ร็อกกี้เฟลเลอร์เลือกกทม.สร้างต้นแบบฟื้นฟูเมืองรับมือภัยพิบัติโลก

แสดงความคิดเห็น

ภัยพิบัติทางธรรมชาติ

„ยุคที่โลกร้อนขึ้น ภูมิอากาศมีการผันแปรอยู่ตลอดเวลา ก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นในหลาย ๆ พื้นที่ทั่วโลก และจะมีผล กระทบต่อไปในอนาคตอย่างไรอีก ไม่มีใครรู้หรือกำหนดได้!!

แม้สาเหตุที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยน แปลงยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ภัยธรรมชาติในรูปแบบต่าง ๆ ทั้ง น้ำท่วมสึนามิ หรือล่าสุดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศเนปาล ซึ่งแต่ละเหตุการณ์ล้วนส่งผลให้เกิดความสูญเสียใน ชีวิต และ ทรัพย์สิน เกิดความเสียหายกับสิ่งก่อสร้างอย่างมหาศาล ประชาชนต้องเผชิญกับผลกระทบด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เส้นทางคมนาคมที่เสียหาย ไฟฟ้า น้ำประปาขาดแคลน เกิดโรคระบาด ตลอดจน ปัญหาด้านสุขภาพจิต นอกเหนือจากปัญหาที่มีสะสมอยู่แล้วของเมือง

กรุงเทพมหานคร เป็น 1 ใน 33 เมืองแรกจากเป้าหมายทั้งหมด 100 เมือง ที่ได้รับการคัดเลือกจาก มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ให้เข้าร่วม “โครงการเสริมสร้างความสามารถในการฟื้นฟูเมือง” (100 Resilient Cities Centennial Challenge) ในโอกาสครบรอบ 100 ปี ของการก่อตั้งมูลนิธิฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของเมืองให้มีความสามารถในการฟื้นฟูภายหลังจากการเกิดภัยพิบัติ ความตึงเครียด และเหตุการณ์รุนแรงต่าง ๆ ทั้งจากธรรมชาติหรือจากมนุษย์

ดร.ศุภชัย ตันติคมน์ ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในฐานะหัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านความเข้มแข็ง โครงการเสริมสร้างความสามารถในการฟื้นฟูเมือง กล่าวถึงการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ว่า ทางกรุงเทพ มหานครได้ร่วมกับสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. ดำเนินการสมัครเพื่อเข้าร่วมโครงการฯ โดยทาง มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ จะมีคำถามมาให้ประมาณ 20 ข้อ ที่เกี่ยวข้องกับกรุงเทพฯ เช่น เมืองของท่านมีปัญหาอะไร มีการเตรียมการอย่างไร ให้ยกตัวอย่าง ซึ่งทาง กทม. ได้ยกตัวอย่างในเรื่องของปัญหาน้ำท่วมเมื่อปีพ.ศ. 2554 เพราะเกิดความเสียหายอย่างมหาศาล โดยให้ข้อมูลในการบริหารจัดการระหว่างที่เกิดน้ำท่วมว่าทำอย่างไร หลังน้ำท่วมมีการฟื้นฟูอย่างไร รวมทั้งอาจมีปัญหาจากแผ่นดินไหว แผ่นดินทรุด ปัญหาชายฝั่งกัดเซาะ โลกร้อนเกิดขึ้นได้ด้วย โดยมีการอธิบายถึงขั้นตอนในการบริหารจัดการ มาเป็นข้อมูลในการตอบ

สำหรับเมืองในเอเชียที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ อาทิ กรุงเทพฯ, เมืองสุราต เมืองเชนไน เมืองบังกาลอร์ในประเทศอินเดีย, เมืองหวงชิ ประเทศจีน, เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม

น้ำท่วมเมือง

ส่วนในแถบยุโรป เช่น ลอนดอน ประเทศอังกฤษ, เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส, ปารีส ประเทศฝรั่งเศส, เมืองมิลาน กรุงโรม ประเทศอิตาลี, นิวยอร์ก ลอสแอนเจลิส โอ๊คแลนด์ เอลแพโซ และ บอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา

“การดำเนินการหลังจากนี้จะมีการวางแผน ปรึกษาหารือ พูดคุยกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ประชาชน ผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง กลุ่มองค์กรต่าง ๆ เพื่อร่วมทำแผนต่าง ๆ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการจัดสัมมนามาแล้วครั้งหนึ่งเพื่อสอบถามว่า เขามองว่ากรุงเทพฯ มีปัญหาอะไรบ้าง ซึ่งก็ได้ข้อมูลในเบื้องต้นมาแล้ว จากนั้นจะทำการรวบรวมแผนต่าง ๆ ที่เรามีอยู่ทั้งกทม.และหน่วยงานรัฐแล้วไปคุยกับทางเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อกำหนดขอบเขตให้ชัดเจนในเรื่องที่ต้องแก้ไขประมาณ 3-4 เรื่อง ที่เป็นเรื่องหลัก ๆ มีผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก”

หลังจากได้ขอบเขตของแต่ละเรื่องแล้ว จึงจะเจาะลึกลงไปว่าแผนปฏิบัติการแต่ละเรื่องควรจะเป็นอย่างไร แล้วนำแผนปฏิบัติการเหล่านี้ส่งให้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่ออนุมัติและประกาศใช้ต่อไป เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นจะได้ไม่ต้องมานั่งคิดใหม่แต่จะสามารถลงมือปฏิบัติการได้ทันที มีขั้นตอนในการดำเนินการไว้อย่างชัดเจน ทาง กทม. มีแผนต่าง ๆ อยู่แล้ว อย่าง แผนปฏิบัติการเมื่อเกิดภัยต่าง ๆ แต่บางเรื่อง บางขั้นตอน ยังไม่ครอบคลุม ซึ่งในโครงการนี้จะใส่ขั้นตอนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งเมืองเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อนำมาเป็นแผนปฏิบัติการที่สมบูรณ์ โดยจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี

ทำไมต้องสร้างความเข้มแข็งให้เมือง ดร.ศุภชัย อธิบายว่า จากข้อมูลของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ 50-60 % คนจะอาศัยอยู่ในเมืองเป็นส่วนใหญ่ โดยในปี พ.ศ. 2550 อย่างน้อย 70 % ประชากรจะดำรงชีวิตอยู่ในเมือง เมืองจะเป็นศูนย์กลางของทุก ๆ อย่าง ทั้ง เศรษฐกิจ ศิลปวัฒนธรรม ฉะนั้น อะไรที่มีผลกระทบต่อเมืองก็จะมีผลกระทบต่อคนจำนวนมากด้วยเช่นกัน

อีกทั้งยังมีการวิจัย พบว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของเมืองยังไม่มีการพัฒนาจึงมีการนำโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเมืองมาพัฒนา โดยจะเจาะไปที่คนอาศัยในเมือง ความเป็นอยู่ของคนในเมือง เน้นด้านเศรษฐกิจ สังคม โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อม ความเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการบริหารเมือง สุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชน สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัววัดว่า เมืองใดเป็นเมืองที่มีความเข้มแข็งอย่างไร ขาดด้านไหน

“จะได้วางแผนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของกรุงเทพฯ ได้ตรงจุด สามารถจัดการความเสี่ยงและลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ ฉะนั้น คำว่า เมือง ไม่ใช่เฉพาะแต่ตัวเมือง แต่เป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในเมือง ไม่ว่าจะเป็น ประชากร เศรษฐกิจ สาธารณูปโภค การดำรงชีวิต สิ่งก่อสร้าง การเคลื่อนไหวในด้านต่าง ๆ เวลาเกิดภัยต่าง ๆ ขึ้นทำอย่างไรจะสามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ ”

ภาพถ่ายเมืองหลวงจากมุมสูง

สิ่งที่จะได้รับจากการเข้าร่วมโครง การนี้ ดร.ศุภชัยบอกว่า ประการแรกคือไทยจะมีเครือข่ายจาก 100 เมืองทั่วโลก ในการติดต่อสื่อสารในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้กรุงเทพฯ เป็นที่รู้จักมากขึ้น รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน อย่างเมืองมีปัญหาในเรื่องหนึ่ง ถ้าเรามีแผนอยู่แล้วก็สามารถเสนอส่งไปให้เขาดูว่าใช้ได้หรือไม่ ตรงนี้จะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ ต่าง ๆ จากเครือข่ายทั้ง 100 เมือง เพื่อร่วมแบ่งปันความรู้และแนวปฏิบัติกับเมืองสมาชิกอื่น ๆ

ประการสุดท้าย กรุงเทพฯ จะมีแผนการปฏิบัติการที่ชัดเจน ได้รับการสนับสนุนด้าน การสร้างแผนฟื้นฟูเมือง พร้อมทั้งความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ และเทคนิคที่มีประสิทธิภาพ เมื่อเห็นผลสัมฤทธิ์เกิดขึ้นจะมีการทำต่อยอดในเรื่องอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้เมืองมีความพร้อมมากขึ้นไม่ว่าจะเกิดภัยในรูปแบบใด

“สิ่งสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งของเมือง คือ ประชาชนต้องมีความพร้อม มีความเข้าใจ เมืองจะมีความพร้อมได้ต้องมาจากความพร้อมของคนก่อน ถ้าคนที่อยู่ในเมืองไม่มีความพร้อมต่อให้มีการจัดการที่ดีก็ขับเคลื่อนไปได้ยากจะต้องมีการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร บอกถึงประโยชน์และโทษที่จะได้รับ จะต้องค่อย ๆ สร้างความเข้าใจเพื่อให้เกิดการยอมรับและปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ ซึ่งจะต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งที่เริ่มจากคน โดยให้มีความยืดหยุ่น มีการสำรอง คือ ให้คนมีทางเลือกไม่ใช่จำกัดอยู่กับสิ่งเดียว เรื่องเดียว ทางเดียว”ดร.ศุภชัยกล่าวทิ้งท้าย.จุฑานันทน์บุญทราหาญ“

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/328343 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 มิ.ย.58
วันที่โพสต์: 17/06/2558 เวลา 13:24:42 ดูภาพสไลด์โชว์ ร็อกกี้เฟลเลอร์เลือกกทม.สร้างต้นแบบฟื้นฟูเมืองรับมือภัยพิบัติโลก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภัยพิบัติทางธรรมชาติ „ยุคที่โลกร้อนขึ้น ภูมิอากาศมีการผันแปรอยู่ตลอดเวลา ก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นในหลาย ๆ พื้นที่ทั่วโลก และจะมีผล กระทบต่อไปในอนาคตอย่างไรอีก ไม่มีใครรู้หรือกำหนดได้!! แม้สาเหตุที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยน แปลงยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ภัยธรรมชาติในรูปแบบต่าง ๆ ทั้ง น้ำท่วมสึนามิ หรือล่าสุดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศเนปาล ซึ่งแต่ละเหตุการณ์ล้วนส่งผลให้เกิดความสูญเสียใน ชีวิต และ ทรัพย์สิน เกิดความเสียหายกับสิ่งก่อสร้างอย่างมหาศาล ประชาชนต้องเผชิญกับผลกระทบด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เส้นทางคมนาคมที่เสียหาย ไฟฟ้า น้ำประปาขาดแคลน เกิดโรคระบาด ตลอดจน ปัญหาด้านสุขภาพจิต นอกเหนือจากปัญหาที่มีสะสมอยู่แล้วของเมือง กรุงเทพมหานคร เป็น 1 ใน 33 เมืองแรกจากเป้าหมายทั้งหมด 100 เมือง ที่ได้รับการคัดเลือกจาก มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ให้เข้าร่วม “โครงการเสริมสร้างความสามารถในการฟื้นฟูเมือง” (100 Resilient Cities Centennial Challenge) ในโอกาสครบรอบ 100 ปี ของการก่อตั้งมูลนิธิฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของเมืองให้มีความสามารถในการฟื้นฟูภายหลังจากการเกิดภัยพิบัติ ความตึงเครียด และเหตุการณ์รุนแรงต่าง ๆ ทั้งจากธรรมชาติหรือจากมนุษย์ ดร.ศุภชัย ตันติคมน์ ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในฐานะหัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านความเข้มแข็ง โครงการเสริมสร้างความสามารถในการฟื้นฟูเมือง กล่าวถึงการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ว่า ทางกรุงเทพ มหานครได้ร่วมกับสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. ดำเนินการสมัครเพื่อเข้าร่วมโครงการฯ โดยทาง มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ จะมีคำถามมาให้ประมาณ 20 ข้อ ที่เกี่ยวข้องกับกรุงเทพฯ เช่น เมืองของท่านมีปัญหาอะไร มีการเตรียมการอย่างไร ให้ยกตัวอย่าง ซึ่งทาง กทม. ได้ยกตัวอย่างในเรื่องของปัญหาน้ำท่วมเมื่อปีพ.ศ. 2554 เพราะเกิดความเสียหายอย่างมหาศาล โดยให้ข้อมูลในการบริหารจัดการระหว่างที่เกิดน้ำท่วมว่าทำอย่างไร หลังน้ำท่วมมีการฟื้นฟูอย่างไร รวมทั้งอาจมีปัญหาจากแผ่นดินไหว แผ่นดินทรุด ปัญหาชายฝั่งกัดเซาะ โลกร้อนเกิดขึ้นได้ด้วย โดยมีการอธิบายถึงขั้นตอนในการบริหารจัดการ มาเป็นข้อมูลในการตอบ สำหรับเมืองในเอเชียที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ อาทิ กรุงเทพฯ, เมืองสุราต เมืองเชนไน เมืองบังกาลอร์ในประเทศอินเดีย, เมืองหวงชิ ประเทศจีน, เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม น้ำท่วมเมือง ส่วนในแถบยุโรป เช่น ลอนดอน ประเทศอังกฤษ, เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส, ปารีส ประเทศฝรั่งเศส, เมืองมิลาน กรุงโรม ประเทศอิตาลี, นิวยอร์ก ลอสแอนเจลิส โอ๊คแลนด์ เอลแพโซ และ บอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา “การดำเนินการหลังจากนี้จะมีการวางแผน ปรึกษาหารือ พูดคุยกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ประชาชน ผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง กลุ่มองค์กรต่าง ๆ เพื่อร่วมทำแผนต่าง ๆ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการจัดสัมมนามาแล้วครั้งหนึ่งเพื่อสอบถามว่า เขามองว่ากรุงเทพฯ มีปัญหาอะไรบ้าง ซึ่งก็ได้ข้อมูลในเบื้องต้นมาแล้ว จากนั้นจะทำการรวบรวมแผนต่าง ๆ ที่เรามีอยู่ทั้งกทม.และหน่วยงานรัฐแล้วไปคุยกับทางเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อกำหนดขอบเขตให้ชัดเจนในเรื่องที่ต้องแก้ไขประมาณ 3-4 เรื่อง ที่เป็นเรื่องหลัก ๆ มีผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก” หลังจากได้ขอบเขตของแต่ละเรื่องแล้ว จึงจะเจาะลึกลงไปว่าแผนปฏิบัติการแต่ละเรื่องควรจะเป็นอย่างไร แล้วนำแผนปฏิบัติการเหล่านี้ส่งให้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่ออนุมัติและประกาศใช้ต่อไป เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นจะได้ไม่ต้องมานั่งคิดใหม่แต่จะสามารถลงมือปฏิบัติการได้ทันที มีขั้นตอนในการดำเนินการไว้อย่างชัดเจน ทาง กทม. มีแผนต่าง ๆ อยู่แล้ว อย่าง แผนปฏิบัติการเมื่อเกิดภัยต่าง ๆ แต่บางเรื่อง บางขั้นตอน ยังไม่ครอบคลุม ซึ่งในโครงการนี้จะใส่ขั้นตอนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งเมืองเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อนำมาเป็นแผนปฏิบัติการที่สมบูรณ์ โดยจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี ทำไมต้องสร้างความเข้มแข็งให้เมือง ดร.ศุภชัย อธิบายว่า จากข้อมูลของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ 50-60 % คนจะอาศัยอยู่ในเมืองเป็นส่วนใหญ่ โดยในปี พ.ศ. 2550 อย่างน้อย 70 % ประชากรจะดำรงชีวิตอยู่ในเมือง เมืองจะเป็นศูนย์กลางของทุก ๆ อย่าง ทั้ง เศรษฐกิจ ศิลปวัฒนธรรม ฉะนั้น อะไรที่มีผลกระทบต่อเมืองก็จะมีผลกระทบต่อคนจำนวนมากด้วยเช่นกัน อีกทั้งยังมีการวิจัย พบว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของเมืองยังไม่มีการพัฒนาจึงมีการนำโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเมืองมาพัฒนา โดยจะเจาะไปที่คนอาศัยในเมือง ความเป็นอยู่ของคนในเมือง เน้นด้านเศรษฐกิจ สังคม โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อม ความเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการบริหารเมือง สุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชน สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัววัดว่า เมืองใดเป็นเมืองที่มีความเข้มแข็งอย่างไร ขาดด้านไหน “จะได้วางแผนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของกรุงเทพฯ ได้ตรงจุด สามารถจัดการความเสี่ยงและลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ ฉะนั้น คำว่า เมือง ไม่ใช่เฉพาะแต่ตัวเมือง แต่เป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในเมือง ไม่ว่าจะเป็น ประชากร เศรษฐกิจ สาธารณูปโภค การดำรงชีวิต สิ่งก่อสร้าง การเคลื่อนไหวในด้านต่าง ๆ เวลาเกิดภัยต่าง ๆ ขึ้นทำอย่างไรจะสามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ ” ภาพถ่ายเมืองหลวงจากมุมสูง สิ่งที่จะได้รับจากการเข้าร่วมโครง การนี้ ดร.ศุภชัยบอกว่า ประการแรกคือไทยจะมีเครือข่ายจาก 100 เมืองทั่วโลก ในการติดต่อสื่อสารในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้กรุงเทพฯ เป็นที่รู้จักมากขึ้น รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน อย่างเมืองมีปัญหาในเรื่องหนึ่ง ถ้าเรามีแผนอยู่แล้วก็สามารถเสนอส่งไปให้เขาดูว่าใช้ได้หรือไม่ ตรงนี้จะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ ต่าง ๆ จากเครือข่ายทั้ง 100 เมือง เพื่อร่วมแบ่งปันความรู้และแนวปฏิบัติกับเมืองสมาชิกอื่น ๆ ประการสุดท้าย กรุงเทพฯ จะมีแผนการปฏิบัติการที่ชัดเจน ได้รับการสนับสนุนด้าน การสร้างแผนฟื้นฟูเมือง พร้อมทั้งความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ และเทคนิคที่มีประสิทธิภาพ เมื่อเห็นผลสัมฤทธิ์เกิดขึ้นจะมีการทำต่อยอดในเรื่องอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้เมืองมีความพร้อมมากขึ้นไม่ว่าจะเกิดภัยในรูปแบบใด “สิ่งสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งของเมือง คือ ประชาชนต้องมีความพร้อม มีความเข้าใจ เมืองจะมีความพร้อมได้ต้องมาจากความพร้อมของคนก่อน ถ้าคนที่อยู่ในเมืองไม่มีความพร้อมต่อให้มีการจัดการที่ดีก็ขับเคลื่อนไปได้ยากจะต้องมีการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร บอกถึงประโยชน์และโทษที่จะได้รับ จะต้องค่อย ๆ สร้างความเข้าใจเพื่อให้เกิดการยอมรับและปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ ซึ่งจะต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งที่เริ่มจากคน โดยให้มีความยืดหยุ่น มีการสำรอง คือ ให้คนมีทางเลือกไม่ใช่จำกัดอยู่กับสิ่งเดียว เรื่องเดียว ทางเดียว”ดร.ศุภชัยกล่าวทิ้งท้าย.จุฑานันทน์บุญทราหาญ“ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/328343

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...