แนะสังคมตั้งสติเรียนรู้เหตุการณ์ จี้ครอบครัวสร้างสุนทรียสนทนา

แสดงความคิดเห็น

นพ.สุริย เดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ห่วงเด็กวัยรุ่นฆ่ายกครัว แนะอย่าซ้ำเติม ชี้เด็กไม่ใช่ผ้าขาวแต่ละคนมีทุนชีวิตที่แตกต่างกันจี้สร้างสุนทรียสนทนาในครอบครัว...

นพ.สุริย เดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงเหตุการณ์เด็กวัยรุ่นฆ่าพ่อแม่และน้องว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เฉพาะสังคมที่ช็อค ตัวเด็กที่ก่อเหตุเองสภาพจิตใจก็คงช็อคเช่นกัน แต่สังคมต้องตั้งสติและเรียนรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ไม่ใช่ไปกระทำซ้ำเติมให้กับตัวเด็ก เพราะไม่มีใครรู้ดีที่สุด ถึงเหตุและปัจจัยที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นคืออะไร สิ่งที่สะท้อนให้เห็นคือ เด็กไม่ใช่ผ้าสีขาวที่เหมือนกันหมด แต่ละคนมีทุนชีวิตที่แตกต่างกัน ทั้งพื้นฐานอารมณ์ ทักษะชีวิต จิตสำนึก ผู้ใหญ่จึงต้องเรียนรู้ ขณะที่ตัวเด็กเองก็ต้องทบทวนเพื่อป้องกันระมัดระวังไม่ให้เกิดความรุนแรงขึ้น

นพ.สุริยเดว กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม ปัจจัยภายในบ้านที่อยากเสนอให้ทุกครอบครัวควรมีสุนทรียสนทนา ไม่ใช่การตามเช็กงาน แต่ต้องเหลือเวลาชาร์ทแบตเตอรี่ให้กับชีวิตในครอบครัวบนพื้นฐานงต่างๆ คือ 1.ฐานความรักความอบอุ่น 2.การเป็นผู้ฟังที่ดีของผู้ใหญ่ เพื่อนำไปสู่การวัดความรู้สึกตนเองและผู้อื่น นำไปสู่กติกาของการอยู่ร่วมกัน และการแก้ปัญหาบางเรื่องที่คับข้องใจ เป็นสิ่งที่ควรทำให้เป็นกิจวัตรประจำวัน ไม่ใช่รอจนปะทุ และ 3. อาวุธต่างๆ ที่ต้องระวัง โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นที่มีฮอร์โมนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการกระ ทำที่รุนแรงได้ เนื่องจากสมองมีส่วนส่วนคิดและส่วนอารมณ์ หากสมองส่วนคิดอ่อนแอและเจอฮอร์โมนที่เร่งเร้า ขณะที่อาจจะมีปัจจัยอื่นเป็นตัวกระตุ้น เช่น ยาเสพติด แอลกอฮอล์ ก็จะยับยั้งสมองส่วนคิดให้สมองส่วนอารมณ์ระเบิดขึ้นมาทันที สิ่งที่จะเป็นตัวยับยั้งสมองส่วนอารมณ์คือจิตสำนึก ซึ่งอาศัยหลักธรรมฝึกฝน โดยเฉพาะหลักธรรมของการเป็นผู้ให้ นอกจากนี้รั้วโรงเรียน สถาบันการศึกษาเป็นสถานที่ที่เด็กใช้ชีวิตอยู่ไม่น้อย จะต้องสอนทักษะชีวิตควบคู่ไปกับทักษะวิชาการ และแม้ว่าแต่ละสถาบันจะสนับสนุนให้นักเรียนนักศึกษาทำกิจกรรมมากขึ้น แต่กิจกรรมต่างๆ ที่ทำจะต้องให้เด็กได้สะท้อนความรู้สึกที่ดีหรือความคับข้องใจต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งจะเป็นปรอทวัดความรู้สึกและทักษะการคิดของเด็ก เพื่อนำสู่การเรียนรู้จุดบกพร่องของเด็กแต่ละคน และนำไปสู่การแก้ไขได้ทันท่วงที แต่สิ่งเหล่านี้ยังไม่ค่อยเห็นในสถาบันการศึกษา

ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/edu/409523

ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 มี.ค.57

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 13/03/2557 เวลา 03:25:04 ดูภาพสไลด์โชว์ แนะสังคมตั้งสติเรียนรู้เหตุการณ์ จี้ครอบครัวสร้างสุนทรียสนทนา

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นพ.สุริย เดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ห่วงเด็กวัยรุ่นฆ่ายกครัว แนะอย่าซ้ำเติม ชี้เด็กไม่ใช่ผ้าขาวแต่ละคนมีทุนชีวิตที่แตกต่างกันจี้สร้างสุนทรียสนทนาในครอบครัว... นพ.สุริย เดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงเหตุการณ์เด็กวัยรุ่นฆ่าพ่อแม่และน้องว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เฉพาะสังคมที่ช็อค ตัวเด็กที่ก่อเหตุเองสภาพจิตใจก็คงช็อคเช่นกัน แต่สังคมต้องตั้งสติและเรียนรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ไม่ใช่ไปกระทำซ้ำเติมให้กับตัวเด็ก เพราะไม่มีใครรู้ดีที่สุด ถึงเหตุและปัจจัยที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นคืออะไร สิ่งที่สะท้อนให้เห็นคือ เด็กไม่ใช่ผ้าสีขาวที่เหมือนกันหมด แต่ละคนมีทุนชีวิตที่แตกต่างกัน ทั้งพื้นฐานอารมณ์ ทักษะชีวิต จิตสำนึก ผู้ใหญ่จึงต้องเรียนรู้ ขณะที่ตัวเด็กเองก็ต้องทบทวนเพื่อป้องกันระมัดระวังไม่ให้เกิดความรุนแรงขึ้น นพ.สุริยเดว กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม ปัจจัยภายในบ้านที่อยากเสนอให้ทุกครอบครัวควรมีสุนทรียสนทนา ไม่ใช่การตามเช็กงาน แต่ต้องเหลือเวลาชาร์ทแบตเตอรี่ให้กับชีวิตในครอบครัวบนพื้นฐานงต่างๆ คือ 1.ฐานความรักความอบอุ่น 2.การเป็นผู้ฟังที่ดีของผู้ใหญ่ เพื่อนำไปสู่การวัดความรู้สึกตนเองและผู้อื่น นำไปสู่กติกาของการอยู่ร่วมกัน และการแก้ปัญหาบางเรื่องที่คับข้องใจ เป็นสิ่งที่ควรทำให้เป็นกิจวัตรประจำวัน ไม่ใช่รอจนปะทุ และ 3. อาวุธต่างๆ ที่ต้องระวัง โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นที่มีฮอร์โมนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการกระ ทำที่รุนแรงได้ เนื่องจากสมองมีส่วนส่วนคิดและส่วนอารมณ์ หากสมองส่วนคิดอ่อนแอและเจอฮอร์โมนที่เร่งเร้า ขณะที่อาจจะมีปัจจัยอื่นเป็นตัวกระตุ้น เช่น ยาเสพติด แอลกอฮอล์ ก็จะยับยั้งสมองส่วนคิดให้สมองส่วนอารมณ์ระเบิดขึ้นมาทันที สิ่งที่จะเป็นตัวยับยั้งสมองส่วนอารมณ์คือจิตสำนึก ซึ่งอาศัยหลักธรรมฝึกฝน โดยเฉพาะหลักธรรมของการเป็นผู้ให้ นอกจากนี้รั้วโรงเรียน สถาบันการศึกษาเป็นสถานที่ที่เด็กใช้ชีวิตอยู่ไม่น้อย จะต้องสอนทักษะชีวิตควบคู่ไปกับทักษะวิชาการ และแม้ว่าแต่ละสถาบันจะสนับสนุนให้นักเรียนนักศึกษาทำกิจกรรมมากขึ้น แต่กิจกรรมต่างๆ ที่ทำจะต้องให้เด็กได้สะท้อนความรู้สึกที่ดีหรือความคับข้องใจต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งจะเป็นปรอทวัดความรู้สึกและทักษะการคิดของเด็ก เพื่อนำสู่การเรียนรู้จุดบกพร่องของเด็กแต่ละคน และนำไปสู่การแก้ไขได้ทันท่วงที แต่สิ่งเหล่านี้ยังไม่ค่อยเห็นในสถาบันการศึกษา ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/edu/409523 ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...