กทม.จัดทำคู่มือรับมือภัยพิบัติพื้นที่กรุงเทพฯ คาดแล้วเสร็จใน 6 เดือน

แสดงความคิดเห็น

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงการเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำคู่มือปฏิบัติงานสำหรับการบริหารการจัดการภัยพิบัติในการรักษาพระนคร" ร่วมกับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และผู้เชี่ยวชาญของศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) ว่า กรุงเทพมหานครมีแผนป้องกันภัยพิบัติซึ่งได้มีการทบทวนและปรับปรุงให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันอยู่เสมอเพื่อเป็นการสร้างความพร้อมในการดูแลและป้องกันภัยพิบัติในพื้นที่กรุงเทพฯ

การจัดทำ“คู่มือปฏิบัติงานสำหรับการบริหารการจัดการภัยพิบัติในการรักษาพระนคร"ในครั้งนี้ จะเป็นการนำแผนปฏิบัติงานป้องกันภัยพิบัติของ 12 หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครที่ทำงานเกี่ยวข้องกับภัยพิบัติทั้งการ ป้องกัน ดูแล และฟื้นฟูทั้งโดยตรงและโดยอ้อมมาผนวกกัน เพื่อให้เกิดการประสานทำงานจัดการปัญหาภัยพิบัติทั้งภัยธรรมชาติและภัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ร่วมกันอันจะเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับ สถานการณ์ทุกรูปแบบได้ทันท่วงที รวมทั้งสามารถรองรับสถานการณ์ตามลักษณะความเสี่ยงในทุกระดับของความรุนแรง ทั้งในช่วงก่อนเกิดภัยพิบัติ ขณะเกิดภัยพิบัติและภายหลังจากภัยพิบัติผ่านพ้นไปแล้วเพื่อให้สามารถบริหารจัดการภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านนาย พิจิตต รัตตกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กล่าวว่า มหาวิทยาลัยฯ จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนหลังจากนี้ ในการนำแผนป้องกันภัยพิบัติของหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกรุงเทพมหานครมาผนวกรวมกันเพื่อจัดทำคู่มือปฏิบัติงานสำหรับการ บริหารการจัดการภัยพิบัติในการรักษาพระนครเพื่อให้เกิดการประสานแผนร่วมกัน จากนั้นจะได้มีการประสานแผนฯ ไปยังหน่วยงานต่างๆ ทั้งการไฟฟ้า การประปา บชน. และกองทัพบก เพื่อให้เกิดการทำงานในการบริหารจัดการดูแลป้องกันภัยพิบัติมีประสิทธิภาพ มากขึ้น มีระบบสั่งการและการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกิดเป็นระบบ ปฏิบัติการ ณ ภาวะวิกฤต ตลอดจนความร่วมมือของภาคประชาชน เพื่อสร้างความอุ่นใจและความปลอดภัยให้แก่ประชาชนต่อไป

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1374834514 (ขนาดไฟล์: 143)

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ค.56

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 30/07/2556 เวลา 03:58:06

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงการเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำคู่มือปฏิบัติงานสำหรับการบริหารการจัดการภัยพิบัติในการรักษาพระนคร" ร่วมกับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และผู้เชี่ยวชาญของศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) ว่า กรุงเทพมหานครมีแผนป้องกันภัยพิบัติซึ่งได้มีการทบทวนและปรับปรุงให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันอยู่เสมอเพื่อเป็นการสร้างความพร้อมในการดูแลและป้องกันภัยพิบัติในพื้นที่กรุงเทพฯ การจัดทำ“คู่มือปฏิบัติงานสำหรับการบริหารการจัดการภัยพิบัติในการรักษาพระนคร"ในครั้งนี้ จะเป็นการนำแผนปฏิบัติงานป้องกันภัยพิบัติของ 12 หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครที่ทำงานเกี่ยวข้องกับภัยพิบัติทั้งการ ป้องกัน ดูแล และฟื้นฟูทั้งโดยตรงและโดยอ้อมมาผนวกกัน เพื่อให้เกิดการประสานทำงานจัดการปัญหาภัยพิบัติทั้งภัยธรรมชาติและภัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ร่วมกันอันจะเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับ สถานการณ์ทุกรูปแบบได้ทันท่วงที รวมทั้งสามารถรองรับสถานการณ์ตามลักษณะความเสี่ยงในทุกระดับของความรุนแรง ทั้งในช่วงก่อนเกิดภัยพิบัติ ขณะเกิดภัยพิบัติและภายหลังจากภัยพิบัติผ่านพ้นไปแล้วเพื่อให้สามารถบริหารจัดการภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านนาย พิจิตต รัตตกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กล่าวว่า มหาวิทยาลัยฯ จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนหลังจากนี้ ในการนำแผนป้องกันภัยพิบัติของหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกรุงเทพมหานครมาผนวกรวมกันเพื่อจัดทำคู่มือปฏิบัติงานสำหรับการ บริหารการจัดการภัยพิบัติในการรักษาพระนครเพื่อให้เกิดการประสานแผนร่วมกัน จากนั้นจะได้มีการประสานแผนฯ ไปยังหน่วยงานต่างๆ ทั้งการไฟฟ้า การประปา บชน. และกองทัพบก เพื่อให้เกิดการทำงานในการบริหารจัดการดูแลป้องกันภัยพิบัติมีประสิทธิภาพ มากขึ้น มีระบบสั่งการและการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกิดเป็นระบบ ปฏิบัติการ ณ ภาวะวิกฤต ตลอดจนความร่วมมือของภาคประชาชน เพื่อสร้างความอุ่นใจและความปลอดภัยให้แก่ประชาชนต่อไป ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1374834514 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...