สธ.เปิดรถโมบาย รูปแบบรพ.ขนาดเล็กช่วยผู้ป่วยจิตเวช ตั้งจุดท้องสนามหลวง

แสดงความคิดเห็น

นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวเนื่องในสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ประจำปี 2559 “การปฐมพยาบาลทางใจ…คุณก็ช่วยคนอื่นได้” ว่า รัฐบาลได้กำหนดให้ทุกวันที่ 1-7 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้รณรงค์ ภายใต้แนวคิด “การปฐมพยาบาลทางใจ…คุณก็ช่วยคนอื่นได้” เพื่อให้ประชาชนตระหนักและเห็นความสำคัญของการดูแล ให้ความช่วยเหลือด้านจิตใจแก่ตนเองและคนรอบข้างได้ในทันทีหลังประสบเหตุวิกฤตและความสูญเสียในชีวิต โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ให้คำปรึกษา และไม่ต้องผ่านการอบรม

สธ.เปิดรถโมบาย รูปแบบรพ.ขนาดเล็กช่วยผู้ป่วยจิตเวช ตั้งจุดท้องสนามหลวง

นพ.ปิยะสกลกล่าวว่า ประเทศไทยอยู่ในห้วงเวลาไว้อาลัย ได้นำมาซึ่งความเศร้าโศกเสียใจอย่างใหญ่หลวง การปฐมพยาบาลทางใจพี่น้องประชาชนชาวไทยจึงมีความสำคัญ ด้วยการใช้หลัก 3 ส. หรือ 3L ได้แก่ 1.สอดส่องมองหา (Look) โดยค้นหาผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน เช่น ผู้ที่แสดงอาการเศร้าโศกเสียใจรุนแรง กินไม่ได้นอนไม่หลับ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ กลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง 2.ใส่ใจรับฟัง (Listen) อย่างตั้งใจ รวมทั้งใช้ภาษากาย เช่น จับมือโอบกอด เพื่อช่วยให้ผู้สูญเสียบอกเล่าอารมณ์ความรู้สึก คลายความทุกข์ในใจ และ 3.ส่งต่อเชื่อมโยง (Link) โดยให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็นพื้นฐาน เช่น น้ำ อาหาร และยา หากไม่ดีขึ้น เช่น ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ โศกเศร้ารุนแรง มีความคิดฆ่าตัวตาย ให้พยายามติดต่อครอบครัวหรือชุมชนให้ช่วยป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตในอนาคตก่อนที่จะส่งต่อเข้าสู่กระบวนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวว่า การจัดกิจกรรมสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ปีนี้ ได้รณรงค์ภายใต้แนวคิด “การปฐมพยาบาลทางใจ…คุณก็ช่วยคนอื่นได้” ซึ่งจะรณรงค์พร้อมกันทั่วประเทศ ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1.นิทรรศการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เช่น พระราชกรณียกิจ งานในพระราชดำริ พระราชดำรัสหรือพระบรมราโชวาทของพระองค์ท่านด้านสุขภาพ ที่น้อมนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้ เป็นต้น และ 2.การจัดหน่วยปฐมพยาบาลทางใจและให้บริการเชิงรุก เข้าหาประชาชน

“ล่าสุดยังมีการตั้งรถโมบายคลายเครียด ที่กองอำนวยการกลาง สนามหลวง ซึ่งรถดังกล่าวจะให้บริการเฉพาะประชาชนที่มีปัญหาโรคทางจิตเวช โดยภายในรถโมบาย จะประกอบด้วยเครื่องไบโอฟีดแบ็ค (biofeedback) ซึ่งเป็นเครื่องตรวจวัดชีพจรที่นิ้วมือ โดยเป็นการตรวจวัดระดับความเครียดอย่างหนึ่ง เก้าอี้คลายเครียด และมุมให้บริการปรึกษา รวมทั้งสามารถขอรับบริการปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง” น.ต.นพ.บุญเรืองกล่าว และว่า จากการตั้งจุดบริการตรวจสุขภาพจิตที่ท้องสนามหลวงตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม จนถึงขณะนี้มีผู้มารับบริการ 3,800 คน มีปัญหาทางจิตใจ 900 คน ซึ่งจะมีการตรวจวัดระดับความเครียดว่าถึงระดับไหน หากเสี่ยงซึมเศร้า ก็จะเข้าสู่กระบวนการตรวจด้วยเครื่องไดโอฟีดแบ็ค และเข้าสู่กระบวนการรักษาเนื่องจากรถโมบายเปรียบเหมือนรพ.ขนาดเล็กเคลื่อนที่

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากการให้บริการที่ท้องสนามหลวง มีผู้มารับบริการวันละ 150 คน และมีกลุ่มที่เครียดสะสมอยู่แล้วประมาณ 50 คน และ 2-4 คนพบว่ามีความเครียดจากภาวะเศร้าจากเหตุการณ์ครั้งนี้ซึ่งได้มีการบำบัดรักษาตามขั้นตอนต่อไป

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1477905061 (ขนาดไฟล์: 143)

ที่มา: prachachat.netออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ต.ค.59
วันที่โพสต์: 3/11/2559 เวลา 10:27:33 ดูภาพสไลด์โชว์ สธ.เปิดรถโมบาย รูปแบบรพ.ขนาดเล็กช่วยผู้ป่วยจิตเวช ตั้งจุดท้องสนามหลวง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวเนื่องในสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ประจำปี 2559 “การปฐมพยาบาลทางใจ…คุณก็ช่วยคนอื่นได้” ว่า รัฐบาลได้กำหนดให้ทุกวันที่ 1-7 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้รณรงค์ ภายใต้แนวคิด “การปฐมพยาบาลทางใจ…คุณก็ช่วยคนอื่นได้” เพื่อให้ประชาชนตระหนักและเห็นความสำคัญของการดูแล ให้ความช่วยเหลือด้านจิตใจแก่ตนเองและคนรอบข้างได้ในทันทีหลังประสบเหตุวิกฤตและความสูญเสียในชีวิต โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ให้คำปรึกษา และไม่ต้องผ่านการอบรม สธ.เปิดรถโมบาย รูปแบบรพ.ขนาดเล็กช่วยผู้ป่วยจิตเวช ตั้งจุดท้องสนามหลวง นพ.ปิยะสกลกล่าวว่า ประเทศไทยอยู่ในห้วงเวลาไว้อาลัย ได้นำมาซึ่งความเศร้าโศกเสียใจอย่างใหญ่หลวง การปฐมพยาบาลทางใจพี่น้องประชาชนชาวไทยจึงมีความสำคัญ ด้วยการใช้หลัก 3 ส. หรือ 3L ได้แก่ 1.สอดส่องมองหา (Look) โดยค้นหาผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน เช่น ผู้ที่แสดงอาการเศร้าโศกเสียใจรุนแรง กินไม่ได้นอนไม่หลับ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ กลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง 2.ใส่ใจรับฟัง (Listen) อย่างตั้งใจ รวมทั้งใช้ภาษากาย เช่น จับมือโอบกอด เพื่อช่วยให้ผู้สูญเสียบอกเล่าอารมณ์ความรู้สึก คลายความทุกข์ในใจ และ 3.ส่งต่อเชื่อมโยง (Link) โดยให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็นพื้นฐาน เช่น น้ำ อาหาร และยา หากไม่ดีขึ้น เช่น ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ โศกเศร้ารุนแรง มีความคิดฆ่าตัวตาย ให้พยายามติดต่อครอบครัวหรือชุมชนให้ช่วยป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตในอนาคตก่อนที่จะส่งต่อเข้าสู่กระบวนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวว่า การจัดกิจกรรมสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ปีนี้ ได้รณรงค์ภายใต้แนวคิด “การปฐมพยาบาลทางใจ…คุณก็ช่วยคนอื่นได้” ซึ่งจะรณรงค์พร้อมกันทั่วประเทศ ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1.นิทรรศการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เช่น พระราชกรณียกิจ งานในพระราชดำริ พระราชดำรัสหรือพระบรมราโชวาทของพระองค์ท่านด้านสุขภาพ ที่น้อมนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้ เป็นต้น และ 2.การจัดหน่วยปฐมพยาบาลทางใจและให้บริการเชิงรุก เข้าหาประชาชน “ล่าสุดยังมีการตั้งรถโมบายคลายเครียด ที่กองอำนวยการกลาง สนามหลวง ซึ่งรถดังกล่าวจะให้บริการเฉพาะประชาชนที่มีปัญหาโรคทางจิตเวช โดยภายในรถโมบาย จะประกอบด้วยเครื่องไบโอฟีดแบ็ค (biofeedback) ซึ่งเป็นเครื่องตรวจวัดชีพจรที่นิ้วมือ โดยเป็นการตรวจวัดระดับความเครียดอย่างหนึ่ง เก้าอี้คลายเครียด และมุมให้บริการปรึกษา รวมทั้งสามารถขอรับบริการปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง” น.ต.นพ.บุญเรืองกล่าว และว่า จากการตั้งจุดบริการตรวจสุขภาพจิตที่ท้องสนามหลวงตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม จนถึงขณะนี้มีผู้มารับบริการ 3,800 คน มีปัญหาทางจิตใจ 900 คน ซึ่งจะมีการตรวจวัดระดับความเครียดว่าถึงระดับไหน หากเสี่ยงซึมเศร้า ก็จะเข้าสู่กระบวนการตรวจด้วยเครื่องไดโอฟีดแบ็ค และเข้าสู่กระบวนการรักษาเนื่องจากรถโมบายเปรียบเหมือนรพ.ขนาดเล็กเคลื่อนที่ นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากการให้บริการที่ท้องสนามหลวง มีผู้มารับบริการวันละ 150 คน และมีกลุ่มที่เครียดสะสมอยู่แล้วประมาณ 50 คน และ 2-4 คนพบว่ามีความเครียดจากภาวะเศร้าจากเหตุการณ์ครั้งนี้ซึ่งได้มีการบำบัดรักษาตามขั้นตอนต่อไป ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1477905061

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...