สิทธิที่มี-สิ่งที่ต้องระวัง ‘หลังน้ำท่วม’ อะไรควรได้-ควรกลัว!

แสดงความคิดเห็น

เหตุการณ์น้ำท่วมสูง

จากที่ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ได้สะท้อนไปเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว เกี่ยวกับ ’ทุกข์คนไทย“ จาก ’ภัยน้ำท่วม“ ในปี 2556 นี้ ในประเด็น รัฐบาล ภาครัฐ ชัดเจนกับ “มาตรการช่วยเหลือฟื้นฟู” ผู้ที่ประสบภัย แล้วหรือยัง? อย่างไร? ล่าสุดเรื่องนี้ก็มีการระบุออกมาจากทางรัฐบาล จากทางภาครัฐที่เกี่ยวข้อง แล้วในระดับหนึ่ง

ผู้ประสบภัยควรได้รับรู้ถึงสิทธิที่พึงมีพึงได้

และแม้น้ำท่วมจะคลี่คลายก็อย่าลืมระวัง!!!

ทั้งนี้ ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในปี 2556 นี้นั้น ณ วันที่ 12 ต.ค.ที่ผ่านมา มีตัวเลขออกมาว่า มีผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงประมาณ 3,050,000 คน หรือกว่า 1,030,000 ครัวเรือน ใน 42 จังหวัด และมีการระบุออกมาจากภาครัฐว่า รัฐบาลยืนยันที่จะดูแลช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยอย่างไม่มีข้อจำกัด จะดูแลอย่างเสมอภาคเป็นธรรมในทุก ๆ พื้นที่ และจะมีการลงพื้นที่ดำเนินการช่วยเหลือแบบเชิงรุก ซึ่งเอาเข้าจริงจังจะอย่างไรก็ลองตามดูกัน??

อย่างไรก็ตาม หากโฟกัสที่การช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมด้วยเงินงบประมาณจากภาษี ที่จัดเก็บจากประชาชนคนไทยโดยรวมนั้น ล่าสุดก็เริ่มมีการระบุถึงประกาศหลักเกณฑ์ให้ได้รับรู้บ้างแล้ว โดยสังเขปคือ...

ค่าช่วยเหลือในการดำรงชีพเบื้องต้นกรณีที่บ้านเสียหายทั้งหลัง ครอบครัวละไม่เกิน 3,000 บาท, กรณีเช่าบ้านอยู่แล้วบ้านเสียหายจนอยู่ไม่ได้ ได้ค่าเช่าบ้านครอบครัวละไม่เกิน 1,700 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 2 เดือน, ค่าซ่อมแซมหรือก่อสร้างที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริง แต่หลังละไม่เกิน 33,000 บาท, ค่าวัสดุซ่อมแซมโรงเรือนเก็บพืชผลการเกษตรและคอกสัตว์ ครอบครัวละไม่เกิน 5,000 บาท, ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ หรือเงินทุนในการหาเลี้ยงชีพ เท่าที่จ่ายจริง แต่ครอบครัวละไม่เกิน 11,000 บาท, ค่าช่วยเหลือเบื้องต้นผู้บาดเจ็บสาหัสที่ต้องรักษาในโรงพยาบาล 3 วันขึ้นไป รายละ 3,000 บาท, ค่าช่วยเหลือเบื้องต้นผู้บาดเจ็บถึงขั้นพิการไม่สามารถประกอบอาชีพได้ 10,000 บาท, ค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต รายละไม่เกิน 25,000 บาท กรณีผู้เสียชีวิตเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือเป็นผู้หารายได้เลี้ยงดูครอบครัว สามารถจะได้รับเงินสงเคราะห์ครอบครัวเพิ่มอีกไม่เกิน 25,000 บาท ฯลฯ

หลักเกณฑ์ที่ยกตัวอย่างนี้มิใช่แค่มาตรการเฉพาะกิจ แต่เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 ซึ่งคนไทยควรได้รู้

หรือถ้าผู้ประสบภัยน้ำท่วมเป็นเกษตรกร เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และกำลังกังวลใจเรื่องหนี้สินเชื่อ ทาง ธ.ก.ส. ก็ประกาศแล้วว่า นอกจากจะมีการมอบเงินช่วยเหลือกรณีผู้นำครอบครัวเสียชีวิต หรือบ้านพังจนอยู่อาศัยไม่ได้ รายละ 20,000 บาท และกรณีเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นได้รับความเสียหาย รายละ 2,000 บาท ทาง ธ.ก.ส. ก็ยังมีมาตรการช่วยเหลือด้านภาระหนี้สินในเบื้องต้น สำหรับเกษตรกรลูกค้าสินเชื่อที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยหากผลผลิตทางการเกษตรเสียหายร้ายแรงเกินกว่าร้อยละ 50 จะขยายเวลาชำระหนี้ให้ โดยไม่มีการคิดเบี้ยปรับ พร้อมทั้งจะให้สินเชื่อใหม่เพื่อใช้ฟื้นฟูด้านการผลิตด้วย

กับธนาคารออมสิน ก็มีข่าวว่าออกเกณฑ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งมีทั้งปล่อยกู้เพิ่มเติมให้กับลูกค้าเดิม พักชำระหนี้ให้ ลดวงเงินผ่อนค่างวดต่อเดือน ขยายเวลาผ่อนชำระหนี้ ก็ลองไปศึกษารายละเอียดกันดู

“ทุกข์ภัยน้ำท่วม”มีทั้งส่วนที่ต้องช่วย-จะช่วย และผู้ประสบภัยก็ “อย่าประมาทแม้น้ำจะลด” ทั้งนี้ นอกจากภัยในช่วงที่น้ำท่วมแล้ว แม้น้ำจะลดก็อาจจะมีภัยแฝงอยู่ ไม่ว่าจะเป็น...สัตว์อันตราย สัตว์พิษต่าง ๆ เช่น ตะขาบ แมงป่อง งู, เชื้อโรคต่าง ๆ เช่น เชื้อโรคฉี่หนู-เลปโตสไปโรซิส ที่เชื้อมักจะมากับน้ำ และเมื่อน้ำลดแล้วยิ่งต้องระวังเพราะเชื้อร้ายที่อันตรายนี้มักจะระบาดง่ายจากโคลนตมหรือดินที่ชื้นแฉะ

บ้านเรือนเกิดปัญหาจากน้ำท่วม นี่ก็ต้องระวัง ซึ่งน้ำที่ท่วมอาจทำให้ผนังหรือกำแพงแตก คานหรือเสามีปัญหาที่รอยต่อ โครงสร้างที่แช่น้ำเกิดสนิม ตัวบ้านเคลื่อนออกจากฐานราก ซึ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่อันตราย นอกจากนี้ ภัยจากน้ำท่วม ซึ่งรวมถึงตอนที่น้ำลดแล้ว ที่ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ขอเตือนย้ำกันไว้อีกก็คือ ไฟฟ้าดูด-ไฟฟ้าช็อต ซึ่งตอนที่น้ำยังท่วมบางพื้นที่อาจจะมีการตัดกระแสไฟฟ้า พอน้ำลดแล้ว มี การจ่ายไฟปกติแล้ว ตามบ้านเรือนก็ต้องระวังให้ดี อาจจะมีกระแสไฟฟ้า รั่วอยู่ ไม่ว่าจะเป็นในบ้านเราเองหรือบ้านใกล้เรือนเคียง ต้องระวังอุปกรณ์ ไฟฟ้าที่ติดตั้งอยู่บริเวณที่ชื้นแฉะ ต้องงดใช้งดสัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้าขณะที่ตัวเปียกชื้นหรือยืนอยู่บนพื้นที่ชื้น แฉะ อย่าใช้เครื่องไฟฟ้าที่เสียหายจาก น้ำท่วมโดยที่ยังไม่ได้ผ่านการซ่อมแซมจากช่างผู้ชำนาญ ถ้าเปิดใช้เครื่อง ไฟฟ้าแล้วพบว่าผิดปกติ เช่น เหม็นไหม้ มีเสียงดัง ฯลฯ ให้หยุดใช้ทันที ก็ต้องพึงตระหนักกันไว้ว่าน้ำท่วมทีไรมักจะมีคนไทยต้องเสียชีวิตเพราะกระแส ไฟฟ้า และขอเน้นว่าภัยนี้เกิดได้ทั้งตอนน้ำท่วมและน้ำลด

ก็เป็นเรื่องของ ’สิทธิที่มี“ และ ’สิ่งที่ต้องระวัง“

ณ ที่นี้ก็นำมา ’บอกกล่าว-ย้ำเตือน“ ไว้อีกครั้ง

หวังให้ ’คนทุกข์น้ำท่วม“ ฟื้นคืนสุขได้โดยเร็ว.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/240171 (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ต.ค.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 16/10/2556 เวลา 04:09:05 ดูภาพสไลด์โชว์ สิทธิที่มี-สิ่งที่ต้องระวัง ‘หลังน้ำท่วม’ อะไรควรได้-ควรกลัว!

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เหตุการณ์น้ำท่วมสูง จากที่ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ได้สะท้อนไปเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว เกี่ยวกับ ’ทุกข์คนไทย“ จาก ’ภัยน้ำท่วม“ ในปี 2556 นี้ ในประเด็น รัฐบาล ภาครัฐ ชัดเจนกับ “มาตรการช่วยเหลือฟื้นฟู” ผู้ที่ประสบภัย แล้วหรือยัง? อย่างไร? ล่าสุดเรื่องนี้ก็มีการระบุออกมาจากทางรัฐบาล จากทางภาครัฐที่เกี่ยวข้อง แล้วในระดับหนึ่ง ผู้ประสบภัยควรได้รับรู้ถึงสิทธิที่พึงมีพึงได้ และแม้น้ำท่วมจะคลี่คลายก็อย่าลืมระวัง!!! ทั้งนี้ ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในปี 2556 นี้นั้น ณ วันที่ 12 ต.ค.ที่ผ่านมา มีตัวเลขออกมาว่า มีผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงประมาณ 3,050,000 คน หรือกว่า 1,030,000 ครัวเรือน ใน 42 จังหวัด และมีการระบุออกมาจากภาครัฐว่า รัฐบาลยืนยันที่จะดูแลช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยอย่างไม่มีข้อจำกัด จะดูแลอย่างเสมอภาคเป็นธรรมในทุก ๆ พื้นที่ และจะมีการลงพื้นที่ดำเนินการช่วยเหลือแบบเชิงรุก ซึ่งเอาเข้าจริงจังจะอย่างไรก็ลองตามดูกัน?? อย่างไรก็ตาม หากโฟกัสที่การช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมด้วยเงินงบประมาณจากภาษี ที่จัดเก็บจากประชาชนคนไทยโดยรวมนั้น ล่าสุดก็เริ่มมีการระบุถึงประกาศหลักเกณฑ์ให้ได้รับรู้บ้างแล้ว โดยสังเขปคือ... ค่าช่วยเหลือในการดำรงชีพเบื้องต้นกรณีที่บ้านเสียหายทั้งหลัง ครอบครัวละไม่เกิน 3,000 บาท, กรณีเช่าบ้านอยู่แล้วบ้านเสียหายจนอยู่ไม่ได้ ได้ค่าเช่าบ้านครอบครัวละไม่เกิน 1,700 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 2 เดือน, ค่าซ่อมแซมหรือก่อสร้างที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริง แต่หลังละไม่เกิน 33,000 บาท, ค่าวัสดุซ่อมแซมโรงเรือนเก็บพืชผลการเกษตรและคอกสัตว์ ครอบครัวละไม่เกิน 5,000 บาท, ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ หรือเงินทุนในการหาเลี้ยงชีพ เท่าที่จ่ายจริง แต่ครอบครัวละไม่เกิน 11,000 บาท, ค่าช่วยเหลือเบื้องต้นผู้บาดเจ็บสาหัสที่ต้องรักษาในโรงพยาบาล 3 วันขึ้นไป รายละ 3,000 บาท, ค่าช่วยเหลือเบื้องต้นผู้บาดเจ็บถึงขั้นพิการไม่สามารถประกอบอาชีพได้ 10,000 บาท, ค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต รายละไม่เกิน 25,000 บาท กรณีผู้เสียชีวิตเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือเป็นผู้หารายได้เลี้ยงดูครอบครัว สามารถจะได้รับเงินสงเคราะห์ครอบครัวเพิ่มอีกไม่เกิน 25,000 บาท ฯลฯ หลักเกณฑ์ที่ยกตัวอย่างนี้มิใช่แค่มาตรการเฉพาะกิจ แต่เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 ซึ่งคนไทยควรได้รู้ หรือถ้าผู้ประสบภัยน้ำท่วมเป็นเกษตรกร เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และกำลังกังวลใจเรื่องหนี้สินเชื่อ ทาง ธ.ก.ส. ก็ประกาศแล้วว่า นอกจากจะมีการมอบเงินช่วยเหลือกรณีผู้นำครอบครัวเสียชีวิต หรือบ้านพังจนอยู่อาศัยไม่ได้ รายละ 20,000 บาท และกรณีเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นได้รับความเสียหาย รายละ 2,000 บาท ทาง ธ.ก.ส. ก็ยังมีมาตรการช่วยเหลือด้านภาระหนี้สินในเบื้องต้น สำหรับเกษตรกรลูกค้าสินเชื่อที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยหากผลผลิตทางการเกษตรเสียหายร้ายแรงเกินกว่าร้อยละ 50 จะขยายเวลาชำระหนี้ให้ โดยไม่มีการคิดเบี้ยปรับ พร้อมทั้งจะให้สินเชื่อใหม่เพื่อใช้ฟื้นฟูด้านการผลิตด้วย กับธนาคารออมสิน ก็มีข่าวว่าออกเกณฑ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งมีทั้งปล่อยกู้เพิ่มเติมให้กับลูกค้าเดิม พักชำระหนี้ให้ ลดวงเงินผ่อนค่างวดต่อเดือน ขยายเวลาผ่อนชำระหนี้ ก็ลองไปศึกษารายละเอียดกันดู “ทุกข์ภัยน้ำท่วม”มีทั้งส่วนที่ต้องช่วย-จะช่วย และผู้ประสบภัยก็ “อย่าประมาทแม้น้ำจะลด” ทั้งนี้ นอกจากภัยในช่วงที่น้ำท่วมแล้ว แม้น้ำจะลดก็อาจจะมีภัยแฝงอยู่ ไม่ว่าจะเป็น...สัตว์อันตราย สัตว์พิษต่าง ๆ เช่น ตะขาบ แมงป่อง งู, เชื้อโรคต่าง ๆ เช่น เชื้อโรคฉี่หนู-เลปโตสไปโรซิส ที่เชื้อมักจะมากับน้ำ และเมื่อน้ำลดแล้วยิ่งต้องระวังเพราะเชื้อร้ายที่อันตรายนี้มักจะระบาดง่ายจากโคลนตมหรือดินที่ชื้นแฉะ บ้านเรือนเกิดปัญหาจากน้ำท่วม นี่ก็ต้องระวัง ซึ่งน้ำที่ท่วมอาจทำให้ผนังหรือกำแพงแตก คานหรือเสามีปัญหาที่รอยต่อ โครงสร้างที่แช่น้ำเกิดสนิม ตัวบ้านเคลื่อนออกจากฐานราก ซึ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่อันตราย นอกจากนี้ ภัยจากน้ำท่วม ซึ่งรวมถึงตอนที่น้ำลดแล้ว ที่ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ขอเตือนย้ำกันไว้อีกก็คือ ไฟฟ้าดูด-ไฟฟ้าช็อต ซึ่งตอนที่น้ำยังท่วมบางพื้นที่อาจจะมีการตัดกระแสไฟฟ้า พอน้ำลดแล้ว มี การจ่ายไฟปกติแล้ว ตามบ้านเรือนก็ต้องระวังให้ดี อาจจะมีกระแสไฟฟ้า รั่วอยู่ ไม่ว่าจะเป็นในบ้านเราเองหรือบ้านใกล้เรือนเคียง ต้องระวังอุปกรณ์ ไฟฟ้าที่ติดตั้งอยู่บริเวณที่ชื้นแฉะ ต้องงดใช้งดสัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้าขณะที่ตัวเปียกชื้นหรือยืนอยู่บนพื้นที่ชื้น แฉะ อย่าใช้เครื่องไฟฟ้าที่เสียหายจาก น้ำท่วมโดยที่ยังไม่ได้ผ่านการซ่อมแซมจากช่างผู้ชำนาญ ถ้าเปิดใช้เครื่อง ไฟฟ้าแล้วพบว่าผิดปกติ เช่น เหม็นไหม้ มีเสียงดัง ฯลฯ ให้หยุดใช้ทันที ก็ต้องพึงตระหนักกันไว้ว่าน้ำท่วมทีไรมักจะมีคนไทยต้องเสียชีวิตเพราะกระแส ไฟฟ้า และขอเน้นว่าภัยนี้เกิดได้ทั้งตอนน้ำท่วมและน้ำลด ก็เป็นเรื่องของ ’สิทธิที่มี“ และ ’สิ่งที่ต้องระวัง“ ณ ที่นี้ก็นำมา ’บอกกล่าว-ย้ำเตือน“ ไว้อีกครั้ง หวังให้ ’คนทุกข์น้ำท่วม“ ฟื้นคืนสุขได้โดยเร็ว. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/240171 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...