'บ้านไม้ไผ่'ทุนต่ำสู้ภัยน้ำท่วม!

แสดงความคิดเห็น

ต้นแบบบ้านไม้ไผ่ลอยน้ำต้นทุนต่ำ

สถาปนิกเวียดนามออกแบบ 'บ้านไม้ไผ่ลอยน้ำต้นทุนต่ำ' สู้ภัยน้ำท่วม

บริษัทออกแบบในประเทศเวียดนาม “เอชแอนด์พี อาร์คิเทคส์” เผยแบบบ้านไม้ไผ่ลอยน้ำต้นทุนต่ำ ค่าใช้จ่ายไม่ถึง 6.3 หมื่นบาทต่อหลัง หวังเป็นทางออกสำหรับคนยากไร้ที่สูญเสียบ้านจากเหตุอุทกภัยหรืออาศัยอยู่ใน เขตน้ำท่วมซ้ำซาก

เวียดนามเป็นประเทศที่ประสบอุทกภัยอย่างหนักเป็นประจำทุกปี เนื่องจากชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกมีลักษณะเปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียง เหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ เราจึงมักได้ยินข่าวพายุขึ้นฝั่งที่ประเทศเวียดนามบ่อยครั้ง ที่ผ่านมาอิทธิพลของลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อนส่งผลให้ประชาชนจำนวนมาก (ส่วนใหญ่เป็นผู้ยากไร้) สูญเสียที่อยู่อาศัยไปกับลมพายุและสายน้ำ และนี่ก็คือแรงบันดาลใจที่ทำให้ “เอชแอนด์พี อาร์คิเทคส์” ออกแบบบ้านไม้ไผ่ลอยน้ำต้นทุนต่ำ หวังช่วยให้ผู้ประสบภัยดำรงชีวิตอยู่ในบ้านได้อย่างปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ แม้ในขณะน้ำท่วม

สาเหตุที่ “เอชแอนด์พี อาร์คิเทคส์” เลือกใช้ไม่ไผ่เป็นวัสดุหลักในการสร้างบ้าน เนื่องจากเป็นไม้ที่มีความทนทาน ใช้งานได้หลากหลาย หาได้ทั่วไปในพื้นที่ ซึ่งตรงกับแนวคิดที่ต้องการให้เป็นบ้านแบบพอเพียง ราคาประหยัด ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และใช้เทคนิคในการก่อสร้างแบบดั้งเดิม

ขั้นตอนแรกของการสร้างบ้านไม้ไผ่ลอยน้ำก็คือการลงเสาเหล็ก (เชื่อมตามแบบที่กำหนด) 4 ต้นเพื่อให้ตัวบ้านลอยขึ้นลงภายในกรอบที่กำหนดและยึดตัวบ้านไว้ไม่ให้ไหลไป กับสายน้ำ (เบื้องต้นสามารถลอยน้ำสูง 1.5 เมตร อยู่ในระหว่างการทดสอบและพัฒนาให้รับน้ำท่วมสูง 3 เมตร) หลังลงเสาเหล็กเรียบร้อยแล้วจึงเริ่มสร้างฐานหรือส่วนที่เป็นทุ่นลอยน้ำ ซึ่งประกอบด้วยโครงไม้ไผ่และถังน้ำมันใช้แล้วความจุ 200 ลิตร หลังจากนั้นจึงสร้างส่วนของพื้นและตัวบ้าน โดยแบ่งโครงสร้างของบ้านออกเป็น 2 ส่วน (หรือ 2 บล็อค) แต่ละส่วนมีขนาด 3.3 x 6.6 เมตร

บ้านไม้ไผ่ลอยน้ำดังกล่าวนี้มีทั้งหมด 2 ชั้น เหมาะสำหรับครอบครัวที่มีสมาชิกไม่เกิน 6 คน (สามารถต่อขยายให้เป็นบ้านสำหรับ 8 คนได้) ชั้นล่างเป็นพื้นที่อยู่อาศัย ส่วนชั้นบนมีลักษณะคล้ายห้องใต้หลังคา สามารถใช้เป็นมุมพักผ่อนและเป็นทางออกฉุกเฉินได้ด้วย เนื่องจากผนังบริเวณนี้ถูกออกแบบให้ทำหน้าที่เป็นหน้าต่างระบายลมจึงสามารถ เปิดปิดได้ เช่นเดียวกับชานบ้านและกันสาดทางด้านล่างที่สามารถพับปิดทับประตูอีกชั้น หนึ่งเพื่อป้องกันพายุ นอกจากนี้ บริเวณผนังด้านนอกยังถูกออกแบบให้ใช้เป็นสวนแนวตั้งสำหรับปลูกพืชผักสวนครัว หรือไม้ดอกไม้ประดับอีกด้วย

ภาพจำลองขณะน้ำท่วม

สำหรับไม้ไผ่ที่นำมาใช้สร้างบ้านนั้นจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 8-10 ซ.ม. เห็นเป็นบ้านไม้ไผ่อย่างนี้แต่ก็มีระบบกักเก็บน้ำฝน พร้อมระบบกรองน้ำใช้และรีไซเคิลน้ำเสีย ในกรณีที่เกิดน้ำท่วมระบบสุขาภิบาลหลักจะหยุดทำงานโดยอัตโนมัติ (วันเวย์ วาล์วจะปิดเองโดยอัตโนมัติเมื่อบ้านลอยขึ้น) แต่ผู้อาศัยจะยังคงใช้ห้องน้ำได้อยู่เพราะมีถังสำรองสำหรับเก็บของเสีย

ความจริงแล้ว “บ้านไม้ไผ่ลอยน้ำต้นทุนต่ำ” ไม่ได้ถูกออกแบบเพื่อรองรับน้ำท่วมเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถใช้เป็นบ้านพักฉุกเฉินหรือศูนย์อพยพสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติ อื่นๆ อาทิ แผ่นดินไหว ดินถล่ม เพลิงไหม้ ฯลฯ เพราะใช้งบประมาณไม่ถึง 2 พันเหรียญสหรัฐ (ไม่ถึง 6.3 หมื่นบาท) ต่อหลัง และใช้เวลาในการก่อสร้างไม่ถึงหนึ่งเดือน แถมวิธีการก่อสร้างก็ไม่ซับซ้อนและเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาแต่ดั้งเดิม ผู้สนใจจึงสามารถสร้างตามแบบได้ไม่ยาก

(หมายเหตุ : ที่มา : http://paow007.wordpress.com/ : via designboom)

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20131018/170752.html

คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ต.ค.56

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 21/10/2556 เวลา 03:55:12 ดูภาพสไลด์โชว์ 'บ้านไม้ไผ่'ทุนต่ำสู้ภัยน้ำท่วม!

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ต้นแบบบ้านไม้ไผ่ลอยน้ำต้นทุนต่ำ สถาปนิกเวียดนามออกแบบ 'บ้านไม้ไผ่ลอยน้ำต้นทุนต่ำ' สู้ภัยน้ำท่วม บริษัทออกแบบในประเทศเวียดนาม “เอชแอนด์พี อาร์คิเทคส์” เผยแบบบ้านไม้ไผ่ลอยน้ำต้นทุนต่ำ ค่าใช้จ่ายไม่ถึง 6.3 หมื่นบาทต่อหลัง หวังเป็นทางออกสำหรับคนยากไร้ที่สูญเสียบ้านจากเหตุอุทกภัยหรืออาศัยอยู่ใน เขตน้ำท่วมซ้ำซาก เวียดนามเป็นประเทศที่ประสบอุทกภัยอย่างหนักเป็นประจำทุกปี เนื่องจากชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกมีลักษณะเปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียง เหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ เราจึงมักได้ยินข่าวพายุขึ้นฝั่งที่ประเทศเวียดนามบ่อยครั้ง ที่ผ่านมาอิทธิพลของลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อนส่งผลให้ประชาชนจำนวนมาก (ส่วนใหญ่เป็นผู้ยากไร้) สูญเสียที่อยู่อาศัยไปกับลมพายุและสายน้ำ และนี่ก็คือแรงบันดาลใจที่ทำให้ “เอชแอนด์พี อาร์คิเทคส์” ออกแบบบ้านไม้ไผ่ลอยน้ำต้นทุนต่ำ หวังช่วยให้ผู้ประสบภัยดำรงชีวิตอยู่ในบ้านได้อย่างปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ แม้ในขณะน้ำท่วม สาเหตุที่ “เอชแอนด์พี อาร์คิเทคส์” เลือกใช้ไม่ไผ่เป็นวัสดุหลักในการสร้างบ้าน เนื่องจากเป็นไม้ที่มีความทนทาน ใช้งานได้หลากหลาย หาได้ทั่วไปในพื้นที่ ซึ่งตรงกับแนวคิดที่ต้องการให้เป็นบ้านแบบพอเพียง ราคาประหยัด ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และใช้เทคนิคในการก่อสร้างแบบดั้งเดิม ขั้นตอนแรกของการสร้างบ้านไม้ไผ่ลอยน้ำก็คือการลงเสาเหล็ก (เชื่อมตามแบบที่กำหนด) 4 ต้นเพื่อให้ตัวบ้านลอยขึ้นลงภายในกรอบที่กำหนดและยึดตัวบ้านไว้ไม่ให้ไหลไป กับสายน้ำ (เบื้องต้นสามารถลอยน้ำสูง 1.5 เมตร อยู่ในระหว่างการทดสอบและพัฒนาให้รับน้ำท่วมสูง 3 เมตร) หลังลงเสาเหล็กเรียบร้อยแล้วจึงเริ่มสร้างฐานหรือส่วนที่เป็นทุ่นลอยน้ำ ซึ่งประกอบด้วยโครงไม้ไผ่และถังน้ำมันใช้แล้วความจุ 200 ลิตร หลังจากนั้นจึงสร้างส่วนของพื้นและตัวบ้าน โดยแบ่งโครงสร้างของบ้านออกเป็น 2 ส่วน (หรือ 2 บล็อค) แต่ละส่วนมีขนาด 3.3 x 6.6 เมตร บ้านไม้ไผ่ลอยน้ำดังกล่าวนี้มีทั้งหมด 2 ชั้น เหมาะสำหรับครอบครัวที่มีสมาชิกไม่เกิน 6 คน (สามารถต่อขยายให้เป็นบ้านสำหรับ 8 คนได้) ชั้นล่างเป็นพื้นที่อยู่อาศัย ส่วนชั้นบนมีลักษณะคล้ายห้องใต้หลังคา สามารถใช้เป็นมุมพักผ่อนและเป็นทางออกฉุกเฉินได้ด้วย เนื่องจากผนังบริเวณนี้ถูกออกแบบให้ทำหน้าที่เป็นหน้าต่างระบายลมจึงสามารถ เปิดปิดได้ เช่นเดียวกับชานบ้านและกันสาดทางด้านล่างที่สามารถพับปิดทับประตูอีกชั้น หนึ่งเพื่อป้องกันพายุ นอกจากนี้ บริเวณผนังด้านนอกยังถูกออกแบบให้ใช้เป็นสวนแนวตั้งสำหรับปลูกพืชผักสวนครัว หรือไม้ดอกไม้ประดับอีกด้วย ภาพจำลองขณะน้ำท่วม สำหรับไม้ไผ่ที่นำมาใช้สร้างบ้านนั้นจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 8-10 ซ.ม. เห็นเป็นบ้านไม้ไผ่อย่างนี้แต่ก็มีระบบกักเก็บน้ำฝน พร้อมระบบกรองน้ำใช้และรีไซเคิลน้ำเสีย ในกรณีที่เกิดน้ำท่วมระบบสุขาภิบาลหลักจะหยุดทำงานโดยอัตโนมัติ (วันเวย์ วาล์วจะปิดเองโดยอัตโนมัติเมื่อบ้านลอยขึ้น) แต่ผู้อาศัยจะยังคงใช้ห้องน้ำได้อยู่เพราะมีถังสำรองสำหรับเก็บของเสีย ความจริงแล้ว “บ้านไม้ไผ่ลอยน้ำต้นทุนต่ำ” ไม่ได้ถูกออกแบบเพื่อรองรับน้ำท่วมเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถใช้เป็นบ้านพักฉุกเฉินหรือศูนย์อพยพสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติ อื่นๆ อาทิ แผ่นดินไหว ดินถล่ม เพลิงไหม้ ฯลฯ เพราะใช้งบประมาณไม่ถึง 2 พันเหรียญสหรัฐ (ไม่ถึง 6.3 หมื่นบาท) ต่อหลัง และใช้เวลาในการก่อสร้างไม่ถึงหนึ่งเดือน แถมวิธีการก่อสร้างก็ไม่ซับซ้อนและเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาแต่ดั้งเดิม ผู้สนใจจึงสามารถสร้างตามแบบได้ไม่ยาก (หมายเหตุ : ที่มา : http://paow007.wordpress.com/ : via designboom) ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20131018/170752.html] http://www.komchadluek.net/detail/20131018/170752.html] http://www.komchadluek.net/detail/20131018/170752.html คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...