พม.เผย กทม.ขอทานมากสุดเกือบครึ่งเป็นคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

วณิพก เล่นดนตรีเปิดหมวก

นายพุฒิพัฒน์ เลิศเชาวสิทธิ์ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยว่า จากการจัดระเบียบขอทานทั่วประเทศครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 7-11 มี.ค.ที่ผ่านมา รวม 5 วัน สามารถควบคุมขอทานได้จำนวนทั้งสิ้น 311 คน เป็นคนไทย 217 คน ต่างด้าว 94 คน แยกเป็นชาวกัมพูชา 79 คน พม่า 14 คน และจีน 1 คน จังหวัดที่พบขอทานมากที่สุดคือ กรุงเทพฯ 35 คน รองลงมา ชลบุรี 28 คน และสุรินทร์ 11 คน ในจำนวนขอทานที่พบร้อยละ 45 เป็นคนพิการ ร้อยละ 8.36 เป็นผู้สูงอายุ และร้อยละ 8.03 เป็นขอทานเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีที่มากับพ่อแม่ สำหรับจุดที่พบขอทานมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ ตลาด แหล่งชุมชน และแหล่งท่องเที่ยว รายได้โดยเฉลี่ยที่สำรวจพบส่วนมากได้ไม่เกิน 300 บาทต่อวัน ส่วนสาเหตุที่มาขอทาน ส่วนใหญ่ร้อยละ 74 ระบุมาเพราะความยากจน แต่ไม่พบกรณีใดที่เข้าข่ายค้ามนุษย์ สำหรับการดำเนินการ กรณีที่เป็นชาวต่างด้าวได้นำส่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ส่วนที่เป็นคนไทยได้ส่งคืนครอบครัว พร้อมนัดหมายการไปเยี่ยมบ้านเพื่อให้การช่วยเหลือฟื้นฟู 128 คน ส่งเข้าสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 68 คน เป็นต้น

อธิบดี พส.กล่าวด้วยว่า สำหรับร่าง พ.ร.บ.การควบคุมขอทาน ซึ่งที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 4 มี.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ระหว่างนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมาย.

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/592044

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 มี.ค.59
วันที่โพสต์: 21/03/2559 เวลา 09:38:13 ดูภาพสไลด์โชว์ พม.เผย กทม.ขอทานมากสุดเกือบครึ่งเป็นคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

วณิพก เล่นดนตรีเปิดหมวก นายพุฒิพัฒน์ เลิศเชาวสิทธิ์ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยว่า จากการจัดระเบียบขอทานทั่วประเทศครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 7-11 มี.ค.ที่ผ่านมา รวม 5 วัน สามารถควบคุมขอทานได้จำนวนทั้งสิ้น 311 คน เป็นคนไทย 217 คน ต่างด้าว 94 คน แยกเป็นชาวกัมพูชา 79 คน พม่า 14 คน และจีน 1 คน จังหวัดที่พบขอทานมากที่สุดคือ กรุงเทพฯ 35 คน รองลงมา ชลบุรี 28 คน และสุรินทร์ 11 คน ในจำนวนขอทานที่พบร้อยละ 45 เป็นคนพิการ ร้อยละ 8.36 เป็นผู้สูงอายุ และร้อยละ 8.03 เป็นขอทานเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีที่มากับพ่อแม่ สำหรับจุดที่พบขอทานมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ ตลาด แหล่งชุมชน และแหล่งท่องเที่ยว รายได้โดยเฉลี่ยที่สำรวจพบส่วนมากได้ไม่เกิน 300 บาทต่อวัน ส่วนสาเหตุที่มาขอทาน ส่วนใหญ่ร้อยละ 74 ระบุมาเพราะความยากจน แต่ไม่พบกรณีใดที่เข้าข่ายค้ามนุษย์ สำหรับการดำเนินการ กรณีที่เป็นชาวต่างด้าวได้นำส่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ส่วนที่เป็นคนไทยได้ส่งคืนครอบครัว พร้อมนัดหมายการไปเยี่ยมบ้านเพื่อให้การช่วยเหลือฟื้นฟู 128 คน ส่งเข้าสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 68 คน เป็นต้น อธิบดี พส.กล่าวด้วยว่า สำหรับร่าง พ.ร.บ.การควบคุมขอทาน ซึ่งที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 4 มี.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ระหว่างนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมาย. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/592044

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...