โรคภูมิแพ้ที่ตา

แสดงความคิดเห็น

ดวงตาหญิงสาว

โรคภูมิแพ้ที่ตา : ดูแลสุขภาพ โดยพญ.ณฐมน ศรีสำราญจักษุแพทย์เฉพาะทางอนุสาขาต้อหินประจำ รพ.เวิลด์เมดิคอลเซ็นเตอร์ (WMC)

โรคภูมิแพ้ที่ตา เป็นโรคที่พบบ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เนื่องจากตาเป็นอวัยวะที่มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ตลอดเวลา ร่วมกับปัจจัยเสริม คือ การมีเส้นเลือดไปเลี้ยงบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก จึงทำให้สามารถตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ได้ง่าย สาเหตุของโรคนี้เกิดจากการได้รับสารก่อภูมิแพ้ เช่น เกสรดอกไม้ ฝุ่นขนสัตว์ ยา ควันบุหรี่ ใยผ้า น้ำหอม เครื่องสำอาง

ในประเทศไทยพบว่า สารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อย ได้แก่ ไรฝุ่น แมลงสาบ เชื้อรา และละอองเกสรดอกไม้ สารก่อภูมิแพ้เหล่านี้จะละลายในน้ำตา และเข้าสู่เยื่อตา เนื้อเยื่อนี้มีบทบาทสำคัญในการสร้างสารต่อต้านสารก่อภูมิแพ้ในเวลาต่อมา จากการศึกษาความชุกของโรคภูมิแพ้โดยรวม พบว่า 30-40% ของประชากรโลก เป็นโรคภูมิแพ้อย่างน้อย 1 ชนิด โดยพบมากในกลุ่มคนอายุน้อย และมีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคเพิ่มขึ้นทุกปี ในผู้ใหญ่พบความชุกของโรคภูมิแพ้ที่ตาประมาณ 15-20% และอาจสูงถึง 40% ในบางการศึกษา ดังนั้น โรคภูมิแพ้ที่ตาจึงถือเป็นอีกหนึ่งโรคสำคัญที่ควรต้องระวัง และเอาใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง

อาการโดยทั่วไปที่มักนำผู้ป่วยมาพบแพทย์ ได้แก่ คันตา ขยี้ตา หรือกะพริบตาถี่ๆ และอาการสำคัญที่พบเมื่อสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ คือ คันตามาก อาการอื่นๆ ได้แก่ ตาแดง เคืองตา น้ำตาไหล เยื่อตาบวม มีขี้ตาเป็นเมือกสีขาว ตาพร่ามัวลง หนังตาตก โดยเปลือกตาอาจบวมหรือเป็นปกติก็ได้ อย่างไรก็ตาม กระจกตามักจะปกติ นอกจากนี้ อาจมีอาการทางจมูกร่วมด้วยได้ เช่น คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล และพบร่วมกับโรคภูมิแพ้ที่อื่นได้ เช่น โรคจมูกอักเสบ หอบหืดหรือผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อผู้ป่วยได้สัมผัสสิ่งที่ตนแพ้เท่านั้น ดังนั้นผู้ป่วยจึงมักมีอาการเป็นๆ หายๆ ตามช่วงเวลาที่ผู้ป่วยสัมผัสสิ่งนั้นๆ ในช่วงที่หายก็จะเป็นปกติและไม่มีอาการใดๆเลย

การรักษาที่สำคัญที่สุดคือ การบ่งชี้สารก่อภูมิแพ้ให้ได้ และพยายามหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ เช่น หมั่นทำความสะอาดที่นอนบ่อยๆ เพื่อลดโอกาสสัมผัสกับไรฝุ่น, ปิดฝาถังขยะให้มิดชิด เพื่อป้องกันแมลงสาบ และสวมแว่นตาที่ปกป้องดวงตาได้มิดชิด เพื่อลดโอกาสสัมผัสกับละอองเกสรดอกไม้และเชื้อรา เมื่อออกจากบ้าน ยารักษาที่อาจต้องใช้เมื่อมีอาการ มี 3 ชนิดหลักๆ ได้แก่ ยาต้านสาร Histamine (Antihistamine) อาจเป็นยาหยอดตา หรือรับประทานก็ได้, ยาระงับการหลั่งสารจาก Mast cell (Mast cell stabilizer) ที่ก่อให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ เป็นยาหยอดตา และสุดท้าย คือ ยาสเตียรอยด์ (Steroids) ชนิดหยอดตา ซึ่งให้ผลการรักษาที่ผลดีมาก แต่การใช้ในระยะยาว อาจมีผลข้างเคียง ทำให้เกิดโรคต้อหินและโรคต้อกระจกได้ ดังนั้นจึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของจักษุแพทย์เท่านั้น นอกจากนี้อาจใช้ยาชนิดอื่น เช่น น้ำตาเทียม (Artificial tears), ยาบีบหลอดเลือด (Vasoconstrictors) และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) ในการรักษาได้เช่นกัน

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140311/180587.html#.Ux62BM4yPlA (ขนาดไฟล์: 167)

คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 มี.ค.57

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 12/03/2557 เวลา 04:16:59 ดูภาพสไลด์โชว์ โรคภูมิแพ้ที่ตา

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ดวงตาหญิงสาว โรคภูมิแพ้ที่ตา : ดูแลสุขภาพ โดยพญ.ณฐมน ศรีสำราญจักษุแพทย์เฉพาะทางอนุสาขาต้อหินประจำ รพ.เวิลด์เมดิคอลเซ็นเตอร์ (WMC) โรคภูมิแพ้ที่ตา เป็นโรคที่พบบ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เนื่องจากตาเป็นอวัยวะที่มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ตลอดเวลา ร่วมกับปัจจัยเสริม คือ การมีเส้นเลือดไปเลี้ยงบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก จึงทำให้สามารถตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ได้ง่าย สาเหตุของโรคนี้เกิดจากการได้รับสารก่อภูมิแพ้ เช่น เกสรดอกไม้ ฝุ่นขนสัตว์ ยา ควันบุหรี่ ใยผ้า น้ำหอม เครื่องสำอาง ในประเทศไทยพบว่า สารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อย ได้แก่ ไรฝุ่น แมลงสาบ เชื้อรา และละอองเกสรดอกไม้ สารก่อภูมิแพ้เหล่านี้จะละลายในน้ำตา และเข้าสู่เยื่อตา เนื้อเยื่อนี้มีบทบาทสำคัญในการสร้างสารต่อต้านสารก่อภูมิแพ้ในเวลาต่อมา จากการศึกษาความชุกของโรคภูมิแพ้โดยรวม พบว่า 30-40% ของประชากรโลก เป็นโรคภูมิแพ้อย่างน้อย 1 ชนิด โดยพบมากในกลุ่มคนอายุน้อย และมีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคเพิ่มขึ้นทุกปี ในผู้ใหญ่พบความชุกของโรคภูมิแพ้ที่ตาประมาณ 15-20% และอาจสูงถึง 40% ในบางการศึกษา ดังนั้น โรคภูมิแพ้ที่ตาจึงถือเป็นอีกหนึ่งโรคสำคัญที่ควรต้องระวัง และเอาใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง อาการโดยทั่วไปที่มักนำผู้ป่วยมาพบแพทย์ ได้แก่ คันตา ขยี้ตา หรือกะพริบตาถี่ๆ และอาการสำคัญที่พบเมื่อสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ คือ คันตามาก อาการอื่นๆ ได้แก่ ตาแดง เคืองตา น้ำตาไหล เยื่อตาบวม มีขี้ตาเป็นเมือกสีขาว ตาพร่ามัวลง หนังตาตก โดยเปลือกตาอาจบวมหรือเป็นปกติก็ได้ อย่างไรก็ตาม กระจกตามักจะปกติ นอกจากนี้ อาจมีอาการทางจมูกร่วมด้วยได้ เช่น คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล และพบร่วมกับโรคภูมิแพ้ที่อื่นได้ เช่น โรคจมูกอักเสบ หอบหืดหรือผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อผู้ป่วยได้สัมผัสสิ่งที่ตนแพ้เท่านั้น ดังนั้นผู้ป่วยจึงมักมีอาการเป็นๆ หายๆ ตามช่วงเวลาที่ผู้ป่วยสัมผัสสิ่งนั้นๆ ในช่วงที่หายก็จะเป็นปกติและไม่มีอาการใดๆเลย การรักษาที่สำคัญที่สุดคือ การบ่งชี้สารก่อภูมิแพ้ให้ได้ และพยายามหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ เช่น หมั่นทำความสะอาดที่นอนบ่อยๆ เพื่อลดโอกาสสัมผัสกับไรฝุ่น, ปิดฝาถังขยะให้มิดชิด เพื่อป้องกันแมลงสาบ และสวมแว่นตาที่ปกป้องดวงตาได้มิดชิด เพื่อลดโอกาสสัมผัสกับละอองเกสรดอกไม้และเชื้อรา เมื่อออกจากบ้าน ยารักษาที่อาจต้องใช้เมื่อมีอาการ มี 3 ชนิดหลักๆ ได้แก่ ยาต้านสาร Histamine (Antihistamine) อาจเป็นยาหยอดตา หรือรับประทานก็ได้, ยาระงับการหลั่งสารจาก Mast cell (Mast cell stabilizer) ที่ก่อให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ เป็นยาหยอดตา และสุดท้าย คือ ยาสเตียรอยด์ (Steroids) ชนิดหยอดตา ซึ่งให้ผลการรักษาที่ผลดีมาก แต่การใช้ในระยะยาว อาจมีผลข้างเคียง ทำให้เกิดโรคต้อหินและโรคต้อกระจกได้ ดังนั้นจึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของจักษุแพทย์เท่านั้น นอกจากนี้อาจใช้ยาชนิดอื่น เช่น น้ำตาเทียม (Artificial tears), ยาบีบหลอดเลือด (Vasoconstrictors) และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) ในการรักษาได้เช่นกัน ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140311/180587.html#.Ux62BM4yPlA คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...