‘อาชาบำบัด’ศาสตร์ฟื้นทักษะเด็กพิเศษ

แสดงความคิดเห็น

อาชาบำบัด ฝึกทักษะเด็กพิเศษ

ชีวิตเด็กไทยทุกวันนี้มีทั้งสมบูรณ์แบบ และไม่สมบูรณ์แบบคละเคล้ากันไป บางคนสุขภาพไม่แข็งแรง บางคนเป็นเด็กพิเศษ คือ เด็กที่มีความต้องการเป็นพิเศษกว่าคนทั่วไป เช่น เด็กที่มีปัญหาทางร่างกาย เด็กสมาธิสั้น เด็กดาวน์ซินโดรม เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ เด็กออทิสติก เด็กพิการทางสมอง เด็กพิการซ้ำซ้อน เด็กปัญญาเลิศ ซึ่งวิธีการดูแลเด็กแต่ละกลุ่มก็ต้องมีความแตกต่างกันไป ส่วนจะได้ผลมากน้อยขึ้นอยู่กับว่าเด็กแต่ละคนได้รับการค้นพบได้เร็วหรือช้าด้วย หากเริ่มต้นดูแลเอาใจใส่ แก้ไขข้อบกพร่องตามวิถีทางที่ถูกต้อง เด็กก็จะมีโอกาสเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีมากขึ้นตามไปด้วย

สำหรับวิธีการหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากผู้ปกครองในการฟื้นทักษะเด็กพิเศษ คือ การใช้ “อาชาบำบัด” มาฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ให้เด็กกลุ่มนี้ ไม่ว่าจะเป็น การทรงตัวบนหลังม้า ฝึกสมาธิในการควบคุมม้า ซึ่งในประเทศไทยมีสโมสรขี่ม้าหลายแห่งที่เปิดโอกาสให้เด็กพิเศษ ได้มาฝึกทักษะดังกล่าวแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะที่ สโมสรขี่ม้าลักกี้พ้อยท์ ที่ตั้งอยู่บริเวณสนามม้านางเลิ้ง กรุงเทพมหานคร ก็ได้เปิดหลักสูตรอาชาบำบัดขึ้น เพื่อพัฒนาทักษะเด็กพิเศษ ให้กลับมาเป็นเด็กที่มีความสามารถและอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างปกติสุข

บรรยากาศที่สโมสรขี่ม้าลักกี้พ้อยท์ มีเด็ก ๆ มารอขี่ม้ากันเป็นจำนวนมาก บางคนก็มาเป็นครั้งแรก บางคนมานับสิบครั้ง บางคนมาฝึกเป็นปี ๆ ซึ่งหลายคนตื่นเต้นที่จะได้ขี่ม้า พอขึ้นขี่สีหน้าของน้อง ๆ ก็เริ่มแสดงอาการกลัว แต่เวลาผ่านไปความกลัวเปลี่ยนมาเป็นความสุข ทำให้บรรยากาศดูสนุกสนานกับการฝึกอาชาบำบัด และมีเพื่อนใหม่เพิ่มขึ้นด้วย

น.ส.ธาริณี กิ่งวรรณ หรือ น้องแน็ตตี้ ผู้ฝึกสอนอาชาบำบัด เล่าให้ฟังว่า ทุกวันตั้งแต่เจ็ดโมงเช้าแดดอ่อน ๆ ทางสโมสรจะเปิดสอน โดยผู้ปกครองจะพาน้อง ๆ ที่เป็นเด็กพิเศษอายุตั้งแต่ 3 ขวบขึ้นไป มาฝึกอาชาบำบัด โดยทางสโมสรจะใช้การขี่ม้า มาช่วยฟื้นฟูทักษะให้แก่น้อง ๆ ด้วยการเริ่มต้นจากการฝึกนั่งบนหลังม้า เพื่อให้คุ้นชินกับม้า และลดความกลัว จากนั้นเด็กจะฝึกการทรงตัวบนหลังม้าโดยมีผู้ปกครอง ผู้ฝึกสอนและผู้ช่วยคอยจูงเดินไปอย่างช้า ๆ รอบสนาม จำนวน 3 รอบ จนกว่าเด็กจะทรงตัวได้ดี เมื่อผ่านขั้นตอนการทรงตัวแล้ว ผู้ฝึกสอนก็จะฝึกให้เด็กเริ่มทักษะการควบคุมม้า โดยมีผู้ปกครองคอยช่วยจูงม้าและช่วยดูแลความปลอดภัยให้แก่เด็กอยู่ใกล้ ๆ เมื่อเด็กได้รับการฝึกอาชาบำบัด จะสามารถฝึกการทรงตัวได้ดีขึ้น จะมีสมาธิมากขึ้นด้วย จากนั้นก็จะฝึกในขั้นที่สูงขึ้น โดยให้เด็กควบคุมม้า ทรงตัวเอง โดยที่ผู้ปกครองเดินเลียบไปข้าง ๆ กับม้าที่เด็กขี่ และมีผู้ฝึกขี่ม้าคอยประกบไปด้วย เพื่อช่วยควบคุมไม่ให้เด็กใช้ความเร็วจนเกิดอันตรายได้

“อาชาบำบัดไม่เพียงทำให้ผู้ปกครองได้สร้างสัมพันธภาพระหว่างเด็ก สร้างความอบอุ่นให้แก่เด็ก ฝึกให้เด็กรักสัตว์มีจิตใจที่อ่อนโยนแล้ว เด็กยังได้เจอเพื่อนใหม่ และกล้าที่จะแสดงออก ทั้งนี้การใช้อาชาบำบัดที่ได้ผลมากที่สุด เด็กจะต้องมาฝึกอย่างน้อย 8-10 ครั้ง อย่างไรก็ตามสโมสรของเราเปิดสอนทั้งเด็กปกติในเรื่องการขี่ม้า และเด็กพิเศษ โดยเด็กพิเศษจะได้มาฝึกแบบฟรี ๆ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพียงแต่ขอให้มีบัตรคนพิการมาแสดง และขอให้ผู้ปกครองมีเวลาที่จะมาร่วมฝึกอาชาบำบัด หากถามว่าสโมสรมีรายได้จากตรงไหน เราก็นำรายได้จากการฝึกสอนขี่ม้าจากเด็กปกติมาช่วยอุดหนุนเด็กพิเศษ เพื่อตอบแทนสังคม และทุกวันนี้มีเด็กพิเศษและผู้ปกครองสนใจมาฝึกมากกว่า 10 คนต่อวัน”

ขณะที่มุมมอง นายนรินทร์เกษมสินธุ์ คุณพ่อน้องธันวาเด็กพิเศษ เล่าให้ฟังว่า บ้านอยู่ใกล้สนามม้านางเลิ้ง ทำให้ทราบว่าสโมสรแห่งนี้เปิดให้เด็กพิเศษได้ฝึกทักษะด้วยหลักสูตรอาชาบำบัด จึงได้พาน้องธันวามาลองฝึกดู ช่วงแรก ๆ น้องก็กลัวม้า แต่พอได้ขี่สักพักก็เลิกกลัว และรู้สึกสนุก ช่วงเวลาฝึกลูกจะขึ้นบนหลังม้า โดยมีผู้ฝึกสอน และตน พาจูงม้าเดินรอบสนาม น้องธันวาก็จะทรงตัวได้ นั่งหลังตรง มีสมาธิ พอได้ฝึกบ่อยแล้ว เราจะปล่อยให้น้องธันวาฝึกควบคุมม้าเอง โดยพ่อจะเดินคู่ไปกับม้าที่เขาฝึก ซึ่งอาชาบำบัดสามารถทำให้เด็กพิเศษมีสมาธิเพิ่มขึ้นได้จริงและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมากขึ้น และทรงตัวได้ดีขึ้นด้วย ทุกวันนี้น้องวิ่งได้เก่งมากที่สำคัญเชื่อฟังคำสั่งของพ่อมากขึ้นด้วย จึงอยากให้โครงการแบบนี้มีให้มากขึ้น รวมทั้งอยากให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้ามาช่วยสนับสนุนอาชาบำบัด เพื่อให้เข้าถึงเด็กด้อยโอกาสมากยิ่งขึ้นด้วย

“ถึงแดดจะร้อนผมก็ไม่หวั่น หากลูกผมได้ฝึกตนเอง และเขามีความสุขที่ได้ขี่ม้า พอผมเห็นรอยยิ้มของเขาผมก็หายเหนื่อย และอยากจะบอกว่า อาชาบำบัดสามารถฟื้นทักษะของเด็กพิเศษได้เป็นอย่างดี แต่ต้องใช้เวลาและความอดทน ที่สำคัญขอให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีความตั้งใจ เชื่อว่าผลที่เกิดกับลูกหลานคุ้มค่าแน่นอน” คุณพ่อน้องธันวา กล่าว

ส่วน น้องวิลล์ หรือ วรัช วัจนวรานันท์ ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ได้สะท้อนความรู้สึกว่า ได้มาช่วยฝึกที่สโมสรขี่ม้าลักกี้พ้อยท์ 2 ปีแล้ว ทุกวันนี้ก็ยังทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนอยู่ ได้สอนน้อง ๆ ใช้อาชาบำบัดในการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งการขี่ม้าทำให้วิลล์มีสมาธิ มีความสุข ที่สำคัญได้ช่วยฝึกให้น้องมีร่างกายที่แข็งแรงเหมือนกับวิลล์ หากเป็นไปได้วิลล์ก็จะฝึกให้เก่งและจะเข้าแข่งขันกีฬาขี่ม้าระดับชาติและนานาชาติให้ได้ด้วย

อาชาบำบัด ถือเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่หลายประเทศนำมาใช้ฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจเด็ก ไม่เฉพาะเด็กพิเศษเท่านั้น เด็กปกติทั่วไปก็มาฝึกได้ ซึ่งผู้ปกครองอาจจะมองว่ายากสำหรับลูกหลาน แต่เมื่อได้รับการฝึกอย่างถูกวิธี และมีพ่อแม่คอยเอาใจใส่ให้ความรักแก่เขา เราก็จะได้เห็นพัฒนาการด้านทักษะ และความสุขของเด็กจากการขี่ม้า เชื่อว่ามาครั้งแรกต้องมีครั้งต่อไป อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองคนใดที่ สนใจจะพาน้อง ๆ มาฝึก สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สโมสรขี่ม้าลักกี้พ้อยท์ บริเวณสนามม้านางเลิ้ง โทร.0-2628-3870 และ08-1901-8151. มนตรี ประทุม

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/355306 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย20ต.ค.58
วันที่โพสต์: 20/10/2558 เวลา 10:39:23 ดูภาพสไลด์โชว์ ‘อาชาบำบัด’ศาสตร์ฟื้นทักษะเด็กพิเศษ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

อาชาบำบัด ฝึกทักษะเด็กพิเศษ ชีวิตเด็กไทยทุกวันนี้มีทั้งสมบูรณ์แบบ และไม่สมบูรณ์แบบคละเคล้ากันไป บางคนสุขภาพไม่แข็งแรง บางคนเป็นเด็กพิเศษ คือ เด็กที่มีความต้องการเป็นพิเศษกว่าคนทั่วไป เช่น เด็กที่มีปัญหาทางร่างกาย เด็กสมาธิสั้น เด็กดาวน์ซินโดรม เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ เด็กออทิสติก เด็กพิการทางสมอง เด็กพิการซ้ำซ้อน เด็กปัญญาเลิศ ซึ่งวิธีการดูแลเด็กแต่ละกลุ่มก็ต้องมีความแตกต่างกันไป ส่วนจะได้ผลมากน้อยขึ้นอยู่กับว่าเด็กแต่ละคนได้รับการค้นพบได้เร็วหรือช้าด้วย หากเริ่มต้นดูแลเอาใจใส่ แก้ไขข้อบกพร่องตามวิถีทางที่ถูกต้อง เด็กก็จะมีโอกาสเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีมากขึ้นตามไปด้วย สำหรับวิธีการหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากผู้ปกครองในการฟื้นทักษะเด็กพิเศษ คือ การใช้ “อาชาบำบัด” มาฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ให้เด็กกลุ่มนี้ ไม่ว่าจะเป็น การทรงตัวบนหลังม้า ฝึกสมาธิในการควบคุมม้า ซึ่งในประเทศไทยมีสโมสรขี่ม้าหลายแห่งที่เปิดโอกาสให้เด็กพิเศษ ได้มาฝึกทักษะดังกล่าวแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะที่ สโมสรขี่ม้าลักกี้พ้อยท์ ที่ตั้งอยู่บริเวณสนามม้านางเลิ้ง กรุงเทพมหานคร ก็ได้เปิดหลักสูตรอาชาบำบัดขึ้น เพื่อพัฒนาทักษะเด็กพิเศษ ให้กลับมาเป็นเด็กที่มีความสามารถและอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างปกติสุข บรรยากาศที่สโมสรขี่ม้าลักกี้พ้อยท์ มีเด็ก ๆ มารอขี่ม้ากันเป็นจำนวนมาก บางคนก็มาเป็นครั้งแรก บางคนมานับสิบครั้ง บางคนมาฝึกเป็นปี ๆ ซึ่งหลายคนตื่นเต้นที่จะได้ขี่ม้า พอขึ้นขี่สีหน้าของน้อง ๆ ก็เริ่มแสดงอาการกลัว แต่เวลาผ่านไปความกลัวเปลี่ยนมาเป็นความสุข ทำให้บรรยากาศดูสนุกสนานกับการฝึกอาชาบำบัด และมีเพื่อนใหม่เพิ่มขึ้นด้วย น.ส.ธาริณี กิ่งวรรณ หรือ น้องแน็ตตี้ ผู้ฝึกสอนอาชาบำบัด เล่าให้ฟังว่า ทุกวันตั้งแต่เจ็ดโมงเช้าแดดอ่อน ๆ ทางสโมสรจะเปิดสอน โดยผู้ปกครองจะพาน้อง ๆ ที่เป็นเด็กพิเศษอายุตั้งแต่ 3 ขวบขึ้นไป มาฝึกอาชาบำบัด โดยทางสโมสรจะใช้การขี่ม้า มาช่วยฟื้นฟูทักษะให้แก่น้อง ๆ ด้วยการเริ่มต้นจากการฝึกนั่งบนหลังม้า เพื่อให้คุ้นชินกับม้า และลดความกลัว จากนั้นเด็กจะฝึกการทรงตัวบนหลังม้าโดยมีผู้ปกครอง ผู้ฝึกสอนและผู้ช่วยคอยจูงเดินไปอย่างช้า ๆ รอบสนาม จำนวน 3 รอบ จนกว่าเด็กจะทรงตัวได้ดี เมื่อผ่านขั้นตอนการทรงตัวแล้ว ผู้ฝึกสอนก็จะฝึกให้เด็กเริ่มทักษะการควบคุมม้า โดยมีผู้ปกครองคอยช่วยจูงม้าและช่วยดูแลความปลอดภัยให้แก่เด็กอยู่ใกล้ ๆ เมื่อเด็กได้รับการฝึกอาชาบำบัด จะสามารถฝึกการทรงตัวได้ดีขึ้น จะมีสมาธิมากขึ้นด้วย จากนั้นก็จะฝึกในขั้นที่สูงขึ้น โดยให้เด็กควบคุมม้า ทรงตัวเอง โดยที่ผู้ปกครองเดินเลียบไปข้าง ๆ กับม้าที่เด็กขี่ และมีผู้ฝึกขี่ม้าคอยประกบไปด้วย เพื่อช่วยควบคุมไม่ให้เด็กใช้ความเร็วจนเกิดอันตรายได้ “อาชาบำบัดไม่เพียงทำให้ผู้ปกครองได้สร้างสัมพันธภาพระหว่างเด็ก สร้างความอบอุ่นให้แก่เด็ก ฝึกให้เด็กรักสัตว์มีจิตใจที่อ่อนโยนแล้ว เด็กยังได้เจอเพื่อนใหม่ และกล้าที่จะแสดงออก ทั้งนี้การใช้อาชาบำบัดที่ได้ผลมากที่สุด เด็กจะต้องมาฝึกอย่างน้อย 8-10 ครั้ง อย่างไรก็ตามสโมสรของเราเปิดสอนทั้งเด็กปกติในเรื่องการขี่ม้า และเด็กพิเศษ โดยเด็กพิเศษจะได้มาฝึกแบบฟรี ๆ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพียงแต่ขอให้มีบัตรคนพิการมาแสดง และขอให้ผู้ปกครองมีเวลาที่จะมาร่วมฝึกอาชาบำบัด หากถามว่าสโมสรมีรายได้จากตรงไหน เราก็นำรายได้จากการฝึกสอนขี่ม้าจากเด็กปกติมาช่วยอุดหนุนเด็กพิเศษ เพื่อตอบแทนสังคม และทุกวันนี้มีเด็กพิเศษและผู้ปกครองสนใจมาฝึกมากกว่า 10 คนต่อวัน” ขณะที่มุมมอง นายนรินทร์เกษมสินธุ์ คุณพ่อน้องธันวาเด็กพิเศษ เล่าให้ฟังว่า บ้านอยู่ใกล้สนามม้านางเลิ้ง ทำให้ทราบว่าสโมสรแห่งนี้เปิดให้เด็กพิเศษได้ฝึกทักษะด้วยหลักสูตรอาชาบำบัด จึงได้พาน้องธันวามาลองฝึกดู ช่วงแรก ๆ น้องก็กลัวม้า แต่พอได้ขี่สักพักก็เลิกกลัว และรู้สึกสนุก ช่วงเวลาฝึกลูกจะขึ้นบนหลังม้า โดยมีผู้ฝึกสอน และตน พาจูงม้าเดินรอบสนาม น้องธันวาก็จะทรงตัวได้ นั่งหลังตรง มีสมาธิ พอได้ฝึกบ่อยแล้ว เราจะปล่อยให้น้องธันวาฝึกควบคุมม้าเอง โดยพ่อจะเดินคู่ไปกับม้าที่เขาฝึก ซึ่งอาชาบำบัดสามารถทำให้เด็กพิเศษมีสมาธิเพิ่มขึ้นได้จริงและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมากขึ้น และทรงตัวได้ดีขึ้นด้วย ทุกวันนี้น้องวิ่งได้เก่งมากที่สำคัญเชื่อฟังคำสั่งของพ่อมากขึ้นด้วย จึงอยากให้โครงการแบบนี้มีให้มากขึ้น รวมทั้งอยากให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้ามาช่วยสนับสนุนอาชาบำบัด เพื่อให้เข้าถึงเด็กด้อยโอกาสมากยิ่งขึ้นด้วย “ถึงแดดจะร้อนผมก็ไม่หวั่น หากลูกผมได้ฝึกตนเอง และเขามีความสุขที่ได้ขี่ม้า พอผมเห็นรอยยิ้มของเขาผมก็หายเหนื่อย และอยากจะบอกว่า อาชาบำบัดสามารถฟื้นทักษะของเด็กพิเศษได้เป็นอย่างดี แต่ต้องใช้เวลาและความอดทน ที่สำคัญขอให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีความตั้งใจ เชื่อว่าผลที่เกิดกับลูกหลานคุ้มค่าแน่นอน” คุณพ่อน้องธันวา กล่าว ส่วน น้องวิลล์ หรือ วรัช วัจนวรานันท์ ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ได้สะท้อนความรู้สึกว่า ได้มาช่วยฝึกที่สโมสรขี่ม้าลักกี้พ้อยท์ 2 ปีแล้ว ทุกวันนี้ก็ยังทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนอยู่ ได้สอนน้อง ๆ ใช้อาชาบำบัดในการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งการขี่ม้าทำให้วิลล์มีสมาธิ มีความสุข ที่สำคัญได้ช่วยฝึกให้น้องมีร่างกายที่แข็งแรงเหมือนกับวิลล์ หากเป็นไปได้วิลล์ก็จะฝึกให้เก่งและจะเข้าแข่งขันกีฬาขี่ม้าระดับชาติและนานาชาติให้ได้ด้วย อาชาบำบัด ถือเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่หลายประเทศนำมาใช้ฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจเด็ก ไม่เฉพาะเด็กพิเศษเท่านั้น เด็กปกติทั่วไปก็มาฝึกได้ ซึ่งผู้ปกครองอาจจะมองว่ายากสำหรับลูกหลาน แต่เมื่อได้รับการฝึกอย่างถูกวิธี และมีพ่อแม่คอยเอาใจใส่ให้ความรักแก่เขา เราก็จะได้เห็นพัฒนาการด้านทักษะ และความสุขของเด็กจากการขี่ม้า เชื่อว่ามาครั้งแรกต้องมีครั้งต่อไป อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองคนใดที่ สนใจจะพาน้อง ๆ มาฝึก สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สโมสรขี่ม้าลักกี้พ้อยท์ บริเวณสนามม้านางเลิ้ง โทร.0-2628-3870 และ08-1901-8151. มนตรี ประทุม ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/355306

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...