สิทธิในความฝัน..‘เด็กพิการชายแดนไทย’

แสดงความคิดเห็น

สิทธิในความฝัน..‘เด็กพิการชายแดนไทย’

ปฏิญญา เอี่ยมตาล ทีมข่าวรายงานพิเศษ : “หวังว่าสักวันน้องพี...จะเดินได้เหมือนเด็กคนอื่น ไม่รู้เมื่อไหร่ นี่เริ่มดีขึ้นมากแล้ว ตอนแรกแขนขาอ่อนแรงทำอะไรไม่ได้เลย พามาทำกายภาพ 7 ปีแล้ว ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ ตอนนี้ 13 ปี พานั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์มาทุกวันไปกลับ26กิโลเขานั่งเองได้นั่งจนชิน...ไม่ตก”

“ชะลอ มะลิวัลย์" คุณตาวัย 57 ปี อาศัยที่ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เล่าถึงน้องพี หรือ ด.ช.พีระวัส ภูมิราช เด็กพิการซ้ำซ้อนและกำพร้าแม่ตั้งแต่กำเนิด “ตาชะลอ” เลี้ยงดูน้องพีจนเกิดความรักและผูกพัน พร้อมสัญญาว่าขอดูแลน้องพีไปจนกว่าร่างกายตัวเองไม่ไหว

“ถ้าเอาไปให้คนอื่นเลี้ยงก็กลัวเขาดูแลไม่ดี อยู่กันมาเกือบ 10 ปีจนรู้ใจแล้ว นับว่าโชคดีที่มีศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด อยู่ไม่ไกลมาก ทุกเช้าพาน้องพีซ้อนรถมาทำกายภาพ ยืดแขนขาที่นี่ เสียค่าน้ำมันในการเดินทางอาทิตย์ละ 200 บาท อยากให้หลานเดินได้ ถึงพูดไม่ได้ เรียนหนังสือไม่ได้ แค่ขอให้เดินได้ก็พอ" ตาชะลอ ระบายความในใจให้ฟังต่อว่า

ตอนนี้มีเงินช่วยเหลือจากรัฐให้น้องพีเดือนละ 800 บาทเท่านั้น ตนเองต้องแบกค่าเดินทางพาหลานมาทำกายภาพ ค่าอาหารและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ถ้าเป็นไปได้อยากให้มีการช่วยเหลือมากกว่านี้ โดยเฉพาะ “รถสามล้อที่มีคันโยก” สำหรับเด็กพิการ ให้น้องพีมีโอกาสช่วยตัวเองในการเดินทาง และถือเป็นการออกกำลังใช้กล้ามเนื้อแขนขามากขึ้น

“น้องพีเป็นเด็กฉลาด กลับจากทำกายภาพจะนั่งดูทีวี ชอบดูกีฬา บางครั้งดูวอลเลย์ก็พยายามยกมือขึ้นมาตบตามแบบนักกีฬาในทีวี บางทีก็หยิบเอาไม้มาตีลูกบอลเลียนแบบการตีกอล์ฟ” ตาชะลอ เล่าพร้อมลูบหัวหลานชายเบาๆครอบครัวน้องพีเป็นเพียงตัวอย่างของหนึ่งในแสนกว่าครอบครัวที่มีภาระเลี้ยงดูเด็กพิการอายุต่ำกว่า 20 ปีทั่วประเทศไทย จากข้อมูลกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ระบุว่า มีคนพิการเป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวนทั้งสิ้น 1.4 แสนคน จากจำนวนคนพิการ 1.6 ล้านคนทั่วประเทศไทย

ทีมข่าว “คม ชัด ลึก” ได้รับข้อมูลว่าครอบครัวเด็กพิการที่อาศัยอยู่ในชุมชนทั่วประเทศไทยกำลังมีความเดือดร้อนจากค่าครองชีพที่พุ่งทะยานสูงขึ้น เงินอุดหนุนช่วยเหลือจากรัฐที่ให้ครอบครัวเด็กพิการเดือนละ 800 บาท ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ทั้งที่รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนในเรื่องให้เด็กพิการได้ช่วยเหลือตัวเองและมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม โดยเฉพาะการเข้าถึงสิทธิในการศึกษา

นโยบายรัฐข้างต้นยังเป็นเพียงคำพูดสวยหรูเท่านั้น จากข้อมูลทีมข่าว “คม ชัด ลึก” สำรวจพื้นที่ จ.กาญจนบุรี พบว่าที่ “โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี” มีเด็กพิการจำนวนมากต้องการเรียนต่อจนถึงปริญญาตรี แต่มีปัญหาเรื่องทุนการศึกษาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ทำให้ส่วนใหญ่เรียนจบแค่ประถมหรือมัธยมเท่านั้น เด็กหลายคนจำใจต้องหยุดเรียน แล้วดิ้นรนหาทางช่วยครอบครัวด้วยการหางานพิเศษทำ เช่น งานเจียระไนพลอยที่ช่วยให้หลายคนสามารถเลี้ยงดูตัวเองและพ่อแม่ได้ด้วย

“น้องไฝ" จันทร์ไพร ทองมา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เล่าเป็นภาษามือผ่านล่ามว่าอยากให้ภาครัฐประชาสัมพันธ์ให้เอกชนรับคนพิการเข้าทำงานเยอะๆ ทุกวันนี้คนพิการมีความสามารถทำอาชีพได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ไม่ค่อยมีที่ไหนรับเข้าทำงาน อยากให้คนในสังคมเห็นคุณค่าของคนพิการ และให้ความเสมอภาคเท่าเทียมเหมือนคนปกติ ทุกวันนี้ฝึกอาชีพเจียระไนพลอย เมื่อจบออกไปอยากให้มีคนจ้างงาน อยากมีเงินให้พ่อแม่เหมือนลูกคนอื่นๆ

เช่นเดียวกับความฝันของ “น้องจาง" กิตติศักดิ์ แซ่จาง นักเรียนชั้นมัธยม 2 บอกเล่าเป็นภาษามือว่าอยากให้คนพิการมีสิทธิได้รับการสนับสนุนเรื่องการศึกษาเป็นพิเศษ โดยเฉพาะทุนการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย อย่าคิดว่าคนพิการไม่ต้องเรียนสูง อยากให้มองคนพิการเป็นคนปกติ ไม่อยากให้ล้อเลียนคนพิการ เพราะเคยโดนล้อเป็นประจำเวลาไปข้างนอก คนชอบมองพวกเราแปลกๆ ไม่อยากให้เป็นแบบนั้น

“น้องโปเต้" รัตนลักษณ์ เปี๊ยะภิรมณ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 บอกถึงความฝันที่จะเรียนต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย แต่บ้านยากจนไม่มีเงินเป็นค่าเล่าเรียนกับค่าเดินทาง ตอนนี้คงต้องเริ่มมองหางานที่พอจะทำได้ อยากมีอนาคตดีๆ อยากเป็นกำลังใจบอกให้น้องๆ คนพิการรับรู้ว่า “อย่าท้อแท้ ไม่ต้องอายในสิ่งที่เราเป็น”

ความฝันเป็นเสมือนสิ่งหล่อเลี้ยงจิตใจของทุกคน จากการพูดคุยกับเด็กพิการที่มาอยู่โรงเรียนกินนอน หลายคนพบว่า พวกเขาอยากเป็นตำรวจ ทหาร อยากเป็นเจ้าหญิง อยากได้รถถัง อยากได้จักรยาน อยากได้สมุดดินสอ ของเล่น เงิน ฯลฯ

จากข้อมูลนักเรียน 180 คนของ “โรงเรียนโสตศึกษาฯ" ข้างต้น เด็กส่วนใหญ่อาศัยกินนอนที่โรงเรียน อาศัยการสนับสนุนจากเครือข่ายมูลนิธิต่างๆ ในท้องถิ่น เด็กหลายคนถูกครอบครัวทอดทิ้ง หลังจากคลอดออกมาแล้วรู้ว่าลูกมีร่างกายไม่ปกติ หรือบางครั้งพ่อแม่แยกทางกันจำต้องเอาเด็กไปให้มูลนิธิดูแล พวกเขาเติบโตขึ้นมาโดยไม่รู้ว่าอนาคตต้องเผชิญกับอะไรบ้าง !?!

“นันทิตา วงศ์หวุน" ครูประจำ ร.ร.โสตศึกษาฯ เล่าว่า เด็กพิการจำนวน 181 คนนั้นมีอายุตั้งแต่ 3 ขวบถึง 18 ปี เด็กเล็กหลายคนพิการด้านสติปัญญา เป็นกลุ่มดาวน์ซินโดรมมากที่สุด ส่วนเด็กโตส่วนใหญ่พิการทางการสื่อสารและได้ยิน พวกเขามาจากพื้นที่ชายแดนห่างไกล ครอบครัวยากจน พ่อแม่เลิกกัน คุณครูพยายามทดแทนด้วยความรักและความอบอุ่นแต่จำนวนไม่พอ

“ครู 1 คนควรดูแลเด็กพิการ 3 คน แต่ตอนนี้ 1 คนดูแลมากกว่า 10 คน ทั้งสอนหนังสือ ป้อนข้าวป้อนน้ำ ทุกสิ่งอย่างตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน" นันทิตาเล่า “ฐิติมา กลั่นบุศย์" ผู้อำนวยการ ร.ร.โสตศึกษาฯ ยอมรับว่าปัญหาครูขาดแคลนเป็นเรื่องใหญ่ รวมถึงล่ามภาษามือช่วยสอนด้วย

“ปัจจุบันเด็กพิการยังไม่เข้าถึงสิทธิการศึกษาและสิทธิด้านต่างๆ โดยเฉพาะเด็กพิการตามชายแดน หลายคนมีความสามารถมาก พวกเขาอยากเรียนต่อสูงๆ อยากมีอาชีพ อยากให้พวกเขาได้รับสิทธิที่จะมีโอกาสใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติและมีความสุข" ฐิติมา กล่าว

นอกจากโรงเรียนข้างต้น ทีมข่าว “คม ชัด ลึก” พบว่า ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาญจนบุรี ที่ดูแลฟื้นฟูคนพิการนั้น ยังขาดแคลนอุปกรณ์แพทย์ นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา ฯลฯ “อรวรรณ เจือจาน" ผอ.ศูนย์ฯ ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้มีนักกายภาพแค่ 4 คน แต่มีเด็กพิการมารับบริการมากถึงวันละ 255 คน พร้อมภาระในการไปบริการเด็กพิการที่อาศัยอยู่ตามถิ่นทุรกันดารอีกไม่ต่ำกว่า 10 อำเภอ

“ครูหลายคนขี่มอเตอร์ไซค์ไปออกพื้นที่ เพราะรถยนต์ไม่พอ บางพื้นที่รถตู้เข้าไม่ถึง ไม่มีถนน เด็กที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง ต้องใช้เครื่องมือแพทย์ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ อุปกรณ์เหล่านี้ขาดแคลนในพื้นที่ห่างไกล ครูอยากช่วยเด็กแต่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยเหลือครูด้วย” ผอ.อรวรรณ เล่าถึงมุมมองของครูที่ต้องทำงานในพื้นที่ชายขอบ การดูแลเด็กพิการมีค่าใช้จ่ายแตกต่างจากเด็กปกติ ถือเป็น “ค่าใช้จ่ายแอบแฝง” ยากที่จดบันทึกแจกแจงรายละเอียด...

เด็กพิการ 1.4 แสนคน จะสามารถเติบโตไปทำงานช่วยตัวเอง ไม่ต้องเป็นภาระของสังคมได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับแผนนำงานของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง สิทธิของพวกเขาถูกบัญญัติไว้แล้วใน “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก” และ “ปฏิญญาว่าด้วยความอยู่รอด การปกป้อง และพัฒนาเด็ก” ที่ประเทศไทยลงนามรับรอง ตั้งแต่ปี 2534 โดยมีข้อกำหนดชัดเจนว่า รัฐภาคียอมรับสิทธิเด็กทุกคน ในอันที่จะได้รับมาตรฐานของการดำรงชีวิตที่เพียงพอสำหรับการพัฒนาด้านร่างกาย สมอง จิตใจ...

ดังนั้น สิ่งที่พวกเขากำลังฝันถึง ไม่ได้เกินเลยจาก “สิทธิ” ที่พวกเขาควรได้รับแต่อย่างใด...

ข้อมูลเด็กพิการ จ.กาญจนบุรี

- ตั้งแต่แรกเกิด - 17 ปี จำนวน 1,180 คน

- อาศัยใน อ.เมือง 215 คน, อ.ท่ามะกา 214 คน, อ.ท่าม่วง 143 คน

- ที่เหลืออาศัยอยู่พื้นที่ติดชายแดนพม่า เช่น อ.บ่อพลอย อ.สังขละบุรี อ.ทองผาภูมิ ฯลฯ

- เด็กพิการตามชายแดนส่วนใหญ่มี 2 สัญชาติ หลายคนยังไม่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติไทย ทำให้เข้าไม่ถึงสิทธิต่างๆ เหมือนเด็กพิการทั่วไป

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150929/214234.html (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ย.58
วันที่โพสต์: 29/09/2558 เวลา 13:13:36 ดูภาพสไลด์โชว์ สิทธิในความฝัน..‘เด็กพิการชายแดนไทย’

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สิทธิในความฝัน..‘เด็กพิการชายแดนไทย’ ปฏิญญา เอี่ยมตาล ทีมข่าวรายงานพิเศษ : “หวังว่าสักวันน้องพี...จะเดินได้เหมือนเด็กคนอื่น ไม่รู้เมื่อไหร่ นี่เริ่มดีขึ้นมากแล้ว ตอนแรกแขนขาอ่อนแรงทำอะไรไม่ได้เลย พามาทำกายภาพ 7 ปีแล้ว ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ ตอนนี้ 13 ปี พานั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์มาทุกวันไปกลับ26กิโลเขานั่งเองได้นั่งจนชิน...ไม่ตก” “ชะลอ มะลิวัลย์" คุณตาวัย 57 ปี อาศัยที่ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เล่าถึงน้องพี หรือ ด.ช.พีระวัส ภูมิราช เด็กพิการซ้ำซ้อนและกำพร้าแม่ตั้งแต่กำเนิด “ตาชะลอ” เลี้ยงดูน้องพีจนเกิดความรักและผูกพัน พร้อมสัญญาว่าขอดูแลน้องพีไปจนกว่าร่างกายตัวเองไม่ไหว “ถ้าเอาไปให้คนอื่นเลี้ยงก็กลัวเขาดูแลไม่ดี อยู่กันมาเกือบ 10 ปีจนรู้ใจแล้ว นับว่าโชคดีที่มีศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด อยู่ไม่ไกลมาก ทุกเช้าพาน้องพีซ้อนรถมาทำกายภาพ ยืดแขนขาที่นี่ เสียค่าน้ำมันในการเดินทางอาทิตย์ละ 200 บาท อยากให้หลานเดินได้ ถึงพูดไม่ได้ เรียนหนังสือไม่ได้ แค่ขอให้เดินได้ก็พอ" ตาชะลอ ระบายความในใจให้ฟังต่อว่า ตอนนี้มีเงินช่วยเหลือจากรัฐให้น้องพีเดือนละ 800 บาทเท่านั้น ตนเองต้องแบกค่าเดินทางพาหลานมาทำกายภาพ ค่าอาหารและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ถ้าเป็นไปได้อยากให้มีการช่วยเหลือมากกว่านี้ โดยเฉพาะ “รถสามล้อที่มีคันโยก” สำหรับเด็กพิการ ให้น้องพีมีโอกาสช่วยตัวเองในการเดินทาง และถือเป็นการออกกำลังใช้กล้ามเนื้อแขนขามากขึ้น “น้องพีเป็นเด็กฉลาด กลับจากทำกายภาพจะนั่งดูทีวี ชอบดูกีฬา บางครั้งดูวอลเลย์ก็พยายามยกมือขึ้นมาตบตามแบบนักกีฬาในทีวี บางทีก็หยิบเอาไม้มาตีลูกบอลเลียนแบบการตีกอล์ฟ” ตาชะลอ เล่าพร้อมลูบหัวหลานชายเบาๆครอบครัวน้องพีเป็นเพียงตัวอย่างของหนึ่งในแสนกว่าครอบครัวที่มีภาระเลี้ยงดูเด็กพิการอายุต่ำกว่า 20 ปีทั่วประเทศไทย จากข้อมูลกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ระบุว่า มีคนพิการเป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวนทั้งสิ้น 1.4 แสนคน จากจำนวนคนพิการ 1.6 ล้านคนทั่วประเทศไทย ทีมข่าว “คม ชัด ลึก” ได้รับข้อมูลว่าครอบครัวเด็กพิการที่อาศัยอยู่ในชุมชนทั่วประเทศไทยกำลังมีความเดือดร้อนจากค่าครองชีพที่พุ่งทะยานสูงขึ้น เงินอุดหนุนช่วยเหลือจากรัฐที่ให้ครอบครัวเด็กพิการเดือนละ 800 บาท ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ทั้งที่รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนในเรื่องให้เด็กพิการได้ช่วยเหลือตัวเองและมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม โดยเฉพาะการเข้าถึงสิทธิในการศึกษา นโยบายรัฐข้างต้นยังเป็นเพียงคำพูดสวยหรูเท่านั้น จากข้อมูลทีมข่าว “คม ชัด ลึก” สำรวจพื้นที่ จ.กาญจนบุรี พบว่าที่ “โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี” มีเด็กพิการจำนวนมากต้องการเรียนต่อจนถึงปริญญาตรี แต่มีปัญหาเรื่องทุนการศึกษาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ทำให้ส่วนใหญ่เรียนจบแค่ประถมหรือมัธยมเท่านั้น เด็กหลายคนจำใจต้องหยุดเรียน แล้วดิ้นรนหาทางช่วยครอบครัวด้วยการหางานพิเศษทำ เช่น งานเจียระไนพลอยที่ช่วยให้หลายคนสามารถเลี้ยงดูตัวเองและพ่อแม่ได้ด้วย “น้องไฝ" จันทร์ไพร ทองมา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เล่าเป็นภาษามือผ่านล่ามว่าอยากให้ภาครัฐประชาสัมพันธ์ให้เอกชนรับคนพิการเข้าทำงานเยอะๆ ทุกวันนี้คนพิการมีความสามารถทำอาชีพได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ไม่ค่อยมีที่ไหนรับเข้าทำงาน อยากให้คนในสังคมเห็นคุณค่าของคนพิการ และให้ความเสมอภาคเท่าเทียมเหมือนคนปกติ ทุกวันนี้ฝึกอาชีพเจียระไนพลอย เมื่อจบออกไปอยากให้มีคนจ้างงาน อยากมีเงินให้พ่อแม่เหมือนลูกคนอื่นๆ เช่นเดียวกับความฝันของ “น้องจาง" กิตติศักดิ์ แซ่จาง นักเรียนชั้นมัธยม 2 บอกเล่าเป็นภาษามือว่าอยากให้คนพิการมีสิทธิได้รับการสนับสนุนเรื่องการศึกษาเป็นพิเศษ โดยเฉพาะทุนการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย อย่าคิดว่าคนพิการไม่ต้องเรียนสูง อยากให้มองคนพิการเป็นคนปกติ ไม่อยากให้ล้อเลียนคนพิการ เพราะเคยโดนล้อเป็นประจำเวลาไปข้างนอก คนชอบมองพวกเราแปลกๆ ไม่อยากให้เป็นแบบนั้น “น้องโปเต้" รัตนลักษณ์ เปี๊ยะภิรมณ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 บอกถึงความฝันที่จะเรียนต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย แต่บ้านยากจนไม่มีเงินเป็นค่าเล่าเรียนกับค่าเดินทาง ตอนนี้คงต้องเริ่มมองหางานที่พอจะทำได้ อยากมีอนาคตดีๆ อยากเป็นกำลังใจบอกให้น้องๆ คนพิการรับรู้ว่า “อย่าท้อแท้ ไม่ต้องอายในสิ่งที่เราเป็น” ความฝันเป็นเสมือนสิ่งหล่อเลี้ยงจิตใจของทุกคน จากการพูดคุยกับเด็กพิการที่มาอยู่โรงเรียนกินนอน หลายคนพบว่า พวกเขาอยากเป็นตำรวจ ทหาร อยากเป็นเจ้าหญิง อยากได้รถถัง อยากได้จักรยาน อยากได้สมุดดินสอ ของเล่น เงิน ฯลฯ จากข้อมูลนักเรียน 180 คนของ “โรงเรียนโสตศึกษาฯ" ข้างต้น เด็กส่วนใหญ่อาศัยกินนอนที่โรงเรียน อาศัยการสนับสนุนจากเครือข่ายมูลนิธิต่างๆ ในท้องถิ่น เด็กหลายคนถูกครอบครัวทอดทิ้ง หลังจากคลอดออกมาแล้วรู้ว่าลูกมีร่างกายไม่ปกติ หรือบางครั้งพ่อแม่แยกทางกันจำต้องเอาเด็กไปให้มูลนิธิดูแล พวกเขาเติบโตขึ้นมาโดยไม่รู้ว่าอนาคตต้องเผชิญกับอะไรบ้าง !?! “นันทิตา วงศ์หวุน" ครูประจำ ร.ร.โสตศึกษาฯ เล่าว่า เด็กพิการจำนวน 181 คนนั้นมีอายุตั้งแต่ 3 ขวบถึง 18 ปี เด็กเล็กหลายคนพิการด้านสติปัญญา เป็นกลุ่มดาวน์ซินโดรมมากที่สุด ส่วนเด็กโตส่วนใหญ่พิการทางการสื่อสารและได้ยิน พวกเขามาจากพื้นที่ชายแดนห่างไกล ครอบครัวยากจน พ่อแม่เลิกกัน คุณครูพยายามทดแทนด้วยความรักและความอบอุ่นแต่จำนวนไม่พอ “ครู 1 คนควรดูแลเด็กพิการ 3 คน แต่ตอนนี้ 1 คนดูแลมากกว่า 10 คน ทั้งสอนหนังสือ ป้อนข้าวป้อนน้ำ ทุกสิ่งอย่างตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน" นันทิตาเล่า “ฐิติมา กลั่นบุศย์" ผู้อำนวยการ ร.ร.โสตศึกษาฯ ยอมรับว่าปัญหาครูขาดแคลนเป็นเรื่องใหญ่ รวมถึงล่ามภาษามือช่วยสอนด้วย “ปัจจุบันเด็กพิการยังไม่เข้าถึงสิทธิการศึกษาและสิทธิด้านต่างๆ โดยเฉพาะเด็กพิการตามชายแดน หลายคนมีความสามารถมาก พวกเขาอยากเรียนต่อสูงๆ อยากมีอาชีพ อยากให้พวกเขาได้รับสิทธิที่จะมีโอกาสใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติและมีความสุข" ฐิติมา กล่าว นอกจากโรงเรียนข้างต้น ทีมข่าว “คม ชัด ลึก” พบว่า ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาญจนบุรี ที่ดูแลฟื้นฟูคนพิการนั้น ยังขาดแคลนอุปกรณ์แพทย์ นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา ฯลฯ “อรวรรณ เจือจาน" ผอ.ศูนย์ฯ ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้มีนักกายภาพแค่ 4 คน แต่มีเด็กพิการมารับบริการมากถึงวันละ 255 คน พร้อมภาระในการไปบริการเด็กพิการที่อาศัยอยู่ตามถิ่นทุรกันดารอีกไม่ต่ำกว่า 10 อำเภอ “ครูหลายคนขี่มอเตอร์ไซค์ไปออกพื้นที่ เพราะรถยนต์ไม่พอ บางพื้นที่รถตู้เข้าไม่ถึง ไม่มีถนน เด็กที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง ต้องใช้เครื่องมือแพทย์ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ อุปกรณ์เหล่านี้ขาดแคลนในพื้นที่ห่างไกล ครูอยากช่วยเด็กแต่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยเหลือครูด้วย” ผอ.อรวรรณ เล่าถึงมุมมองของครูที่ต้องทำงานในพื้นที่ชายขอบ การดูแลเด็กพิการมีค่าใช้จ่ายแตกต่างจากเด็กปกติ ถือเป็น “ค่าใช้จ่ายแอบแฝง” ยากที่จดบันทึกแจกแจงรายละเอียด... เด็กพิการ 1.4 แสนคน จะสามารถเติบโตไปทำงานช่วยตัวเอง ไม่ต้องเป็นภาระของสังคมได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับแผนนำงานของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง สิทธิของพวกเขาถูกบัญญัติไว้แล้วใน “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก” และ “ปฏิญญาว่าด้วยความอยู่รอด การปกป้อง และพัฒนาเด็ก” ที่ประเทศไทยลงนามรับรอง ตั้งแต่ปี 2534 โดยมีข้อกำหนดชัดเจนว่า รัฐภาคียอมรับสิทธิเด็กทุกคน ในอันที่จะได้รับมาตรฐานของการดำรงชีวิตที่เพียงพอสำหรับการพัฒนาด้านร่างกาย สมอง จิตใจ... ดังนั้น สิ่งที่พวกเขากำลังฝันถึง ไม่ได้เกินเลยจาก “สิทธิ” ที่พวกเขาควรได้รับแต่อย่างใด... ข้อมูลเด็กพิการ จ.กาญจนบุรี - ตั้งแต่แรกเกิด - 17 ปี จำนวน 1,180 คน - อาศัยใน อ.เมือง 215 คน, อ.ท่ามะกา 214 คน, อ.ท่าม่วง 143 คน - ที่เหลืออาศัยอยู่พื้นที่ติดชายแดนพม่า เช่น อ.บ่อพลอย อ.สังขละบุรี อ.ทองผาภูมิ ฯลฯ - เด็กพิการตามชายแดนส่วนใหญ่มี 2 สัญชาติ หลายคนยังไม่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติไทย ทำให้เข้าไม่ถึงสิทธิต่างๆ เหมือนเด็กพิการทั่วไป ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150929/214234.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...