เปิดโลกเด็กแอลดี อ่านช่วยสร้างสุข
คอลัมน์: รายงานพิเศษ: ในโลกของ 'เด็ก' ที่เกิดมาพร้อมความบกพร่องทางการเรียนรู้ อย่าง 'เด็กแอลดี'ซึ่งเป็นอาการที่วินิจฉัยยากที่สุดในกลุ่มโรคพิเศษที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และมักจะมีความสับสนและเข้าใจผิดว่าเป็นอาการดาวน์ซินโดรม แต่ก็มิใช่เรื่องยากเกินไปที่จะบ่มเพาะเด็กกลุ่มนี้ ให้เติบใหญ่เป็นคนที่สามารถดำรงอยู่ได้ในสังคมได้อย่างมีความสุข
แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย ร่วมกันจัด 'โครงการสื่ออ่านสร้างสุขเพื่อเด็กแอลดี'เพื่อสร้างเครือข่ายพ่อแม่ ครู และผู้ปกครองให้มีความเข้าใจ จากความรู้ริเริ่มสู่การลงมือผลิตสื่ออ่านยกกำลังสุขให้เกิดขึ้นในกลุ่มเด็ก แอลดี
สุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส.'การอ่านหนังสือ'ให้เด็กฟังตั้งแต่อายุ 4-6 เดือนนั้น พลังของหนังสือจะก่อความมหัศจรรย์ได้อย่างไม่น่าเชื่อ สำหรับในบางคนเมื่อบ่มเพาะนิสัยการอ่านและสะสมหนังสือมากพอ วันหนึ่งเด็กจะหยิบหนังสือขึ้นมาฝึกอ่านเองก่อนที่เขาจะเข้าโรงเรียนเสียอีก เป็นการทลายกำแพงความบกพร่องทางการเรียนรู้ของเด็ก
นอกจากการอ่านจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองของเด็กได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังเป็นกุญแจดอกสำคัญที่ช่วยให้พ่อแม่ค้นเจอว่าลูกมีอาการแอลดีหรือไม่ จากนิสัยรักการอ่านของเด็กได้ ซึ่งหากเราสามารถค้นเจอว่าเด็กเป็นแอลดีก่อนประถม1-3 ร้อยละ 80 มีโอกาสจะกลับมาเป็นปกติได้เกือบสมบูรณ์
"ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ในสังคมยังขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องแอลดีอย่างมาก และอาจส่งผลให้กลายเป็นปัญหาสังคมในอนาคต จากการพบว่าเด็กมักโดนทำร้ายโดยพ่อแม่หรือผู้ปกครองที่เกิดความไม่เข้าใจ เรื่องแอลดี กลายเป็นความหงุดหงิดและไม่พอใจแล้วลงมือทำร้ายร่างกายเด็ก จนเกิดความบอบช้ำทั้งทางร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้เด็กแอลดียังไม่สามารถทนต่อระบบการศึกษาในโรงเรียน ซึ่งถูกปิดประตูจากครูอีกเช่นกัน เด็กจึงหันเหชีวิตเข้าสู่ความเสี่ยงมากขึ้น เป็นการปิดประตูโรงเรียนและปล่อยเด็กสู่ประตูคุกในที่สุด นับเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขให้เร็วที่สุด เพราะการจะสร้างสรรค์คนดีนั้นต้องเริ่มสร้างตั้งแต่วัยเด็ก"ผู้จัดการแผนงาน สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ทิ้งท้าย
ด้านรศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ รักษาการราชการแทนผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาและพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษ 'คุณพุ่ม'อธิบายเพิ่มเติมว่า แอลดีคืออาการบกพร่องทางการเรียนรู้ อ่าน เขียนคำนวณ สัญลักษณ์ทางสังคม รวมไปถึงทักษะการบริหารจัดการตัวเอง ซึ่งมีความซับซ้อนและไม่มีลักษณะตายตัว แต่จะมีลักษณะพิเศษคือ 'จินตนาการ' ที่เป็นเลิศและ 'ฉลาด'ระดับไอคิวสูง มีศักยภาพที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ไม่ต่างจากคนปกติทั่วไป เพียงแต่มีข้อจำกัดในการทำงานของสมองเท่านั้นเอง ซึ่งไม่ยากที่จะเข้าใจ โดยต้องเริ่มจากการปรับทัศนคติของพ่อ แม่ ครู และคนใกล้ชิดเป็นอันดับแรก ที่สำคัญคือจะต้องให้โอกาสเด็กแสดงจุดเด่นของเขาออกมา และไม่ทำให้เด็กสูญเสียคุณค่า หรือความเชื่อมั่นในตัวเองลงไป
ครูชีวัน วิสาสะ นักเขียน นักเล่านิทาน และผู้เชี่ยวชาญสร้างสรรค์สื่อสำหรับเด็กแอลดี ถ่ายทอดแนวคิดและแรงบันดาลใจในการพัฒนาสื่อสำหรับเด็กแอลดีว่า การนำนิทานมาเป็นสื่อในการพัฒนาเด็กพิเศษนั้น มาจากแนวคิดที่ว่า เด็กทุกคนไม่ว่าจะพิเศษหรือไม่พิเศษต่างก็มีจินตนาการและมิติสัมผัสที่เหมือนกัน ยกตัวอย่าง "ตัวเลขเป็นอะไร"เป็นหนังสือภาพเสริมศักยภาพการเรียนรู้ และความเข้าใจรูปลักษณ์ตัวเลขอารบิกสำหรับเด็กๆ ที่ต้องการเสริมความเข้าใจเรื่องตัวเลขเป็นพิเศษซึ่งเหมาะสำหรับเด็กแอลดี ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อ่าน เขียน คำนวณ รวมถึงเหมาะกับเด็กทั่วไปที่อยู่ในวัยแห่งการเรียนรู้ ด้วยการออกแบบสื่อสารโดยใช้คำถามซึ่งผู้ใหญ่ควรอ่านคำถามเริ่มต้น แล้วให้เด็กคิดเพื่อนำไปสู่ความคิดเชื่อมโยงลักษณะของตัวเลขกับสิ่งต่างๆ รอบตัว ที่ปรากฎในหนังสือ ให้เห็นการเปรียบเทียบด้วยความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถดาวน์โหลดนังสือหรือติดตามรายละเอียดได้ที่ www.happyreading.in.th
ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/bmnd/1816763
(www.ryt9.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ม.ค.57 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คอลัมน์: รายงานพิเศษ: ในโลกของ 'เด็ก' ที่เกิดมาพร้อมความบกพร่องทางการเรียนรู้ อย่าง 'เด็กแอลดี'ซึ่งเป็นอาการที่วินิจฉัยยากที่สุดในกลุ่มโรคพิเศษที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และมักจะมีความสับสนและเข้าใจผิดว่าเป็นอาการดาวน์ซินโดรม แต่ก็มิใช่เรื่องยากเกินไปที่จะบ่มเพาะเด็กกลุ่มนี้ ให้เติบใหญ่เป็นคนที่สามารถดำรงอยู่ได้ในสังคมได้อย่างมีความสุข แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย ร่วมกันจัด 'โครงการสื่ออ่านสร้างสุขเพื่อเด็กแอลดี'เพื่อสร้างเครือข่ายพ่อแม่ ครู และผู้ปกครองให้มีความเข้าใจ จากความรู้ริเริ่มสู่การลงมือผลิตสื่ออ่านยกกำลังสุขให้เกิดขึ้นในกลุ่มเด็ก แอลดี สุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส.'การอ่านหนังสือ'ให้เด็กฟังตั้งแต่อายุ 4-6 เดือนนั้น พลังของหนังสือจะก่อความมหัศจรรย์ได้อย่างไม่น่าเชื่อ สำหรับในบางคนเมื่อบ่มเพาะนิสัยการอ่านและสะสมหนังสือมากพอ วันหนึ่งเด็กจะหยิบหนังสือขึ้นมาฝึกอ่านเองก่อนที่เขาจะเข้าโรงเรียนเสียอีก เป็นการทลายกำแพงความบกพร่องทางการเรียนรู้ของเด็ก นอกจากการอ่านจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองของเด็กได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังเป็นกุญแจดอกสำคัญที่ช่วยให้พ่อแม่ค้นเจอว่าลูกมีอาการแอลดีหรือไม่ จากนิสัยรักการอ่านของเด็กได้ ซึ่งหากเราสามารถค้นเจอว่าเด็กเป็นแอลดีก่อนประถม1-3 ร้อยละ 80 มีโอกาสจะกลับมาเป็นปกติได้เกือบสมบูรณ์ "ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ในสังคมยังขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องแอลดีอย่างมาก และอาจส่งผลให้กลายเป็นปัญหาสังคมในอนาคต จากการพบว่าเด็กมักโดนทำร้ายโดยพ่อแม่หรือผู้ปกครองที่เกิดความไม่เข้าใจ เรื่องแอลดี กลายเป็นความหงุดหงิดและไม่พอใจแล้วลงมือทำร้ายร่างกายเด็ก จนเกิดความบอบช้ำทั้งทางร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้เด็กแอลดียังไม่สามารถทนต่อระบบการศึกษาในโรงเรียน ซึ่งถูกปิดประตูจากครูอีกเช่นกัน เด็กจึงหันเหชีวิตเข้าสู่ความเสี่ยงมากขึ้น เป็นการปิดประตูโรงเรียนและปล่อยเด็กสู่ประตูคุกในที่สุด นับเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขให้เร็วที่สุด เพราะการจะสร้างสรรค์คนดีนั้นต้องเริ่มสร้างตั้งแต่วัยเด็ก"ผู้จัดการแผนงาน สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ทิ้งท้าย ด้านรศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ รักษาการราชการแทนผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาและพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษ 'คุณพุ่ม'อธิบายเพิ่มเติมว่า แอลดีคืออาการบกพร่องทางการเรียนรู้ อ่าน เขียนคำนวณ สัญลักษณ์ทางสังคม รวมไปถึงทักษะการบริหารจัดการตัวเอง ซึ่งมีความซับซ้อนและไม่มีลักษณะตายตัว แต่จะมีลักษณะพิเศษคือ 'จินตนาการ' ที่เป็นเลิศและ 'ฉลาด'ระดับไอคิวสูง มีศักยภาพที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ไม่ต่างจากคนปกติทั่วไป เพียงแต่มีข้อจำกัดในการทำงานของสมองเท่านั้นเอง ซึ่งไม่ยากที่จะเข้าใจ โดยต้องเริ่มจากการปรับทัศนคติของพ่อ แม่ ครู และคนใกล้ชิดเป็นอันดับแรก ที่สำคัญคือจะต้องให้โอกาสเด็กแสดงจุดเด่นของเขาออกมา และไม่ทำให้เด็กสูญเสียคุณค่า หรือความเชื่อมั่นในตัวเองลงไป ครูชีวัน วิสาสะ นักเขียน นักเล่านิทาน และผู้เชี่ยวชาญสร้างสรรค์สื่อสำหรับเด็กแอลดี ถ่ายทอดแนวคิดและแรงบันดาลใจในการพัฒนาสื่อสำหรับเด็กแอลดีว่า การนำนิทานมาเป็นสื่อในการพัฒนาเด็กพิเศษนั้น มาจากแนวคิดที่ว่า เด็กทุกคนไม่ว่าจะพิเศษหรือไม่พิเศษต่างก็มีจินตนาการและมิติสัมผัสที่เหมือนกัน ยกตัวอย่าง "ตัวเลขเป็นอะไร"เป็นหนังสือภาพเสริมศักยภาพการเรียนรู้ และความเข้าใจรูปลักษณ์ตัวเลขอารบิกสำหรับเด็กๆ ที่ต้องการเสริมความเข้าใจเรื่องตัวเลขเป็นพิเศษซึ่งเหมาะสำหรับเด็กแอลดี ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อ่าน เขียน คำนวณ รวมถึงเหมาะกับเด็กทั่วไปที่อยู่ในวัยแห่งการเรียนรู้ ด้วยการออกแบบสื่อสารโดยใช้คำถามซึ่งผู้ใหญ่ควรอ่านคำถามเริ่มต้น แล้วให้เด็กคิดเพื่อนำไปสู่ความคิดเชื่อมโยงลักษณะของตัวเลขกับสิ่งต่างๆ รอบตัว ที่ปรากฎในหนังสือ ให้เห็นการเปรียบเทียบด้วยความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถดาวน์โหลดนังสือหรือติดตามรายละเอียดได้ที่ www.happyreading.in.th ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/bmnd/1816763 (www.ryt9.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ม.ค.57 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)