'ระนอง' ต้นแบบดูแล เด็กออ (ทิสติก) ครบวงจร (ตอนที่ 2)

แสดงความคิดเห็น

นายแพทย์ทินกร พงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการโรรพยาบาลระนอง ออทิสติก (Autistic) เป็น 1 ใน 3 ของอาการผิดปกติในการรับรู้ในช่วงอาการออทิสซึ่ม (Autism spectrum) (ASDs) และอีก 2 ชนิดอยู่ในกลุ่มอาการแอ สเปอร์เกอร์ (Asperger syndrome) ซึ่งขาดพัฒนาการและภาษาของการเรียนรู้ และความผิดปกติในการพัฒนาแบบรอบด้าน (Pervasive developmental disorder, not otherwise specified) มักเขียนเป็นคำย่อว่า PDD-NOS)

ออทิสติกมีพื้นฐานจากกรรมพันธุ์ (Genetics) แม้ว่าพันธุกรรมของออทิสติกจะซับซ้อนและยังไม่แน่ชัด ออทิสติกได้รับการอธิบายว่าอาจเกิดจากการกลายพันธุ์ (Mutation) หรือโดยการรวมกันของ จีน/ยีน (Gene) ทั่วไปที่กลายพันธุ์ ส่วนกรณีที่ไม่พบบ่อย คาดว่าออทิสติกเกี่ยวข้องกับสารซึ่งเป็นสาเหตุความบกพร่องแต่กำเนิด (Birth defects) อย่างแรง มีการถกเถียงโดยทั่วๆ ไปว่าสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่คาดว่าเป็นสาเหตุอย่าง เช่น โลหะหนัก ยาฆ่าแมลง หรือ วัคซีนที่ฉีดในเด็กเล็ก ทฤษฎีเรื่องวัคซีนยังไม่น่าเป็นไปได้ทางชีววิทยาและขาดหลักฐานที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อถือ อุบัติการณ์ของออทิสติกเกิดขึ้นประมาณ 1-2 รายต่อประชากร 1,000 คน ทั่วโลก

ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (Centers for Disease Control and Prevention : CDC) ในสหรัฐอเมริกา รายงานว่ามี 20 รายต่อเด็กอเมริกันน 1,000 คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติกในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งเพิ่มจาก 11 ราย/1,000 คน ในปี พ.ศ. 2511 ตัวเลขของประชากรที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติกได้เพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523

โดยปกติ ผู้ปกครองจะสังเกตอาการได้ใน 2 ขวบปีแรกของชีวิตวัยเด็ก อาการปกติจะพัฒนาทีละน้อย แต่เด็กออทิสติกบางคนจะพัฒนาตามปกติในช่วงแรก หลังจากการพัฒนาก็จะถดถอยลง การเสริมสร้างพฤติกรรมในช่วงต้น มีทั้งการเรียนรู้ หรือการพูด สามารถช่วยให้เด็กออทิสติกมีทักษะในการดูแลตัวเอง การเข้าสังคม และการสื่อสารได้

ในปัจจุบัน แม้ว่าจะยังไม่รู้วิธีรักษา แต่ก็มีรายงานในกรณีของเด็กที่กลับมาเป็นปกติได้ มีเด็กออทิสติกไม่มากนักที่อาศัยอย่างโดดเดี่ยวหลังจากเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แม้ว่าจะมีบางคนสามารถอยู่อย่างโดเดี่ยวได้ก็ตาม วัฒนธรรมของออสทิสติก (Autistic culture) ได้รับการพัฒนามาตลอด โดยบางคนแสวงหาวิธีรักษา แต่บางคนก็เชื่อว่า ควรยอมรับในความแตกต่าง แต่ไม่ควรถือว่าเป็นความบกพร่อง

ออทิสติกเป็นความผิดปกติในการพัฒนาระบบประสาทที่ผันแปรอย่างสูง ซึ่งปรากฏอาการช่วงวัยทารกหรือวัยเด็กและโดยทั่วๆ ไปก็จะมีอาการสม่ำเสมอโดยไม่มีการลดน้อยถอยลง อาการชัดเจนจะปรากฏทีละน้อยหลังจากอายุได้ 6 เดือน และกลายเป็นเด็กออทิสติกเมื่ออายุ 2-3 ปี และต่อไปจนถึงผู้ใหญ่ แม้ว่าจะอยู่แบบเงียบๆ และไม่ได้เห็นอาการใดอาการหนึ่ง เด่นชัด แต่จะมีลักษณะพิเศษ (Characateristics) 3 ประการ กล่าวคือ (1) บกพร่องในการเข้าสังคม (2) บกพร่องในการสื่อสาร และ (3) มีพฤติกรรมซ้ำๆและความสนใจที่จำกัด ความคาดหวังอย่างอื่น เช่น การกินที่ไม่เป็นระเบียบซึ่งเป็นธรรมดามาก แต่ไม่มีความสำคัญสำหรับการวินิจฉัยและไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนของอาการรุนแรงจากอาการธรรมดา....โดย ภก. กรชัย ฉันทจิรธรรม

แหล่งข้อมูล:

มาไวๆ...ถ้าสงสัยเด็กออ (ทิสติก) - http://www.komchadluek.net/detail/20130719/163752/มาไวๆ...ถ้าสงสัยเด็กออ%28ทิสติก%29.html#.Ugw6sZIvlqV [2013, August 15].

Autism - http://en.wikipedia.org/wiki/Autism [2023, August 15].

ขอบคุณ ... http://haamor.com/th/ระนอง-ต้นแบบดูแลเด็กออทิสติกครบวงจร-2

haamor.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ส.ค.56

ที่มา: haamor.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 17/08/2556 เวลา 03:49:06 ดูภาพสไลด์โชว์ 'ระนอง' ต้นแบบดูแล เด็กออ (ทิสติก) ครบวงจร (ตอนที่ 2)

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายแพทย์ทินกร พงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการโรรพยาบาลระนอง ออทิสติก (Autistic) เป็น 1 ใน 3 ของอาการผิดปกติในการรับรู้ในช่วงอาการออทิสซึ่ม (Autism spectrum) (ASDs) และอีก 2 ชนิดอยู่ในกลุ่มอาการแอ สเปอร์เกอร์ (Asperger syndrome) ซึ่งขาดพัฒนาการและภาษาของการเรียนรู้ และความผิดปกติในการพัฒนาแบบรอบด้าน (Pervasive developmental disorder, not otherwise specified) มักเขียนเป็นคำย่อว่า PDD-NOS) ออทิสติกมีพื้นฐานจากกรรมพันธุ์ (Genetics) แม้ว่าพันธุกรรมของออทิสติกจะซับซ้อนและยังไม่แน่ชัด ออทิสติกได้รับการอธิบายว่าอาจเกิดจากการกลายพันธุ์ (Mutation) หรือโดยการรวมกันของ จีน/ยีน (Gene) ทั่วไปที่กลายพันธุ์ ส่วนกรณีที่ไม่พบบ่อย คาดว่าออทิสติกเกี่ยวข้องกับสารซึ่งเป็นสาเหตุความบกพร่องแต่กำเนิด (Birth defects) อย่างแรง มีการถกเถียงโดยทั่วๆ ไปว่าสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่คาดว่าเป็นสาเหตุอย่าง เช่น โลหะหนัก ยาฆ่าแมลง หรือ วัคซีนที่ฉีดในเด็กเล็ก ทฤษฎีเรื่องวัคซีนยังไม่น่าเป็นไปได้ทางชีววิทยาและขาดหลักฐานที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อถือ อุบัติการณ์ของออทิสติกเกิดขึ้นประมาณ 1-2 รายต่อประชากร 1,000 คน ทั่วโลก ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (Centers for Disease Control and Prevention : CDC) ในสหรัฐอเมริกา รายงานว่ามี 20 รายต่อเด็กอเมริกันน 1,000 คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติกในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งเพิ่มจาก 11 ราย/1,000 คน ในปี พ.ศ. 2511 ตัวเลขของประชากรที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติกได้เพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 โดยปกติ ผู้ปกครองจะสังเกตอาการได้ใน 2 ขวบปีแรกของชีวิตวัยเด็ก อาการปกติจะพัฒนาทีละน้อย แต่เด็กออทิสติกบางคนจะพัฒนาตามปกติในช่วงแรก หลังจากการพัฒนาก็จะถดถอยลง การเสริมสร้างพฤติกรรมในช่วงต้น มีทั้งการเรียนรู้ หรือการพูด สามารถช่วยให้เด็กออทิสติกมีทักษะในการดูแลตัวเอง การเข้าสังคม และการสื่อสารได้ ในปัจจุบัน แม้ว่าจะยังไม่รู้วิธีรักษา แต่ก็มีรายงานในกรณีของเด็กที่กลับมาเป็นปกติได้ มีเด็กออทิสติกไม่มากนักที่อาศัยอย่างโดดเดี่ยวหลังจากเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แม้ว่าจะมีบางคนสามารถอยู่อย่างโดเดี่ยวได้ก็ตาม วัฒนธรรมของออสทิสติก (Autistic culture) ได้รับการพัฒนามาตลอด โดยบางคนแสวงหาวิธีรักษา แต่บางคนก็เชื่อว่า ควรยอมรับในความแตกต่าง แต่ไม่ควรถือว่าเป็นความบกพร่อง ออทิสติกเป็นความผิดปกติในการพัฒนาระบบประสาทที่ผันแปรอย่างสูง ซึ่งปรากฏอาการช่วงวัยทารกหรือวัยเด็กและโดยทั่วๆ ไปก็จะมีอาการสม่ำเสมอโดยไม่มีการลดน้อยถอยลง อาการชัดเจนจะปรากฏทีละน้อยหลังจากอายุได้ 6 เดือน และกลายเป็นเด็กออทิสติกเมื่ออายุ 2-3 ปี และต่อไปจนถึงผู้ใหญ่ แม้ว่าจะอยู่แบบเงียบๆ และไม่ได้เห็นอาการใดอาการหนึ่ง เด่นชัด แต่จะมีลักษณะพิเศษ (Characateristics) 3 ประการ กล่าวคือ (1) บกพร่องในการเข้าสังคม (2) บกพร่องในการสื่อสาร และ (3) มีพฤติกรรมซ้ำๆและความสนใจที่จำกัด ความคาดหวังอย่างอื่น เช่น การกินที่ไม่เป็นระเบียบซึ่งเป็นธรรมดามาก แต่ไม่มีความสำคัญสำหรับการวินิจฉัยและไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนของอาการรุนแรงจากอาการธรรมดา....โดย ภก. กรชัย ฉันทจิรธรรม แหล่งข้อมูล: มาไวๆ...ถ้าสงสัยเด็กออ (ทิสติก) - http://www.komchadluek.net/detail/20130719/163752/มาไวๆ...ถ้าสงสัยเด็กออ%28ทิสติก%29.html#.Ugw6sZIvlqV . Autism - http://en.wikipedia.org/wiki/Autism . ขอบคุณ ... http://haamor.com/th/ระนอง-ต้นแบบดูแลเด็กออทิสติกครบวงจร-2 haamor.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ค้นหาข้อมูลในห้องสมุด