สธ.ส่งยาชุดน้ำท่วมช่วยผู้ประสบภัย 7,000 ชุด แต่กั๊กสำรองไว้ถึง 3 แสนชุด

แสดงความคิดเห็น

สธ.กั๊กยาชุดน้ำท่วมไว้ส่วน กลาง 300,000 ชุด ส่งช่วยพื้นที่น้ำท่วมเพียง 7,000 ชุด ใน จ.ตากและน่าน แนะผู้ป่วยโรคเรื้อรังดูแลตนเองให้มากขึ้น เลี่ยงการเดินลุยน้ำ หากมีอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์หรือแจ้ง อสม.ใกล้บ้าน

วันนี้ (1 ส.ค.) นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ตนได้กำชับให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้การดูแลประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน โรคลมชัก หากยาหรืออินซูลินใกล้หมด ขอให้แจ้ง อสม.ที่อยู่ใกล้ หรือโทร.ปรึกษาได้ที่หมายเลข 1669 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ล่า สุด สธ.ได้จัดส่งยาชุดน้ำท่วมจำนวน 7,000 ชุด ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย แบ่งเป็น จ.ตาก 2,000 ชุด และ จ.น่าน 5,000 ชุด พร้อมสำรองไว้ที่ส่วนกลางอีก 300,000 ชุด และให้ทุกจังหวัดเตรียมความพร้อมรับมือพายุ เชบี วันที่ 2-5 ส.ค.ด้วย

นายสรวงศ์ กล่าวอีกว่า ตนได้รับรายงานจากนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตากว่า ขณะ นี้ระดับน้ำที่ อ.แม่สอด เริ่มลดลง จึงได้ส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 4 ทีม พร้อมถุงยังชีพ ยา และเวชภัณฑ์ที่จำเป็น ออกให้บริการที่ ต.แม่กุ และ ต.วังตะเคียน มีผู้มาใช้บริการประมาณ 200 ราย ส่วนใหญ่น้ำกัดเท้า มีบาดแผลเนื่องจากถูกของมีคมบาด ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ ยังให้บริการชาวพม่าที่อพยพหนีน้ำท่วมข้ามแม่น้ำเมยมาขออาศัยอยู่ตามวัด หรือญาติที่ไทยตามหลักมนุษยธรรมด้วย สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่กุใหม่ที่ปิดให้บริการ ล่าสุดระดับน้ำลดลงแล้ว เหลือเพียงน้ำขังบางส่วน คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในวันที่ 2 ส.ค.

ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. กล่าวว่า ช่วง น้ำท่วมขังมีความเป็นห่วงผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เสี่ยงอาการกำเริบได้ง่าย ขอให้ดูแลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ ประการแรกอย่าเครียด ขอให้ทำใจยอมรับสภาพที่เกิดขึ้น ขอให้พูดคุยกับเพื่อนบ้าน เพื่อระบายทุกข์สุขร่วมกัน พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารทุกมื้อ อย่าอดอาหาร เนื่องจากอาจทำให้ระดับน้ำตาลต่ำ หมดสติได้ หลีกเลี่ยงการลุยน้ำโดยลำพัง หากอาการกำเริบ อาจช่วยเหลือตนเองไม่ได้ และหลีกเลี่ยงเดินลุยน้ำท่วมขังที่เน่าเสีย เพราะอาจทำให้เกิดโรคน้ำกัดเท้าได้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นเบาหวาน ต้องดูแลความสะอาดของเท้าเป็นพิเศษ เนื่องจากอาจเกิดแผลโดยไม่รู้ตัว เพราะเท้าอาจมีอาการชา หากเกิดแผล ถูกของมีคมบาด หรือทิ่มตำอาจจะไม่รู้สึกเจ็บ จนแผลติดเชื้อลุกลามภายหลังได้ หากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ ขอให้สวมรองเท้าบู้ทอย่าให้น้ำเข้าไปในรองเท้า หลังจากลุยน้ำแล้ว ล้างเท้าด้วยน้ำสะอาด เช็ดให้แห้งทุกครั้ง

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000094859 (ขนาดไฟล์: 185)

ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ส.ค.56

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 2/08/2556 เวลา 03:42:07

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สธ.กั๊กยาชุดน้ำท่วมไว้ส่วน กลาง 300,000 ชุด ส่งช่วยพื้นที่น้ำท่วมเพียง 7,000 ชุด ใน จ.ตากและน่าน แนะผู้ป่วยโรคเรื้อรังดูแลตนเองให้มากขึ้น เลี่ยงการเดินลุยน้ำ หากมีอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์หรือแจ้ง อสม.ใกล้บ้าน วันนี้ (1 ส.ค.) นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ตนได้กำชับให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้การดูแลประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน โรคลมชัก หากยาหรืออินซูลินใกล้หมด ขอให้แจ้ง อสม.ที่อยู่ใกล้ หรือโทร.ปรึกษาได้ที่หมายเลข 1669 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ล่า สุด สธ.ได้จัดส่งยาชุดน้ำท่วมจำนวน 7,000 ชุด ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย แบ่งเป็น จ.ตาก 2,000 ชุด และ จ.น่าน 5,000 ชุด พร้อมสำรองไว้ที่ส่วนกลางอีก 300,000 ชุด และให้ทุกจังหวัดเตรียมความพร้อมรับมือพายุ เชบี วันที่ 2-5 ส.ค.ด้วย นายสรวงศ์ กล่าวอีกว่า ตนได้รับรายงานจากนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตากว่า ขณะ นี้ระดับน้ำที่ อ.แม่สอด เริ่มลดลง จึงได้ส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 4 ทีม พร้อมถุงยังชีพ ยา และเวชภัณฑ์ที่จำเป็น ออกให้บริการที่ ต.แม่กุ และ ต.วังตะเคียน มีผู้มาใช้บริการประมาณ 200 ราย ส่วนใหญ่น้ำกัดเท้า มีบาดแผลเนื่องจากถูกของมีคมบาด ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ ยังให้บริการชาวพม่าที่อพยพหนีน้ำท่วมข้ามแม่น้ำเมยมาขออาศัยอยู่ตามวัด หรือญาติที่ไทยตามหลักมนุษยธรรมด้วย สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่กุใหม่ที่ปิดให้บริการ ล่าสุดระดับน้ำลดลงแล้ว เหลือเพียงน้ำขังบางส่วน คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในวันที่ 2 ส.ค. ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. กล่าวว่า ช่วง น้ำท่วมขังมีความเป็นห่วงผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เสี่ยงอาการกำเริบได้ง่าย ขอให้ดูแลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ ประการแรกอย่าเครียด ขอให้ทำใจยอมรับสภาพที่เกิดขึ้น ขอให้พูดคุยกับเพื่อนบ้าน เพื่อระบายทุกข์สุขร่วมกัน พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารทุกมื้อ อย่าอดอาหาร เนื่องจากอาจทำให้ระดับน้ำตาลต่ำ หมดสติได้ หลีกเลี่ยงการลุยน้ำโดยลำพัง หากอาการกำเริบ อาจช่วยเหลือตนเองไม่ได้ และหลีกเลี่ยงเดินลุยน้ำท่วมขังที่เน่าเสีย เพราะอาจทำให้เกิดโรคน้ำกัดเท้าได้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นเบาหวาน ต้องดูแลความสะอาดของเท้าเป็นพิเศษ เนื่องจากอาจเกิดแผลโดยไม่รู้ตัว เพราะเท้าอาจมีอาการชา หากเกิดแผล ถูกของมีคมบาด หรือทิ่มตำอาจจะไม่รู้สึกเจ็บ จนแผลติดเชื้อลุกลามภายหลังได้ หากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ ขอให้สวมรองเท้าบู้ทอย่าให้น้ำเข้าไปในรองเท้า หลังจากลุยน้ำแล้ว ล้างเท้าด้วยน้ำสะอาด เช็ดให้แห้งทุกครั้ง ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000094859 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...