"มูลนิธิตะวันฉาย" ศูนย์การเรียนรู้เพื่อผู้พิการ
ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเองสำหรับผู้พิการ มูลนิธิตะวันฉาย ตั้งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่ บนที่ดินที่เช่าซื้อ (ผ่อนชำระ) ขนาด 119 ตารางวา ก่อตั้งขึ้นจากแรงบันดาลใจและความใฝ่ฝันของชายผู้หนึ่ง
ตลอดเวลากว่า 20 ปี บนเส้นทางที่น้อยคนนักอยากจะทำ นายระธี ไชยพรพัฒนา ทุ่มเทแรงกายแรงใจกำลังสติปัญญา ความรู้ ความสามารถ ทำงานในฐานะผู้ให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อน ผู้ประสบปัญหา อันเนื่องจากโรคเรื้อน ผู้พิการด้อยโอกาส ผู้ติดเชื้อ และในฐานะผู้บริหารที่ประสานจัดการและสร้างสรรค์งานใหม่เพื่อคุณภาพชีวิต ในนามสถาบันแมคเคนเพื่อการฟื้นฟูสภาพ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์จนได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นนักสังคมสงเคราะห์ดีเด่นจากมูลนิธิศาสตราจารย์ปกรณ์อังศุสิงห์เมื่อปี2550
หลังจากอยู่ในระบบขององค์กรเอกชนมานานกว่า 20 ปี ในที่สุดก็ถึงจุดอิ่มตัวในงานประจำ จึงลาออกทิ้งเงินเดือนและสวัสดิการ ความสุขสบาย มาเริ่มต้นงานใหม่ โดยมีเพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันสนับสนุนตามกำลังจัดตั้งมูลนิธิตะวันฉายขึ้นเมื่อปี 2548 จัดสร้างศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเองสำหรับผู้พิการ มุ่งหมายที่จะให้เป็นที่พักพิงแก่น้องๆ ผู้พิการด้อยโอกาส ไร้ที่พักพิง และพัฒนาศักยภาพเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำเนินชีวิตได้อย่าง มีความสุขและสร้างคุณค่าให้กับสังคมต่อไปจำนวน 8 คน ปลาย ปี 2549 เขาร่วมกับน้องๆ ผู้พิการทั้ง 8 คน เริ่มสร้างที่พักจากเศษไม้ไผ่ใบหญ้าคาจากการบริจาคของผู้มีจิตศรัทธาและค่อยๆพัฒนาตามลำดับ
เขาตั้งใจสอนผู้พิการให้มีความรู้ โดยประยุกต์หลักการสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และพัฒนาสังคมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการเกษตรธรรมชาติบนพื้นที่น้อยให้เกิดประโยชน์สูงสุด และให้เกิดการพึ่งพากันและกันระหว่างพืชและสัตว์
ส่งเสริมการถนอมอาหารและงานหัตถกรรมเล็กๆ จนผู้พิการไร้ที่พึงมีศักยภาพพอ เขาจึงผลักดันให้เกิดการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับวิถี และวิธีการดำเนินชีวิตตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเดิมตั้งใจจะส่งเสริมกลุ่มผู้พิการด้อยโอกาสในชุมชนต่างๆ เริ่มจากชุมชนตำบลป่าแดด อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่
เป็นเรื่องน่ายินดีที่มีผู้คนจากหลายองค์กร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชน เด็กและเยาวชน รับรู้เรื่องราว และ เข้ามาศึกษาดูงานและฝึกอบรมจำนวนมาก ก่อให้เกิดการขยายงานโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน โดยเฉพาะกับผู้พิการด้อยโอกาส ผู้สูงอายุไร้ที่พึ่ง ผู้ยากไร้ในถิ่นทุรกันดารเด็กและเยาวชน เช่น โครงการสัมผัสชีวิต โครงการสร้างจิตสำนึกปลอดภัย โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชน โครงการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โครงการปันรักให้น้อง...มอบสิ่งของด้วยใจ โครงการปันน้ำใจเพื่อผู้ยากไร้เพื่อผู้ยากไร้ในถิ่นทุรกันดาร โครงการธนาคารโคเพื่อผู้ยากไร้ในชุมชนชาวไทยภูเขา โครงการเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดาร โครงการเกษตรผสมผสานเพื่ออาหารกลางวันเด็กในโรงเรียนชุมชนเป็นต้น
ที่ศูนย์การเรียนรู้ยังจัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับแนวคิด และแนวทางการทำเกษตรธรรมชาติเพื่อผู้ด้อยโอกาสเป็นประจำซึ่งเป็นเกษตรธรรมชาติที่เน้นการพึ่งพาตนเอง ภายในศูนย์การ เรียนรู้ มีการเลี้ยงหมูหลุม ไก่พันธุ์ไข่ ไก่พันธุ์เนื้อ ปลาดุก ไส้เดือน โรงเพาะเห็ด และการปลูกผักในกระถาง โดยใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่นและน้ำหมักชีวภาพ ที่ผลิตขึ้นเอง ผู้พิการที่ศูนย์การเรียนรู้ฯ มีความรู้ ความสามารถ รับผิดชอบดูแลเลี้ยงสัตว์และปลูก พืชผัก และเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้สนใจได้เป็นอย่างดีและ มีคุณภาพอีกทั้งเป็นตัวอย่างต้นแบบคนสู้ชีวิตทำกิจกรรมเฉกเช่นคนปกติทั่วไป
จากการที่ไม่มีอะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน เงินทุนหรือทรัพย์สิน แต่ด้วยหัวใจที่เข้มแข็งและมุ่งมั่นจริงใจ ที่จะทำงานเพื่อผู้ยากไร้ด้อยโอกาสตามอุดมการณ์ที่มี ทำงานทุกวันไม่มีวันหยุดด้วยแรงศรัทธา ไม่ย่อมพ่ายแพ้ต่อโชคชะตา ทำให้น้องๆ ผู้พิการ และอาสาสมัครรอบข้าง มีขวัญและกำลังใจ ช่วยกันก่อร่างสร้างตัวจนเป็นมูลนิธิที่ค่อยๆเจริญเติบโตอย่างมั่นคง
แม้วันนี้จะยังไม่มั่นคงเพียงพอแต่ได้ต่อเติมฝันและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่มีโอกาสเข้ามาศึกษาดูงานและฝึกอบรม หรือแม้แต่ผู้ที่เข้ามาทักทายทำความรู้จักกับนายระธี ไชยพรพัฒนา และน้องๆ ผู้พิการ ที่ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้
นอกจากทำหน้าที่เป็น นักสังคมสงเคราะห์ นักพัฒนา เป็น ผู้บริหาร นายระธียังเป็นอาจารย์ที่ถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ให้กับพระนิสิตนัก ศึกษาหลายสถาบัน ได้สร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจในงานเพื่อผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาสในสังคม รวมทั้งการผลักดันในหลายพื้นที่ หลากองค์กรหันมาสนใจการทำเกษตรกรรรมธรรมชาติ ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อชีวิตที่เพียงพอและมีความสุขอย่างแท้จริง ด้วยมองเห็นว่านี้คือ ทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้มีชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะผู้คนในชุมชน และในถิ่นทุรกันดาร
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บนถนนสายแสงตะวันของนายระธี และน้องๆ ผู้พิการ มิได้ราบเรียบโรยด้วยกลีบกุหลาบ ถึงแม้จะเป็นถนนที่เป็นดินโคลน ลูกรัง มีหนามแหลมเป็นอุปสรรคขัดขวาง มิให้เขาและน้องๆ ผู้พิการเดินไปได้โดยสะดวก แต่ด้วยจิตวิญญาณที่ศรัทธาในการทำเพื่อผู้ยากไร้ ด้วยแรงบันดาลใจที่มีความใฝ่ฝันตามอุดมการณ์กับความยากลำบากเลือดตาแทบกระเด็น
บททดสอบนี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กสำหรับนายระธี และน้องๆ ผู้พิการ เพราะนี่มิใช่อุปสรรค แต่เป็นแรงกระตุ้นให้ก้าวเดินต่อไป นี่คือคนอีกคนหนึ่งกับกลุ่มพิการที่สร้างงาน สร้างกำลังใจ สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนอย่างไม่มีวันเหน็ดเหนื่อย และยอมจำนนต่อชะตากรรม พวกเขาสู้สุดใจไปด้วยกัน ร่วมแรงร่วมใจ รวมกายเป็นหนึ่ง มุ่งสู่การทำความดีเพื่อแผ่นดินนี้ ตามความฝันและอุดมการณ์ที่มี
ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 พ.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คนพิการภายในมูลนิธิตะวันฉายกำลังปลูกผักสวนครัว ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเองสำหรับผู้พิการ มูลนิธิตะวันฉาย ตั้งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่ บนที่ดินที่เช่าซื้อ (ผ่อนชำระ) ขนาด 119 ตารางวา ก่อตั้งขึ้นจากแรงบันดาลใจและความใฝ่ฝันของชายผู้หนึ่ง ตลอดเวลากว่า 20 ปี บนเส้นทางที่น้อยคนนักอยากจะทำ นายระธี ไชยพรพัฒนา ทุ่มเทแรงกายแรงใจกำลังสติปัญญา ความรู้ ความสามารถ ทำงานในฐานะผู้ให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อน ผู้ประสบปัญหา อันเนื่องจากโรคเรื้อน ผู้พิการด้อยโอกาส ผู้ติดเชื้อ และในฐานะผู้บริหารที่ประสานจัดการและสร้างสรรค์งานใหม่เพื่อคุณภาพชีวิต ในนามสถาบันแมคเคนเพื่อการฟื้นฟูสภาพ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์จนได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นนักสังคมสงเคราะห์ดีเด่นจากมูลนิธิศาสตราจารย์ปกรณ์อังศุสิงห์เมื่อปี2550 หลังจากอยู่ในระบบขององค์กรเอกชนมานานกว่า 20 ปี ในที่สุดก็ถึงจุดอิ่มตัวในงานประจำ จึงลาออกทิ้งเงินเดือนและสวัสดิการ ความสุขสบาย มาเริ่มต้นงานใหม่ โดยมีเพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกันสนับสนุนตามกำลังจัดตั้งมูลนิธิตะวันฉายขึ้นเมื่อปี 2548 จัดสร้างศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเองสำหรับผู้พิการ มุ่งหมายที่จะให้เป็นที่พักพิงแก่น้องๆ ผู้พิการด้อยโอกาส ไร้ที่พักพิง และพัฒนาศักยภาพเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำเนินชีวิตได้อย่าง มีความสุขและสร้างคุณค่าให้กับสังคมต่อไปจำนวน 8 คน ปลาย ปี 2549 เขาร่วมกับน้องๆ ผู้พิการทั้ง 8 คน เริ่มสร้างที่พักจากเศษไม้ไผ่ใบหญ้าคาจากการบริจาคของผู้มีจิตศรัทธาและค่อยๆพัฒนาตามลำดับ เขาตั้งใจสอนผู้พิการให้มีความรู้ โดยประยุกต์หลักการสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และพัฒนาสังคมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการเกษตรธรรมชาติบนพื้นที่น้อยให้เกิดประโยชน์สูงสุด และให้เกิดการพึ่งพากันและกันระหว่างพืชและสัตว์ ส่งเสริมการถนอมอาหารและงานหัตถกรรมเล็กๆ จนผู้พิการไร้ที่พึงมีศักยภาพพอ เขาจึงผลักดันให้เกิดการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับวิถี และวิธีการดำเนินชีวิตตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเดิมตั้งใจจะส่งเสริมกลุ่มผู้พิการด้อยโอกาสในชุมชนต่างๆ เริ่มจากชุมชนตำบลป่าแดด อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเรื่องน่ายินดีที่มีผู้คนจากหลายองค์กร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชน เด็กและเยาวชน รับรู้เรื่องราว และ เข้ามาศึกษาดูงานและฝึกอบรมจำนวนมาก ก่อให้เกิดการขยายงานโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน โดยเฉพาะกับผู้พิการด้อยโอกาส ผู้สูงอายุไร้ที่พึ่ง ผู้ยากไร้ในถิ่นทุรกันดารเด็กและเยาวชน เช่น โครงการสัมผัสชีวิต โครงการสร้างจิตสำนึกปลอดภัย โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชน โครงการส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โครงการปันรักให้น้อง...มอบสิ่งของด้วยใจ โครงการปันน้ำใจเพื่อผู้ยากไร้เพื่อผู้ยากไร้ในถิ่นทุรกันดาร โครงการธนาคารโคเพื่อผู้ยากไร้ในชุมชนชาวไทยภูเขา โครงการเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดาร โครงการเกษตรผสมผสานเพื่ออาหารกลางวันเด็กในโรงเรียนชุมชนเป็นต้น ที่ศูนย์การเรียนรู้ยังจัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับแนวคิด และแนวทางการทำเกษตรธรรมชาติเพื่อผู้ด้อยโอกาสเป็นประจำซึ่งเป็นเกษตรธรรมชาติที่เน้นการพึ่งพาตนเอง ภายในศูนย์การ เรียนรู้ มีการเลี้ยงหมูหลุม ไก่พันธุ์ไข่ ไก่พันธุ์เนื้อ ปลาดุก ไส้เดือน โรงเพาะเห็ด และการปลูกผักในกระถาง โดยใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่นและน้ำหมักชีวภาพ ที่ผลิตขึ้นเอง ผู้พิการที่ศูนย์การเรียนรู้ฯ มีความรู้ ความสามารถ รับผิดชอบดูแลเลี้ยงสัตว์และปลูก พืชผัก และเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้สนใจได้เป็นอย่างดีและ มีคุณภาพอีกทั้งเป็นตัวอย่างต้นแบบคนสู้ชีวิตทำกิจกรรมเฉกเช่นคนปกติทั่วไป จากการที่ไม่มีอะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน เงินทุนหรือทรัพย์สิน แต่ด้วยหัวใจที่เข้มแข็งและมุ่งมั่นจริงใจ ที่จะทำงานเพื่อผู้ยากไร้ด้อยโอกาสตามอุดมการณ์ที่มี ทำงานทุกวันไม่มีวันหยุดด้วยแรงศรัทธา ไม่ย่อมพ่ายแพ้ต่อโชคชะตา ทำให้น้องๆ ผู้พิการ และอาสาสมัครรอบข้าง มีขวัญและกำลังใจ ช่วยกันก่อร่างสร้างตัวจนเป็นมูลนิธิที่ค่อยๆเจริญเติบโตอย่างมั่นคง แม้วันนี้จะยังไม่มั่นคงเพียงพอแต่ได้ต่อเติมฝันและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่มีโอกาสเข้ามาศึกษาดูงานและฝึกอบรม หรือแม้แต่ผู้ที่เข้ามาทักทายทำความรู้จักกับนายระธี ไชยพรพัฒนา และน้องๆ ผู้พิการ ที่ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ นอกจากทำหน้าที่เป็น นักสังคมสงเคราะห์ นักพัฒนา เป็น ผู้บริหาร นายระธียังเป็นอาจารย์ที่ถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ให้กับพระนิสิตนัก ศึกษาหลายสถาบัน ได้สร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจในงานเพื่อผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาสในสังคม รวมทั้งการผลักดันในหลายพื้นที่ หลากองค์กรหันมาสนใจการทำเกษตรกรรรมธรรมชาติ ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อชีวิตที่เพียงพอและมีความสุขอย่างแท้จริง ด้วยมองเห็นว่านี้คือ ทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้มีชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะผู้คนในชุมชน และในถิ่นทุรกันดาร ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บนถนนสายแสงตะวันของนายระธี และน้องๆ ผู้พิการ มิได้ราบเรียบโรยด้วยกลีบกุหลาบ ถึงแม้จะเป็นถนนที่เป็นดินโคลน ลูกรัง มีหนามแหลมเป็นอุปสรรคขัดขวาง มิให้เขาและน้องๆ ผู้พิการเดินไปได้โดยสะดวก แต่ด้วยจิตวิญญาณที่ศรัทธาในการทำเพื่อผู้ยากไร้ ด้วยแรงบันดาลใจที่มีความใฝ่ฝันตามอุดมการณ์กับความยากลำบากเลือดตาแทบกระเด็น บททดสอบนี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กสำหรับนายระธี และน้องๆ ผู้พิการ เพราะนี่มิใช่อุปสรรค แต่เป็นแรงกระตุ้นให้ก้าวเดินต่อไป นี่คือคนอีกคนหนึ่งกับกลุ่มพิการที่สร้างงาน สร้างกำลังใจ สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนอย่างไม่มีวันเหน็ดเหนื่อย และยอมจำนนต่อชะตากรรม พวกเขาสู้สุดใจไปด้วยกัน ร่วมแรงร่วมใจ รวมกายเป็นหนึ่ง มุ่งสู่การทำความดีเพื่อแผ่นดินนี้ ตามความฝันและอุดมการณ์ที่มี ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.phpnewsid=TUROd2NtOHdNekEwTVRFMU5nPT0=§ionid=TURNeE13PT0=&day=TWpBeE15MHhNUzB3TkE9PQ== ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 พ.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)