ซัน...ดาวน์ซินโดรม ผู้สร้างสรรค์การทอ

แสดงความคิดเห็น

หากจะเล่าถึงเรื่องแม่ที่มีแต่ความเสียสละเพื่อลูก เกษณี สกุลดิษฐ์ หรือพี่เกด อาจารย์พิเศษ ภาควิชานฤมิตรศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย น่าจะถูกนับได้ว่าเป็นคนหนึ่ง

วันนี้ พี่เกด เป็นแม่ของน้องซัน หรือไกรลาศ สกุลดิษฐ์ ที่เรียกตัวเองว่า ผู้สร้างสรรค์งานทอ และเจ้าของสตูดิโอ sunfun weaving ไม่น่าเชื่อ ก็ต้องเชื่อว่า ผู้สร้างสรรค์งานทอ เจ้าของสตูดิโออายุ 19 ปีคนนี้ เป็นดาวน์ซินโดรม เมื่อ 20 ปีก่อน พี่เกดอายุ 35 ปี พยายามเรื่องลูกอยู่หลายปี ก็ยังไม่มี เห็นพี่ชายสามี มีลูกน่ารักก็อยากมีบ้าง จึงขอร้องให้สามี พี่หนุ่ย ธีระศักดิ์ สกุลดิษฐ์ อาจารย์สอน Computer music รู้จักในวงการดีเจ ในนาม DJ Sunzone ไปปรึกษาหมอ ลงเอยด้วยการคัดสเปิร์ม

น้องซัน หรือไกรลาศ สกุลดิษฐ์ เป็นดาวน์ซินโดรม

พี่หนุ่ยทำอยู่ 2 ครั้ง จึงออกดอกออกผล ตอนท้องก็หาคู่มือการเลี้ยงทารกแรกเกิดมาอ่าน พี่สาวคนโตซึ่งเป็นหมอคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่อยากท้อง เตรียมตัวท้อง ฝากท้อง จนถึงวันคลอด พี่สาวกับสามีมาเฝ้า พี่เกดฟื้นจากยาสลบ พี่หนุ่ยเห็นว่ายังเพลียจากการผ่าตัด บอกพี่เกดเพียงว่า “ลูกน่ารัก แต่ตอนนี้ยังอยู่ในห้องเด็กอ่อน”

พี่เกดสังเกตอาการพี่หนุ่ย ทำไมถึงนิ่งไม่ค่อยดีใจสักเท่าไหร่ไม่นาน จนมีโอกาส พี่หนุ่ยบอกพี่เกด “ทำใจดีๆ” พี่เกดถาม “ลูกเป็นอะไร” พี่สาวซึ่งอยู่ด้วย บอกแทน... “ลูกเธอเป็นดาวน์ซินโดรม”

วินาทีนั้นน้ำตาของพี่เกดค่อยๆไหล เกิดเหตุการณ์นี้ได้ยังไงเราก็ทำแต่ความดี ทำบุญทำทาน ทำใจอยู่ 2 วัน ร้องไห้กับทุกคนที่อยู่ใกล้ จนวันที่ 3 รวบรวมความกล้าเข้าไปดูหน้าลูก

ส่วนสามีพี่หนุ่ย ไปบวชอยู่ 7 วัน 1-2 สัปดาห์แรกกลับมาบ้าน เห็นโฆษณาในทีวีมีเด็กทารก ทนดูไม่ได้ร้องไห้จนต้องเปลี่ยนช่อง จมอยู่กับความเศร้าเกือบเดือน วันหนึ่ง วันพ่อ พี่หนุ่ยได้สัมภาษณ์หนังสือเล่มหนึ่ง มีประโยคหนึ่งประทับใจ “ถ้าเรายังมองว่าลูกเราผิดปกติ คนทั้งโลกก็จะมองว่าลูกเราผิดปกติ แต่ถ้าเรามองว่าลูกเราปกติ คนอื่นก็จะมองว่าลูกเราปกติ” พี่เกดตาสว่าง มองเห็นลู่ทางที่จะดูแลลูกต่อ

คำพูดประโยคนั้นเปิดมุมมองใหม่ พี่เกดพี่หนุ่ยเป็นนักสร้างสรรค์ออกแบบโฆษณา ชอบคิดอะไรแปลกๆ ไม่ซ้ำใคร ทำไมเราไม่คิดที่จะปั้นหรือสร้างลูกของเราให้มีศักยภาพในแบบของเค้าบ้าง ไม่จำเป็น ลูกจะต้องเหมือนใคร ที่สำคัญให้เขามีความสุขที่ได้เกิดมาในแบบที่เขาเป็นอยู่...ก็พอ

ตั้งแต่วันนั้น พี่เกดก็ทำทุกอย่าง หาข้อมูลในการดูแลเด็กที่เป็นดาวน์ พาไปปรึกษาหมอ ดูแลในเรื่องพัฒนาการ จนซันเข้าโรงเรียน อนุบาลอูนากูลใกล้บ้าน โตหน่อยย้ายไปเรียนโรงเรียนรุ่งอรุณ ซึ่งเป็นโรงเรียนทางเลือก โรงเรียนทางเลือก ให้เด็กพิเศษเรียนร่วมห้อง ห้องละ 2 คน เรียนตั้งแต่ ป.1 ถึง ป.6 พอเข้า ม.1 ก็เรียนปนเหมือนเด็กปกติ

โรงเรียนสอนทอผ้าซาโอริ ให้เด็กทำเป็นงานอดิเรก ฝึกสมาธิไปในตัว ซันใช้เวลาทอวันละชั่วโมงทุกๆวัน ผืนหนึ่งใช้เวลาถึงสามเดือน ซันทำผ้าพันคอเป็นของขวัญวันแม่ แล้วซันยังทอให้ครูพี่เลี้ยงและคุณย่า ซันสามารถทอได้เรียบเนียน และสวย สีที่เลือกใช้ผสมผสานเกิดเป็นลวดลายได้ลงตัว

ผลงานของซัน พี่เกดบอกว่า นอกจากปลื้มแล้วก็ยังทึ่ง หลายๆสิ่งที่ซันได้ลองทำ ซันทำได้ดี ไม่ว่าอาหาร ดนตรี แต่สิ่งที่ดี และเด่นที่สุด ก็คือการทอผ้า พี่เกดเคยถาม ซันชอบอะไร “ชอบทอผ้า” ซันว่า

ถึงเวลานั้น พี่เกดเริ่มได้ความคิด เป็นไปได้ งานทอผ้าจะเป็นอาชีพให้ซัน พี่เกดเริ่มค้นคว้าเรื่องทอผ้า โทร.หาครูที่สอน ครูบอกว่าถ้าจะให้ซันทำเป็นอาชีพ คุณแม่ต้องทอเป็นด้วย เหตุเพราะซันยังมีหลายจุดที่ยังแก้ปัญหาเองไม่ได้ เช่น ร้อยตะกอ ฟืม ปกติเด็กดาวน์ซินโดรมจะสายตาไม่ดี จึงยังทำทุกอย่างไม่ได้ดี

พี่เกดไปเรียน ครูดึงผ้าของเด็กพิเศษและของเด็กปกติเปรียบเทียบให้ดู ความที่พี่เกดเป็นอาร์ต รู้สึกว่าสวย ก็ลองแปรรูปเป็นสินค้า ตอนนั้นเย็บผ้าไม่เป็น ลงทุนซื้อจักรแล้วก็ฝึกเย็บกระเป๋า เย็บเสื้อ เย็บกางเกง เทสต์ฝีมือ เอาขึ้นเฟซบุ๊ก คนที่เห็นก็บอกว่า สวยจัง ชอบ

ครูที่โรงเรียนสนับสนุนให้ยืมเครื่องทอมาก๊อป พี่เกดต้องเรียนรู้ วิธีใส่ตะกอ ใส่ฟืม วิธีบาลานซ์ วิธีเซต ทุกอย่าง ตัดสินใจแล้วก็ต้องทุ่มเททำ ช่วงแรกก็กังวล ไม่รู้ว่าซันจะทอทุกวันหรือเปล่า ตอนอยู่ที่โรงเรียนทอไม่กี่ชั่วโมง อาทิตย์ละวันสองวัน แต่นี่ต้องทำทั้งวัน ลงทุนตรงนี้ ไม่รู้ว่าทิ้งเงินไปฟรีๆไหม

ปรึกษาสามีพี่หนุ่ย ให้คิดว่าเป็นงานอดิเรก ถ้าไม่สำเร็จก็ถือว่าเราต่อเติมบ้าน ตอนแรก...ซันไม่เข้าใจ ทำไมต้องทำ พี่เกดบอกเพื่อจะมีเงินซื้อของ เลี้ยงตัวเองหรือครอบครัว ตอนแรกๆซันไม่ค่อยเข้าใจ มาถึงตอนนี้เขาเข้าใจแล้ว ตอนเริ่มต่อเติมห้องทำงาน ก็บอกเขานี่คือออฟฟิศซัน บอกให้เขารู้ ไม่งั้นวันหยุดอยู่บ้าน ซันจะเหมือนเด็กทั่วไป ดูทีวี เล่นเกม เล่นมือถือ

ห้องทำงานเสร็จเดือนเมษายน ซันภูมิใจ เปิดเป็นทางการวันที่ 20 เมษายน มีการทำบุญ พี่เกดบอกว่า ซันต้องสู้ ต้องทำจริงแล้วนะ มีคนเริ่มสั่งออเดอร์เข้ามาเรื่อยๆ มาทางเฟซบุ๊ก ตอนนี้มีออเดอร์ 52 ชิ้น เพิ่งทอไปได้ 30 ชิ้น คนที่จองก็ยอมรอ เพราะเป็นงานฝีมือ พี่เกดพยายามไม่ช่วย มีช่วยไกด์บ้าง งานลูกค้าบางคนเขาไม่ชอบสีแดง ไม่ชอบน้ำเงิน ไม่เอาสีโน้นสีนี้ ถ้าปล่อยให้ซันทอจะไปตามอารมณ์ จะไม่ตรงใจลูกค้า

เดือนพฤศจิกายนปีนี้ถึงเดือนมกราคมปีหน้า พี่เกดจะมีนิทรรศการ จัดที่เอ็กซิบิท คาเฟ่ สุขุมวิท 31 เป็นงานคู่ลูกกับแม่ซันโชว์ผ้าทออย่างเดียว แต่พี่เกดเซตไว้เป็นธีมพระอาทิตย์ งานที่ตั้งใจทำให้ลูก เผื่อแผ่ทำให้ตัวเอง แตกหน่อขยายกอ วันนี้พี่เกดเปิดบ้านสอนการใช้กี่ทอไม้แท่งขั้นพื้นฐาน ทอเป็นผ้าพันคอด้วยไหมพรมหลากชนิด ใช้เวลาเรียนประมาณ 3 ชม. ถ้าสนใจสมัครเรียนหรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ Email : sunfunweaving@gmail.com บ้านซันทอสนุก 92/123 หมู่บ้าน เมืองเอก ซอยเอกรัตน์ 14 ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

พี่เกดอยากฝากไปถึงพ่อแม่เด็กพิเศษว่า กำลังใจอย่างเดียวสำคัญ ลูกเรามีหลายอย่างที่เราคาดไม่ถึง โปรดอย่าคิดว่า เขาทำอะไรไม่ได้ “จริงๆแล้ว เขาทำได้ เรียนรู้ได้” พี่เกดว่า “เราต้องใจเย็นๆ ค่อยๆสอน หากเขาตั้งใจ เขาจะทำได้และทำได้ดี” หลักสำคัญต้องให้เขาเลือก ให้ได้ทำในสิ่งที่เขาชอบมากที่สุด ถ้าเขาชอบปลูกต้นไม้ เพาะเห็ด จะไปยึดเป็นอาชีพก็ได้ และอีกข้อเขาทุกคน มีจิตใจดี รับรองได้ ไม่มีทางที่จะไปทำร้ายสังคม.

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/516757

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ส.ค.58
วันที่โพสต์: 10/08/2558 เวลา 13:55:10 ดูภาพสไลด์โชว์ ซัน...ดาวน์ซินโดรม ผู้สร้างสรรค์การทอ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

หากจะเล่าถึงเรื่องแม่ที่มีแต่ความเสียสละเพื่อลูก เกษณี สกุลดิษฐ์ หรือพี่เกด อาจารย์พิเศษ ภาควิชานฤมิตรศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย น่าจะถูกนับได้ว่าเป็นคนหนึ่ง วันนี้ พี่เกด เป็นแม่ของน้องซัน หรือไกรลาศ สกุลดิษฐ์ ที่เรียกตัวเองว่า ผู้สร้างสรรค์งานทอ และเจ้าของสตูดิโอ sunfun weaving ไม่น่าเชื่อ ก็ต้องเชื่อว่า ผู้สร้างสรรค์งานทอ เจ้าของสตูดิโออายุ 19 ปีคนนี้ เป็นดาวน์ซินโดรม เมื่อ 20 ปีก่อน พี่เกดอายุ 35 ปี พยายามเรื่องลูกอยู่หลายปี ก็ยังไม่มี เห็นพี่ชายสามี มีลูกน่ารักก็อยากมีบ้าง จึงขอร้องให้สามี พี่หนุ่ย ธีระศักดิ์ สกุลดิษฐ์ อาจารย์สอน Computer music รู้จักในวงการดีเจ ในนาม DJ Sunzone ไปปรึกษาหมอ ลงเอยด้วยการคัดสเปิร์ม น้องซัน หรือไกรลาศ สกุลดิษฐ์ เป็นดาวน์ซินโดรม พี่หนุ่ยทำอยู่ 2 ครั้ง จึงออกดอกออกผล ตอนท้องก็หาคู่มือการเลี้ยงทารกแรกเกิดมาอ่าน พี่สาวคนโตซึ่งเป็นหมอคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่อยากท้อง เตรียมตัวท้อง ฝากท้อง จนถึงวันคลอด พี่สาวกับสามีมาเฝ้า พี่เกดฟื้นจากยาสลบ พี่หนุ่ยเห็นว่ายังเพลียจากการผ่าตัด บอกพี่เกดเพียงว่า “ลูกน่ารัก แต่ตอนนี้ยังอยู่ในห้องเด็กอ่อน” พี่เกดสังเกตอาการพี่หนุ่ย ทำไมถึงนิ่งไม่ค่อยดีใจสักเท่าไหร่ไม่นาน จนมีโอกาส พี่หนุ่ยบอกพี่เกด “ทำใจดีๆ” พี่เกดถาม “ลูกเป็นอะไร” พี่สาวซึ่งอยู่ด้วย บอกแทน... “ลูกเธอเป็นดาวน์ซินโดรม” วินาทีนั้นน้ำตาของพี่เกดค่อยๆไหล เกิดเหตุการณ์นี้ได้ยังไงเราก็ทำแต่ความดี ทำบุญทำทาน ทำใจอยู่ 2 วัน ร้องไห้กับทุกคนที่อยู่ใกล้ จนวันที่ 3 รวบรวมความกล้าเข้าไปดูหน้าลูก ส่วนสามีพี่หนุ่ย ไปบวชอยู่ 7 วัน 1-2 สัปดาห์แรกกลับมาบ้าน เห็นโฆษณาในทีวีมีเด็กทารก ทนดูไม่ได้ร้องไห้จนต้องเปลี่ยนช่อง จมอยู่กับความเศร้าเกือบเดือน วันหนึ่ง วันพ่อ พี่หนุ่ยได้สัมภาษณ์หนังสือเล่มหนึ่ง มีประโยคหนึ่งประทับใจ “ถ้าเรายังมองว่าลูกเราผิดปกติ คนทั้งโลกก็จะมองว่าลูกเราผิดปกติ แต่ถ้าเรามองว่าลูกเราปกติ คนอื่นก็จะมองว่าลูกเราปกติ” พี่เกดตาสว่าง มองเห็นลู่ทางที่จะดูแลลูกต่อ คำพูดประโยคนั้นเปิดมุมมองใหม่ พี่เกดพี่หนุ่ยเป็นนักสร้างสรรค์ออกแบบโฆษณา ชอบคิดอะไรแปลกๆ ไม่ซ้ำใคร ทำไมเราไม่คิดที่จะปั้นหรือสร้างลูกของเราให้มีศักยภาพในแบบของเค้าบ้าง ไม่จำเป็น ลูกจะต้องเหมือนใคร ที่สำคัญให้เขามีความสุขที่ได้เกิดมาในแบบที่เขาเป็นอยู่...ก็พอ ตั้งแต่วันนั้น พี่เกดก็ทำทุกอย่าง หาข้อมูลในการดูแลเด็กที่เป็นดาวน์ พาไปปรึกษาหมอ ดูแลในเรื่องพัฒนาการ จนซันเข้าโรงเรียน อนุบาลอูนากูลใกล้บ้าน โตหน่อยย้ายไปเรียนโรงเรียนรุ่งอรุณ ซึ่งเป็นโรงเรียนทางเลือก โรงเรียนทางเลือก ให้เด็กพิเศษเรียนร่วมห้อง ห้องละ 2 คน เรียนตั้งแต่ ป.1 ถึง ป.6 พอเข้า ม.1 ก็เรียนปนเหมือนเด็กปกติ โรงเรียนสอนทอผ้าซาโอริ ให้เด็กทำเป็นงานอดิเรก ฝึกสมาธิไปในตัว ซันใช้เวลาทอวันละชั่วโมงทุกๆวัน ผืนหนึ่งใช้เวลาถึงสามเดือน ซันทำผ้าพันคอเป็นของขวัญวันแม่ แล้วซันยังทอให้ครูพี่เลี้ยงและคุณย่า ซันสามารถทอได้เรียบเนียน และสวย สีที่เลือกใช้ผสมผสานเกิดเป็นลวดลายได้ลงตัว ผลงานของซัน พี่เกดบอกว่า นอกจากปลื้มแล้วก็ยังทึ่ง หลายๆสิ่งที่ซันได้ลองทำ ซันทำได้ดี ไม่ว่าอาหาร ดนตรี แต่สิ่งที่ดี และเด่นที่สุด ก็คือการทอผ้า พี่เกดเคยถาม ซันชอบอะไร “ชอบทอผ้า” ซันว่า ถึงเวลานั้น พี่เกดเริ่มได้ความคิด เป็นไปได้ งานทอผ้าจะเป็นอาชีพให้ซัน พี่เกดเริ่มค้นคว้าเรื่องทอผ้า โทร.หาครูที่สอน ครูบอกว่าถ้าจะให้ซันทำเป็นอาชีพ คุณแม่ต้องทอเป็นด้วย เหตุเพราะซันยังมีหลายจุดที่ยังแก้ปัญหาเองไม่ได้ เช่น ร้อยตะกอ ฟืม ปกติเด็กดาวน์ซินโดรมจะสายตาไม่ดี จึงยังทำทุกอย่างไม่ได้ดี พี่เกดไปเรียน ครูดึงผ้าของเด็กพิเศษและของเด็กปกติเปรียบเทียบให้ดู ความที่พี่เกดเป็นอาร์ต รู้สึกว่าสวย ก็ลองแปรรูปเป็นสินค้า ตอนนั้นเย็บผ้าไม่เป็น ลงทุนซื้อจักรแล้วก็ฝึกเย็บกระเป๋า เย็บเสื้อ เย็บกางเกง เทสต์ฝีมือ เอาขึ้นเฟซบุ๊ก คนที่เห็นก็บอกว่า สวยจัง ชอบ ครูที่โรงเรียนสนับสนุนให้ยืมเครื่องทอมาก๊อป พี่เกดต้องเรียนรู้ วิธีใส่ตะกอ ใส่ฟืม วิธีบาลานซ์ วิธีเซต ทุกอย่าง ตัดสินใจแล้วก็ต้องทุ่มเททำ ช่วงแรกก็กังวล ไม่รู้ว่าซันจะทอทุกวันหรือเปล่า ตอนอยู่ที่โรงเรียนทอไม่กี่ชั่วโมง อาทิตย์ละวันสองวัน แต่นี่ต้องทำทั้งวัน ลงทุนตรงนี้ ไม่รู้ว่าทิ้งเงินไปฟรีๆไหม ปรึกษาสามีพี่หนุ่ย ให้คิดว่าเป็นงานอดิเรก ถ้าไม่สำเร็จก็ถือว่าเราต่อเติมบ้าน ตอนแรก...ซันไม่เข้าใจ ทำไมต้องทำ พี่เกดบอกเพื่อจะมีเงินซื้อของ เลี้ยงตัวเองหรือครอบครัว ตอนแรกๆซันไม่ค่อยเข้าใจ มาถึงตอนนี้เขาเข้าใจแล้ว ตอนเริ่มต่อเติมห้องทำงาน ก็บอกเขานี่คือออฟฟิศซัน บอกให้เขารู้ ไม่งั้นวันหยุดอยู่บ้าน ซันจะเหมือนเด็กทั่วไป ดูทีวี เล่นเกม เล่นมือถือ ห้องทำงานเสร็จเดือนเมษายน ซันภูมิใจ เปิดเป็นทางการวันที่ 20 เมษายน มีการทำบุญ พี่เกดบอกว่า ซันต้องสู้ ต้องทำจริงแล้วนะ มีคนเริ่มสั่งออเดอร์เข้ามาเรื่อยๆ มาทางเฟซบุ๊ก ตอนนี้มีออเดอร์ 52 ชิ้น เพิ่งทอไปได้ 30 ชิ้น คนที่จองก็ยอมรอ เพราะเป็นงานฝีมือ พี่เกดพยายามไม่ช่วย มีช่วยไกด์บ้าง งานลูกค้าบางคนเขาไม่ชอบสีแดง ไม่ชอบน้ำเงิน ไม่เอาสีโน้นสีนี้ ถ้าปล่อยให้ซันทอจะไปตามอารมณ์ จะไม่ตรงใจลูกค้า เดือนพฤศจิกายนปีนี้ถึงเดือนมกราคมปีหน้า พี่เกดจะมีนิทรรศการ จัดที่เอ็กซิบิท คาเฟ่ สุขุมวิท 31 เป็นงานคู่ลูกกับแม่ซันโชว์ผ้าทออย่างเดียว แต่พี่เกดเซตไว้เป็นธีมพระอาทิตย์ งานที่ตั้งใจทำให้ลูก เผื่อแผ่ทำให้ตัวเอง แตกหน่อขยายกอ วันนี้พี่เกดเปิดบ้านสอนการใช้กี่ทอไม้แท่งขั้นพื้นฐาน ทอเป็นผ้าพันคอด้วยไหมพรมหลากชนิด ใช้เวลาเรียนประมาณ 3 ชม. ถ้าสนใจสมัครเรียนหรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ Email : sunfunweaving@gmail.com บ้านซันทอสนุก 92/123 หมู่บ้าน เมืองเอก ซอยเอกรัตน์ 14 ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี พี่เกดอยากฝากไปถึงพ่อแม่เด็กพิเศษว่า กำลังใจอย่างเดียวสำคัญ ลูกเรามีหลายอย่างที่เราคาดไม่ถึง โปรดอย่าคิดว่า เขาทำอะไรไม่ได้ “จริงๆแล้ว เขาทำได้ เรียนรู้ได้” พี่เกดว่า “เราต้องใจเย็นๆ ค่อยๆสอน หากเขาตั้งใจ เขาจะทำได้และทำได้ดี” หลักสำคัญต้องให้เขาเลือก ให้ได้ทำในสิ่งที่เขาชอบมากที่สุด ถ้าเขาชอบปลูกต้นไม้ เพาะเห็ด จะไปยึดเป็นอาชีพก็ได้ และอีกข้อเขาทุกคน มีจิตใจดี รับรองได้ ไม่มีทางที่จะไปทำร้ายสังคม. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/516757

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...