Paul Dirac นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นออทิสติก

แสดงความคิดเห็น

Paul Dirac เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ.1995 ที่มหาวิหาร Westminster ในกรุงลอนดอน ซึ่งเป็นที่ฝังศพของบุคคลสำคัญของอังกฤษ Sir Michael Atiyah ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกของสมาคม Royal Society ได้ทำพิธีติดตั้งแผ่นศิลาที่มีชื่อของ Paul Dirac และสมการ Dirac ในมหาวิหาร ในพิธีระลึกเดียวกันนี้ Stephen Hawking ได้กล่าวสรรเสริญ Dirac ว่า ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมานี้ ถ้าไม่นับ Einstein เราอาจถือได้ว่า Dirac ได้ปฏิรูปฟิสิกส์ยิ่งกว่าทุกคน

เมื่ออายุ 16 ปี Dirac ได้เข้าเรียนวิศวกรรมไฟฟ้าที่มหาวิทยาลัย Bristol จนสำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง แต่พบว่าไม่ต้องการมีอาชีพเป็นวิศวกร เพราะตามปกติเวลาวิศวกรแก้โจทย์ จะต้องการเพียงคำตอบ โดยไม่สนใจวิธีการพิสูจน์ที่มาของสูตรที่ใช้ Dirac จึงหันไปเรียนฟิสิกส์ระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัย Cambridge เป็นเวลาหนึ่งปีหลังจากที่ได้ครองตำแหน่ง Lucasian Professor แห่งมหาวิทยาลัย Cambridge (ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ Isaac Newton เคยครอง) Dirac ในวัย 31 ปี ก็ได้รับการประกาศชื่อให้เป็นผู้พิชิตรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับ Erwin Schroedinger ซึ่งทำให้ Dirac เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีอายุน้อยที่สุดที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ (จนกระทั่งปี 1957 สถิตินี้ได้ถูกทำลายโดย T.D. Lee)

ในเดือนมีนาคม 1936 เมื่อบิดาเสียชีวิต Dirac บอกเพื่อนทุกคนว่าเขาหมดความกดดันแล้ว และต่อแต่นี้ เขามีเสรีภาพเต็มตัว อีก 6 เดือนต่อมา Dirac ได้เข้าพิธีสมรสกับน้องสาวของ Eugene Wigner (รางวัลโนเบลฟิสิกส์ปี 1963) ชื่อ Margit Balazs คนทั้งสองมีบุคลิกตรงกันข้าม เช่น Margit ชอบสังคม แต่ Dirac ชอบเก็บตัว Margit พูดมาก แต่ Dirac พูดน้อย (บางครั้งก็ไม่พูดเลย) ทั้งสองจึงเป็นเสมือน antiparticle ของกันและกัน อย่างไรก็ตามครอบครัวนี้มีลูกสาว 2 คน

Paul Dirac และภรรยา ในหนังสือ The Strangest Man: The Hidden Life of Paul Dirac, Quantum Genius ของ Graham Farmelo ที่จัดพิมพ์โดย Faber ในปี 2009 ผู้เขียนได้ให้ความเห็นว่า การที่ Dirac มีบุคลิกประหลาด เพราะเขามีชีวิตที่ขาดความอบอุ่น เพราะถูกกดดันโดยบิดาตลอดเวลาทำให้เป็นคนเก็บตัวที่เข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนิสัย คำพูดและกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องทำตามกฎเกณฑ์ ให้ความสำคัญกับตนเอง ไม่ผูกพันกับใคร และเคยร้องไห้ครั้งเดียวในชีวิตคือเมื่อ Einstein ตาย เป็นคนไม่มีเพื่อนสนิท ไม่รับนิสิตทำวิทยานิพนธ์ จน Farmelo คิดว่า Dirac น่าจะเป็นออทิสติกเหมือนบิดา แต่ดีที่มีคนยอมรับและชื่นชม เพราะ Dirac เป็นนักฟิสิกส์ระดับสุดยอดนั่นเอง

สำหรับประเด็นออทิสติกนั้น Farmelo ได้วิเคราะห์จากข้อมูลที่ว่า Dirac เป็นคนไม่พูด (ถ้าไม่จำเป็น) ไม่มีอารมณ์อ่อนไหว ค่อนข้างเย็นชา ไม่มีทักษะในการสื่อสาร เมื่อครั้งที่พบสมการ Dirac เขาได้เขียนโปสการ์ดถึงมารดาว่า ไม่มีอะไรจะรายงาน บุคลิกต่างๆ เหล่านี้คงได้มาจากพ่อ นอกจากนี้การสืบค้นประวัติของบุคคลต่างๆ ในครอบครัวสกุลนี้ก็พบว่า มี 6 คนที่ฆ่าตัวตายด้วยโรคซึมเศร้า ...โดย สุทัศน์ ยกส้าน

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000088621 (ขนาดไฟล์: 168)

ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.ค.56

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 20/07/2556 เวลา 03:28:24 ดูภาพสไลด์โชว์ Paul Dirac นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นออทิสติก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

Paul Dirac เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ.1995 ที่มหาวิหาร Westminster ในกรุงลอนดอน ซึ่งเป็นที่ฝังศพของบุคคลสำคัญของอังกฤษ Sir Michael Atiyah ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกของสมาคม Royal Society ได้ทำพิธีติดตั้งแผ่นศิลาที่มีชื่อของ Paul Dirac และสมการ Dirac ในมหาวิหาร ในพิธีระลึกเดียวกันนี้ Stephen Hawking ได้กล่าวสรรเสริญ Dirac ว่า ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมานี้ ถ้าไม่นับ Einstein เราอาจถือได้ว่า Dirac ได้ปฏิรูปฟิสิกส์ยิ่งกว่าทุกคน เมื่ออายุ 16 ปี Dirac ได้เข้าเรียนวิศวกรรมไฟฟ้าที่มหาวิทยาลัย Bristol จนสำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง แต่พบว่าไม่ต้องการมีอาชีพเป็นวิศวกร เพราะตามปกติเวลาวิศวกรแก้โจทย์ จะต้องการเพียงคำตอบ โดยไม่สนใจวิธีการพิสูจน์ที่มาของสูตรที่ใช้ Dirac จึงหันไปเรียนฟิสิกส์ระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัย Cambridge เป็นเวลาหนึ่งปีหลังจากที่ได้ครองตำแหน่ง Lucasian Professor แห่งมหาวิทยาลัย Cambridge (ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ Isaac Newton เคยครอง) Dirac ในวัย 31 ปี ก็ได้รับการประกาศชื่อให้เป็นผู้พิชิตรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับ Erwin Schroedinger ซึ่งทำให้ Dirac เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีอายุน้อยที่สุดที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ (จนกระทั่งปี 1957 สถิตินี้ได้ถูกทำลายโดย T.D. Lee) ในเดือนมีนาคม 1936 เมื่อบิดาเสียชีวิต Dirac บอกเพื่อนทุกคนว่าเขาหมดความกดดันแล้ว และต่อแต่นี้ เขามีเสรีภาพเต็มตัว อีก 6 เดือนต่อมา Dirac ได้เข้าพิธีสมรสกับน้องสาวของ Eugene Wigner (รางวัลโนเบลฟิสิกส์ปี 1963) ชื่อ Margit Balazs คนทั้งสองมีบุคลิกตรงกันข้าม เช่น Margit ชอบสังคม แต่ Dirac ชอบเก็บตัว Margit พูดมาก แต่ Dirac พูดน้อย (บางครั้งก็ไม่พูดเลย) ทั้งสองจึงเป็นเสมือน antiparticle ของกันและกัน อย่างไรก็ตามครอบครัวนี้มีลูกสาว 2 คน Paul Dirac และภรรยา ในหนังสือ The Strangest Man: The Hidden Life of Paul Dirac, Quantum Genius ของ Graham Farmelo ที่จัดพิมพ์โดย Faber ในปี 2009 ผู้เขียนได้ให้ความเห็นว่า การที่ Dirac มีบุคลิกประหลาด เพราะเขามีชีวิตที่ขาดความอบอุ่น เพราะถูกกดดันโดยบิดาตลอดเวลาทำให้เป็นคนเก็บตัวที่เข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนิสัย คำพูดและกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องทำตามกฎเกณฑ์ ให้ความสำคัญกับตนเอง ไม่ผูกพันกับใคร และเคยร้องไห้ครั้งเดียวในชีวิตคือเมื่อ Einstein ตาย เป็นคนไม่มีเพื่อนสนิท ไม่รับนิสิตทำวิทยานิพนธ์ จน Farmelo คิดว่า Dirac น่าจะเป็นออทิสติกเหมือนบิดา แต่ดีที่มีคนยอมรับและชื่นชม เพราะ Dirac เป็นนักฟิสิกส์ระดับสุดยอดนั่นเอง สำหรับประเด็นออทิสติกนั้น Farmelo ได้วิเคราะห์จากข้อมูลที่ว่า Dirac เป็นคนไม่พูด (ถ้าไม่จำเป็น) ไม่มีอารมณ์อ่อนไหว ค่อนข้างเย็นชา ไม่มีทักษะในการสื่อสาร เมื่อครั้งที่พบสมการ Dirac เขาได้เขียนโปสการ์ดถึงมารดาว่า ไม่มีอะไรจะรายงาน บุคลิกต่างๆ เหล่านี้คงได้มาจากพ่อ นอกจากนี้การสืบค้นประวัติของบุคคลต่างๆ ในครอบครัวสกุลนี้ก็พบว่า มี 6 คนที่ฆ่าตัวตายด้วยโรคซึมเศร้า ...โดย สุทัศน์ ยกส้าน ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000088621 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...