตามดุลยพินิจของผู้มาใช้สิทธิเอง สำหรับการอำนวยความสะดวกในการขนประชาชนไปลงประชามติ นายประวิช กล่าวว่า ต้องเข้าใจการขนประชาชนโดยหน่วยงานของรัฐแม้ว่าจะไม่ผิดกฎหมาย แต่ กกต.มีความเห็นว่าการใช้ยานพาหนะของรัฐ ขอให้ทำเฉพาะเท่าที่จำเป็นจริงๆ ในการอำนวยความสะดวกเท่านั้น อาทิ ผู้พิการถ้ามีความประสงค์จะไปใช้สิทธิ ทางหน่วยงานของรัฐต้องอำนวยความสะดวก เมื่อถามถึงกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า เอกสารการออกเสียงประชามติของ กกต.เข้าข่ายบิดเบือนร่างรัฐธรรมนูญ นายประวิช กล่าวว่า กระบวนการเผยแพร่จัดพิมพ์เอกสารของ กกต.แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1.กติกาต่างๆ ที่จะให้การออกเสียงประชามติได้ไม่ผิดพลาดและบกพร่องเป็นหน้าที่ของกกต. 2.เนื้อหาสาระ และสรุปเรื่องต่างๆ เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และ 3.คำถามเพิ่มเติมและคำอธิบายต่างๆ นั้นมาจาก สนช. เพราะฉะนั้นกกต.ยึดตามหลักนี้. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/674471

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...