กทม.-ภาคีเครือข่ายทำคู่มือเตรียมพร้อมป้องกันภัยพิบัติทุกรูปแบบ

แสดงความคิดเห็น

กรุงเทพฯ 26 ก.ค.-กทม.ร่วมกับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย จัดทำคู่มือรับภัยพิบัติทุกรูปแบบในเมืองหลวง พร้อมประสานทุกหน่วยงานให้เข้าใจตรงกัน ทั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของเมืองใหญ่ในอาเซียน ที่มีคู่มือแผนรับมือภัยพิบัติ

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน สำหรับการบริหารจัดการภัยพิบัติในการรักษาพระนคร” จัดโดยมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มหาวิทยาลัยในสังกัด กทม. เพื่อหาแนวทางในการสร้างคู่มือปฏิบัติการเกี่ยวกับภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิชาการและประสบการณ์ ระหว่างผู้เชี่ยวชาญของศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) กับผู้ปฏิบัติงานในการรับมือภัยพิบัติของ กทม.

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม. มีแผนปฏิบัติการรับมือจากภัยพิบัติอยู่แล้ว แต่การจัดทำคู่มือในครั้งนี้ หน่วยงานในสังกัด กทม.จะทบทวนสถานการณ์ในสภาวะปัจจุบันและอนาคต เพื่อกำหนดแผนรับมือภัยพิบัติทุกรูปแบบรองรับสถานการณ์ตามลักษณะความเสี่ยง ของความรุนแรงในทุกระดับ โดยเฉพาะช่วงก่อนเกิดภัยพิบัติ ขณะเกิดภัยพิบัติ และภายหลังจากภัยพิบัติ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การจัดทำคู่มือจะใช้เวลา 6 เดือน ผลที่ได้รับคือจะมีแผนงานของหน่วยงานกทม. ที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติทั้ง 12 หน่วยงาน รวมเป็น 12 แผนงานที่ชัดเจน

นอกจากจะจัดทำคู่มือแล้ว กทม.จะประสานและร่วมงานกับหน่วยงานอื่น ทั้งกองทัพ ตำรวจและจังหวัดปริมณฑล เพื่อให้การรับมือภัยพิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและแนวทางเดียวกัน เพราะอุปกรณ์และบุคลากรของ กทม.อาจจะไม่เพียงพอ และเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554 ก็เป็นบทเรียนสำคัญที่สร้างความเข้าใจไม่ตรงกันกับจังหวัดใกล้เคียง จึงต้องทำให้เรื่องนี้กลายเป็นรูปธรรมให้ชัดเจน

ด้านนายพิจิตต รัตตกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กล่าวว่าคู่มือที่จัดทำขึ้นจะระบุว่าทั้ง 12 หน่วยงาน มีหน้าที่ต้องทำอะไรที่ไหนใครทำก่อนหลัง และจะเผยแพร่แนวทางการทำงานให้ประชาชนทราบ ถือเป็นการเตรียมพร้อมรับมือปัญหาภัยพิบัติในพื้นที่ กทม. ทั้งอุทกภัย วาตภัย ภัยแล้ง แผ่นดินไหว พายุลมแรงและภัยจากการกระทำของมนุษย์ เช่น อัคคีภัย อุบัติภัยจากการรั่วไหลของสารเคมี เป็นต้น คู่มือดังกล่าวจะมีแนวทางการประสานของกับหน่วยงานต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพทุกด้าน และระบบทั้งระบบเตือนภัย ระบบประเมินความเสี่ยง ระบบปฏิบัติการ ณ ภาวะวิกฤติ ระบบสั่งการและประสานงาน หากจัดทำเสร็จแล้วจะถือเป็นครั้งแรกของเมืองใหญ่ในอาเซียนที่มีคู่มือแผนรับ มือภัยพิบัติ ทั้งนี้ในระยะ 6 เดือน จากนี้ไปจะมีการประชุมกลุ่มย่อย 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มประเมินความเสี่ยง 2.กลุ่มจัดทำแผนและคู่มือปฏิบัติการ และ 3.กลุ่มประสานงานและความร่วมมือ จากนั้นจะสรุปและจัดทำเป็นคู่มือให้หน่วยงาน กทม.นำไปปฏิบัติ

ขอบคุณ … http://www.mcot.net/site/content?id=51f24542150ba0f052000072#.UfMtWjcrWyg (ขนาดไฟล์: 175)

สำนักข่าวไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ก.ค.56

ที่มา: สำนักข่าวไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 27/07/2556 เวลา 03:16:15

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กรุงเทพฯ 26 ก.ค.-กทม.ร่วมกับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย จัดทำคู่มือรับภัยพิบัติทุกรูปแบบในเมืองหลวง พร้อมประสานทุกหน่วยงานให้เข้าใจตรงกัน ทั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของเมืองใหญ่ในอาเซียน ที่มีคู่มือแผนรับมือภัยพิบัติ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน สำหรับการบริหารจัดการภัยพิบัติในการรักษาพระนคร” จัดโดยมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มหาวิทยาลัยในสังกัด กทม. เพื่อหาแนวทางในการสร้างคู่มือปฏิบัติการเกี่ยวกับภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิชาการและประสบการณ์ ระหว่างผู้เชี่ยวชาญของศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) กับผู้ปฏิบัติงานในการรับมือภัยพิบัติของ กทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม. มีแผนปฏิบัติการรับมือจากภัยพิบัติอยู่แล้ว แต่การจัดทำคู่มือในครั้งนี้ หน่วยงานในสังกัด กทม.จะทบทวนสถานการณ์ในสภาวะปัจจุบันและอนาคต เพื่อกำหนดแผนรับมือภัยพิบัติทุกรูปแบบรองรับสถานการณ์ตามลักษณะความเสี่ยง ของความรุนแรงในทุกระดับ โดยเฉพาะช่วงก่อนเกิดภัยพิบัติ ขณะเกิดภัยพิบัติ และภายหลังจากภัยพิบัติ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การจัดทำคู่มือจะใช้เวลา 6 เดือน ผลที่ได้รับคือจะมีแผนงานของหน่วยงานกทม. ที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติทั้ง 12 หน่วยงาน รวมเป็น 12 แผนงานที่ชัดเจน นอกจากจะจัดทำคู่มือแล้ว กทม.จะประสานและร่วมงานกับหน่วยงานอื่น ทั้งกองทัพ ตำรวจและจังหวัดปริมณฑล เพื่อให้การรับมือภัยพิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและแนวทางเดียวกัน เพราะอุปกรณ์และบุคลากรของ กทม.อาจจะไม่เพียงพอ และเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554 ก็เป็นบทเรียนสำคัญที่สร้างความเข้าใจไม่ตรงกันกับจังหวัดใกล้เคียง จึงต้องทำให้เรื่องนี้กลายเป็นรูปธรรมให้ชัดเจน ด้านนายพิจิตต รัตตกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กล่าวว่าคู่มือที่จัดทำขึ้นจะระบุว่าทั้ง 12 หน่วยงาน มีหน้าที่ต้องทำอะไรที่ไหนใครทำก่อนหลัง และจะเผยแพร่แนวทางการทำงานให้ประชาชนทราบ ถือเป็นการเตรียมพร้อมรับมือปัญหาภัยพิบัติในพื้นที่ กทม. ทั้งอุทกภัย วาตภัย ภัยแล้ง แผ่นดินไหว พายุลมแรงและภัยจากการกระทำของมนุษย์ เช่น อัคคีภัย อุบัติภัยจากการรั่วไหลของสารเคมี เป็นต้น คู่มือดังกล่าวจะมีแนวทางการประสานของกับหน่วยงานต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพทุกด้าน และระบบทั้งระบบเตือนภัย ระบบประเมินความเสี่ยง ระบบปฏิบัติการ ณ ภาวะวิกฤติ ระบบสั่งการและประสานงาน หากจัดทำเสร็จแล้วจะถือเป็นครั้งแรกของเมืองใหญ่ในอาเซียนที่มีคู่มือแผนรับ มือภัยพิบัติ ทั้งนี้ในระยะ 6 เดือน จากนี้ไปจะมีการประชุมกลุ่มย่อย 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มประเมินความเสี่ยง 2.กลุ่มจัดทำแผนและคู่มือปฏิบัติการ และ 3.กลุ่มประสานงานและความร่วมมือ จากนั้นจะสรุปและจัดทำเป็นคู่มือให้หน่วยงาน กทม.นำไปปฏิบัติ ขอบคุณ … http://www.mcot.net/site/content?id=51f24542150ba0f052000072#.UfMtWjcrWyg สำนักข่าวไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...