‘ละครใบ้’เปลี่ยนบุคลิกภาพคนหูหนวก

แสดงความคิดเห็น

ละครใบ้คนหน้าขาวกำลังแสดงให้เด็กที่โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระบรมราชูปถัมภ์ดู

ปัจจุบันสังคมไม่ค่อยมีโอกาสรับรู้ปัญหาของคนหูหนวก เพราะต้องศึกษาอยู่ในโรงเรียนโสตศึกษา เป็นโรงเรียนแยกจากโรงเรียนปกติ และคนหูหนวกอยู่วงรอบของคนหูหนวกด้วยกัน ร่างกายที่สมบูรณ์แต่บกพร่องทางการสื่อสารทำให้คนหูหนวกสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้วคนหูหนวกปรับตัวเข้ากับสังคมได้ยากมาก มีข้อจำกัดในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพราะผู้ร่วมงานไม่เข้าใจคนหูหนวก และคนหูหนวกก็ไม่สามารถสื่อสารให้คนหูดีเข้าใจได้

กลุ่มละครใบ้คนหน้าขาว ได้นำศาสตร์ละครใบ้ไปแสดงให้เด็กที่โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระบรมราชูปถัมภ์ดู การแสดงนี้ทำให้เด็กหูหนวกเข้าใจได้โดยไม่ต้องใช้ล่ามภาษามือมาช่วยเช่นการเสพความบันเทิงทั่วไป อีกทั้งเด็กยังสนใจที่จะมาเป็นนักแสดงเมื่อทางคณะละครใบ้เปิดรับสมัคร หลายคนที่ได้มาเรียนศาสตร์ละครใบ้มีทักษะทางสังคมดีขึ้น สามารถเล่าเรื่องราวให้คนปกติได้รับรู้ได้ง่ายขึ้น

โครงการนำร่องอบรมละครใบ้เพื่อเด็กหูหนวก ในโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เริ่มเปิดการเรียนการสอนเมื่อกลางเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา เปิดให้เด็กหูหนวกที่สนใจศาสตร์ด้านนี้มาเรียน สามารถรับผู้เรียนได้ 50 คน ใช้เวลาเรียนสัปดาห์ละครั้ง

ไพฑูรย์ ไหลสกุล หรือ “ครูอั๋น” ผู้ก่อตั้งคณะละครใบ้หน้าขาว เล่าว่า เล่นละครใบ้มาแล้ว 30 ปี ตระเวนเล่นตามงานต่าง ๆ แต่ต้องแปลกใจเมื่อมาเล่นที่โรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ ผู้ชมที่นี่มีอารมณ์ร่วมมากกว่าคนดูกลุ่มอื่น ดูจากสีหน้าแววตาเด็กมีความสุขมาก เพราะเป็นความบันเทิงที่ดูแล้วรู้เรื่องเข้าใจได้เลยไม่ต้องใช้ล่ามแปล ทำให้เกิดความคิดอยากจะเข้ามาสอนละครใบ้ในโรงเรียน จึงขออนุญาตครูเข้ามาสอนปรากฏว่าเรียนสองวันเด็กเล่นได้ ต่อมาจึงหาเงินทุนมาสนับสนุน

ผู้ก่อตั้งคณะละครใบ้หน้าขาว บอกว่า สิ่งสำคัญของคนที่จะมาเล่นละครใบ้คือต้องมีจินตนาการและมีระบบความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ เพราะการเล่นละครใบ้เล่นเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อให้คนดูแล้วเข้าใจ ไม่ได้ใช้อุปกรณ์ใด ๆ มีเพียงเสื้อผ้าที่ช่วยเพิ่มสีสัน ดังนั้นการดูละครใบ้จะช่วยทำให้คิดเป็น คิดเป็นขั้นเป็นตอน ฝึกแยกแยะได้ ตัวอย่างเช่น การที่ตัวละครเล่นบทกินลูกอม ต้องสื่อออกมาให้ได้ว่ากินลูกอมต่างจากการกินยา หรือการดมต่างชนิดกัน ท่าทางที่สื่อออกมาต้องแสดงว่าดมน้ำหอม หรือดอกไม้ ละครใบ้จะเล่นเรื่องราวอะไรก็ได้ เช่น โทษของยาเสพติด รณรงค์ปลูกต้นไม้ หรือแม้แต่เรื่องราวในชีวิตประจำวัน

“ละครใบ้ใช้การเคลื่อนไหวของร่างกาย แต่การเคลื่อนไหวจะพิเศษกว่าคนอื่น เช่น การใช้มือให้พลิ้วไหว นำการเคลื่อนไหวของร่างกายมาสร้างเป็นภาพ ทำในสิ่งที่คนดูคิดว่าไม่มีให้เหมือนว่ามี ต่างจากมายากลที่มีอุปกรณ์มาช่วย แต่ละครของเราสร้างสิ่งของขึ้นในอากาศและมีเรื่องราวในสิ่งของ”

ไพฑูรย์ เล่าว่า หลังจากได้สอนเด็กหูหนวกได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัด เด็กหูหนวกมีปฏิสัมพันธ์กับคนปกติมากขึ้น เพราะปกติแล้วโลกของคนหูหนวกมีแต่ครู เพื่อน พ่อแม่ ที่สื่อสารภาษามือได้ แต่เมื่อเด็กได้เล่นละครใบ้เริ่มรู้สึกว่าคนปกติเข้าใจเขา เพราะฉะนั้นเขาจึงน่าจะคุยกับคนปกติได้เพราะมาจากความมั่นใจเมื่อเล่นละครใบ้โดยไม่ต้องพูดคนปกติก็เข้าใจ ทิ้งความกลัวมีความกล้าเข้ามาแทนที่

“สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดบุคลิกภาพของเขาดีขึ้น สังเกตดูเมื่อเวลาคนหูหนวกคุยภาษามือหน้าจะเพี้ยน เพราะคิดว่าต้องใช้อากัปกิริยาของหน้าเข้าช่วย ตรงนี้ไม่มีประโยชน์ ทำให้คนภายนอกมองว่าเขาผิดปกติ ดูแล้วไม่สวยเพราะมีพฤติกรรมเหมือนคนพิการ แต่จริง ๆ แล้วไม่พิการเขาพูดได้ แต่สีหน้าที่แสดงออกจะแสดงอารมณ์มากกว่าแสดงคำ แต่เมื่อมาเรียนเวลาพูดกับคนปกติเขาไม่แสดงออกทางสีหน้า เขาจะคุยนิ่งขึ้นแต่ถ้าได้กลับมาคุยกับคนหูหนวกด้วยกันจะกลับมามีกิริยาเหมือนเดิม”

สายใจ สังขพันธ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ บอกถึงความเปลี่ยนแปลงของเด็กในโรงเรียนว่า ละครใบ้ช่วยเติมทักษะความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก เมื่อเขาแสดงเขาอาจจะคิดนอกกรอบ เราไม่ได้บังคับเด็กให้เด็กเรียน ก่อนหน้านั้นมีคณะคนหน้าขาวมาเล่นให้ดูก่อน เด็กมีความสนใจก็มาสมัคร ปรากฏว่าเด็กสมัครจนล้น ความจริงแล้วมีเด็กมาสมัครมากกว่า 50 คน แต่รับได้เท่านั้น ซึ่งมีตั้งแต่ระดับประถมจนถึงมัธยม จัดตารางเรียนจำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 2 ชม.

รองผู้อำนวยการโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ บอกว่า ใช้ชั่วโมงในเวลาเรียนโดยลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ มาให้เด็กเรียนละครใบ้ ขณะเดียวกันเรายังให้ความสำคัญเรื่องทักษะภาษาไทย เราถือว่าละครใบ้เป็นวิชาชีพติดตัว คนปกติอาจไปร้องเพลงแต่เด็กหูหนวกเล่นละครใบ้ได้ บางทีคนปกติอาจถ่ายทอดการแสดงได้ไม่ดีเท่าเขา แต่เราเชื่อว่าคนหูหนวกเข้าใจได้เร็วกว่าคนปกติตามที่สังเกตมาทุกครั้ง “ปกติที่โรงเรียนก็มีสอนรำไทย จินตลีลา หรือเต้น ที่โรงเรียนสอนอยู่แล้ว แต่ศาสตร์ละครใบ้เป็นเรื่องลึกซึ้งกว่า ช่วยพัฒนาเรื่องของความคิด เพราะขณะนี้เราใช้นิทานสอนภาษาไทยเพื่อต้องการให้เด็กคิดเชื่อมโยงได้”

บุคลิกภาพที่เปลี่ยนไปแสดงให้เห็นได้ชัดว่า ละครใบ้เป็นศาสตร์ที่เหมาะกับคนหูหนวก ช่วยส่งเสริมสถานภาพทางสังคมได้จริง โดยไม่ทำให้คนหูหนวกกลายเป็น “ยอดมนุษย์” หรือมนุษย์ประหลาด. พรประไพเสือเขียว/spornprapai@yahoo.com

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/372419 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ม.ค.59
วันที่โพสต์: 12/01/2559 เวลา 10:26:42 ดูภาพสไลด์โชว์ ‘ละครใบ้’เปลี่ยนบุคลิกภาพคนหูหนวก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ละครใบ้คนหน้าขาวกำลังแสดงให้เด็กที่โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระบรมราชูปถัมภ์ดู ปัจจุบันสังคมไม่ค่อยมีโอกาสรับรู้ปัญหาของคนหูหนวก เพราะต้องศึกษาอยู่ในโรงเรียนโสตศึกษา เป็นโรงเรียนแยกจากโรงเรียนปกติ และคนหูหนวกอยู่วงรอบของคนหูหนวกด้วยกัน ร่างกายที่สมบูรณ์แต่บกพร่องทางการสื่อสารทำให้คนหูหนวกสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้วคนหูหนวกปรับตัวเข้ากับสังคมได้ยากมาก มีข้อจำกัดในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพราะผู้ร่วมงานไม่เข้าใจคนหูหนวก และคนหูหนวกก็ไม่สามารถสื่อสารให้คนหูดีเข้าใจได้ กลุ่มละครใบ้คนหน้าขาว ได้นำศาสตร์ละครใบ้ไปแสดงให้เด็กที่โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระบรมราชูปถัมภ์ดู การแสดงนี้ทำให้เด็กหูหนวกเข้าใจได้โดยไม่ต้องใช้ล่ามภาษามือมาช่วยเช่นการเสพความบันเทิงทั่วไป อีกทั้งเด็กยังสนใจที่จะมาเป็นนักแสดงเมื่อทางคณะละครใบ้เปิดรับสมัคร หลายคนที่ได้มาเรียนศาสตร์ละครใบ้มีทักษะทางสังคมดีขึ้น สามารถเล่าเรื่องราวให้คนปกติได้รับรู้ได้ง่ายขึ้น โครงการนำร่องอบรมละครใบ้เพื่อเด็กหูหนวก ในโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เริ่มเปิดการเรียนการสอนเมื่อกลางเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา เปิดให้เด็กหูหนวกที่สนใจศาสตร์ด้านนี้มาเรียน สามารถรับผู้เรียนได้ 50 คน ใช้เวลาเรียนสัปดาห์ละครั้ง ไพฑูรย์ ไหลสกุล หรือ “ครูอั๋น” ผู้ก่อตั้งคณะละครใบ้หน้าขาว เล่าว่า เล่นละครใบ้มาแล้ว 30 ปี ตระเวนเล่นตามงานต่าง ๆ แต่ต้องแปลกใจเมื่อมาเล่นที่โรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ ผู้ชมที่นี่มีอารมณ์ร่วมมากกว่าคนดูกลุ่มอื่น ดูจากสีหน้าแววตาเด็กมีความสุขมาก เพราะเป็นความบันเทิงที่ดูแล้วรู้เรื่องเข้าใจได้เลยไม่ต้องใช้ล่ามแปล ทำให้เกิดความคิดอยากจะเข้ามาสอนละครใบ้ในโรงเรียน จึงขออนุญาตครูเข้ามาสอนปรากฏว่าเรียนสองวันเด็กเล่นได้ ต่อมาจึงหาเงินทุนมาสนับสนุน ผู้ก่อตั้งคณะละครใบ้หน้าขาว บอกว่า สิ่งสำคัญของคนที่จะมาเล่นละครใบ้คือต้องมีจินตนาการและมีระบบความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ เพราะการเล่นละครใบ้เล่นเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อให้คนดูแล้วเข้าใจ ไม่ได้ใช้อุปกรณ์ใด ๆ มีเพียงเสื้อผ้าที่ช่วยเพิ่มสีสัน ดังนั้นการดูละครใบ้จะช่วยทำให้คิดเป็น คิดเป็นขั้นเป็นตอน ฝึกแยกแยะได้ ตัวอย่างเช่น การที่ตัวละครเล่นบทกินลูกอม ต้องสื่อออกมาให้ได้ว่ากินลูกอมต่างจากการกินยา หรือการดมต่างชนิดกัน ท่าทางที่สื่อออกมาต้องแสดงว่าดมน้ำหอม หรือดอกไม้ ละครใบ้จะเล่นเรื่องราวอะไรก็ได้ เช่น โทษของยาเสพติด รณรงค์ปลูกต้นไม้ หรือแม้แต่เรื่องราวในชีวิตประจำวัน “ละครใบ้ใช้การเคลื่อนไหวของร่างกาย แต่การเคลื่อนไหวจะพิเศษกว่าคนอื่น เช่น การใช้มือให้พลิ้วไหว นำการเคลื่อนไหวของร่างกายมาสร้างเป็นภาพ ทำในสิ่งที่คนดูคิดว่าไม่มีให้เหมือนว่ามี ต่างจากมายากลที่มีอุปกรณ์มาช่วย แต่ละครของเราสร้างสิ่งของขึ้นในอากาศและมีเรื่องราวในสิ่งของ” ไพฑูรย์ เล่าว่า หลังจากได้สอนเด็กหูหนวกได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัด เด็กหูหนวกมีปฏิสัมพันธ์กับคนปกติมากขึ้น เพราะปกติแล้วโลกของคนหูหนวกมีแต่ครู เพื่อน พ่อแม่ ที่สื่อสารภาษามือได้ แต่เมื่อเด็กได้เล่นละครใบ้เริ่มรู้สึกว่าคนปกติเข้าใจเขา เพราะฉะนั้นเขาจึงน่าจะคุยกับคนปกติได้เพราะมาจากความมั่นใจเมื่อเล่นละครใบ้โดยไม่ต้องพูดคนปกติก็เข้าใจ ทิ้งความกลัวมีความกล้าเข้ามาแทนที่ “สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดบุคลิกภาพของเขาดีขึ้น สังเกตดูเมื่อเวลาคนหูหนวกคุยภาษามือหน้าจะเพี้ยน เพราะคิดว่าต้องใช้อากัปกิริยาของหน้าเข้าช่วย ตรงนี้ไม่มีประโยชน์ ทำให้คนภายนอกมองว่าเขาผิดปกติ ดูแล้วไม่สวยเพราะมีพฤติกรรมเหมือนคนพิการ แต่จริง ๆ แล้วไม่พิการเขาพูดได้ แต่สีหน้าที่แสดงออกจะแสดงอารมณ์มากกว่าแสดงคำ แต่เมื่อมาเรียนเวลาพูดกับคนปกติเขาไม่แสดงออกทางสีหน้า เขาจะคุยนิ่งขึ้นแต่ถ้าได้กลับมาคุยกับคนหูหนวกด้วยกันจะกลับมามีกิริยาเหมือนเดิม” สายใจ สังขพันธ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ บอกถึงความเปลี่ยนแปลงของเด็กในโรงเรียนว่า ละครใบ้ช่วยเติมทักษะความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก เมื่อเขาแสดงเขาอาจจะคิดนอกกรอบ เราไม่ได้บังคับเด็กให้เด็กเรียน ก่อนหน้านั้นมีคณะคนหน้าขาวมาเล่นให้ดูก่อน เด็กมีความสนใจก็มาสมัคร ปรากฏว่าเด็กสมัครจนล้น ความจริงแล้วมีเด็กมาสมัครมากกว่า 50 คน แต่รับได้เท่านั้น ซึ่งมีตั้งแต่ระดับประถมจนถึงมัธยม จัดตารางเรียนจำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 2 ชม. รองผู้อำนวยการโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ บอกว่า ใช้ชั่วโมงในเวลาเรียนโดยลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ มาให้เด็กเรียนละครใบ้ ขณะเดียวกันเรายังให้ความสำคัญเรื่องทักษะภาษาไทย เราถือว่าละครใบ้เป็นวิชาชีพติดตัว คนปกติอาจไปร้องเพลงแต่เด็กหูหนวกเล่นละครใบ้ได้ บางทีคนปกติอาจถ่ายทอดการแสดงได้ไม่ดีเท่าเขา แต่เราเชื่อว่าคนหูหนวกเข้าใจได้เร็วกว่าคนปกติตามที่สังเกตมาทุกครั้ง “ปกติที่โรงเรียนก็มีสอนรำไทย จินตลีลา หรือเต้น ที่โรงเรียนสอนอยู่แล้ว แต่ศาสตร์ละครใบ้เป็นเรื่องลึกซึ้งกว่า ช่วยพัฒนาเรื่องของความคิด เพราะขณะนี้เราใช้นิทานสอนภาษาไทยเพื่อต้องการให้เด็กคิดเชื่อมโยงได้” บุคลิกภาพที่เปลี่ยนไปแสดงให้เห็นได้ชัดว่า ละครใบ้เป็นศาสตร์ที่เหมาะกับคนหูหนวก ช่วยส่งเสริมสถานภาพทางสังคมได้จริง โดยไม่ทำให้คนหูหนวกกลายเป็น “ยอดมนุษย์” หรือมนุษย์ประหลาด. พรประไพเสือเขียว/spornprapai@yahoo.com ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/372419

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...