"กระดุมโชติกา" กระดูกรักษากระดูก
ปัจจุบันเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัฒน์มีความเจริญก้าวหน้าไปทุกๆด้านไม่ เว้นแม้แต่ด้านการแพทย์ ซึ่งตอนนี้ในส่วนของศัลยแพทย์ได้มีการคิดค้น กระดุมโชติกา ซึ่งเป็นการรักษารูปแบบกระดูกรักษากระดูก
ความคิดของเรื่องกระดุมโชติกาเป็นความคิดของ นายแพทย์สิทธิพร บุญยนิตย์ รองศาสตราจารย์ประสาทศัลยศาสตร์ ผู้ชำนาญด้านการผลิตชีววัสดุจากทรัพยากรธรรมชาติไทย และคณะโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี ที่คิดว่าจะใช้วัสดุอุปกรณ์จากทรัพยการธรรมชาติของคนไทยมาทำเป็นวัสดุ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งใช้ระยะเวลาในการพัฒนามานานกว่า10 ปี และได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นดีเด่น ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำปี 2557 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.)
รศ.น.พ.สิทธิพร บุญยนิตย์ กล่าวว่า โครงการนี้เกิดขึ้นมาจากที่ตัวของคุณหมอซึ่งเป็นหมอศัลยกรรมกระดูกสมองและทุกครั้งต้องนำอุปกรณ์จากต่างประเทศเข้ามารักษาผู้ป่วย เช่น โลหะ พลาสติก โพลิเมอร์ มาใช้ในการรักษา ซึ่งมีผลข้างเคียง ต่อผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดและราคาก็ยังสูง จึงมีการวิจัยพบว่ากระดูกของสัตว์และกระดูกของคนมีโครงสร้างเดียวกันที่ สามารถทดแทนกันได้
โดยครั้งแรกได้ใช้กระดูกวัวเป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นกระดุมยึดตรึง กระดูกทดสอบใช้งานจริงกับผู้ป่วยที่โรงพยาบาลลำพูน พบว่าปลอดภัย และประหยัดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์จากต่างประเทศ
สำหรับกระดุมโชติกาเป็นวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ใช้สำหรับยึดตรึงกะโหลกศีรษะมนุษย์ มีองค์ประกอบหลักเป็นไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่เป็นแร่ธาตุหลักของกระดูกมนุษย์ จึงสามารถเชื่อมติดโดยตรงกับกะโหลกศีรษะขณะที่กำลังซ่อมแซมรอยผ่าตัด สามารถส่งเสริมการสร้างกระดูกใหม่ไม่มีความเป็นพิษในร่างกายโดยสิ้นเชิง ไม่บังแสงเชิงรังสีวิทยา มีความแข็งแรงสม่ำเสมอ ไม่เสื่อมสลายโดยง่าย คงรูปยาวนานและย่อยสลายไปเมื่อสิ้นสุดการใช้งาน
นอกจากนี้ กระดุมโชติกาได้มีการใช้รักษาผู้ป่วยเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะมานานกว่า2เดือน และมีการใช้เพิ่มขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตจะมีการพัฒนาโดยใช้กระดูกสัตว์ชนิดอื่น ๆ มาทำการทดสอบรักษา เพื่อเป็นการซ่อมแซมกระดูกของคนไทยด้วยวัสดุการแพทย์ของคนไทยเอง : กฤษณะ หวังบำรุง
ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/Article.do?contentId=208632
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ม.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
\"กระดุมโชติกา\" กระดูกรักษากระดูก ปัจจุบันเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัฒน์มีความเจริญก้าวหน้าไปทุกๆด้านไม่ เว้นแม้แต่ด้านการแพทย์ ซึ่งตอนนี้ในส่วนของศัลยแพทย์ได้มีการคิดค้น กระดุมโชติกา ซึ่งเป็นการรักษารูปแบบกระดูกรักษากระดูก ความคิดของเรื่องกระดุมโชติกาเป็นความคิดของ นายแพทย์สิทธิพร บุญยนิตย์ รองศาสตราจารย์ประสาทศัลยศาสตร์ ผู้ชำนาญด้านการผลิตชีววัสดุจากทรัพยากรธรรมชาติไทย และคณะโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี ที่คิดว่าจะใช้วัสดุอุปกรณ์จากทรัพยการธรรมชาติของคนไทยมาทำเป็นวัสดุ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งใช้ระยะเวลาในการพัฒนามานานกว่า10 ปี และได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นดีเด่น ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำปี 2557 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) รศ.น.พ.สิทธิพร บุญยนิตย์ กล่าวว่า โครงการนี้เกิดขึ้นมาจากที่ตัวของคุณหมอซึ่งเป็นหมอศัลยกรรมกระดูกสมองและทุกครั้งต้องนำอุปกรณ์จากต่างประเทศเข้ามารักษาผู้ป่วย เช่น โลหะ พลาสติก โพลิเมอร์ มาใช้ในการรักษา ซึ่งมีผลข้างเคียง ต่อผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดและราคาก็ยังสูง จึงมีการวิจัยพบว่ากระดูกของสัตว์และกระดูกของคนมีโครงสร้างเดียวกันที่ สามารถทดแทนกันได้ โดยครั้งแรกได้ใช้กระดูกวัวเป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นกระดุมยึดตรึง กระดูกทดสอบใช้งานจริงกับผู้ป่วยที่โรงพยาบาลลำพูน พบว่าปลอดภัย และประหยัดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์จากต่างประเทศ สำหรับกระดุมโชติกาเป็นวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ใช้สำหรับยึดตรึงกะโหลกศีรษะมนุษย์ มีองค์ประกอบหลักเป็นไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่เป็นแร่ธาตุหลักของกระดูกมนุษย์ จึงสามารถเชื่อมติดโดยตรงกับกะโหลกศีรษะขณะที่กำลังซ่อมแซมรอยผ่าตัด สามารถส่งเสริมการสร้างกระดูกใหม่ไม่มีความเป็นพิษในร่างกายโดยสิ้นเชิง ไม่บังแสงเชิงรังสีวิทยา มีความแข็งแรงสม่ำเสมอ ไม่เสื่อมสลายโดยง่าย คงรูปยาวนานและย่อยสลายไปเมื่อสิ้นสุดการใช้งาน นอกจากนี้ กระดุมโชติกาได้มีการใช้รักษาผู้ป่วยเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะมานานกว่า2เดือน และมีการใช้เพิ่มขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตจะมีการพัฒนาโดยใช้กระดูกสัตว์ชนิดอื่น ๆ มาทำการทดสอบรักษา เพื่อเป็นการซ่อมแซมกระดูกของคนไทยด้วยวัสดุการแพทย์ของคนไทยเอง : กฤษณะ หวังบำรุง ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/Article.do?contentId=208632 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ม.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)