นราฯ เร่งขยายศูนย์ “อาชาบำบัด” ครอบคลุม 13 อำเภอ หลังพบช่วยพัฒนาการเด็กออทิสติก

แสดงความคิดเห็น

นราธิวาส - นายอำเภอเจาะไอร้อง และตัวแทนฝ่ายต่างๆ ร่วมเดินทางมายังศูนย์อาชาบำบัดเด็กออทิสติกและเด็กบกพร่องทางปัญญา จ.นราธิวาส พบการใช้ม้าในการบำบัดได้ผลตามคำร่ำลือ จึงลงมติขยายศูนย์อาชาบำบัดให้ควบคุมพื้นที่ทั้ง13อำเภอ

ศูนย์อาชาบำบัดเด็กออทิสติกและเด็กบกพร่องทางปัญญา

วันที่ (4 ก.พ.) นายสังคม เกิดก่อ นายอำเภอเจาะไอร้อง จ.นราธิวาส นายลิขิต จันทร์โสภณ กรรมการศูนย์การศึกษาพิเศษ จ.นราธิวาส และตัวแทนโรงพยาบาลเจาะไอร้อง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมเดินทางมายังศูนย์อาชาบำบัดเด็กออทิสติกและเด็กบกพร่องทางปัญญา ของนายเจ๊ะบอซู บือซา อายุ 39 ปี เลขที่ 241 ม.1 ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ที่ใช้เนื้อที่ว่างข้างบ้านพัก ขนาด 15 คูณ 20 ตารางวา ใช้เป็นสถานที่บำบัด โดยมี นางนิซะ บือซา ซึ่งเป็นภรรยา และเป็นพยาบาลวิชาชีพชำนาญการด้านจิตเวชของโรงพยาบาลเจาะไอร้อง ที่ใช้เวลาว่างในการร่วมบำบัดเด็กออทิสติกและเด็กบกพร่องทางปัญญา จนเป็นที่เลื่องลือของชาวบ้านในพื้นที่ อ.เจาะไอร้อง และ อ.ใกล้เคียง

ซึ่งเป็นที่มาของตัวแทนฝ่ายต่างๆ ได้ร่วมกันเดินทางเข้ามาศึกษาดูงาน ถึงกระบวนการบำบัดตามที่ได้มีการเล่าลือกันในวงกว้าง และพบว่า การใช้ม้า หรืออาชาในการบำบัดเด็กออทิสติกและเด็กบกพร่องทางปัญญา ได้ผลตามคำร่ำลือ จึงได้มีการลงมติว่า จะต้องมีการขยายศูนย์อาชาบำบัดให้ควบคุมพื้นที่ทั้ง 13 อำเภอ เพื่อที่จะสามารถบำบัดเด็กออทิสติกได้อย่างทั่วถึง และสามารถที่จะช่วยเหลือตัวเองในอนาคตได้ รวมทั้งไม่เป็นภาระของครอบครัวอีกต่อไป ซึ่งปัจจุบัน นราธิวาสมีเด็กพิการ 9 ประเภท รวมทั้งเด็กออทิสติกและเด็กบกพร่องทางปัญญา จำนวน 565 คน ในจำนวนนี้มีเด็กออกทิสติกและบกพร่องทางปัญญาอยู่ประมาณ10เปอร์เซ็นต์

ต่อมา นายเจ๊ะบอซู ผู้ดูแลศูนย์อาชาบำบัดเด็กออทิสติกและเด็กบกพร่องทางปัญญา ได้มีการสาธิตวิธีการบำบัดให้แก่คณะที่ได้เดินทางมาติดตามศึกษาดูงานได้รับชม โดย นายเจ๊ะบอซู ได้อุ้มเด็กออทิสติก จำนวน 3 คน ซึ่ง 1 ในนั้นคือ ด.ช.อามิง เจ๊ะเต็ง อายุ 8 ขวบ ซึ่งปัจจุบันได้ผ่านการบำบัดมาแล้ว 5 เดือน พบว่า มีพัฒนาการทางสติปัญญาที่ดีขึ้น สามารถเล่าเรื่องต่างๆ ที่ประสบมาให้พ่อแม่ได้รับทราบ และที่เห็นผลค่อนข้างชัดเจน คือ สามารถพูดตอบโต้กับเพื่อนๆและสมาชิกในครัวเรือนได้เกือบเหมือนเด็กปกติ

ซึ่งวิธีการบำบัด นายเจ๊ะบอซู ได้นำเด็กที่เข้าสู่กระบวนการบำบัดสลับกันขี่หลังม้า โดยมีพี่เลี้ยงประกบติดอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันเด็กตก ซึ่งเป็นกระบวนการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและกล้ามเนื้อให้สูบฉีด จะทำให้ระบบสมองทำงานได้ดีขึ้น และรับรู้เหมือนเด็กปกติ ซึ่งในระยะนี้ต้องบำบัดบนหลังม้าประมาณคนละ 6 เดือนจึงเห็นผล

น้องๆ เด็กออทิสติกที่มาร่วมเข้าบำบัดด้วย "อาชาบำบัด"

ซึ่ง นายเจ๊ะบอซู เปิดเผยว่า ตนมีแนวคิดร่วมกันภรรยา หลังจากที่ซื้อม้ามา 1 ตัว เพื่อหวังเพียงการขี่ม้าสนุกๆ เป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่ง และเมื่อภรรยาซึ่งเป็นพยาบาลด้านจิตเวช ได้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเด็กออทิสติกและเด็กบกพร่องทางปัญญา พบว่า การไหลเวียนของโลหิตที่ดีขึ้นต่อร่างกาย เป็นหนทางหนึ่งที่จะบำบัดเด็กออทิสติกได้ ทั้ง 2 คน จึงได้ซื้อม้ามาเพิ่มเติมอีก 3 ตัว รวมเป็น 4 ตัว และได้นำเด็กออทิสติกในหมู่บ้านที่สมัครใจมาบำบัดจนประสบความสำเร็จ

ต่อมา ชาวบ้านในหมู่บ้านจึงได้รวมตัวกันซื้อม้าเพิ่มเติมอีก 3 ตัว รวมเป็น 7 ตัว แล้วได้ลงความเห็นจัดตั้งเป็นศูนย์บำบัดเด็กออทิสติกขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2556 จนถึงปัจจุบันนี้ และปัจจุบันมีเด็กเข้าร่วมในการบำบัดรวมทั้งสิ้น 15 คน จากเด็กในพื้นที่ อ.ระแงะ และ อ.เจาะไอร้อง

ด้าน นางนิซะ บือซา กล่าวว่า เริ่มแรกเราจะสังเกตพฤติกรรมของเด็กที่ขี่ม้าบ่อยๆ พบว่า การพัฒนาการทุกอย่างดีขึ้น เมื่อผ่านไป 1 ปี เด็กก็สามารถขี่ม้าได้เองโดยที่ไม่ต้องมีคนคุม และเด็กมีพัฒนาการที่จะกลับไปเล่าให้แก่ทางบ้านทราบว่า วันหนึ่งได้ทำกิจกรรมอะไรบ้าง และทราบว่าใครที่ร่วมกิจกรรมด้วยชื่ออะไร แถมเด็กก็จะมีการพูดคุยกับคนอื่นมากขึ้นซึ่งผิดกับในช่วงก่อนเข้าบำบัดโดยสิ้นเชิง

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9590000012615 (ขนาดไฟล์: 166)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 04 ก.พ.59
วันที่โพสต์: 26/02/2559 เวลา 10:21:35 ดูภาพสไลด์โชว์ นราฯ เร่งขยายศูนย์ “อาชาบำบัด” ครอบคลุม 13 อำเภอ หลังพบช่วยพัฒนาการเด็กออทิสติก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นราธิวาส - นายอำเภอเจาะไอร้อง และตัวแทนฝ่ายต่างๆ ร่วมเดินทางมายังศูนย์อาชาบำบัดเด็กออทิสติกและเด็กบกพร่องทางปัญญา จ.นราธิวาส พบการใช้ม้าในการบำบัดได้ผลตามคำร่ำลือ จึงลงมติขยายศูนย์อาชาบำบัดให้ควบคุมพื้นที่ทั้ง13อำเภอ ศูนย์อาชาบำบัดเด็กออทิสติกและเด็กบกพร่องทางปัญญา วันที่ (4 ก.พ.) นายสังคม เกิดก่อ นายอำเภอเจาะไอร้อง จ.นราธิวาส นายลิขิต จันทร์โสภณ กรรมการศูนย์การศึกษาพิเศษ จ.นราธิวาส และตัวแทนโรงพยาบาลเจาะไอร้อง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมเดินทางมายังศูนย์อาชาบำบัดเด็กออทิสติกและเด็กบกพร่องทางปัญญา ของนายเจ๊ะบอซู บือซา อายุ 39 ปี เลขที่ 241 ม.1 ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ที่ใช้เนื้อที่ว่างข้างบ้านพัก ขนาด 15 คูณ 20 ตารางวา ใช้เป็นสถานที่บำบัด โดยมี นางนิซะ บือซา ซึ่งเป็นภรรยา และเป็นพยาบาลวิชาชีพชำนาญการด้านจิตเวชของโรงพยาบาลเจาะไอร้อง ที่ใช้เวลาว่างในการร่วมบำบัดเด็กออทิสติกและเด็กบกพร่องทางปัญญา จนเป็นที่เลื่องลือของชาวบ้านในพื้นที่ อ.เจาะไอร้อง และ อ.ใกล้เคียง ซึ่งเป็นที่มาของตัวแทนฝ่ายต่างๆ ได้ร่วมกันเดินทางเข้ามาศึกษาดูงาน ถึงกระบวนการบำบัดตามที่ได้มีการเล่าลือกันในวงกว้าง และพบว่า การใช้ม้า หรืออาชาในการบำบัดเด็กออทิสติกและเด็กบกพร่องทางปัญญา ได้ผลตามคำร่ำลือ จึงได้มีการลงมติว่า จะต้องมีการขยายศูนย์อาชาบำบัดให้ควบคุมพื้นที่ทั้ง 13 อำเภอ เพื่อที่จะสามารถบำบัดเด็กออทิสติกได้อย่างทั่วถึง และสามารถที่จะช่วยเหลือตัวเองในอนาคตได้ รวมทั้งไม่เป็นภาระของครอบครัวอีกต่อไป ซึ่งปัจจุบัน นราธิวาสมีเด็กพิการ 9 ประเภท รวมทั้งเด็กออทิสติกและเด็กบกพร่องทางปัญญา จำนวน 565 คน ในจำนวนนี้มีเด็กออกทิสติกและบกพร่องทางปัญญาอยู่ประมาณ10เปอร์เซ็นต์ ต่อมา นายเจ๊ะบอซู ผู้ดูแลศูนย์อาชาบำบัดเด็กออทิสติกและเด็กบกพร่องทางปัญญา ได้มีการสาธิตวิธีการบำบัดให้แก่คณะที่ได้เดินทางมาติดตามศึกษาดูงานได้รับชม โดย นายเจ๊ะบอซู ได้อุ้มเด็กออทิสติก จำนวน 3 คน ซึ่ง 1 ในนั้นคือ ด.ช.อามิง เจ๊ะเต็ง อายุ 8 ขวบ ซึ่งปัจจุบันได้ผ่านการบำบัดมาแล้ว 5 เดือน พบว่า มีพัฒนาการทางสติปัญญาที่ดีขึ้น สามารถเล่าเรื่องต่างๆ ที่ประสบมาให้พ่อแม่ได้รับทราบ และที่เห็นผลค่อนข้างชัดเจน คือ สามารถพูดตอบโต้กับเพื่อนๆและสมาชิกในครัวเรือนได้เกือบเหมือนเด็กปกติ ซึ่งวิธีการบำบัด นายเจ๊ะบอซู ได้นำเด็กที่เข้าสู่กระบวนการบำบัดสลับกันขี่หลังม้า โดยมีพี่เลี้ยงประกบติดอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันเด็กตก ซึ่งเป็นกระบวนการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและกล้ามเนื้อให้สูบฉีด จะทำให้ระบบสมองทำงานได้ดีขึ้น และรับรู้เหมือนเด็กปกติ ซึ่งในระยะนี้ต้องบำบัดบนหลังม้าประมาณคนละ 6 เดือนจึงเห็นผล น้องๆ เด็กออทิสติกที่มาร่วมเข้าบำบัดด้วย "อาชาบำบัด" ซึ่ง นายเจ๊ะบอซู เปิดเผยว่า ตนมีแนวคิดร่วมกันภรรยา หลังจากที่ซื้อม้ามา 1 ตัว เพื่อหวังเพียงการขี่ม้าสนุกๆ เป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่ง และเมื่อภรรยาซึ่งเป็นพยาบาลด้านจิตเวช ได้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเด็กออทิสติกและเด็กบกพร่องทางปัญญา พบว่า การไหลเวียนของโลหิตที่ดีขึ้นต่อร่างกาย เป็นหนทางหนึ่งที่จะบำบัดเด็กออทิสติกได้ ทั้ง 2 คน จึงได้ซื้อม้ามาเพิ่มเติมอีก 3 ตัว รวมเป็น 4 ตัว และได้นำเด็กออทิสติกในหมู่บ้านที่สมัครใจมาบำบัดจนประสบความสำเร็จ ต่อมา ชาวบ้านในหมู่บ้านจึงได้รวมตัวกันซื้อม้าเพิ่มเติมอีก 3 ตัว รวมเป็น 7 ตัว แล้วได้ลงความเห็นจัดตั้งเป็นศูนย์บำบัดเด็กออทิสติกขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2556 จนถึงปัจจุบันนี้ และปัจจุบันมีเด็กเข้าร่วมในการบำบัดรวมทั้งสิ้น 15 คน จากเด็กในพื้นที่ อ.ระแงะ และ อ.เจาะไอร้อง ด้าน นางนิซะ บือซา กล่าวว่า เริ่มแรกเราจะสังเกตพฤติกรรมของเด็กที่ขี่ม้าบ่อยๆ พบว่า การพัฒนาการทุกอย่างดีขึ้น เมื่อผ่านไป 1 ปี เด็กก็สามารถขี่ม้าได้เองโดยที่ไม่ต้องมีคนคุม และเด็กมีพัฒนาการที่จะกลับไปเล่าให้แก่ทางบ้านทราบว่า วันหนึ่งได้ทำกิจกรรมอะไรบ้าง และทราบว่าใครที่ร่วมกิจกรรมด้วยชื่ออะไร แถมเด็กก็จะมีการพูดคุยกับคนอื่นมากขึ้นซึ่งผิดกับในช่วงก่อนเข้าบำบัดโดยสิ้นเชิง ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9590000012615

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...