โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดตอนที่1

แสดงความคิดเห็น

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คือความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจที่เกิดขึ้นระหว่างการพัฒนาของหัวใจ ขณะทารกอยู่ในครรภ์มารดา โดยความผิดปกตินี้จะมีผลต่อการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียนเลือดในร่างกาย บ่อยครั้งที่ผู้ปกครองที่มีบุตรเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด มักจะโทษตัวเองว่าทำอะไรผิดไป ซึ่งส่วนมากแล้วไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด มีคนไข้บางส่วนเป็นเด็กที่มีความผิดปกติของสารพันธุกรรมหรือโครโมโซม ทำให้มีโอกาสเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้มากกว่าเด็กปกติทั่วไป

ภาพประกอบข่าว โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดตอนที่1

นอกจากนี้ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดบางชนิดถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ในทางการแพทย์ พบว่าปัจจัยเสี่ยงระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น มารดาดื่มสุราหรือทานยาบางชนิด หรือมีไข้ออกผื่นเป็นหัดเยอรมัน ก็มีความเสี่ยงต่อการเพิ่มโอกาสให้ทารกในครรภ์เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้ อุบัติการณ์ที่พบเกี่ยวกับโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด สามารถพบได้ราว 8-10 คนในทารกแรกเกิดที่มีชีพ 1,000 คน หรือทารกแรกเกิดราว 6,000 คนต่อปี และประมาณเกือบครึ่งของทารกเหล่านี้จะมีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจที่ซับซ้อน ทำให้จำเป็นต้องได้รับการรักษาเฉพาะและติดตามผลต่อเนื่องในระยะยาว

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดสามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา ในประเทศไทยหญิงมีครรภ์ที่ฝากครรภ์จะได้รับการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหรืออัลตราซาวด์ เพื่อตรวจสุขภาพและความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์มารดา ซึ่งสูติแพทย์จะทำการตรวจคัดกรองหัวใจเบื้องต้น หากพบความผิดปกติของหัวใจ ก็จะส่งต่อกุมารแพทย์โรคหัวใจเด็กหรือสูติแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกที่เชี่ยวชาญการตรวจหัวใจของทารกในครรภ์

อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์นั้น ยังมีข้อจำกัดในเรื่องอายุครรภ์ ขนาดของทารก และโครงสร้างของหัวใจที่ผิดปกติ ทั้งนี้ในบางภาวะอาจมีการเปลี่ยน แปลงโครงสร้างที่ผิดปกติเมื่อทารกในครรภ์โตขึ้น จึงต้องมีการตรวจเป็นระยะ ทำการประเมินความผิดปกติของโครงสร้างของหัวใจและวางแผนการคลอดของทารก เด็กทารกที่คลอดออกมาแล้วมีหัวใจพิการแต่กำเนิด อาจจะไม่มีอาการเมื่อแรกคลอด ซึ่งอาการผิดปกติของโรคหัวใจพิการในทารกแรกเกิด จะขึ้นอยู่ความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ หากมีความผิดปกติน้อย เช่น ผนังกั้นหัวใจรั่วขนาดเล็ก ก็อาจไม่มีอาการแสดง ใด ๆ เลย แต่หากมีผนังกั้นห้องหัวใจรั่วขนาดใหญ่มีเลือดไปปอดมาก ก็อาจมีอาการของภาวะหัวใจวายได้

นอกจากนี้ในทารกบางรายที่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจทำให้เลือดไปเลี้ยงที่ปอดน้อยหรือมีเลือดดำเลือดแดงผสมกันก็จะมีภาวะเขียวเกิดขึ้นได้ ทารกมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอาจมีอาการแสดงได้ ดังนี้ 1. หายใจเร็ว เหนื่อยขณะดูดนม ดูดนมได้น้อย 2. น้ำหนักขึ้นน้อยเพราะดื่มนมได้น้อย 3. มีอาการเขียวเมื่อดูดนมหรือร้องไห้ 4. เขียวที่ริมฝีปาก ที่มือและเท้า 5. กลั้นนิ่งและเขียวไป 6. ตับโต ฉบับหน้ามาติดตามกันต่อเกี่ยวกับชนิดและการวางแผนการรักษาทารกที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด. ศ.พญ.อลิสา ลิ้มสุวรรณ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/350286 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ก.ย.58
วันที่โพสต์: 28/09/2558 เวลา 11:34:15 ดูภาพสไลด์โชว์ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดตอนที่1

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คือความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจที่เกิดขึ้นระหว่างการพัฒนาของหัวใจ ขณะทารกอยู่ในครรภ์มารดา โดยความผิดปกตินี้จะมีผลต่อการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียนเลือดในร่างกาย บ่อยครั้งที่ผู้ปกครองที่มีบุตรเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด มักจะโทษตัวเองว่าทำอะไรผิดไป ซึ่งส่วนมากแล้วไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด มีคนไข้บางส่วนเป็นเด็กที่มีความผิดปกติของสารพันธุกรรมหรือโครโมโซม ทำให้มีโอกาสเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้มากกว่าเด็กปกติทั่วไป ภาพประกอบข่าว โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดตอนที่1 นอกจากนี้ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดบางชนิดถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ในทางการแพทย์ พบว่าปัจจัยเสี่ยงระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น มารดาดื่มสุราหรือทานยาบางชนิด หรือมีไข้ออกผื่นเป็นหัดเยอรมัน ก็มีความเสี่ยงต่อการเพิ่มโอกาสให้ทารกในครรภ์เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้ อุบัติการณ์ที่พบเกี่ยวกับโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด สามารถพบได้ราว 8-10 คนในทารกแรกเกิดที่มีชีพ 1,000 คน หรือทารกแรกเกิดราว 6,000 คนต่อปี และประมาณเกือบครึ่งของทารกเหล่านี้จะมีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจที่ซับซ้อน ทำให้จำเป็นต้องได้รับการรักษาเฉพาะและติดตามผลต่อเนื่องในระยะยาว โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดสามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา ในประเทศไทยหญิงมีครรภ์ที่ฝากครรภ์จะได้รับการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหรืออัลตราซาวด์ เพื่อตรวจสุขภาพและความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์มารดา ซึ่งสูติแพทย์จะทำการตรวจคัดกรองหัวใจเบื้องต้น หากพบความผิดปกติของหัวใจ ก็จะส่งต่อกุมารแพทย์โรคหัวใจเด็กหรือสูติแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกที่เชี่ยวชาญการตรวจหัวใจของทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์นั้น ยังมีข้อจำกัดในเรื่องอายุครรภ์ ขนาดของทารก และโครงสร้างของหัวใจที่ผิดปกติ ทั้งนี้ในบางภาวะอาจมีการเปลี่ยน แปลงโครงสร้างที่ผิดปกติเมื่อทารกในครรภ์โตขึ้น จึงต้องมีการตรวจเป็นระยะ ทำการประเมินความผิดปกติของโครงสร้างของหัวใจและวางแผนการคลอดของทารก เด็กทารกที่คลอดออกมาแล้วมีหัวใจพิการแต่กำเนิด อาจจะไม่มีอาการเมื่อแรกคลอด ซึ่งอาการผิดปกติของโรคหัวใจพิการในทารกแรกเกิด จะขึ้นอยู่ความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ หากมีความผิดปกติน้อย เช่น ผนังกั้นหัวใจรั่วขนาดเล็ก ก็อาจไม่มีอาการแสดง ใด ๆ เลย แต่หากมีผนังกั้นห้องหัวใจรั่วขนาดใหญ่มีเลือดไปปอดมาก ก็อาจมีอาการของภาวะหัวใจวายได้ นอกจากนี้ในทารกบางรายที่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจทำให้เลือดไปเลี้ยงที่ปอดน้อยหรือมีเลือดดำเลือดแดงผสมกันก็จะมีภาวะเขียวเกิดขึ้นได้ ทารกมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอาจมีอาการแสดงได้ ดังนี้ 1. หายใจเร็ว เหนื่อยขณะดูดนม ดูดนมได้น้อย 2. น้ำหนักขึ้นน้อยเพราะดื่มนมได้น้อย 3. มีอาการเขียวเมื่อดูดนมหรือร้องไห้ 4. เขียวที่ริมฝีปาก ที่มือและเท้า 5. กลั้นนิ่งและเขียวไป 6. ตับโต ฉบับหน้ามาติดตามกันต่อเกี่ยวกับชนิดและการวางแผนการรักษาทารกที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด. ศ.พญ.อลิสา ลิ้มสุวรรณ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/350286

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...