นักวิชาการคอนเฟิร์ม! เด็กอายุ ๐-๕ ปี พ่อแม่ดูแลไม่ดีส่งผลเรียนห่วย

แสดงความคิดเห็น

ภาพ พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมถ่ายรูปเปิดโครงการ เด็กไทย IQ เกิน ๑๐๐

นักวิชาการคอนเฟิร์มดูแลเด็ก อายุ ๐-๕ ปีแย่ ส่งผลการเรียนห่วย เตือนเลี้ยงลูกด้วยแท็บเล็ตร่างกายพัฒนาช้า เล็งทำวิจัยใช้ให้เหมาะสม ห่วงเด็กแอลดีหลุดจากระบบ เหตุไม่มีการส่งต่อข้อมูลสุขภาพเด็กจากโรงหมอไปโรงเรียน เตรียมนำร่อง ๔ จังหวัดส่งต่อข้อมูลออนไลน์ คาดปี ๕๙ พัฒนาการล่าช้าเด็กลดลง แถม IQ เกิน ๑๐๐ เด็กแอลดีกลับเป็นปกติไม่เกิน ป.๔

วันที่ ๑๓ มิ.ย. เมื่อเวลา ๑๐.๓๐ น. พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการแถลงข่าว “เด็กไทย IQ เกิน ๑๐๐” และเปิดโครงการพัฒนาระบบการจัดการเชิงพื้นที่ในการเชื่อมต่อข้อมูล และการให้บริการเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ และเชาวน์ปัญญาเด็กไทย ว่า อัตราการเกิดของเด็กไทยเฉลี่ยปีละ ๘๐๐,๐๐๐ คน จำนวนนี้มีเด็กพัฒนาการล่าช้า ๓๐% หรือประมาณ ๒๔๐,๐๐๐ คน ซึ่งสะท้อนได้จากจำนวนเด็กที่มีระดับสติปัญญา (IQ) ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานคือ ๑๐๐ สูงถึง ๔๙% และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ช่วง อายุของเด็กระหว่าง ๐-๕ ปี เป็นช่วงรอยต่อที่มีผลต่อการพัฒนาการของเด็ก หากพ่อแม่รู้เร็วว่าลูกมีพัฒนาการล่าช้าและเปลี่ยนปัญหาให้เป็นโอกาส โดยการดูแลเด็กอย่างต่อเนื่องในช่วงอายุดังกล่าว จะสามารถแก้ปัญหาพัฒนาการล่าช้าและช่วยเหลือเด็กได้ถึง ๑๖๐,๐๐๐ คนต่อปี

พญ.อัมพร กล่าวอีกว่า จากแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านเด็กปฐมวัย สธ.โดยกรมสุขภาพจิตจึงดำเนินการ ๒ ส่วน คือ ๑.สนับสนุนเขตบริการระดับพื้นที่ให้มีเครื่องมือในการเฝ้าระวังและติดตาม เด็กที่มีแนวโน้มความเสี่ยงด้าน IQ/EQ และให้การดูแลตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงพัฒนาการของเด็กในทุกช่วงวัย โดยมีเป้าหมายให้เด็กไทยมี IQ เกิน ๑๐๐ ในปี ๒๕๕๙ และ ๒.ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายให้เกิดการทำงานร่วมในพื้นที่ โดยร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) และสถาบันราชานุกูล ในการพัฒนาระบบการจัดการเชิงพื้นที่ในการเชื่อมต่อข้อมูลและการให้บริการ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและเชาวน์ปัญญาเด็กไทย พร้อมกับพัฒนากลไกการปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก

ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษา สสค.กล่าวว่า เด็ก ปฐมวัย หรือช่วงอายุ ๐-๕ ปี เป็นช่วงสำคัญที่สมองจะพัฒนาได้มากที่สุด แต่กลับพบว่าได้รับการดูแลน้อยมาก ปัญหาสำคัญคือไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก หรือสมุดสีชมพูจากโรงพยาบาลไปยังศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล และโรงเรียน ทำให้ผู้ดูแลเด็กหรือครูไม่ทราบว่าเด็กมีความผิดปกติหรือบกพร่องด้านการ เรียนรู้ ทำให้ไม่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ หากได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในช่วงอายุดังกล่าว จะสามารถกลับมาเป็นปกติได้ถึง ๙๐% ก่อนที่จะจบ ป.๔ ดังนั้น การที่การศึกษาของเด็กไทยล้มเหลว เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ปัญหาอาจไม่ได้อยู่ที่การเรียนการสอนเสมอไป แต่ฟ้องว่าไม่มีการดูแลเด็กที่ดีในช่วงอายุ ๐-๕ ปี และจะเป็นปัญหาต่อเนื่องไปจนโต อย่างเด็กที่เป็นสมาธิสั้นก็จะกลายเป็นเด็กก้าวร้าว และทะเลาะวิวาท กลายเป็นปัญหาสังคมในอนาคต

ดร.อมรวิชช์ กล่าวอีกว่า เรื่องนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยนโยบายจากส่วนกลางได้ ต้องใช้การจัดการเชิงพื้นที่ด้วย โดยการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ อาทิ สาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน เป็นต้น เพื่อดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่โรงพยาบาล ไปยังท้องถิ่นที่ดูแลศูนย์เด็กเล็ก ไปจนถึงโรงเรียน เป็นการรับไม้ต่อด้านข้อมูลและการให้บริการ ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มนำร่องในพื้นที่ ๔ จังหวัดแล้ว คือ เชียงราย พระนครศรีอยุธยา สุรินทร์ และภูเก็ต

“ในพื้นที่นำร่องได้มีการประสานทั้งโรงพยาบาล ศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนให้มีการส่งต่อข้อมูลสุขภาพแม่และเด็กผ่านระบบคอมพิวเตอร์และออนไลน์ เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าเมื่อไม่ได้รับการดูแลระบบจะมีการแจ้งเตือน ส่วนของบุคลากรก็พร้อมที่จะดูแลเด็กอย่างเต็มที่ หลังจากดำเนินการแล้วคาดว่า ๕-๑๐ ปีจะเห็นการเปลี่ยนแปลง โดยในปี ๒๕๕๙ จะพบว่าพัฒนาการล่าช้าของเด็กจะลดลง ขณะที่ IQ EQ เฉลี่ยจะสูงกว่าเดิม” ที่ปรึกษา สสค.กล่าว

ดร.อมรวิชช์ กล่าวด้วยว่า ในกลุ่มพ่อแม่ที่มีฐานะดี หากนำเทคโนโลยีเข้ามาดูแลเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสมก็จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการ เด็กอีกทางหนึ่ง แต่หากนำมาใช้มากจนเกินไป อย่างซื้อแท็บเล็ตให้ลูกเล่นนานๆ จะส่งผลต่อพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็ก เป็นการตรึงเด็กอยู่กับที่ ทำให้มีปัญหาในเรื่องของการเขียน การเดินและการวิ่ง เร็วๆนี้ สสค.จะทำวิจัยร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในการทำวิจัยการใช้แท็บเล็ตสำหรับเด็กด้วยว่าควรมีการใช้งานในระดับใดจึงจะเหมาะสม ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กและไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า จำนวนเด็กที่บกพร่องการเรียนรู้ ประกอบด้วย สมาธิสั้น แอลดี เรียนช้า และออทิสติก มีถึง ๑๒-๑๓% ของประชากรเด็กทั้งหมด กว่าจะถูกคัดกรองจากระบบโรงเรียนก็สายไปเสียแล้ว จากข้อมูลสมาคมแอลดีแห่งประเทศไทยพบว่า ขณะนี้มีการคัดกรองเด็กในระบบโรงเรียนจำนวน ๑๔๐,๐๐๐ คน แต่ยัง มีเด็กที่มีสัญญาณบกพร่องการเรียนรู้อีกถึง ๙๐๐,๐๐๐ คน คือมีเด็กกว่า ๗๐๐,๐๐๐ คนที่ขาดการดูแลอย่างถูกต้อง และมีความเสี่ยงต่อการล้มเหลวในการเรียนและการหลุดออกจากระบบการศึกษา นอกจากนี้ ในโรงเรียนยังไม่มีครูสอนเด็กบกพร่องการเรียนรู้ โดยขณะนี้มีเพียง ๑ ใน ๓ ของโรงเรียนหรือโรงเรียนประมาณ ๑๐,๐๐๐ แห่ง ที่มีครูไปรับการอบรมเรื่องการดูแลเด็กพิเศษเท่านั้น ดังนั้น หากมีการเชื่อมระบบข้อมูลก็จะช่วยให้ดูแลเด็กได้มากขึ้นและทันเวลา

ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๓ มิ.ย.๕๖

ขอบคุณ http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=๙๕๖๐๐๐๐๐๗๑๓๘๓

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๓ มิ.ย.๕๖
วันที่โพสต์: 14/06/2556 เวลา 03:35:08 ดูภาพสไลด์โชว์ นักวิชาการคอนเฟิร์ม! เด็กอายุ ๐-๕ ปี พ่อแม่ดูแลไม่ดีส่งผลเรียนห่วย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพ พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมถ่ายรูปเปิดโครงการ เด็กไทย IQ เกิน ๑๐๐ นักวิชาการคอนเฟิร์มดูแลเด็ก อายุ ๐-๕ ปีแย่ ส่งผลการเรียนห่วย เตือนเลี้ยงลูกด้วยแท็บเล็ตร่างกายพัฒนาช้า เล็งทำวิจัยใช้ให้เหมาะสม ห่วงเด็กแอลดีหลุดจากระบบ เหตุไม่มีการส่งต่อข้อมูลสุขภาพเด็กจากโรงหมอไปโรงเรียน เตรียมนำร่อง ๔ จังหวัดส่งต่อข้อมูลออนไลน์ คาดปี ๕๙ พัฒนาการล่าช้าเด็กลดลง แถม IQ เกิน ๑๐๐ เด็กแอลดีกลับเป็นปกติไม่เกิน ป.๔ วันที่ ๑๓ มิ.ย. เมื่อเวลา ๑๐.๓๐ น. พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการแถลงข่าว “เด็กไทย IQ เกิน ๑๐๐” และเปิดโครงการพัฒนาระบบการจัดการเชิงพื้นที่ในการเชื่อมต่อข้อมูล และการให้บริการเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ และเชาวน์ปัญญาเด็กไทย ว่า อัตราการเกิดของเด็กไทยเฉลี่ยปีละ ๘๐๐,๐๐๐ คน จำนวนนี้มีเด็กพัฒนาการล่าช้า ๓๐% หรือประมาณ ๒๔๐,๐๐๐ คน ซึ่งสะท้อนได้จากจำนวนเด็กที่มีระดับสติปัญญา (IQ) ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานคือ ๑๐๐ สูงถึง ๔๙% และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ช่วง อายุของเด็กระหว่าง ๐-๕ ปี เป็นช่วงรอยต่อที่มีผลต่อการพัฒนาการของเด็ก หากพ่อแม่รู้เร็วว่าลูกมีพัฒนาการล่าช้าและเปลี่ยนปัญหาให้เป็นโอกาส โดยการดูแลเด็กอย่างต่อเนื่องในช่วงอายุดังกล่าว จะสามารถแก้ปัญหาพัฒนาการล่าช้าและช่วยเหลือเด็กได้ถึง ๑๖๐,๐๐๐ คนต่อปี พญ.อัมพร กล่าวอีกว่า จากแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านเด็กปฐมวัย สธ.โดยกรมสุขภาพจิตจึงดำเนินการ ๒ ส่วน คือ ๑.สนับสนุนเขตบริการระดับพื้นที่ให้มีเครื่องมือในการเฝ้าระวังและติดตาม เด็กที่มีแนวโน้มความเสี่ยงด้าน IQ/EQ และให้การดูแลตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงพัฒนาการของเด็กในทุกช่วงวัย โดยมีเป้าหมายให้เด็กไทยมี IQ เกิน ๑๐๐ ในปี ๒๕๕๙ และ ๒.ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายให้เกิดการทำงานร่วมในพื้นที่ โดยร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) และสถาบันราชานุกูล ในการพัฒนาระบบการจัดการเชิงพื้นที่ในการเชื่อมต่อข้อมูลและการให้บริการ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและเชาวน์ปัญญาเด็กไทย พร้อมกับพัฒนากลไกการปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษา สสค.กล่าวว่า เด็ก ปฐมวัย หรือช่วงอายุ ๐-๕ ปี เป็นช่วงสำคัญที่สมองจะพัฒนาได้มากที่สุด แต่กลับพบว่าได้รับการดูแลน้อยมาก ปัญหาสำคัญคือไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก หรือสมุดสีชมพูจากโรงพยาบาลไปยังศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล และโรงเรียน ทำให้ผู้ดูแลเด็กหรือครูไม่ทราบว่าเด็กมีความผิดปกติหรือบกพร่องด้านการ เรียนรู้ ทำให้ไม่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ หากได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในช่วงอายุดังกล่าว จะสามารถกลับมาเป็นปกติได้ถึง ๙๐% ก่อนที่จะจบ ป.๔ ดังนั้น การที่การศึกษาของเด็กไทยล้มเหลว เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ปัญหาอาจไม่ได้อยู่ที่การเรียนการสอนเสมอไป แต่ฟ้องว่าไม่มีการดูแลเด็กที่ดีในช่วงอายุ ๐-๕ ปี และจะเป็นปัญหาต่อเนื่องไปจนโต อย่างเด็กที่เป็นสมาธิสั้นก็จะกลายเป็นเด็กก้าวร้าว และทะเลาะวิวาท กลายเป็นปัญหาสังคมในอนาคต ดร.อมรวิชช์ กล่าวอีกว่า เรื่องนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยนโยบายจากส่วนกลางได้ ต้องใช้การจัดการเชิงพื้นที่ด้วย โดยการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ อาทิ สาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน เป็นต้น เพื่อดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่โรงพยาบาล ไปยังท้องถิ่นที่ดูแลศูนย์เด็กเล็ก ไปจนถึงโรงเรียน เป็นการรับไม้ต่อด้านข้อมูลและการให้บริการ ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มนำร่องในพื้นที่ ๔ จังหวัดแล้ว คือ เชียงราย พระนครศรีอยุธยา สุรินทร์ และภูเก็ต “ในพื้นที่นำร่องได้มีการประสานทั้งโรงพยาบาล ศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนให้มีการส่งต่อข้อมูลสุขภาพแม่และเด็กผ่านระบบคอมพิวเตอร์และออนไลน์ เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าเมื่อไม่ได้รับการดูแลระบบจะมีการแจ้งเตือน ส่วนของบุคลากรก็พร้อมที่จะดูแลเด็กอย่างเต็มที่ หลังจากดำเนินการแล้วคาดว่า ๕-๑๐ ปีจะเห็นการเปลี่ยนแปลง โดยในปี ๒๕๕๙ จะพบว่าพัฒนาการล่าช้าของเด็กจะลดลง ขณะที่ IQ EQ เฉลี่ยจะสูงกว่าเดิม” ที่ปรึกษา สสค.กล่าว ดร.อมรวิชช์ กล่าวด้วยว่า ในกลุ่มพ่อแม่ที่มีฐานะดี หากนำเทคโนโลยีเข้ามาดูแลเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสมก็จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการ เด็กอีกทางหนึ่ง แต่หากนำมาใช้มากจนเกินไป อย่างซื้อแท็บเล็ตให้ลูกเล่นนานๆ จะส่งผลต่อพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็ก เป็นการตรึงเด็กอยู่กับที่ ทำให้มีปัญหาในเรื่องของการเขียน การเดินและการวิ่ง เร็วๆนี้ สสค.จะทำวิจัยร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในการทำวิจัยการใช้แท็บเล็ตสำหรับเด็กด้วยว่าควรมีการใช้งานในระดับใดจึงจะเหมาะสม ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กและไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า จำนวนเด็กที่บกพร่องการเรียนรู้ ประกอบด้วย สมาธิสั้น แอลดี เรียนช้า และออทิสติก มีถึง ๑๒-๑๓% ของประชากรเด็กทั้งหมด กว่าจะถูกคัดกรองจากระบบโรงเรียนก็สายไปเสียแล้ว จากข้อมูลสมาคมแอลดีแห่งประเทศไทยพบว่า ขณะนี้มีการคัดกรองเด็กในระบบโรงเรียนจำนวน ๑๔๐,๐๐๐ คน แต่ยัง มีเด็กที่มีสัญญาณบกพร่องการเรียนรู้อีกถึง ๙๐๐,๐๐๐ คน คือมีเด็กกว่า ๗๐๐,๐๐๐ คนที่ขาดการดูแลอย่างถูกต้อง และมีความเสี่ยงต่อการล้มเหลวในการเรียนและการหลุดออกจากระบบการศึกษา นอกจากนี้ ในโรงเรียนยังไม่มีครูสอนเด็กบกพร่องการเรียนรู้ โดยขณะนี้มีเพียง ๑ ใน ๓ ของโรงเรียนหรือโรงเรียนประมาณ ๑๐,๐๐๐ แห่ง ที่มีครูไปรับการอบรมเรื่องการดูแลเด็กพิเศษเท่านั้น ดังนั้น หากมีการเชื่อมระบบข้อมูลก็จะช่วยให้ดูแลเด็กได้มากขึ้นและทันเวลา ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๓ มิ.ย.๕๖ ขอบคุณ http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=๙๕๖๐๐๐๐๐๗๑๓๘๓

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...