โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy)
โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy) หมายถึง อาการที่เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีก ทำให้หลับตาได้ไม่สนิท มุมปากตก และขยับใบหน้าซีกนั้นไม่ได้ โดย เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง แต่จะก่อให้เกิดความกังวล และ สูญเสียความมั่นใจในการเข้าสังคมของผู้ป่วย สาเหตุที่เรียกว่า Bell’s palsy ก็เพราะนายแพทย์ Charles Bell ศัลยแพทย์ชาวสก็อตเป็นผู้บรรยายอาการของโรคนี้ไว้เป็นท่านแรกตั้งแต่ศตวรรษ ที่ 19
หน้าเบี้ยวหลับตาไม่สนิท จะทำให้เกิดอัมพาตหรือไม่ อาการของโรคหน้าเบี้ยว ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเร็วใน 1-2 วัน ตื่นมารู้สึกหน้าหนักๆ หลับตาไม่สนิท ตาแห้ง ดื่มน้ำจะมีน้ำไหลจากมุมปาก บางรายมีลิ้นรับรสผิดปกติหรือหูอื้อๆ ร่วมด้วย ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์เร็วเพราะมีคนทัก และกลัวเป็นอัมพาต ซึ่งอาการของสมองขาดเลือด (อัมพฤกษ์ อัมพาต) จะแยกได้โดย มักจะมีอาการทางระบบประสาทอื่นร่วมด้วย ได้แก่ แขนขาอ่อนแรงข้างเดียวกับที่มีปากเบี้ยวตาเห็นภาพซ้อนเดินเซหรือมีอาการบ้านหมุนเป็นต้น
อาการหน้าเบี้ยวนั้นเกิดได้จากรอยโรคหลายแห่ง อาจเป็นจากโรคในเนื้อสมอง(ชนิดUMN) เช่น จากเส้นเลือดในสมองตีบ หรือ จากเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7(ชนิดLMN) แต่อาการทางคลินิกจะแตกต่างกันอย่างชัดเจน สามารถสังเกตง่ายๆได้โดย ถ้าเป็นจากโรคในเนื้อสมอง(UMN) ผู้ป่วยมักจะหลับตาได้สนิท แต่มุมปากจะขยับได้น้อยลง แต่ถ้าเป็นจากเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7(LMN)เอง จะขยับไม่ได้ทั้งซีกหน้า หลับตาไม่สนิท มุมปากตก ดื่มน้ำก็จะหกจากข้างนั้นๆ
ความผิดปกติของเส้น ประสาทสมองเส้นที่ 7 นั้น อาจเกิดจากส่วนของเส้นประสาทส่วนที่ยังอยู่ในก้านสมอง(brainstem ส่วน pons) หรือ ส่วนที่ออกมาจากเนื้อสมองแล้วแต่ยังอยู่ในช่องน้ำไขสันหลัง(subarachnoid space) หรือฐานกระโหลก ก็ได้ อย่างไรก็ตามมีส่วนน้อยที่ความผิดปกติของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 เกิดจากสาเหตุในตัวก้านสมอง ซึ่งก็มักจะมีอาการทางระบบประสาทอื่นๆให้ตรวจพบด้วย และจะเรียกชื่อตามแต่สาเหตุของโรค ไม่เรียกว่าโรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy)
ดังนั้นโรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy) ในทางการแพทย์จะหมายถึง อาการหน้าเบี้ยวหลับตาไม่สนิท มุมปากตก จากความผิดปกติของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 เพียงอย่างเดียวโดยที่มักจะไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่ก็ เชื่อว่าสาเหตุน่าจะเป็นจากการติดเชื้อไวรัสเริม (HSV1) ที่ตัวเส้นประสาทเอง
โรคนี้พบในคนกลุ่มใด พบได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีมีครรภ์ช่วงสามเดือนสุดท้าย การวินิจฉัยแยกโรค นอกจากนั้นสาเหตุอื่นๆของการหน้าเบี้ยวที่ให้อาการคล้ายโรคใบหน้าเบี้ยวครึ่ง ซีก (Bell’s palsy) ได้แก่ การติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง(meningitis) การติดเชื้องูสวัด(HZV) เอชไอวี (HIV) ไลม์(Lyme) ซิฟิลิสเรื้อรัง(syphilitic gumma) ซาคอยโดสิส(sarcoidosis) โรคเรื้อน(leprosy) การกดทับจากเนื้องอกหรือการอักเสบติดเชื้อของต่อมน้ำลายพาโรติดที่อยู่หน้า หู หรือ จากต่อมน้ำเหลือง อุบัติเหตุที่ใบหน้า โรคGuillain Barresyndrome(GBS)และที่สำคัญคือเส้นประสาทที่7ขาดเลือดที่พบในเบาหวาน
การวินิจฉัย โดย การตรวจอาการทางคลินิกส่วนมากมักจะเพียงพอ ยกเว้นในรายที่ต้องการวินิจฉัยแยกโรคจากภาวะอื่นๆดังกล่าวข้างต้น จึงจะทำการตรวจเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนสูงอายุ หรือสงสัยโรคเบาหวาน
อาการจะหายหรือไม่ การผ่าตัดในสมัยก่อนเรียก microvascular decompression ประมาณ 80-90% จะหายเป็นปกติ อาการมักดีขึ้นในสองสัปดาห์ และส่วนมากจะกลับเป็นปกติใน 3-6 เดือน ส่วนน้อยเท่านั้นที่มีความผิดปกติหลงเหลืออยู่บ้าง หรือเกิดเส้นประสาทต่อกันผิด (synkinesis) จะทำให้มีอาการ เช่น ทานอาหารแล้วน้ำตาไหลหรือหลับตาแล้วมุมปากขยับ
การรักษา มีการพูดถึง การใช้สเตียรอยด์และยาต้านไวรัสว่าอาจให้ผลการรักษาดี มีการศึกษาขนาดเล็กจากญี่ปุ่นพบว่าการใช้ valacyclovir ร่วมกับสเตียรอยด์ ให้ผลดีกว่าไม่ได้ยา แต่ล่าสุดมีการศึกษาในผู้ป่วยเกือบ 500 คนจากสกอตแลนด์(N Engl J Med 2007;357:1598-607.) ถึงการใช้สเตียรอยด์ภายในสามวันแรกพบว่าให้ผลการรักษาที่ดีกว่ายาหลอก และพบว่ายา acyclovir ไม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา การศึกษานี้ไม่ได้ทำในผู้ป่วยเบาหวานที่คุมไม่ได้และหญิงตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่แน่ชัดในเรื่องยา
การรักษาตามอาการและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน มีความสำคัญมาก เนื่องจากผู้ป่วยหลับตาไม่สนิทจึงมักมีตาแดงและอาจนำไปสู่กระจกตาอักเสบได้ดังนั้นจึงแนะนำผู้ป่วยให้
ใช้น้ำตาเทียมเพื่อป้องกันตาแห้ง
ใช้ยาขี้ผึ้งป้ายตาก่อนนอนหรือที่ครอบตาป้องกันฝุ่นเข้าตาเวลานอนหลับ
สวมแว่นกันลมเวลาออกนอกบ้าน
อย่าขยี้ตาข้างที่ปิดไม่สนิท
การทำกายภาพบำบัดเพื่อเป็นการฝึกกล้ามเนื้อใบหน้าที่อ่อนแรงให้ได้ทำงานเพื่อรอการฟื้นตัว
สรุป โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy) มี อาการหลับตาไม่สนิท และมุมปากขยับไม่ได้ เป็นโรคที่พบได้บ่อย พบได้ในทุกเพศ อายุ และสตรีมีครรภ์ช่วงสามเดือนสุดท้ายจะพบได้บ่อย เชื่อว่าส่วนใหญ่เกิดจากไวรัสจึงมักจะหายเองได้ อาการมักดีขึ้นในสองสัปดาห์ และส่วนมากจะกลับเป็นปกติใน 3-6 เดือน การจะตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมหรือไม่นั้นขึ้นกับอาการแสดงของผู้ป่วย ถ้าอายุมากอาจจะตรวจเบาหวานด้วย การรักษาทางยายังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด แต่การรักษาตามอาการและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนนั้นสำคัญยิ่งกว่า ผู้ป่วยจึงควรระวังและป้องกันตนเองไม่ให้เกิดกระจกตาอักเสบตามมาได้ : ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลพญาไท
ขอบคุณ... http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/5/85/th (ขนาดไฟล์: 15)
โรงพยาบาลพญาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ม.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy) หมายถึง อาการที่เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีก ทำให้หลับตาได้ไม่สนิท มุมปากตก และขยับใบหน้าซีกนั้นไม่ได้ โดย เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง แต่จะก่อให้เกิดความกังวล และ สูญเสียความมั่นใจในการเข้าสังคมของผู้ป่วย สาเหตุที่เรียกว่า Bell’s palsy ก็เพราะนายแพทย์ Charles Bell ศัลยแพทย์ชาวสก็อตเป็นผู้บรรยายอาการของโรคนี้ไว้เป็นท่านแรกตั้งแต่ศตวรรษ ที่ 19 นายแพทย์ Charles Bell หน้าเบี้ยวหลับตาไม่สนิท จะทำให้เกิดอัมพาตหรือไม่ อาการของโรคหน้าเบี้ยว ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเร็วใน 1-2 วัน ตื่นมารู้สึกหน้าหนักๆ หลับตาไม่สนิท ตาแห้ง ดื่มน้ำจะมีน้ำไหลจากมุมปาก บางรายมีลิ้นรับรสผิดปกติหรือหูอื้อๆ ร่วมด้วย ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์เร็วเพราะมีคนทัก และกลัวเป็นอัมพาต ซึ่งอาการของสมองขาดเลือด (อัมพฤกษ์ อัมพาต) จะแยกได้โดย มักจะมีอาการทางระบบประสาทอื่นร่วมด้วย ได้แก่ แขนขาอ่อนแรงข้างเดียวกับที่มีปากเบี้ยวตาเห็นภาพซ้อนเดินเซหรือมีอาการบ้านหมุนเป็นต้น อาการหน้าเบี้ยวนั้นเกิดได้จากรอยโรคหลายแห่ง อาจเป็นจากโรคในเนื้อสมอง(ชนิดUMN) เช่น จากเส้นเลือดในสมองตีบ หรือ จากเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7(ชนิดLMN) แต่อาการทางคลินิกจะแตกต่างกันอย่างชัดเจน สามารถสังเกตง่ายๆได้โดย ถ้าเป็นจากโรคในเนื้อสมอง(UMN) ผู้ป่วยมักจะหลับตาได้สนิท แต่มุมปากจะขยับได้น้อยลง แต่ถ้าเป็นจากเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7(LMN)เอง จะขยับไม่ได้ทั้งซีกหน้า หลับตาไม่สนิท มุมปากตก ดื่มน้ำก็จะหกจากข้างนั้นๆ ภาพ A หน้าเบี้ยวครึ่งซีกขวาชนิด UMN ภาพ B หน้าเบี้ยวครึ่งซีกขวาชนิด LMN ความผิดปกติของเส้น ประสาทสมองเส้นที่ 7 นั้น อาจเกิดจากส่วนของเส้นประสาทส่วนที่ยังอยู่ในก้านสมอง(brainstem ส่วน pons) หรือ ส่วนที่ออกมาจากเนื้อสมองแล้วแต่ยังอยู่ในช่องน้ำไขสันหลัง(subarachnoid space) หรือฐานกระโหลก ก็ได้ อย่างไรก็ตามมีส่วนน้อยที่ความผิดปกติของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 เกิดจากสาเหตุในตัวก้านสมอง ซึ่งก็มักจะมีอาการทางระบบประสาทอื่นๆให้ตรวจพบด้วย และจะเรียกชื่อตามแต่สาเหตุของโรค ไม่เรียกว่าโรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy) ภาพกายวิภาคของเส้น ประสาทสมองเส้นที่ 7 เส้นประสาทจะออกจากก้านสมองส่วน pons แล้วออกไปทางด้านข้าง เดินทางคู่ไปกับเส้นประสาทสมองเส้นที่ 8 ผ่านกระโหลกศีรษะไปออกที่หน้าต่อใบหู เส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 นี้นอกจากควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้าแล้ว ดังนั้นโรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy) ในทางการแพทย์จะหมายถึง อาการหน้าเบี้ยวหลับตาไม่สนิท มุมปากตก จากความผิดปกติของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 เพียงอย่างเดียวโดยที่มักจะไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่ก็ เชื่อว่าสาเหตุน่าจะเป็นจากการติดเชื้อไวรัสเริม (HSV1) ที่ตัวเส้นประสาทเอง โรคนี้พบในคนกลุ่มใด พบได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีมีครรภ์ช่วงสามเดือนสุดท้าย การวินิจฉัยแยกโรค นอกจากนั้นสาเหตุอื่นๆของการหน้าเบี้ยวที่ให้อาการคล้ายโรคใบหน้าเบี้ยวครึ่ง ซีก (Bell’s palsy) ได้แก่ การติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง(meningitis) การติดเชื้องูสวัด(HZV) เอชไอวี (HIV) ไลม์(Lyme) ซิฟิลิสเรื้อรัง(syphilitic gumma) ซาคอยโดสิส(sarcoidosis) โรคเรื้อน(leprosy) การกดทับจากเนื้องอกหรือการอักเสบติดเชื้อของต่อมน้ำลายพาโรติดที่อยู่หน้า หู หรือ จากต่อมน้ำเหลือง อุบัติเหตุที่ใบหน้า โรคGuillain Barresyndrome(GBS)และที่สำคัญคือเส้นประสาทที่7ขาดเลือดที่พบในเบาหวาน การวินิจฉัย โดย การตรวจอาการทางคลินิกส่วนมากมักจะเพียงพอ ยกเว้นในรายที่ต้องการวินิจฉัยแยกโรคจากภาวะอื่นๆดังกล่าวข้างต้น จึงจะทำการตรวจเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนสูงอายุ หรือสงสัยโรคเบาหวาน อาการจะหายหรือไม่ การผ่าตัดในสมัยก่อนเรียก microvascular decompression ประมาณ 80-90% จะหายเป็นปกติ อาการมักดีขึ้นในสองสัปดาห์ และส่วนมากจะกลับเป็นปกติใน 3-6 เดือน ส่วนน้อยเท่านั้นที่มีความผิดปกติหลงเหลืออยู่บ้าง หรือเกิดเส้นประสาทต่อกันผิด (synkinesis) จะทำให้มีอาการ เช่น ทานอาหารแล้วน้ำตาไหลหรือหลับตาแล้วมุมปากขยับ การรักษา มีการพูดถึง การใช้สเตียรอยด์และยาต้านไวรัสว่าอาจให้ผลการรักษาดี มีการศึกษาขนาดเล็กจากญี่ปุ่นพบว่าการใช้ valacyclovir ร่วมกับสเตียรอยด์ ให้ผลดีกว่าไม่ได้ยา แต่ล่าสุดมีการศึกษาในผู้ป่วยเกือบ 500 คนจากสกอตแลนด์(N Engl J Med 2007;357:1598-607.) ถึงการใช้สเตียรอยด์ภายในสามวันแรกพบว่าให้ผลการรักษาที่ดีกว่ายาหลอก และพบว่ายา acyclovir ไม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา การศึกษานี้ไม่ได้ทำในผู้ป่วยเบาหวานที่คุมไม่ได้และหญิงตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่แน่ชัดในเรื่องยา การรักษาตามอาการและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน มีความสำคัญมาก เนื่องจากผู้ป่วยหลับตาไม่สนิทจึงมักมีตาแดงและอาจนำไปสู่กระจกตาอักเสบได้ดังนั้นจึงแนะนำผู้ป่วยให้ ใช้น้ำตาเทียมเพื่อป้องกันตาแห้ง ใช้ยาขี้ผึ้งป้ายตาก่อนนอนหรือที่ครอบตาป้องกันฝุ่นเข้าตาเวลานอนหลับ สวมแว่นกันลมเวลาออกนอกบ้าน อย่าขยี้ตาข้างที่ปิดไม่สนิท การทำกายภาพบำบัดเพื่อเป็นการฝึกกล้ามเนื้อใบหน้าที่อ่อนแรงให้ได้ทำงานเพื่อรอการฟื้นตัว สรุป โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy) มี อาการหลับตาไม่สนิท และมุมปากขยับไม่ได้ เป็นโรคที่พบได้บ่อย พบได้ในทุกเพศ อายุ และสตรีมีครรภ์ช่วงสามเดือนสุดท้ายจะพบได้บ่อย เชื่อว่าส่วนใหญ่เกิดจากไวรัสจึงมักจะหายเองได้ อาการมักดีขึ้นในสองสัปดาห์ และส่วนมากจะกลับเป็นปกติใน 3-6 เดือน การจะตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมหรือไม่นั้นขึ้นกับอาการแสดงของผู้ป่วย ถ้าอายุมากอาจจะตรวจเบาหวานด้วย การรักษาทางยายังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด แต่การรักษาตามอาการและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนนั้นสำคัญยิ่งกว่า ผู้ป่วยจึงควรระวังและป้องกันตนเองไม่ให้เกิดกระจกตาอักเสบตามมาได้ : ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลพญาไท ขอบคุณ... http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/5/85/th โรงพยาบาลพญาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ม.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)