หลักสูตรดูแลเด็ก'พัฒนาการช้า'

แสดงความคิดเห็น

ครูปริศนา อานจำปา หรือครูอ้อย

หลักสูตรดูแลเด็ก'พัฒนาการช้า' กับ'ครูปริศนา อานจำปา' : โดย...ขวัญเรียม แก้วสุวรรณ ห้องสี่เหลี่ยมขนาดไม่ใหญ่มากนัก ภายในเต็มไปด้วยของเล่นที่ถูกจัดเตรียมไว้สำหรับเด็กเล็ก ที่กำลังก้าวเข้าสู่รั้วโรงเรียน ทว่ามีเด็กกลุ่มใหญ่กว่าอีก 2 ล้านคนทั่วประเทศที่เรียกกันว่า "เด็กพิเศษ" ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา การเรียนรู้ การพูดและภาษา พฤติกรรมและอารมณ์ และออทิสติก ขาดโอกาสได้สัมผัสของเล่น กลุ่มเพื่อน และที่สำคัญโอกาสทาง "การศึกษา" สาเหตุหลักมาจากศูนย์รับเลี้ยงเด็ก ผู้ปกครองขาดวิธีการดูแลอย่างถูกต้อง ท้ายที่สุดเด็กกลุ่มนี้ต้องผลักตัวเองออกจากระบบการศึกษา

ทำให้ ครูปริศนา อานจำปา หรือครูอ้อย ลุกขึ้นมามองหาหนทางเพื่อให้เด็กกลุ่มนี้เข้าถึงการศึกษา โดยจัดทำ หลักสูตรการดูแลเด็กที่มีพัฒนาการช้าสำหรับผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูปริศนา ในฐานะผู้ช่วยรองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนานักเรียนและชุมชนสัมพันธ์ ฝ่ายการศึกษาพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษแบบเรียนร่วม สำหรับเด็กออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) เล่าว่า ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่เป็นครูสอนเด็กเล็กพบเด็กจำนวนมาก ทั้งพิการด้านร่างกายที่บ่งชี้ชัดเจน เช่น หูหนวก ตาบอด และสมอง แต่มีเด็กกลุ่มหนึ่งที่ร่างกายปกติ จัดว่าหน้าตาดี แต่ไม่สามารถเรียนรู้และอยู่ร่วมกับเพื่อนร่วมห้องได้ แต่อยู่คนเดียวหลังห้อง ปัญหาที่ตามมาคือครูที่ดูแลยังไม่มีกระบวนการดูแลที่ถูกต้อง เพราะไม่มีความรู้เรื่องนี้ รวมถึงผู้ปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของศูนย์ชุมชนที่รับฝากเด็ก ในช่วงปฐมวัยที่ครูผู้ดูแลหรืออาสาสมัครยังขาดองค์ความรู้ในการคัดกรอง เบื้องต้น

ครูอ้อย จึงต้องการหาคำตอบ โดยร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนศูนย์ออทิสติก ในที่สุดเกิดเป็นความร่วมมือในการช่วยเหลือ โดยเธอได้ทำโครงการพัฒนาหลักสูตรดูแลเด็ก "พัฒนาการช้า" ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติก จ.ขอนแก่น สาธารณสุขทุกโรงพยาบาล จ.ขอนแก่น ศูนย์บริการบุคคลออทิสติก จ.ขอนแก่น ศูนย์การศึกษาพิเศษเขต 9 จ.ขอนแก่น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดขอนแก่น (พมจ.) ศูนย์การศึกษาพิเศษ โรงเรียนเรียนร่วม และมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) พร้อมจัดฝึกอบรมวิธีการดูแลพัฒนาการเด็กพิเศษให้แก่ ครู ผู้ปกครอง และอสม.ในชุมชน โดยนำร่องทดลองและพัฒนาหลักสูตร 2 ชุมชนคือ "ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผือ" และ "ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งทอง" รับ "ทุนครูสอนดี" จากโครงการ "สังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ ยกย่องเชิดชู ครูสอนดี" ที่ขับเคลื่อนโดย สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)

"ครูอ้อยเชื่อว่าถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดู และปฏิบัติอย่างถูกต้องตั้งแต่ช่วงอายุ 0-6 ปี แม้ร่างกายและสมองจะไม่สมประกอบ ก็สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ปกติ อย่าคิดว่าเขาคือปัญหา แค่เรามีแนวทางปฏิบัติถูกต้องตามที่ควรจะเป็น เขาก็ใช้ชีวิตปกติได้ สิ่งที่เราควรทำตอนนี้คือค้นพบเร็วเขาให้เร็ว แล้วก็ช่วยเขาให้เร็ว ไม่ปล่อยให้เด็กเรียนไม่รู้เรื่อง เรียนไม่ทันเพื่อน กลายเป็นปัญหาสังคมต่อไป" ครูอ้อย กล่าว

พญ.ภัทรา ฤชุวรารักษ์ แพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลขอนแก่น กล่าวว่า สมองเด็กจะเจริญเติบโตในช่วง 3 ขวบแรกถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือ 20 เปอร์เซ็นต์จะมาชดเชยหรือทดแทนตามช่วงอายุที่เหลือ ถ้าหากค้นพบเด็กเร็วก็จะสามารถช่วยให้เด็กปกติได้ ข้อสังเกตง่ายๆ สำหรับเด็กที่เป็นออทิสติกสามารถทราบได้ตั้งแต่ 2 เดือนแรกคือ ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว หากเด็กเข้าข่ายดังกล่าวพ่อแม่ผู้ปกครองต้องพบแพทย์ เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือต่อไป

หนูเตียง สุขสวัสดิ์ วัย 56 อสม.ชุมชนบ้านโคกน้อย อ.เมือง จ.ขอนแก่น เล่าว่า อสม. 1 คนได้รับมอบหมายให้ดูแลเด็กเล็ก 2 คน ซึ่งตอนนี้เด็กในความดูแลของเธอ 1 คนไม่มีความผิดปกติใดๆ แต่อีก 1 คน เป็นคนอารมณ์ร้อน ไม่ชอบพูดจาทักทายคนอื่น เธอจึงพยายามเข้าหาพูดคุยกับเด็กด้วยพูดจาดีๆ กระทั่งวันหนึ่งเด็กยอมพูดจาโต้ตอบด้วย ถึงวันนี้เด็กคนดังกล่าวอายุ 17 ปีแล้ว สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ปกติ

"ดิฉันภูมิใจมากค่ะได้เห็นความสำเร็จ ตอนนี้น้อง 17 ปีแล้วเป็นเด็กน่ารัก อารมณ์ไม่ร้อน แนะนำว่าเด็กกลุ่มนี้ไม่ชอบให้ด่า ให้ตี ต้องอ่อนๆ เข้าหา ยกตัวอย่าง เด็กชอบฉี่รดที่นอน ไม่ให้ไปด่าว่าโตเป็นวัวเป็นควายแล้วยังฉี่ ไม่ให้ด่าเลย แต่พ่อแม่ควรแก้ปัญหา โดยการพาเขาไปฉี่ก่อนเข้านอน หรือถ้าเขารู้สึกตัวตอนดึกๆ ก็ให้ปลุกลุกขึ้นไปฉี่" หนูเตียง กล่าวในที่สุด

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140218/179161.html#.UwLjhvvInZ4 (ขนาดไฟล์: 167)

(คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ก.พ.57)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 18/02/2557 เวลา 06:29:19 ดูภาพสไลด์โชว์ หลักสูตรดูแลเด็ก'พัฒนาการช้า'

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ครูปริศนา อานจำปา หรือครูอ้อย หลักสูตรดูแลเด็ก'พัฒนาการช้า' กับ'ครูปริศนา อานจำปา' : โดย...ขวัญเรียม แก้วสุวรรณ ห้องสี่เหลี่ยมขนาดไม่ใหญ่มากนัก ภายในเต็มไปด้วยของเล่นที่ถูกจัดเตรียมไว้สำหรับเด็กเล็ก ที่กำลังก้าวเข้าสู่รั้วโรงเรียน ทว่ามีเด็กกลุ่มใหญ่กว่าอีก 2 ล้านคนทั่วประเทศที่เรียกกันว่า "เด็กพิเศษ" ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา การเรียนรู้ การพูดและภาษา พฤติกรรมและอารมณ์ และออทิสติก ขาดโอกาสได้สัมผัสของเล่น กลุ่มเพื่อน และที่สำคัญโอกาสทาง "การศึกษา" สาเหตุหลักมาจากศูนย์รับเลี้ยงเด็ก ผู้ปกครองขาดวิธีการดูแลอย่างถูกต้อง ท้ายที่สุดเด็กกลุ่มนี้ต้องผลักตัวเองออกจากระบบการศึกษา ทำให้ ครูปริศนา อานจำปา หรือครูอ้อย ลุกขึ้นมามองหาหนทางเพื่อให้เด็กกลุ่มนี้เข้าถึงการศึกษา โดยจัดทำ หลักสูตรการดูแลเด็กที่มีพัฒนาการช้าสำหรับผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูปริศนา ในฐานะผู้ช่วยรองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนานักเรียนและชุมชนสัมพันธ์ ฝ่ายการศึกษาพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษแบบเรียนร่วม สำหรับเด็กออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) เล่าว่า ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่เป็นครูสอนเด็กเล็กพบเด็กจำนวนมาก ทั้งพิการด้านร่างกายที่บ่งชี้ชัดเจน เช่น หูหนวก ตาบอด และสมอง แต่มีเด็กกลุ่มหนึ่งที่ร่างกายปกติ จัดว่าหน้าตาดี แต่ไม่สามารถเรียนรู้และอยู่ร่วมกับเพื่อนร่วมห้องได้ แต่อยู่คนเดียวหลังห้อง ปัญหาที่ตามมาคือครูที่ดูแลยังไม่มีกระบวนการดูแลที่ถูกต้อง เพราะไม่มีความรู้เรื่องนี้ รวมถึงผู้ปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของศูนย์ชุมชนที่รับฝากเด็ก ในช่วงปฐมวัยที่ครูผู้ดูแลหรืออาสาสมัครยังขาดองค์ความรู้ในการคัดกรอง เบื้องต้น ครูอ้อย จึงต้องการหาคำตอบ โดยร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนศูนย์ออทิสติก ในที่สุดเกิดเป็นความร่วมมือในการช่วยเหลือ โดยเธอได้ทำโครงการพัฒนาหลักสูตรดูแลเด็ก "พัฒนาการช้า" ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติก จ.ขอนแก่น สาธารณสุขทุกโรงพยาบาล จ.ขอนแก่น ศูนย์บริการบุคคลออทิสติก จ.ขอนแก่น ศูนย์การศึกษาพิเศษเขต 9 จ.ขอนแก่น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดขอนแก่น (พมจ.) ศูนย์การศึกษาพิเศษ โรงเรียนเรียนร่วม และมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) พร้อมจัดฝึกอบรมวิธีการดูแลพัฒนาการเด็กพิเศษให้แก่ ครู ผู้ปกครอง และอสม.ในชุมชน โดยนำร่องทดลองและพัฒนาหลักสูตร 2 ชุมชนคือ "ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผือ" และ "ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งทอง" รับ "ทุนครูสอนดี" จากโครงการ "สังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ ยกย่องเชิดชู ครูสอนดี" ที่ขับเคลื่อนโดย สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) "ครูอ้อยเชื่อว่าถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดู และปฏิบัติอย่างถูกต้องตั้งแต่ช่วงอายุ 0-6 ปี แม้ร่างกายและสมองจะไม่สมประกอบ ก็สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ปกติ อย่าคิดว่าเขาคือปัญหา แค่เรามีแนวทางปฏิบัติถูกต้องตามที่ควรจะเป็น เขาก็ใช้ชีวิตปกติได้ สิ่งที่เราควรทำตอนนี้คือค้นพบเร็วเขาให้เร็ว แล้วก็ช่วยเขาให้เร็ว ไม่ปล่อยให้เด็กเรียนไม่รู้เรื่อง เรียนไม่ทันเพื่อน กลายเป็นปัญหาสังคมต่อไป" ครูอ้อย กล่าว พญ.ภัทรา ฤชุวรารักษ์ แพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลขอนแก่น กล่าวว่า สมองเด็กจะเจริญเติบโตในช่วง 3 ขวบแรกถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือ 20 เปอร์เซ็นต์จะมาชดเชยหรือทดแทนตามช่วงอายุที่เหลือ ถ้าหากค้นพบเด็กเร็วก็จะสามารถช่วยให้เด็กปกติได้ ข้อสังเกตง่ายๆ สำหรับเด็กที่เป็นออทิสติกสามารถทราบได้ตั้งแต่ 2 เดือนแรกคือ ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว หากเด็กเข้าข่ายดังกล่าวพ่อแม่ผู้ปกครองต้องพบแพทย์ เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือต่อไป หนูเตียง สุขสวัสดิ์ วัย 56 อสม.ชุมชนบ้านโคกน้อย อ.เมือง จ.ขอนแก่น เล่าว่า อสม. 1 คนได้รับมอบหมายให้ดูแลเด็กเล็ก 2 คน ซึ่งตอนนี้เด็กในความดูแลของเธอ 1 คนไม่มีความผิดปกติใดๆ แต่อีก 1 คน เป็นคนอารมณ์ร้อน ไม่ชอบพูดจาทักทายคนอื่น เธอจึงพยายามเข้าหาพูดคุยกับเด็กด้วยพูดจาดีๆ กระทั่งวันหนึ่งเด็กยอมพูดจาโต้ตอบด้วย ถึงวันนี้เด็กคนดังกล่าวอายุ 17 ปีแล้ว สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ปกติ "ดิฉันภูมิใจมากค่ะได้เห็นความสำเร็จ ตอนนี้น้อง 17 ปีแล้วเป็นเด็กน่ารัก อารมณ์ไม่ร้อน แนะนำว่าเด็กกลุ่มนี้ไม่ชอบให้ด่า ให้ตี ต้องอ่อนๆ เข้าหา ยกตัวอย่าง เด็กชอบฉี่รดที่นอน ไม่ให้ไปด่าว่าโตเป็นวัวเป็นควายแล้วยังฉี่ ไม่ให้ด่าเลย แต่พ่อแม่ควรแก้ปัญหา โดยการพาเขาไปฉี่ก่อนเข้านอน หรือถ้าเขารู้สึกตัวตอนดึกๆ ก็ให้ปลุกลุกขึ้นไปฉี่" หนูเตียง กล่าวในที่สุด ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140218/179161.html#.UwLjhvvInZ4 (คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ก.พ.57)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...