ชมบ้านหลังคาแดงรำลึก 250 ปี ธนบุรี

แสดงความคิดเห็น

นพ.วีรพล อุณหรัศมี รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

บ้านหลังคาแดง ในอดีตผู้คนหวาดผวา แม้คนสุขภาพจิตไม่สมบูรณ์ก็ไม่อยากเกี่ยวข้อง เพราะเข้าใจว่าเป็นสถานที่รักษาคนเสียจริต แต่ความจริงแล้ว “ไม่ใช่อย่างที่คิด คนปกติธรรมดาที่เครียด มีความกังวลมากก็เข้ามาปรึกษาได้ และสถานที่รักษาไม่ใช่มีอยู่ที่สถาบันฯ สมเด็จเจ้าพระยาแห่งเดียว ในภาคต่างๆก็กระจายกันอยู่ทั่วประเทศสามารถนำบัตรทองเข้าไปรับบริการได้”นพ.วีรพลบอก

สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ในอดีต

นพ.วีรพล อุณหรัศมี รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ย้อนอดีตให้ฟังว่า สถาบันฯเดิมอยู่ปากคลองสานชื่อโรงพยาบาลคนเสียจริต ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลโรคจิต ธนบุรี และโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา จนกระทั่งปัจจุบันชื่อสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ช่วงย้ายมาอยู่ในที่ปัจจุบันแรกๆ อาคารมุงหลังคาสีแดง ชาวบ้าน จึงเรียกว่า “บ้านหลังคาแดง”บริเวณอันร่มรื่นของบ้านหลังคาแดง เดิมเป็นที่ดินของตระกูล “บุนนาค” ผู้ครอบครองคนสุดท้าย คือเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)ปี พ.ศ.2560 นี้ เป็นปี “รำลึกธนบุรี 250 ปี” ผู้นำชุมชนและหน่วยงานเอกชนย่านธนบุรีร่วมกับสถาบันฯสมเด็จเจ้าพระยา จัดงาน รำลึกกรุงธนบุรี และเปิดบ้าน “หลังคาแดง” ไปพร้อมๆกันอาจารย์สุดารา สุจฉายา หนึ่งในผู้นำภาคเอกชนบอกว่า เดิมทีธนบุรีมีความเป็นเมืองมาก่อน เมื่อสยามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หลังกู้เอกราชพระองค์ทรงสถาปนาธนบุรีเป็นเมืองหลวงเมื่อพ.ศ.2310 ครั้นถึงรัชกาลที่ 1 สร้างกรุงใหม่ ธนบุรีจึงเปลี่ยนสถานะจากเมืองหลวงไปเป็นเมืองสามัญ เป็นต้นว่าในปี พ.ศ.2514 รวมกับจังหวัดพระนครเรียกว่านครหลวงกรุงเทพธนบุรีจากนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกทม.ตั้งแต่พ.ศ.2516เป็นต้นมา

สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ในอดีต

สำหรับสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยามีความเป็นมายาวไกลถึง 128 ปี นับเป็นโรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกของประเทศไทย โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.2432 ทรงจ้างแพทย์ชาวตะวันตกมาเป็นผู้บริหารโรงพยาบาล และจัดให้มีแพทย์ประจำโรงพยาบาลทำการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลแห่งนี้สร้างหลังโรงพยาบาลศิริราชเพียง1ปีเท่านั้น อาคารแต่ละแห่งมีอายุกว่า 100 ปี อยู่ใต้ร่มเงาไม้เขียวขจี บรรยากาศร่มรื่น จัดเป็นพื้นที่สีเขียวผืนใหญ่แห่งหนึ่งของฝั่งธนในปัจจุบัน สถาบันฯใช้อาคารแห่งหนึ่งตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ.2532หลังเปิดให้บริการมานานแล้วก็บูรณะใหม่ จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2559 ภายในจัดทำเป็นนิทรรศการขึ้นมาใหม่ นอกจากให้เห็นการรักษาผู้ป่วยแล้ว ยังนำเอาวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวธนบุรีเข้าไปด้วย

เรื่องนี้ นพ.วีรพลบอกว่า “กรุงธนบุรีมีความเปลี่ยนแปลงสูงมาก มีการตัดถนน สร้างโรงไฟฟ้า ภาพชีวิตชาวสวนสมัยเก่าก่อนนับวันจะหาดูได้ยาก เพราะได้เปลี่ยนจากสวนไปเป็นบ้านจัดสรรแล้ว เป็นจำนวนมาก ดังนั้น เรารู้สึกว่ามีความเปลี่ยนแปลง แต่ไม่เห็นว่า มีความเปลี่ยนแปลงจากสมัยโบราณอย่างไร เราจึงนำภาพเก่าๆมาจัดนิทรรศการ และจัดทำหนังสือ 2 เล่ม เล่มหนึ่งเพื่อเก็บวิถีชีวิตชาวธนบุรี อีกเล่มหนึ่งเป็นหนังสือภาพธนบุรี” ภาพเหล่านั้น บางภาพเก็บไว้ 30-40 ปี บ้างก็เป็นภาพประจำตระกูล “เราได้รับความอนุเคราะห์อย่างดียิ่งสำหรับคนที่อยากเห็นภาพชีวิตเก่าๆก็มาดูนิทรรศการได้”

สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ในปัจจุบันกับสภาพแว้ดล้อมที่ร่มรื่นเต็มไปด้วยต้นไม้

อาคารพิพิธภัณฑ์ เมื่อเข้าสถาบันฯจะอยู่ด้านซ้ายมือ เดินเข้าไปไม่เกิน 200 เมตรก็ถึงจุดประสงค์ของการจัดงาน “เปิดบ้านหลังคาแดง” ตลอดปี 2560 นพ.วีรพลบอกว่า รพ.เมื่อก่อนอยู่ปากคลองสาน คนกลัวมาก ใครเดินเข้าออกโรงพยาบาลถือว่าเป็นคนเสียจริต “แต่ภายหลังเราเปิดกว้างมากขึ้น เปิดให้คนเข้ามาสัมผัส จะได้รู้ว่าจริงๆแล้วโรงพยาบาลไม่ได้น่ากลัว คนไข้จิตเวชไม่น่ากลัว หลายๆครั้งคนเดินเข้ามาไม่รู้หรอกว่าคนที่เดินสวนนั้นเป็นคนไข้จิตเวชเพราะแท้จริงแล้วผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตปกติได้”

การจัดงานครั้งนี้ “ประการแรก คนภายนอกได้มาเรียนรู้ได้มาสัมผัส เพราะที่นี่ไม่ได้เป็นที่ปกปิดต่อไปอีกแล้ว ประการ ที่สองคือ เมื่อคุณเดินเข้ามาแล้ว เอาเรื่องราวไปถ่ายทอด ไปบอกเล่าว่าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะจะเห็นว่าโรงพยาบาลของเราเป็นโรงพยาบาลธรรมดา อาจจะมีอะไรเพิ่มขึ้น หรือนอกเหนือจากความเป็นโรงพยาบาลทั่วไปอยู่บ้าง” ประการที่สาม “คนไข้บางกลุ่มมีความเสื่อมถอย ทั้งความคิด และความสามารถอาจจะถดถอยไป คนเหล่านี้ต้องได้รับการฟื้นฟู เราจัดงานนี้เพื่อให้เห็นว่า คนไข้ควรได้รับการฟื้นฟู และเราสามารถฝึกให้คนไข้ทำงานเลี้ยงดูตนเองได้เหล่านี้ต้องขอความกรุณาจากสังคมว่าคนไข้ของเราน่ารัก”

สำหรับคนไข้จิตเวชนั้น เฉลี่ยคนไข้ใน 10,000 รายต่อปี คนไข้นอกราว 200,000 ต่อปี และต่อไปอาจจะถึง 300,000 คน ยอดผู้ป่วยด้านจิตเวชนั้น นพ.วีรพลบอกว่า ส่วนใหญ่สาเหตุไม่ได้มาจากการเมือง สภาพเศรษฐกิจ และสังคม แต่มาจากยาเสพติด “ระบบการดูแลสุขภาพจิต เราเป็นโรงพยาบาล 500 เตียง นอกเหนือจากประชากรจำนวนมากของกรุงเทพฯแล้ว ยังเป็นปัญหา เรื่องยาเสพติด ผมจึงคิดว่าในอนาคต กรุงเทพฯควรมีโรงพยาบาลจิตเวช เพิ่มขึ้นอีกสัก 1 แห่งไหม เพื่อรองรับการดูแลคนกรุงเทพฯ เพื่อให้สุขภาวะจิตดีขึ้น เอาเข้าจริงการรักษาดูแลคนไข้จิตเวชไม่ใช่ว่าแค่ฉีดยาเข็มเดียวจะหาย ต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง ทำให้เตียงยังขาดแคลน”

สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คนที่เริ่มมีอาการ เช่น เครียดหนัก หรือมีปัญหาทางจิต แม้จะเล็กๆน้อยๆ นพ.วีรพลแนะนำว่า ให้ปรึกษาโรงพยาบาลใกล้บ้านได้ เพราะจะมีแผนกให้คำปรึกษาอยู่ และยังมีหน่วยงานของกรมสุขภาพจิต ทั่วประเทศอีก 17 แห่ง กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ คอยให้บริการงานเปิดบ้านหลังคาแดงครั้งนี้ นายเอนก นาวิกมูล แห่งบ้านพิพิธภัณฑ์ บอกว่า เป็นเรื่องที่ดี เพราะจะได้ช่วยให้คนทั่วไปรู้และเข้าใจภาพ ของสถาบันฯสมเด็จเจ้าพระยาอย่างแท้จริงและคนที่มาดูนิทรรศการก็ยังได้เห็นภาพในอดีตของธนบุรีด้วยว่าเคยมีความเป็นมาอย่างไร

“ผมมาร่วมในนามบ้านพิพิธภัณฑ์ มาให้คำปรึกษาเรื่องการจัด นิทรรศการ ส่วนการบริหารจัดการ การดำเนินการทางโรงพยาบาลเขา จัดการเอง ซึ่งครั้งนี้เราก็ได้เห็นความร่วมมือเป็นอย่างดีของชุมชนชาวธนบุรี” สิ่งที่ “ผมแนะและอยากให้เป็นคือ ให้คนทั่วไปได้มาเห็นความร่มรื่นของต้นไม้ ได้มาเห็นเรื่องราวของชาวธนบุรีในอดีต ได้มาฟังดนตรี มาดูภาพชีวิตต่างๆ หรือไม่ก็แวะเข้ามาดื่มกาแฟในบรรยากาศที่ร่มรื่น ให้เห็นว่าโรงพยาบาลไม่ได้น่ากลัว” ตลอดปี 2560 “บ้านหลังคาแดง” พร้อมรับผู้เข้าเยี่ยมเยือน ทั้งเข้าชมพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการของคนธนบุรี.

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/869725

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 01 มี.ค.60
วันที่โพสต์: 1/03/2560 เวลา 10:47:50 ดูภาพสไลด์โชว์ ชมบ้านหลังคาแดงรำลึก 250 ปี ธนบุรี

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นพ.วีรพล อุณหรัศมี รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา บ้านหลังคาแดง ในอดีตผู้คนหวาดผวา แม้คนสุขภาพจิตไม่สมบูรณ์ก็ไม่อยากเกี่ยวข้อง เพราะเข้าใจว่าเป็นสถานที่รักษาคนเสียจริต แต่ความจริงแล้ว “ไม่ใช่อย่างที่คิด คนปกติธรรมดาที่เครียด มีความกังวลมากก็เข้ามาปรึกษาได้ และสถานที่รักษาไม่ใช่มีอยู่ที่สถาบันฯ สมเด็จเจ้าพระยาแห่งเดียว ในภาคต่างๆก็กระจายกันอยู่ทั่วประเทศสามารถนำบัตรทองเข้าไปรับบริการได้”นพ.วีรพลบอก สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ในอดีต นพ.วีรพล อุณหรัศมี รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ย้อนอดีตให้ฟังว่า สถาบันฯเดิมอยู่ปากคลองสานชื่อโรงพยาบาลคนเสียจริต ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลโรคจิต ธนบุรี และโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา จนกระทั่งปัจจุบันชื่อสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ช่วงย้ายมาอยู่ในที่ปัจจุบันแรกๆ อาคารมุงหลังคาสีแดง ชาวบ้าน จึงเรียกว่า “บ้านหลังคาแดง”บริเวณอันร่มรื่นของบ้านหลังคาแดง เดิมเป็นที่ดินของตระกูล “บุนนาค” ผู้ครอบครองคนสุดท้าย คือเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)ปี พ.ศ.2560 นี้ เป็นปี “รำลึกธนบุรี 250 ปี” ผู้นำชุมชนและหน่วยงานเอกชนย่านธนบุรีร่วมกับสถาบันฯสมเด็จเจ้าพระยา จัดงาน รำลึกกรุงธนบุรี และเปิดบ้าน “หลังคาแดง” ไปพร้อมๆกันอาจารย์สุดารา สุจฉายา หนึ่งในผู้นำภาคเอกชนบอกว่า เดิมทีธนบุรีมีความเป็นเมืองมาก่อน เมื่อสยามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หลังกู้เอกราชพระองค์ทรงสถาปนาธนบุรีเป็นเมืองหลวงเมื่อพ.ศ.2310 ครั้นถึงรัชกาลที่ 1 สร้างกรุงใหม่ ธนบุรีจึงเปลี่ยนสถานะจากเมืองหลวงไปเป็นเมืองสามัญ เป็นต้นว่าในปี พ.ศ.2514 รวมกับจังหวัดพระนครเรียกว่านครหลวงกรุงเทพธนบุรีจากนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกทม.ตั้งแต่พ.ศ.2516เป็นต้นมา สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ในอดีต สำหรับสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยามีความเป็นมายาวไกลถึง 128 ปี นับเป็นโรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกของประเทศไทย โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.2432 ทรงจ้างแพทย์ชาวตะวันตกมาเป็นผู้บริหารโรงพยาบาล และจัดให้มีแพทย์ประจำโรงพยาบาลทำการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลแห่งนี้สร้างหลังโรงพยาบาลศิริราชเพียง1ปีเท่านั้น อาคารแต่ละแห่งมีอายุกว่า 100 ปี อยู่ใต้ร่มเงาไม้เขียวขจี บรรยากาศร่มรื่น จัดเป็นพื้นที่สีเขียวผืนใหญ่แห่งหนึ่งของฝั่งธนในปัจจุบัน สถาบันฯใช้อาคารแห่งหนึ่งตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ.2532หลังเปิดให้บริการมานานแล้วก็บูรณะใหม่ จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2559 ภายในจัดทำเป็นนิทรรศการขึ้นมาใหม่ นอกจากให้เห็นการรักษาผู้ป่วยแล้ว ยังนำเอาวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวธนบุรีเข้าไปด้วย เรื่องนี้ นพ.วีรพลบอกว่า “กรุงธนบุรีมีความเปลี่ยนแปลงสูงมาก มีการตัดถนน สร้างโรงไฟฟ้า ภาพชีวิตชาวสวนสมัยเก่าก่อนนับวันจะหาดูได้ยาก เพราะได้เปลี่ยนจากสวนไปเป็นบ้านจัดสรรแล้ว เป็นจำนวนมาก ดังนั้น เรารู้สึกว่ามีความเปลี่ยนแปลง แต่ไม่เห็นว่า มีความเปลี่ยนแปลงจากสมัยโบราณอย่างไร เราจึงนำภาพเก่าๆมาจัดนิทรรศการ และจัดทำหนังสือ 2 เล่ม เล่มหนึ่งเพื่อเก็บวิถีชีวิตชาวธนบุรี อีกเล่มหนึ่งเป็นหนังสือภาพธนบุรี” ภาพเหล่านั้น บางภาพเก็บไว้ 30-40 ปี บ้างก็เป็นภาพประจำตระกูล “เราได้รับความอนุเคราะห์อย่างดียิ่งสำหรับคนที่อยากเห็นภาพชีวิตเก่าๆก็มาดูนิทรรศการได้” สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ในปัจจุบันกับสภาพแว้ดล้อมที่ร่มรื่นเต็มไปด้วยต้นไม้ อาคารพิพิธภัณฑ์ เมื่อเข้าสถาบันฯจะอยู่ด้านซ้ายมือ เดินเข้าไปไม่เกิน 200 เมตรก็ถึงจุดประสงค์ของการจัดงาน “เปิดบ้านหลังคาแดง” ตลอดปี 2560 นพ.วีรพลบอกว่า รพ.เมื่อก่อนอยู่ปากคลองสาน คนกลัวมาก ใครเดินเข้าออกโรงพยาบาลถือว่าเป็นคนเสียจริต “แต่ภายหลังเราเปิดกว้างมากขึ้น เปิดให้คนเข้ามาสัมผัส จะได้รู้ว่าจริงๆแล้วโรงพยาบาลไม่ได้น่ากลัว คนไข้จิตเวชไม่น่ากลัว หลายๆครั้งคนเดินเข้ามาไม่รู้หรอกว่าคนที่เดินสวนนั้นเป็นคนไข้จิตเวชเพราะแท้จริงแล้วผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตปกติได้” การจัดงานครั้งนี้ “ประการแรก คนภายนอกได้มาเรียนรู้ได้มาสัมผัส เพราะที่นี่ไม่ได้เป็นที่ปกปิดต่อไปอีกแล้ว ประการ ที่สองคือ เมื่อคุณเดินเข้ามาแล้ว เอาเรื่องราวไปถ่ายทอด ไปบอกเล่าว่าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะจะเห็นว่าโรงพยาบาลของเราเป็นโรงพยาบาลธรรมดา อาจจะมีอะไรเพิ่มขึ้น หรือนอกเหนือจากความเป็นโรงพยาบาลทั่วไปอยู่บ้าง” ประการที่สาม “คนไข้บางกลุ่มมีความเสื่อมถอย ทั้งความคิด และความสามารถอาจจะถดถอยไป คนเหล่านี้ต้องได้รับการฟื้นฟู เราจัดงานนี้เพื่อให้เห็นว่า คนไข้ควรได้รับการฟื้นฟู และเราสามารถฝึกให้คนไข้ทำงานเลี้ยงดูตนเองได้เหล่านี้ต้องขอความกรุณาจากสังคมว่าคนไข้ของเราน่ารัก” สำหรับคนไข้จิตเวชนั้น เฉลี่ยคนไข้ใน 10,000 รายต่อปี คนไข้นอกราว 200,000 ต่อปี และต่อไปอาจจะถึง 300,000 คน ยอดผู้ป่วยด้านจิตเวชนั้น นพ.วีรพลบอกว่า ส่วนใหญ่สาเหตุไม่ได้มาจากการเมือง สภาพเศรษฐกิจ และสังคม แต่มาจากยาเสพติด “ระบบการดูแลสุขภาพจิต เราเป็นโรงพยาบาล 500 เตียง นอกเหนือจากประชากรจำนวนมากของกรุงเทพฯแล้ว ยังเป็นปัญหา เรื่องยาเสพติด ผมจึงคิดว่าในอนาคต กรุงเทพฯควรมีโรงพยาบาลจิตเวช เพิ่มขึ้นอีกสัก 1 แห่งไหม เพื่อรองรับการดูแลคนกรุงเทพฯ เพื่อให้สุขภาวะจิตดีขึ้น เอาเข้าจริงการรักษาดูแลคนไข้จิตเวชไม่ใช่ว่าแค่ฉีดยาเข็มเดียวจะหาย ต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง ทำให้เตียงยังขาดแคลน” สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา คนที่เริ่มมีอาการ เช่น เครียดหนัก หรือมีปัญหาทางจิต แม้จะเล็กๆน้อยๆ นพ.วีรพลแนะนำว่า ให้ปรึกษาโรงพยาบาลใกล้บ้านได้ เพราะจะมีแผนกให้คำปรึกษาอยู่ และยังมีหน่วยงานของกรมสุขภาพจิต ทั่วประเทศอีก 17 แห่ง กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ คอยให้บริการงานเปิดบ้านหลังคาแดงครั้งนี้ นายเอนก นาวิกมูล แห่งบ้านพิพิธภัณฑ์ บอกว่า เป็นเรื่องที่ดี เพราะจะได้ช่วยให้คนทั่วไปรู้และเข้าใจภาพ ของสถาบันฯสมเด็จเจ้าพระยาอย่างแท้จริงและคนที่มาดูนิทรรศการก็ยังได้เห็นภาพในอดีตของธนบุรีด้วยว่าเคยมีความเป็นมาอย่างไร “ผมมาร่วมในนามบ้านพิพิธภัณฑ์ มาให้คำปรึกษาเรื่องการจัด นิทรรศการ ส่วนการบริหารจัดการ การดำเนินการทางโรงพยาบาลเขา จัดการเอง ซึ่งครั้งนี้เราก็ได้เห็นความร่วมมือเป็นอย่างดีของชุมชนชาวธนบุรี” สิ่งที่ “ผมแนะและอยากให้เป็นคือ ให้คนทั่วไปได้มาเห็นความร่มรื่นของต้นไม้ ได้มาเห็นเรื่องราวของชาวธนบุรีในอดีต ได้มาฟังดนตรี มาดูภาพชีวิตต่างๆ หรือไม่ก็แวะเข้ามาดื่มกาแฟในบรรยากาศที่ร่มรื่น ให้เห็นว่าโรงพยาบาลไม่ได้น่ากลัว” ตลอดปี 2560 “บ้านหลังคาแดง” พร้อมรับผู้เข้าเยี่ยมเยือน ทั้งเข้าชมพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการของคนธนบุรี. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/869725

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...