ฝนตกกรุงเทพฯ...น้ำท่วม-น้ำขัง สารพัดแผนลงทุน "กทม." สร้างอุโมงค์ยักษ์-คลองด่วน-แก้มลิง

แสดงความคิดเห็น

ฝนตกกรุงเทพฯ...น้ำท่วม-น้ำขัง

ช่วงนี้กำลังเข้าสู่ฤดูฝน วันไหนที่ตกหนักจะเกิดน้ำท่วมฉับพลันบนถนนบางสายใจกลางเมือง ทำให้ "คุณชายหมู-ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร" ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่แบกภาระหนักอึ้งบนบ่าเพราะได้นั่งบริหารราชการแผ่นดินเป็นสมัยที่ 2 ต้องลุกขึ้นมาติดตามแผนบริหารจัดการน้ำของ กทม.แบบเกาะติดสถานการณ์น้ำท่วมอีกครั้ง หลังผ่านประสบการณ์น้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2554

โดยเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้ไปรับฟังรายงานจาก "สำนักการระบายน้ำ กทม." ถึงแผนการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ ทั้งระยะสั้น-ระยะยาวที่บรรจุไว้ในแผนบริหารจัดการน้ำยั่งยืนของ กทม. กรอบเวลาทำงาน 4 ปี (2556-2560) มีทั้งหมด 5 โครงการใหญ่ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 100,671.48 ล้านบาท

เร่งขุดลอกท่อ-คูคลอง

ใน แผนเฉพาะหน้าจะเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือน้ำฝนโดย "อดิศักดิ์ ขันตี" ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม.กล่าวว่า การเตรียมพร้อมรับมือช่วงฤดูฝนนี้ ได้ดำเนินการขุดลอกคูคลองเพื่อเปิดทางน้ำไหลเป้าหมาย 1,133 คลอง ดำเนินการแล้ว 897 คลอง คิดเป็น 79.38%, การลอกท่อระบายน้ำความยาวรวม 3,949 กิโลเมตร ดำเนินการแล้ว 2,884 กิโลเมตร คิดเป็น 73.51% และติดตั้งเครื่องสูบน้ำในจุดอ่อนและจุดเสี่ยง ติดตั้งแล้ว 810 เครื่อง สำรองอีก 249 เครื่อง

"ความคืบหน้ารวมถึงได้เพิ่มเครื่องสูบน้ำและ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แก่สำนักงานเขตตามที่ร้องขอ เบื้องต้นจัดส่งแล้ว 254 เครื่องเพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำ แต่ยังขาดอีก 36 เครื่องเนื่องจากมีจำนวนเครื่องสูบน้ำไม่เพียงพอ"

โชว์แผน 6 อุโมงค์ยักษ์

ขณะ ที่แผนงานระยะยาวของ กทม. เมกะโปรเจ็กต์ดูเหมือนจะออกมาในรูปแบบของแผนลงทุนอุโมงค์ยักษ์ "ผอ.สำนักการระบายน้ำ" ระบุว่า โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่สำคัญจะต้องของบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลประกอบ ด้วย 1.ก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำหรืออุโมงค์ยักษ์เพิ่ม 6 แห่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี งบประมาณรวม 20,812.9 ล้านบาท

ความคืบหน้าล่าสุด "อุโมงค์ใต้คลองบางซื่อ" ระบายน้ำจากคลองลาดพร้าวถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ประสิทธิภาพการสูบ 60 ลบ.ม./วินาที เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตร ความยาว 6.4 กิโลเมตร อยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติ "ครม.-คณะรัฐมนตรี" เพื่อลงนามสัญญาจ้าง วงเงิน 2,500 ล้านบาท

ส่วนที่ออกแบบเสร็จแล้วมี "อุโมงค์บึงหนองบอน" ระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ความยาว 9.4 กิโลเมตร วงเงิน 4,900 ล้านบาท และ "อุโมงค์คลองทวีวัฒนา" ระบายน้ำบริเวณคอขวด ความยาว 2 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างขออนุมัติเงินอุดหนุนรัฐบาล

ด้าน "อุโมงค์คลองเปรมประชากร" ระบายน้ำจากคลองบางบัวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 13.5 กิโลเมตร วงเงิน 6,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับปรุงแบบเนื่องจาก "ทช.-กรมทางหลวงชนบท" ไม่อนุญาตให้ก่อสร้างสถานีสูบน้ำมีโครงการที่เพิ่มเข้ามาใหม่และเตรียมศึกษา ความเหมาะสม คือ "อุโมงค์ระบายน้ำคลองพระยาราชมนตรี"

ระบายน้ำจาก คลองภาษีเจริญถึงคลองสนามชัย ความยาว 8.95 กิโลเมตร และ "อุโมงค์ระบายน้ำด้านตะวันออก" เชื่อมต่อคลองระบายน้ำสุวรรณภูมิ กำลังสูบ 100 ลบ.ม./วินาที

ปี58 สร้าง 4 คลองด่วน

นอกจากนี้ ในปี 2558 กทม.มีโครงการก่อสร้าง "ทางด่วนระบายน้ำ" รวม 4 โครงการด้วยกัน วงเงิน 4,340 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาขอใช้พื้นที่ ได้แก่ 1.คลองด่วนรามอินทรา ความยาว 4.9 กิโลเมตร โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำบริเวณถนนรามอินทรา 2.คลองด่วนประดิษฐ์มนูญธรรม ความยาว 3.5 กิโลเมตร เพื่อลำเลียงน้ำจากทิศเหนือของกรุงเทพฯ และบริเวณถนนรามอินทราลงสู่อุโมงค์ยักษ์พระราม 9 แต่ยังมีอุปสรรคเรื่องการรุกล้ำพื้นที่ของชุมชน

3.คลองด่วน รัชดาภิเษก ช่วงสถานีสูบน้ำรัชวิภาถึงคลองห้วยขวาง ความยาว 5 กิโลเมตร ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมถนนรัชดาภิเษกช่วงบริเวณหน้าศาลอาญา เสริมการระบายน้ำเมื่ออุโมงค์บางซื่อแล้วเสร็จได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งจะต้องประสานขอใช้พื้นที่กับ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย"

และ 4.คลองด่วนพระยาราชมนตรี เป็นโครงการขุดลอกคลองใหม่เชื่อมคลองบ้านไทรกับคลองพระยาราชมนตรี สร้างเป็นแนวเขื่อนความยาว 9 กิโลเมตร อยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่และเลือกแนวคลองที่เหมาะสมให้มีผลกระทบต่อประชาชน น้อยที่สุด

ปัดฝุ่น เก็บค่าบำบัดน้ำเสียŽ

ขณะเดียว กัน "สำนักการระบายน้ำ กทม." ทำแผน 4 ปี (2556-2560) เพื่อของบประมาณประจำปีในการแก้ปัญหาน้ำท่วม รวมงบประมาณ 27,506.69 ล้านบาท

เช่น ปรับปรุงแนวป้องกันน้ำท่วมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์ 24 โครงการ วงเงิน 620 ล้านบาท, ฟื้นฟูระบบระบายน้ำพื้นที่ฝั่งธนฯ 9 โครงการ วงเงิน 1,421 ล้านบาท, ฟื้นฟูระบบระบายน้ำพื้นที่ฝั่งตะวันออก 25 โครงการ วงเงิน 10,980 ล้านบาท,

แก้ ปัญหาน้ำท่วมถนนสายหลัก 18 สาย 42 โครงการ วงเงิน 1,747 ล้านบาท, ก่อสร้างและปรับปรุงพื้นที่ชะลอน้ำหรือแก้มลิง 628 ล้านบาท, ปรับปรุงระบบระบายน้ำพื้นที่ฝั่งตะวันออก 41 โครงการ 5,171 ล้านบาท เป็นต้น

รวม ถึงแผนก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย 4 แห่ง รวม 31,112.89 ล้านบาท ภายใน 4 ปี ประกอบด้วยโรงบำบัดน้ำเสียมีนบุรี วงเงิน 452.89 ล้านบาท, โรงบำบัดน้ำเสียธนบุรี 10,976 ล้านบาท, โรงบำบัดน้ำเสียคลองเตย 11,745 ล้านบาท และโรงบำบัดน้ำเสียบึงหนองบอน 7,939 ล้านบาท

กล่าวสำหรับ นโยบายบำบัดน้ำเสียของเมือง ยังมีงานที่คาราคาซังยังไม่สำเร็จสักทีนั่นคือ "การจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสีย" งานนี้ "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์" สั่งตั้งคณะทำงานเร่งศึกษาพิจารณาถึงแนวทางที่จะไม่เพิ่มภาระให้กับคนจนหรือ ผู้มีรายได้น้อย

เพราะ กทม.เล็งเห็นว่า...ได้เวลาต้องบังคับจัดเก็บอย่างจริงจังตั้งแต่บัดนี้ หลังจากเป็นนโยบายที่เงื้อง่าราคาแพงมานาน

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1373427627 (ขนาดไฟล์: 143)

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 11/07/2556 เวลา 04:07:03 ดูภาพสไลด์โชว์ ฝนตกกรุงเทพฯ...น้ำท่วม-น้ำขัง สารพัดแผนลงทุน "กทม." สร้างอุโมงค์ยักษ์-คลองด่วน-แก้มลิง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ฝนตกกรุงเทพฯ...น้ำท่วม-น้ำขัง ช่วงนี้กำลังเข้าสู่ฤดูฝน วันไหนที่ตกหนักจะเกิดน้ำท่วมฉับพลันบนถนนบางสายใจกลางเมือง ทำให้ "คุณชายหมู-ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร" ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่แบกภาระหนักอึ้งบนบ่าเพราะได้นั่งบริหารราชการแผ่นดินเป็นสมัยที่ 2 ต้องลุกขึ้นมาติดตามแผนบริหารจัดการน้ำของ กทม.แบบเกาะติดสถานการณ์น้ำท่วมอีกครั้ง หลังผ่านประสบการณ์น้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2554 โดยเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้ไปรับฟังรายงานจาก "สำนักการระบายน้ำ กทม." ถึงแผนการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ ทั้งระยะสั้น-ระยะยาวที่บรรจุไว้ในแผนบริหารจัดการน้ำยั่งยืนของ กทม. กรอบเวลาทำงาน 4 ปี (2556-2560) มีทั้งหมด 5 โครงการใหญ่ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 100,671.48 ล้านบาท เร่งขุดลอกท่อ-คูคลอง ใน แผนเฉพาะหน้าจะเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือน้ำฝนโดย "อดิศักดิ์ ขันตี" ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม.กล่าวว่า การเตรียมพร้อมรับมือช่วงฤดูฝนนี้ ได้ดำเนินการขุดลอกคูคลองเพื่อเปิดทางน้ำไหลเป้าหมาย 1,133 คลอง ดำเนินการแล้ว 897 คลอง คิดเป็น 79.38%, การลอกท่อระบายน้ำความยาวรวม 3,949 กิโลเมตร ดำเนินการแล้ว 2,884 กิโลเมตร คิดเป็น 73.51% และติดตั้งเครื่องสูบน้ำในจุดอ่อนและจุดเสี่ยง ติดตั้งแล้ว 810 เครื่อง สำรองอีก 249 เครื่อง "ความคืบหน้ารวมถึงได้เพิ่มเครื่องสูบน้ำและ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แก่สำนักงานเขตตามที่ร้องขอ เบื้องต้นจัดส่งแล้ว 254 เครื่องเพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำ แต่ยังขาดอีก 36 เครื่องเนื่องจากมีจำนวนเครื่องสูบน้ำไม่เพียงพอ" โชว์แผน 6 อุโมงค์ยักษ์ ขณะ ที่แผนงานระยะยาวของ กทม. เมกะโปรเจ็กต์ดูเหมือนจะออกมาในรูปแบบของแผนลงทุนอุโมงค์ยักษ์ "ผอ.สำนักการระบายน้ำ" ระบุว่า โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่สำคัญจะต้องของบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลประกอบ ด้วย 1.ก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำหรืออุโมงค์ยักษ์เพิ่ม 6 แห่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี งบประมาณรวม 20,812.9 ล้านบาท ความคืบหน้าล่าสุด "อุโมงค์ใต้คลองบางซื่อ" ระบายน้ำจากคลองลาดพร้าวถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ประสิทธิภาพการสูบ 60 ลบ.ม./วินาที เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตร ความยาว 6.4 กิโลเมตร อยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติ "ครม.-คณะรัฐมนตรี" เพื่อลงนามสัญญาจ้าง วงเงิน 2,500 ล้านบาท ส่วนที่ออกแบบเสร็จแล้วมี "อุโมงค์บึงหนองบอน" ระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ความยาว 9.4 กิโลเมตร วงเงิน 4,900 ล้านบาท และ "อุโมงค์คลองทวีวัฒนา" ระบายน้ำบริเวณคอขวด ความยาว 2 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างขออนุมัติเงินอุดหนุนรัฐบาล ด้าน "อุโมงค์คลองเปรมประชากร" ระบายน้ำจากคลองบางบัวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 13.5 กิโลเมตร วงเงิน 6,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับปรุงแบบเนื่องจาก "ทช.-กรมทางหลวงชนบท" ไม่อนุญาตให้ก่อสร้างสถานีสูบน้ำมีโครงการที่เพิ่มเข้ามาใหม่และเตรียมศึกษา ความเหมาะสม คือ "อุโมงค์ระบายน้ำคลองพระยาราชมนตรี" ระบายน้ำจาก คลองภาษีเจริญถึงคลองสนามชัย ความยาว 8.95 กิโลเมตร และ "อุโมงค์ระบายน้ำด้านตะวันออก" เชื่อมต่อคลองระบายน้ำสุวรรณภูมิ กำลังสูบ 100 ลบ.ม./วินาที ปี58 สร้าง 4 คลองด่วน นอกจากนี้ ในปี 2558 กทม.มีโครงการก่อสร้าง "ทางด่วนระบายน้ำ" รวม 4 โครงการด้วยกัน วงเงิน 4,340 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาขอใช้พื้นที่ ได้แก่ 1.คลองด่วนรามอินทรา ความยาว 4.9 กิโลเมตร โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำบริเวณถนนรามอินทรา 2.คลองด่วนประดิษฐ์มนูญธรรม ความยาว 3.5 กิโลเมตร เพื่อลำเลียงน้ำจากทิศเหนือของกรุงเทพฯ และบริเวณถนนรามอินทราลงสู่อุโมงค์ยักษ์พระราม 9 แต่ยังมีอุปสรรคเรื่องการรุกล้ำพื้นที่ของชุมชน 3.คลองด่วน รัชดาภิเษก ช่วงสถานีสูบน้ำรัชวิภาถึงคลองห้วยขวาง ความยาว 5 กิโลเมตร ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมถนนรัชดาภิเษกช่วงบริเวณหน้าศาลอาญา เสริมการระบายน้ำเมื่ออุโมงค์บางซื่อแล้วเสร็จได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งจะต้องประสานขอใช้พื้นที่กับ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" และ 4.คลองด่วนพระยาราชมนตรี เป็นโครงการขุดลอกคลองใหม่เชื่อมคลองบ้านไทรกับคลองพระยาราชมนตรี สร้างเป็นแนวเขื่อนความยาว 9 กิโลเมตร อยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่และเลือกแนวคลองที่เหมาะสมให้มีผลกระทบต่อประชาชน น้อยที่สุด ปัดฝุ่น เก็บค่าบำบัดน้ำเสียŽ ขณะเดียว กัน "สำนักการระบายน้ำ กทม." ทำแผน 4 ปี (2556-2560) เพื่อของบประมาณประจำปีในการแก้ปัญหาน้ำท่วม รวมงบประมาณ 27,506.69 ล้านบาท เช่น ปรับปรุงแนวป้องกันน้ำท่วมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์ 24 โครงการ วงเงิน 620 ล้านบาท, ฟื้นฟูระบบระบายน้ำพื้นที่ฝั่งธนฯ 9 โครงการ วงเงิน 1,421 ล้านบาท, ฟื้นฟูระบบระบายน้ำพื้นที่ฝั่งตะวันออก 25 โครงการ วงเงิน 10,980 ล้านบาท, แก้ ปัญหาน้ำท่วมถนนสายหลัก 18 สาย 42 โครงการ วงเงิน 1,747 ล้านบาท, ก่อสร้างและปรับปรุงพื้นที่ชะลอน้ำหรือแก้มลิง 628 ล้านบาท, ปรับปรุงระบบระบายน้ำพื้นที่ฝั่งตะวันออก 41 โครงการ 5,171 ล้านบาท เป็นต้น รวม ถึงแผนก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย 4 แห่ง รวม 31,112.89 ล้านบาท ภายใน 4 ปี ประกอบด้วยโรงบำบัดน้ำเสียมีนบุรี วงเงิน 452.89 ล้านบาท, โรงบำบัดน้ำเสียธนบุรี 10,976 ล้านบาท, โรงบำบัดน้ำเสียคลองเตย 11,745 ล้านบาท และโรงบำบัดน้ำเสียบึงหนองบอน 7,939 ล้านบาท กล่าวสำหรับ นโยบายบำบัดน้ำเสียของเมือง ยังมีงานที่คาราคาซังยังไม่สำเร็จสักทีนั่นคือ "การจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสีย" งานนี้ "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์" สั่งตั้งคณะทำงานเร่งศึกษาพิจารณาถึงแนวทางที่จะไม่เพิ่มภาระให้กับคนจนหรือ ผู้มีรายได้น้อย เพราะ กทม.เล็งเห็นว่า...ได้เวลาต้องบังคับจัดเก็บอย่างจริงจังตั้งแต่บัดนี้ หลังจากเป็นนโยบายที่เงื้อง่าราคาแพงมานาน ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1373427627

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...