โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ตอนที่ 2

แสดงความคิดเห็น

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ตอนที่ 2

ฉบับที่แล้ว นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งพบได้ในทารกแรกเกิด รวมทั้งปัจจัยการเกิดที่อาจทำให้อาการแสดงออกมาได้ มาติดตามกันต่อว่า โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนั้นมีอาการแสดงออกมาตอนเด็กโตอย่างไร มีชนิดใดบ้าง และจะวางแผนการรักษาได้อย่างไร

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในทารก อาจมีอาการแสดงได้ เช่น หายใจเร็ว เหนื่อยขณะดูดนม ดูดนมได้น้อย น้ำหนักขึ้นน้อยเพราะดื่มนมได้น้อย มีอาการเขียวเมื่อดูดนมหรือร้องไห้ กลั้นนิ่งและเขียวไป เด็กทารกที่คลอดออกมาแล้วมีหัวใจพิการแต่กำเนิดที่อาจจะไม่มีอาการเมื่อแรกคลอด เมื่อเด็กโตขึ้น อาจมีความผิดปกติของหัวใจที่เป็นมากขึ้นและแสดงอาการในภายหลังได้ โดยสามารถสังเกตอาการแสดงเมื่อเด็กโตขึ้นได้ เช่น มีอาการเหนื่อยเมื่อออกกำลังกาย เป็นลมหมดสติ หัวใจเต้นแรง มีอาการเจ็บหน้าอก และนิ้วปุ้มเขียวทั้งมือและเท้า หรือปุ้มเขียวที่มือหรือที่เท้าเพียงอย่างเดียว

ดังนั้น เมื่อเด็กทารกหรือเด็กโตมีอาการดังกล่าวแล้ว ให้มาพบแพทย์ หากได้รับการตรวจจากแพทย์ อาจได้ยินเสียงหัวใจผิดปกติ เช่น มีเสียงฟู่ในหัวใจได้ นอกจากนี้ยังอาจมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ได้แก่ การถ่ายภาพรังสีทรวงอก การทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ ซึ่งส่วนใหญ่สามารถวินิจฉัยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดโดยการตรวจดังกล่าวนี้ได้

ในบางกรณีที่โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดแบบซับซ้อน ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือการถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ข้อมูลที่ได้จะนำไปสู่การวางแผนรักษาผู้ป่วยต่อไป คำถามที่มักจะพบได้มากคือ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีแบบใดบ้าง ถ้าแบ่งให้ง่ายก็แบ่งเป็น โรคหัวใจพิการแบบเขียว กับ แบบไม่เขียว โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีทั้งแบบเขียว กับแบบไม่เขียว ก็มีทั้งชนิดที่เป็นน้อย ไปจนถึงชนิดที่เป็นแบบซับซ้อน

ดังนั้น การวางแผนรักษาก็จะขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ โรคหัวใจบางชนิด เช่น ผนังกั้นห้องหัวใจรั่วขนาดเล็ก ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการและรูรั่วนั้นอาจปิดตัวได้เอง ผู้ป่วยที่มีผนังกั้นห้องหัวใจขนาดใหญ่ อาจได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดหรือใช้อุปกรณ์ปิดผนังกั้นห้องหัวใจรั่วโดยผ่านสายสวนหัวใจได้ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ซับซ้อนโดยเฉพาะที่มีหัวใจห้องล่างเด่นอยู่ห้องเดียว ผู้ป่วยอาจได้รับการผ่าตัดอย่างน้อย 3 ครั้ง โดยครั้งแรกจะทำในช่วงทารกแรกคลอด (แรกเกิด ถึง 2 เดือน) ครั้งที่ 2 ทำช่วงทารกอายุ 4-12 เดือน และครั้งที่ 3 ทำเมื่อเด็กอายุตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป ช่วงอายุของการผ่าตัดขึ้นอยู่กับโครงสร้างของหัวใจที่ผิดปกติ รวมทั้งอาการที่แสดงออก และขนาดน้ำหนักตัวของเด็กด้วย จะเห็นได้ว่า โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนั้น มีหลากหลายชนิด ผู้ป่วยเด็กบางรายอาจไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย บางรายหายได้เอง บางรายต้องได้รับการผ่าตัดครั้งเดียว แต่ในกรณีที่หัวใจผิดปกติซ้ำซ้อนอาจต้องได้รับการผ่าตัดเป็นขั้นตอน ซึ่งอาจผ่าตัดมากกว่า 1 ครั้ง

ด้วยการรักษาโดยมาตรฐานทางการแพทย์ของไทยในปัจจุบันค่อนข้างก้าวหน้า สามารถรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้แทบทุกโรค จึงแนะนำให้ผู้ปกครองที่สงสัยว่าบุตรจะมีโรคหัวใจ มาตรวจคัดกรองกับแพทย์โรคหัวใจเด็ก เนื่องจากประสิทธิภาพในการรักษานั้นดีขึ้น ผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีอายุยืนยาวขึ้น และผู้ป่วยต้องการการติดตามการรักษาในระยะยาวต่อเนื่องจากวัยเด็กสู่วัยรุ่น จนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ จึงจำเป็นที่แพทย์ควรให้การดูแลแบบครอบคลุมทั้งโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดและคุณภาพชีวิต เพื่อให้พวกเขาเติบโตขึ้นมาใช้ชีวิตในสังคมเหมือนหรือใกล้เคียงคนปกติมากที่สุด.

ศ.พญ.อลิสา ลิ้มสุวรรณ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล“

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/351702 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ต.ค.58
วันที่โพสต์: 5/10/2558 เวลา 13:01:01 ดูภาพสไลด์โชว์ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ตอนที่ 2

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ตอนที่ 2 ฉบับที่แล้ว นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งพบได้ในทารกแรกเกิด รวมทั้งปัจจัยการเกิดที่อาจทำให้อาการแสดงออกมาได้ มาติดตามกันต่อว่า โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนั้นมีอาการแสดงออกมาตอนเด็กโตอย่างไร มีชนิดใดบ้าง และจะวางแผนการรักษาได้อย่างไร โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในทารก อาจมีอาการแสดงได้ เช่น หายใจเร็ว เหนื่อยขณะดูดนม ดูดนมได้น้อย น้ำหนักขึ้นน้อยเพราะดื่มนมได้น้อย มีอาการเขียวเมื่อดูดนมหรือร้องไห้ กลั้นนิ่งและเขียวไป เด็กทารกที่คลอดออกมาแล้วมีหัวใจพิการแต่กำเนิดที่อาจจะไม่มีอาการเมื่อแรกคลอด เมื่อเด็กโตขึ้น อาจมีความผิดปกติของหัวใจที่เป็นมากขึ้นและแสดงอาการในภายหลังได้ โดยสามารถสังเกตอาการแสดงเมื่อเด็กโตขึ้นได้ เช่น มีอาการเหนื่อยเมื่อออกกำลังกาย เป็นลมหมดสติ หัวใจเต้นแรง มีอาการเจ็บหน้าอก และนิ้วปุ้มเขียวทั้งมือและเท้า หรือปุ้มเขียวที่มือหรือที่เท้าเพียงอย่างเดียว ดังนั้น เมื่อเด็กทารกหรือเด็กโตมีอาการดังกล่าวแล้ว ให้มาพบแพทย์ หากได้รับการตรวจจากแพทย์ อาจได้ยินเสียงหัวใจผิดปกติ เช่น มีเสียงฟู่ในหัวใจได้ นอกจากนี้ยังอาจมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ได้แก่ การถ่ายภาพรังสีทรวงอก การทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ ซึ่งส่วนใหญ่สามารถวินิจฉัยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดโดยการตรวจดังกล่าวนี้ได้ ในบางกรณีที่โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดแบบซับซ้อน ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือการถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ข้อมูลที่ได้จะนำไปสู่การวางแผนรักษาผู้ป่วยต่อไป คำถามที่มักจะพบได้มากคือ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีแบบใดบ้าง ถ้าแบ่งให้ง่ายก็แบ่งเป็น โรคหัวใจพิการแบบเขียว กับ แบบไม่เขียว โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีทั้งแบบเขียว กับแบบไม่เขียว ก็มีทั้งชนิดที่เป็นน้อย ไปจนถึงชนิดที่เป็นแบบซับซ้อน ดังนั้น การวางแผนรักษาก็จะขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ โรคหัวใจบางชนิด เช่น ผนังกั้นห้องหัวใจรั่วขนาดเล็ก ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการและรูรั่วนั้นอาจปิดตัวได้เอง ผู้ป่วยที่มีผนังกั้นห้องหัวใจขนาดใหญ่ อาจได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดหรือใช้อุปกรณ์ปิดผนังกั้นห้องหัวใจรั่วโดยผ่านสายสวนหัวใจได้ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ซับซ้อนโดยเฉพาะที่มีหัวใจห้องล่างเด่นอยู่ห้องเดียว ผู้ป่วยอาจได้รับการผ่าตัดอย่างน้อย 3 ครั้ง โดยครั้งแรกจะทำในช่วงทารกแรกคลอด (แรกเกิด ถึง 2 เดือน) ครั้งที่ 2 ทำช่วงทารกอายุ 4-12 เดือน และครั้งที่ 3 ทำเมื่อเด็กอายุตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป ช่วงอายุของการผ่าตัดขึ้นอยู่กับโครงสร้างของหัวใจที่ผิดปกติ รวมทั้งอาการที่แสดงออก และขนาดน้ำหนักตัวของเด็กด้วย จะเห็นได้ว่า โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนั้น มีหลากหลายชนิด ผู้ป่วยเด็กบางรายอาจไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย บางรายหายได้เอง บางรายต้องได้รับการผ่าตัดครั้งเดียว แต่ในกรณีที่หัวใจผิดปกติซ้ำซ้อนอาจต้องได้รับการผ่าตัดเป็นขั้นตอน ซึ่งอาจผ่าตัดมากกว่า 1 ครั้ง ด้วยการรักษาโดยมาตรฐานทางการแพทย์ของไทยในปัจจุบันค่อนข้างก้าวหน้า สามารถรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้แทบทุกโรค จึงแนะนำให้ผู้ปกครองที่สงสัยว่าบุตรจะมีโรคหัวใจ มาตรวจคัดกรองกับแพทย์โรคหัวใจเด็ก เนื่องจากประสิทธิภาพในการรักษานั้นดีขึ้น ผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีอายุยืนยาวขึ้น และผู้ป่วยต้องการการติดตามการรักษาในระยะยาวต่อเนื่องจากวัยเด็กสู่วัยรุ่น จนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ จึงจำเป็นที่แพทย์ควรให้การดูแลแบบครอบคลุมทั้งโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดและคุณภาพชีวิต เพื่อให้พวกเขาเติบโตขึ้นมาใช้ชีวิตในสังคมเหมือนหรือใกล้เคียงคนปกติมากที่สุด. ศ.พญ.อลิสา ลิ้มสุวรรณ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล“ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/351702

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...