ภาวะตาบอดในเด็กไทย

แสดงความคิดเห็น

แพทย์ รพ.เด็ก แนะ “ภาวะตาบอดในเด็กไทย” ปัญหาใหญ่ที่ต้องดูแล ระบุทารกคลอดก่อนกำหนดควรได้รับการตรวจจอตาภายใน 4 - 6 สัปดาห์หลังคลอด

“ภาวะตาบอดในเด็ก” นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญในการลดทอนคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็กไทย ซึ่งนอกจะเกิดผลเสียกับตัวเด็กแล้ว ยังส่งผลกระทบระยะยาวไปถึงการพัฒนาประเทศในอนาคตอีกด้วย ดังนั้นการควบคุมสภาวะตาบอดในเด็กจึงถือเป็นความสำคัญระดับต้นที่ทุกฝ่ายควรหันมาให้ความสำคัญ

นักเรียนคนพิการทางสายตา

พญ.ขวัญใจ วงศกิตติรักษ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า “ปัญหาตาบอดและสายตาพิการในเด็กนับอีกปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขของไทยอันดับต้นๆ โดยมี โรคจอตาในทารกคลอดก่อนกำหนด หรือ Retinopathy of Prematurity (ROP) เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งถึงร้อยละ 66 ซึ่งเกิดสาเหตุหลักคือการคลอดก่อนกำหนดหรือคลอดก่อน 37 สัปดาห์ และมีน้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม ที่ทารกจะมีการพัฒนาของเส้นเลือดในจอตาไม่สมบูรณ์ เมื่อออกมาเจออากาศภายนอกที่มีออกซิเจนมากจะทำให้เส้นเลือดมีพัฒนาการเติบโตแบบผิดปกติจนกลายเป็นเส้นเลือดงอกใหม่ ซึ่งไม่มีความแข็งแรงเท่าเส้นเลือดปกติ ทำให้เส้นเลือดในตาแตกง่ายจนอาจเกิดพังผืดไปดึงรั้งจอตาให้หลุดออกมาจนเกิดสภาวะตาบอดได้

ทั้งนี้ แนวทางในการรักษาขึ้นอยู่กับระยะเวลาการตรวจพบโรค โดยในประเทศไทยจากการประมาณการพบว่ามีผู้ป่วยเด็กโรคดังกล่าวประมาณ 3,000 คนต่อปีจำเป็นต้องรักษาด้วยเลเซอร์ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเด็กเหล่านี้เข้าถึงการรักษาเพียง 350 - 400 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 12 จากทุกโรงพยาบาลในประเทศไทย และอีกกว่า 2,500 คน ไม่ได้รับการรักษา ซึ่งถ้าประมาณการจากจำนวนผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาโรคดังกล่าวทั้งหมด คาดว่ามีทารกคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม ได้รับการตรวจคัดกรองโรคดังกล่าวเพียง 1,600 คน หรือคิดเป็นเพียง 16% ของเด็กคลอดก่อนกำหนดและมีน้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม เท่านั้น และอีกสาเหตุ คือ ภาวะตามัวที่เกิดจากภาวะสายตาผิดปกติที่ไม่ได้รับการแก้ไขคิดเป็นร้อยละ33

ดังนั้นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อลดอัตราการตาบอดในเด็ก ต้องมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนเพื่อให้เด็กทุกคนที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคจอตา ในทารกคลอดก่อนกำหนดได้รับการตรวจจอตาภายใน 4 - 6 สัปดาห์หลังคลอดและผลักดันให้ทุกคนเข้าถึงการรักษาอย่างทั่วถึง อีกทั้งยังต้องพัฒนาให้เกิดเครือข่ายของศูนย์การแพทย์ที่สามารถให้การวินิจฉัยและรักษาโรคจอตาในทารกคลอดก่อนกำหนดและพัฒนาให้เกิดศูนย์โรคตาในเด็กระดับตติยภูมิ (รูปแบบของบริการดูแลสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสถานพยาบาลที่มีบุคลากรและสิ่งอำนวยความสะดวกในเรื่องการวินิจฉัยและบำบัดรักษาขั้นสูง) เพื่อเป็นที่รับปรึกษาในการวินิจฉัยและให้การรักษาโรคจอตาในรายที่เกินขีดความสามารถของศูนย์ในระดับภูมิภาค โดยจะให้บริการทั้งด้านการผ่าตัดรักษาโรคตาที่ซับซ้อน การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการเห็นและการบริการเครื่องช่วยสายตาเลือนราง

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ. เด็ก) มีความตั้งใจที่จะสร้างระบบ “ROP Network” ในการส่งต่อภาพวินิจฉัยโรคจอตาจากหน่วยบริการในภูมิภาค โดยให้จักษุแพทย์ในพื้นที่ถ่ายรูปจอตาของผู้ป่วยด้วยกล้องถ่ายจอตาแล้วจัดส่งเข้าสู่สถาบันฯ ผ่านทางระบบ “Telemed” ได้ทันที ทำให้จักษุแพทย์ในพื้นที่สามารถวินิจฉัยโรคในระยะไกลและให้การรักษาด้วยเลเซอร์ได้ทันเวลาภายใน 72 ชั่วโมง ทำให้ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยในการเดินทางเข้ามาตรวจคัดกรองโรคในสถาบันฯ”

โดยล่าสุด พญ.ขวัญใจ วงศกิตติรักษ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้เป็นตัวแทนจากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี พร้อมด้วยทีมแพทย์และพยาบาลเข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงานวิชาการ เรื่อง “การป้องกันสภาวะตาบอดในเด็กในประเทศไทย (Preventing Childhood Blindness in Thailand” ในงานประชุมวิชาการด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ครั้งที่ 8 (The 8th Kure International Medical Forum (K-INT) in 2015) ณ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการจัดประชุมเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมจากนานาประเทศได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์การดูแลรักษาผู้ป่วยหรือการจัดการกับปัญหาสุขภาพอย่างเป็นทีม(Team Approach) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการดูแลสุขภาพ อันจะส่งผลดีต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาคมอาเซียนโดยรวม

ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/670408 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ต.ค.58
วันที่โพสต์: 21/10/2558 เวลา 11:16:06 ดูภาพสไลด์โชว์ ภาวะตาบอดในเด็กไทย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

แพทย์ รพ.เด็ก แนะ “ภาวะตาบอดในเด็กไทย” ปัญหาใหญ่ที่ต้องดูแล ระบุทารกคลอดก่อนกำหนดควรได้รับการตรวจจอตาภายใน 4 - 6 สัปดาห์หลังคลอด “ภาวะตาบอดในเด็ก” นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญในการลดทอนคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็กไทย ซึ่งนอกจะเกิดผลเสียกับตัวเด็กแล้ว ยังส่งผลกระทบระยะยาวไปถึงการพัฒนาประเทศในอนาคตอีกด้วย ดังนั้นการควบคุมสภาวะตาบอดในเด็กจึงถือเป็นความสำคัญระดับต้นที่ทุกฝ่ายควรหันมาให้ความสำคัญ นักเรียนคนพิการทางสายตา พญ.ขวัญใจ วงศกิตติรักษ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า “ปัญหาตาบอดและสายตาพิการในเด็กนับอีกปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขของไทยอันดับต้นๆ โดยมี โรคจอตาในทารกคลอดก่อนกำหนด หรือ Retinopathy of Prematurity (ROP) เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งถึงร้อยละ 66 ซึ่งเกิดสาเหตุหลักคือการคลอดก่อนกำหนดหรือคลอดก่อน 37 สัปดาห์ และมีน้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม ที่ทารกจะมีการพัฒนาของเส้นเลือดในจอตาไม่สมบูรณ์ เมื่อออกมาเจออากาศภายนอกที่มีออกซิเจนมากจะทำให้เส้นเลือดมีพัฒนาการเติบโตแบบผิดปกติจนกลายเป็นเส้นเลือดงอกใหม่ ซึ่งไม่มีความแข็งแรงเท่าเส้นเลือดปกติ ทำให้เส้นเลือดในตาแตกง่ายจนอาจเกิดพังผืดไปดึงรั้งจอตาให้หลุดออกมาจนเกิดสภาวะตาบอดได้ ทั้งนี้ แนวทางในการรักษาขึ้นอยู่กับระยะเวลาการตรวจพบโรค โดยในประเทศไทยจากการประมาณการพบว่ามีผู้ป่วยเด็กโรคดังกล่าวประมาณ 3,000 คนต่อปีจำเป็นต้องรักษาด้วยเลเซอร์ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเด็กเหล่านี้เข้าถึงการรักษาเพียง 350 - 400 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 12 จากทุกโรงพยาบาลในประเทศไทย และอีกกว่า 2,500 คน ไม่ได้รับการรักษา ซึ่งถ้าประมาณการจากจำนวนผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาโรคดังกล่าวทั้งหมด คาดว่ามีทารกคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม ได้รับการตรวจคัดกรองโรคดังกล่าวเพียง 1,600 คน หรือคิดเป็นเพียง 16% ของเด็กคลอดก่อนกำหนดและมีน้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม เท่านั้น และอีกสาเหตุ คือ ภาวะตามัวที่เกิดจากภาวะสายตาผิดปกติที่ไม่ได้รับการแก้ไขคิดเป็นร้อยละ33 ดังนั้นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อลดอัตราการตาบอดในเด็ก ต้องมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนเพื่อให้เด็กทุกคนที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคจอตา ในทารกคลอดก่อนกำหนดได้รับการตรวจจอตาภายใน 4 - 6 สัปดาห์หลังคลอดและผลักดันให้ทุกคนเข้าถึงการรักษาอย่างทั่วถึง อีกทั้งยังต้องพัฒนาให้เกิดเครือข่ายของศูนย์การแพทย์ที่สามารถให้การวินิจฉัยและรักษาโรคจอตาในทารกคลอดก่อนกำหนดและพัฒนาให้เกิดศูนย์โรคตาในเด็กระดับตติยภูมิ (รูปแบบของบริการดูแลสุขภาพ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสถานพยาบาลที่มีบุคลากรและสิ่งอำนวยความสะดวกในเรื่องการวินิจฉัยและบำบัดรักษาขั้นสูง) เพื่อเป็นที่รับปรึกษาในการวินิจฉัยและให้การรักษาโรคจอตาในรายที่เกินขีดความสามารถของศูนย์ในระดับภูมิภาค โดยจะให้บริการทั้งด้านการผ่าตัดรักษาโรคตาที่ซับซ้อน การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการเห็นและการบริการเครื่องช่วยสายตาเลือนราง สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ. เด็ก) มีความตั้งใจที่จะสร้างระบบ “ROP Network” ในการส่งต่อภาพวินิจฉัยโรคจอตาจากหน่วยบริการในภูมิภาค โดยให้จักษุแพทย์ในพื้นที่ถ่ายรูปจอตาของผู้ป่วยด้วยกล้องถ่ายจอตาแล้วจัดส่งเข้าสู่สถาบันฯ ผ่านทางระบบ “Telemed” ได้ทันที ทำให้จักษุแพทย์ในพื้นที่สามารถวินิจฉัยโรคในระยะไกลและให้การรักษาด้วยเลเซอร์ได้ทันเวลาภายใน 72 ชั่วโมง ทำให้ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยในการเดินทางเข้ามาตรวจคัดกรองโรคในสถาบันฯ” โดยล่าสุด พญ.ขวัญใจ วงศกิตติรักษ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้เป็นตัวแทนจากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี พร้อมด้วยทีมแพทย์และพยาบาลเข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงานวิชาการ เรื่อง “การป้องกันสภาวะตาบอดในเด็กในประเทศไทย (Preventing Childhood Blindness in Thailand” ในงานประชุมวิชาการด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ครั้งที่ 8 (The 8th Kure International Medical Forum (K-INT) in 2015) ณ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการจัดประชุมเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมจากนานาประเทศได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์การดูแลรักษาผู้ป่วยหรือการจัดการกับปัญหาสุขภาพอย่างเป็นทีม(Team Approach) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการดูแลสุขภาพ อันจะส่งผลดีต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาคมอาเซียนโดยรวม ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/670408

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...