ผนึกกำลังแกนนำองค์องค์กรเครือข่าย ขับเคลื่อนงาน ด้านสุขภาพจิต เพื่อพัฒนาคนพิการทางจิต
สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย ผนึกกำลังแกนนำองค์องค์กรเครือข่าย ขับเคลื่อนงาน ด้านสุขภาพจิต เพื่อพัฒนาคนพิการทางจิต
(16 ก.ค. 68) สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย นำโดย นางนุชจารี คล้ายสุวรรณ นายกสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย และแกนนำองค์กรเครือข่ายทั่วประเทศ จัดโครงการเสริมพลังแกนนำองค์กรเครือข่ายในการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพจิตกับการพัฒนาคนพิการทางจิต และประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 9 – 12 กรกฎาคม 2568 ณ เซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ต ถนนสนามบิน ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และที่ห้องประชุมแกรนด์ภูคำ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีสมาชิกชมรมเครือข่ายของสมาคมทั่วประเทศเข้าร่วมงาน ทั้งนี้ ได้จัดพิธีเปิดงานอย่างยิ่งใหญ่อลังการ โดยมี นายพิสิฐ พูลพิพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน ผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ มีทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปที่ให้ความสนใจในกิจกรรมของงาน
นางนุชจารี คล้ายสุวรรณ นายกสมาคม ได้กล่าวว่า สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศ มีชมรมเครือข่ายทั่วประเทศจำนวน 157 ชมรม ที่ช่วยกันขับเคลื่อนงานด้านจิตเวชอย่างต่อเนื่อง ในปี 2568 สมาคมจะมีการขยายเครือข่ายในเขตกรุงเทพมหานครอีกจำนวน 12 เขต และอีกจำนวน 15 อำเภอ ใน 8 จังหวัดของภาคใต้ ซึ่งสมาคมจะมีสมาชิกชมรมเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น ที่จะช่วยกันขับเคลื่อนงานด้านจิตเช และมีสมาชิกรายบุคคลทั้งหมด 8,423 คน เป็นสมาชิกสามัญจำนวน 5,970 คน แบ่งเป็นคนพิการทางจิต 4,282 คน ผู้ดูแล 1,686 คน สมาชิกวิสามัญ 2,453 คน โดยสมาคมฯ พบว่าคนพิการทางจิตส่วนมากยังไม่ได้รับการจ้างงานตามกฎหมายอีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งการประกอบอาชีพอิสระ ผลมาจากการที่คนพิการทางจิตยังขาดการฟื้นฟูทักษะด้านอาชีพ ซึ่งการมีอาชีพมีงานทำของคนพิการทางจิตถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ เพราะการทำงานมีอาชีพและมีรายได้เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน บทบาทและหน้าที่ที่สำคัญของแกนนำขององค์กรเครือข่าย จึงมีความจำเป็นอย่างมาก ที่จะช่วยกันส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน พร้อมผลักดันให้คนพิการทางจิตเข้าถึงสิทธิต่างๆที่รัฐจัดให้ได้เพิ่มมากขึ้น กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมการประชุม ,การเสวนา, การบรรยายความรู้ทางวิชาการในหัวข้อต่างๆ อาทิ
• บรรยาย “สติปัญญาทุกลมหายใจเพื่อสันติสุขอย่างยั่งยืน”
วิทยากรโดย พระครูสังฆกิจดิลก, ดร. เจ้าอาวาสวัดสารอด กทม.
• เสวนา“แผนยุทธศาสตร์สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย ประจำปี 2568-2571 และแนวทางการขับเคลื่อนงานด้านจิตเวชของชมรมเครือข่าย”
วิทยากรโดย รศ. ดร.ศุภชัย เหมือนโพธิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวางแผนยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพชีวิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงเสน
• เสวนา “โอกาสคืนสู่สังคมของผู้ป่วยจิตเวชกับบทบาทสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าว”
วิทยากรโดย
1.คุณต้นกล้า ชัยอนันต์ ปันชู ผู้ประกาศข่าวช่อง 8 สื่อทีวีดิจิทัล
2.คุณเบนซ์ จิรายุ จันทรวงษ์ อินฟูเรนเซอร์ ชื่อดัง และ ผู้สื่อข่าวโซเชียล
3.คุณบอล ณัฐพล รัตนิพนธ์ ผู้ดำเนินรายการ
• บรรยาย “ปลูกพลังจิตอาสา สร้างเครือข่ายเยียวยาใจในชุมชน”
วิทยากรโดย ผศ.ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ร่วมด้วยวิทยากรสมทบ และที่ปรึกษาสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย ในการแบ่งกลุ่มทำแผนปี 2569 ประกอบด้วย
1.เครือข่ายภาคเหนือ
วิทยากรโดย น.ส.ญาณี ชีวะเจริญ กรรมการบริหารสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย
2.เครือข่ายภาคกลาง
วิทยากรโดย นางกัลยา อ่อนจันทร์ ที่ปรึกษาสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย
3.เครือข่ายภาคอีสาน
วิทยากรโดย นางณัฐกฤตา พึ่งสุข ที่ปรึกษาสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย
4.เครือข่ายภาคตะวันออก
วิทยากรโดย นางฉวีวรรณ ป้องพาล ที่ปรึกษาสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย
5.เครือข่ายภาคใต้
วิทยากรโดย พ.ต.ท.สันติ ลามะ ที่ปรึกษาเครือข่ายสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย
สาขาภาคใต้
6.เครือข่ายเขตกรุงเทพมหานคร
วิทยากรโดย รศ. ดร.ศุภชัย เหมือนโพธิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวางแผนยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพชีวิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิททยาเขตกำแพงเสน
7.ชมรมตะวันทอแสง (ชมรมของคนพิการทางจิตโดยคนพิการทางจิตและเพื่อคนพิการทางจิต) วิทยากรโดย นางนุชจารี คล้ายสุวรรณ นายกสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมออกบูทร้านค้าจากแกนนำชมรมเครือข่ายองค์กรภายใต้สมาคม เพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย จากภาคต่างๆจำนวนมากกว่า 70 ร้านค้า ที่นำสินค้าจาก ผู้บกพร่องทางจิตเป็นผู้ผลิต รวมทั้งของแกนนำ อาสาสมัครจากชมรมต่างๆมาจัดจำหน่าย เพื่อเป็นการฝึกอาชีพ ฝึกการขาย ฝึกวิธีการจัดจำหน่ายให้แก่คนพิการและองค์กรเครือข่ายต่างๆทั่วประเทศ ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปเป็นจำนวนมาก