ทางเบี่ยง : งานวิจัยที่มีชีวิต ด้วยการถอดภาพชีวิตและลิขิตเป็นเรื่องราว

เนื้อหาบางส่วน

การขับเคลื่อนสังคมในยุคประชาชนมีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย วางแผนการจัดการปัญหาของชุมชน สังคม ประเทศ และโลก เป็นที่กล่าวขานกันว่าเป็นยุคของขบวนการประชาสังคม มีการสร้างกระบวนการจัดการให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ ที่อิงฐานความคิดทางวิทยาศาสตร์ในโลกใหม่ (postmodern sciences) แล้วนำความรู้เหล่านั้นมาเป็นแรงหนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยคาดหวังว่าสังคมไทยจะสามารถฟันฝ่าปัญหาต่าง ๆ ด้วยการพลิกฟื้นภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับวิทยาการสมัยใหม่ หันมาเรียนรู้การพึ่งพาตนเอง การสร้างคนที่มี “จิตอาสา” ต่อยอดด้วยกระบวนการวิจัย เพิ่มศักยภาพให้เป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ มีคุณลักษณะของการวิจัยชุมชน เป็นเส้น “ทางเบี่ยง” สร้างความรู้จากชุมชน สร้างชีวิตสู่สังคม แสวงปัญญาเป็นพลังสร้างชุมชนเข้มแข็งด้วยการคิดแก้ไขปัญหาอย่างอิสระ

งานวิจัยชุมชนที่มีคุณลักษณะใหม่นี้ เป็นการผสมผสาน “จิตอาสา” ด้วย “ปัญญาสร้างฐานคิดใหม่” เป็นการสร้างสรรค์กระบวนการลองผิดลองถูก ได้ รูปแบบงานวิจัยที่มีชีวิต เพราะชุมชนมีส่วนร่วมในการทำวิจัย ร่วมเรียนรู้ เป็นเครือข่ายทางวิชาการอย่างธรรมชาติ ก่อให้เกิดเครือข่ายชุมชนขับเคลื่อนสังคมอย่างมีทิศทาง ที่ชุมชนสามารถนำไปขยายผล วางแผนอนาคตของตนเอง แสดงความเป็นชุมชนเข้มแข็งในที่สุด

ดาวน์โหลดเอกสาร

ที่มา: คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายการวิจัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและครอบครัว สำนักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ
วันที่โพสต์: 25/06/2556 เวลา 08:02:40