‘ดูแลผู้สูงวัยแบบองค์รวมกายและใจ’ ตอนที่ 1 - ชีวิตและสุขภาพ

แสดงความคิดเห็น

ผู้สูงอายุ

คนเราทุกคนล้วนอยากมีสุขภาพที่แข็งแรง เพราะการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นย่อมไม่เพียงแต่สร้างความทุกข์ให้กับตัวผู้ป่วย เองเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อผู้ใกล้ชิดหรือบุคคลรอบข้างอีกด้วย โรคภัยไข้เจ็บย่อมมาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องดูแลหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย อาจหลีกเลี่ยงความเครียดได้ยาก โดยเฉพาะในผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังหรือโรคที่มีอาการรุนแรง ผมจะเสนอแนะเคล็ดลับง่าย ๆ 3 ประการ ในการสร้างกำลังใจต่อตนเอง ให้สามารถปรับตัวรับความเครียดที่เกิดขึ้น เพื่อดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยได้ดียิ่งขึ้นนะครับ

อัตราของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมีสูงถึงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ และ 2 ใน 3 ของผู้สูงอายุกลุ่มนี้ จะมีโรคประจำตัวตั้งแต่ 2 โรคขึ้นไป จากการสำรวจพบว่า โรคเรื้อรังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ 9 อันดับแรก (Oxford Journal, Volume 35, Issue 6) ได้แก่ 1. กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Diseases : CVD) ร้อยละ 72 ของผู้สูงอายุ ได้แก่ ก. โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic Heart Disease: IHD) ข. โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) ค. โรคคอเลสเตอรอลในเลือดสูง (Hypercholesterolemia)ง. โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) 2. กลุ่มโรคทางระบบประสาทและจิตเวช (Central Nervous System and Psychiatry) ร้อยละ 37 ของผู้สูงอายุ ได้แก่ ก. โรคเครียดและโรคซึมเศร้า (An-xiety and Depression) ข. โรคสมองเสื่อม (Dementia) ค. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก (Cerebrovascular Accident: CVA) ง. โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Di-sease) จ. โรคลมชัก (Epilepsy) 3.กลุ่มโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ (Musculo-skeleton Disease) ร้อยละ 28 ของผู้สูงอายุ ได้แก่ ก. โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid) ข. โรคเข่าเสื่อม/โรคข้อเสื่อม/กระดูกผุ (Osteoporosis, Osteoarthritis) ค. โรคเกาต์ (Gout) 4. กลุ่มโรคระบบทางเดินอาหารส่วนต้น (Upper GI Conditions) ร้อยละ 24 ของผู้สูงอายุ 5. กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Conditions) ร้อยละ 14 ของผู้สูงอายุ 6. โรคเบาหวาน (Diabetes) ร้อยละ 8 ของผู้สูงอายุ 7. โรคไทรอยด์ (Thyroid Disease) ร้อยละ 7 ของผู้สูงอายุ 8. โรคต้อหิน (Glaucoma) ร้อยละ 5 ของผู้สูงอายุ 9. กลุ่มโรคมะเร็ง (Cancers) ร้อยละ 4 ของผู้สูงอายุ จากกลุ่มโรคทั้งหมด เราสามารถจัดกลุ่มผู้สูงอายุตามระดับสุขภาพ และความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน ได้เป็น 3 กลุ่ม ซึ่งต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. กลุ่มติดสังคม ได้แก่ ผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ดี อาจสามารถช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมได้ด้วย 2. กลุ่มติดบ้าน ได้แก่ ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้บ้าง จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือบางอย่าง เช่น ไม่สามารถเดินตามลำพังบนทางเรียบได้ ต้องให้คนพยุงหรือใช้อุปกรณ์ช่วย ต้องการความช่วยเหลือในขณะรับประทานอาหาร อาจทำโต๊ะเปื้อน หรือต้องการความช่วยเหลือในการพาไปห้องสุขาเพื่อขับถ่าย เป็นต้น 3. กลุ่มติดเตียง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่ป่วยหรือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เช่น ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตนเองได้เพียงลำพัง กลืนลำบากแม้ผู้ดูแลจะป้อนอาหารให้ หรือจำเป็นต้องได้รับอาหารผ่านช่องทางอื่น เช่น สายต่อจมูกสู่กระเพาะอาหารโดยตรง ต้องขับถ่ายในท่านอนหรืออยู่บนเตียง หรือต้องสวมใส่ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ตลอด เป็นต้น

เมื่อคุณต้องดูแลผู้ป่วยสูงวัยเหล่านี้ - หลายคนที่เคยดูแลผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการเฉพาะกิจหรือถาวร ย่อมมีความเครียดในระดับที่แตกต่างกันตามความต้องการความช่วยเหลือของผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม ผู้สูงอายุที่ติดเตียงมักต้องการการดูแลช่วยเหลืออย่างมากจนอาจทำให้ผู้ดูแล รู้สึกเหนื่อยล้า ทั้งจากการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอและปัญหาพฤติกรรมของผู้ป่วย จนอาจกลายเป็นความตึงเครียด มีความวิตกกังวลหรือมีภาวะซึมเศร้าตามมาได้ โดยอาจแสดงออกในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น นอนไม่หลับ หงุดหงิดฉุนเฉียว หลงลืมง่าย รู้สึกกระวนกระวายหรือกระสับกระส่าย ปวดศีรษะหรือ ปวดตามตัว มีอาการทางร่างกายอื่น ๆ เช่น เหงื่อออก ใจสั่น แน่นหน้าอก ท้องไส้ปั่นป่วน ฯลฯ เบื่ออาหาร (หรืออาจจะรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นโดยควบคุมไม่ได้) หากเป็นรุนแรงอาจมีความรู้สึกเบื่อ เซ็ง ท้อแท้สิ้นหวัง รู้สึกไร้ค่า ไม่อยากทำอะไรหรือรู้สึกไม่สนุกกับกิจกรรมที่เคยทำให้เพลิดเพลิน

ความเครียดในการดูแลผู้ป่วยสูงวัยเกิดจากหลายสาเหตุครับ เช่น ความรุนแรงของโรคที่ผู้ป่วยเป็น ทำให้จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่ยุ่งยากซับซ้อน ปัญหาพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้ป่วย เช่น เอาแต่ใจตนเอง ไม่ยอมนอนหรือวุ่นวายในตอนกลางคืน ปัญหาที่เกิดจากความไม่เข้าใจในการดำเนินโรคและพยากรณ์โรคที่ชัดเจน ทำให้ญาติหรือผู้ดูแลมีความกังวลในการดูแลที่ถูกต้องเหมาะสม และการวางแผนดูแล ผู้ป่วยในระยะยาว เป็นต้น ซึ่งความเครียดจากปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้จะลดน้อยลง หากผู้ดูแลปฏิบัติตามข้อแนะนำง่าย ๆ นี้ “รู้ให้จริง นิ่งให้มาก ยิ่งยาก...ยิ่งท้าทาย” นะครับ ซึ่งจะเสนอเนื้อหารายละเอียดในตอนต่อไป....ข้อมูลจาก นายแพทย์ธิติพันธ์ ธานีรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 11 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข….นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/220389 (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.ค.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 21/07/2556 เวลา 01:53:49 ดูภาพสไลด์โชว์ ‘ดูแลผู้สูงวัยแบบองค์รวมกายและใจ’ ตอนที่ 1 - ชีวิตและสุขภาพ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผู้สูงอายุ คนเราทุกคนล้วนอยากมีสุขภาพที่แข็งแรง เพราะการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นย่อมไม่เพียงแต่สร้างความทุกข์ให้กับตัวผู้ป่วย เองเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อผู้ใกล้ชิดหรือบุคคลรอบข้างอีกด้วย โรคภัยไข้เจ็บย่อมมาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องดูแลหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย อาจหลีกเลี่ยงความเครียดได้ยาก โดยเฉพาะในผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังหรือโรคที่มีอาการรุนแรง ผมจะเสนอแนะเคล็ดลับง่าย ๆ 3 ประการ ในการสร้างกำลังใจต่อตนเอง ให้สามารถปรับตัวรับความเครียดที่เกิดขึ้น เพื่อดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยได้ดียิ่งขึ้นนะครับ อัตราของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมีสูงถึงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ และ 2 ใน 3 ของผู้สูงอายุกลุ่มนี้ จะมีโรคประจำตัวตั้งแต่ 2 โรคขึ้นไป จากการสำรวจพบว่า โรคเรื้อรังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ 9 อันดับแรก (Oxford Journal, Volume 35, Issue 6) ได้แก่ 1. กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Diseases : CVD) ร้อยละ 72 ของผู้สูงอายุ ได้แก่ ก. โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic Heart Disease: IHD) ข. โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) ค. โรคคอเลสเตอรอลในเลือดสูง (Hypercholesterolemia)ง. โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) 2. กลุ่มโรคทางระบบประสาทและจิตเวช (Central Nervous System and Psychiatry) ร้อยละ 37 ของผู้สูงอายุ ได้แก่ ก. โรคเครียดและโรคซึมเศร้า (An-xiety and Depression) ข. โรคสมองเสื่อม (Dementia) ค. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก (Cerebrovascular Accident: CVA) ง. โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Di-sease) จ. โรคลมชัก (Epilepsy) 3.กลุ่มโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ (Musculo-skeleton Disease) ร้อยละ 28 ของผู้สูงอายุ ได้แก่ ก. โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid) ข. โรคเข่าเสื่อม/โรคข้อเสื่อม/กระดูกผุ (Osteoporosis, Osteoarthritis) ค. โรคเกาต์ (Gout) 4. กลุ่มโรคระบบทางเดินอาหารส่วนต้น (Upper GI Conditions) ร้อยละ 24 ของผู้สูงอายุ 5. กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Conditions) ร้อยละ 14 ของผู้สูงอายุ 6. โรคเบาหวาน (Diabetes) ร้อยละ 8 ของผู้สูงอายุ 7. โรคไทรอยด์ (Thyroid Disease) ร้อยละ 7 ของผู้สูงอายุ 8. โรคต้อหิน (Glaucoma) ร้อยละ 5 ของผู้สูงอายุ 9. กลุ่มโรคมะเร็ง (Cancers) ร้อยละ 4 ของผู้สูงอายุ จากกลุ่มโรคทั้งหมด เราสามารถจัดกลุ่มผู้สูงอายุตามระดับสุขภาพ และความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน ได้เป็น 3 กลุ่ม ซึ่งต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. กลุ่มติดสังคม ได้แก่ ผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ดี อาจสามารถช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมได้ด้วย 2. กลุ่มติดบ้าน ได้แก่ ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้บ้าง จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือบางอย่าง เช่น ไม่สามารถเดินตามลำพังบนทางเรียบได้ ต้องให้คนพยุงหรือใช้อุปกรณ์ช่วย ต้องการความช่วยเหลือในขณะรับประทานอาหาร อาจทำโต๊ะเปื้อน หรือต้องการความช่วยเหลือในการพาไปห้องสุขาเพื่อขับถ่าย เป็นต้น 3. กลุ่มติดเตียง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่ป่วยหรือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เช่น ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตนเองได้เพียงลำพัง กลืนลำบากแม้ผู้ดูแลจะป้อนอาหารให้ หรือจำเป็นต้องได้รับอาหารผ่านช่องทางอื่น เช่น สายต่อจมูกสู่กระเพาะอาหารโดยตรง ต้องขับถ่ายในท่านอนหรืออยู่บนเตียง หรือต้องสวมใส่ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ตลอด เป็นต้น เมื่อคุณต้องดูแลผู้ป่วยสูงวัยเหล่านี้ - หลายคนที่เคยดูแลผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการเฉพาะกิจหรือถาวร ย่อมมีความเครียดในระดับที่แตกต่างกันตามความต้องการความช่วยเหลือของผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม ผู้สูงอายุที่ติดเตียงมักต้องการการดูแลช่วยเหลืออย่างมากจนอาจทำให้ผู้ดูแล รู้สึกเหนื่อยล้า ทั้งจากการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอและปัญหาพฤติกรรมของผู้ป่วย จนอาจกลายเป็นความตึงเครียด มีความวิตกกังวลหรือมีภาวะซึมเศร้าตามมาได้ โดยอาจแสดงออกในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น นอนไม่หลับ หงุดหงิดฉุนเฉียว หลงลืมง่าย รู้สึกกระวนกระวายหรือกระสับกระส่าย ปวดศีรษะหรือ ปวดตามตัว มีอาการทางร่างกายอื่น ๆ เช่น เหงื่อออก ใจสั่น แน่นหน้าอก ท้องไส้ปั่นป่วน ฯลฯ เบื่ออาหาร (หรืออาจจะรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นโดยควบคุมไม่ได้) หากเป็นรุนแรงอาจมีความรู้สึกเบื่อ เซ็ง ท้อแท้สิ้นหวัง รู้สึกไร้ค่า ไม่อยากทำอะไรหรือรู้สึกไม่สนุกกับกิจกรรมที่เคยทำให้เพลิดเพลิน ความเครียดในการดูแลผู้ป่วยสูงวัยเกิดจากหลายสาเหตุครับ เช่น ความรุนแรงของโรคที่ผู้ป่วยเป็น ทำให้จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่ยุ่งยากซับซ้อน ปัญหาพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้ป่วย เช่น เอาแต่ใจตนเอง ไม่ยอมนอนหรือวุ่นวายในตอนกลางคืน ปัญหาที่เกิดจากความไม่เข้าใจในการดำเนินโรคและพยากรณ์โรคที่ชัดเจน ทำให้ญาติหรือผู้ดูแลมีความกังวลในการดูแลที่ถูกต้องเหมาะสม และการวางแผนดูแล ผู้ป่วยในระยะยาว เป็นต้น ซึ่งความเครียดจากปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้จะลดน้อยลง หากผู้ดูแลปฏิบัติตามข้อแนะนำง่าย ๆ นี้ “รู้ให้จริง นิ่งให้มาก ยิ่งยาก...ยิ่งท้าทาย” นะครับ ซึ่งจะเสนอเนื้อหารายละเอียดในตอนต่อไป....ข้อมูลจาก นายแพทย์ธิติพันธ์ ธานีรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 11 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข….นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/220389 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...