รับมือภัยพิบัติ

แสดงความคิดเห็น

จากอุบัติภัยและภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ ที่ผ่านมา

จึง ทำให้เกิดเป็นที่มาของการ ฝึกซ้อมการบรรเทาพิบัติภัยอาเซียน ARF DiREx 2013 ณ พื้นที่ค่ายพระราม 6 อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ระหว่างวันที่ 7-11 พ.ค.นี้

สำนัก งานตำรวจแห่งชาติได้รับภารกิจในการ “ฝึกซ้อมการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล” โดย พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. มอบให้ พล.ต.ท.จรัมพร สุระมณี ผู้ช่วย ผบ.ตร. เป็นประธาน เชิญผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจงการตั้งคณะกรรมการเต็มรูปแบบเพื่อฝึกซ้อม และเพื่อให้รับทราบการปฏิบัติที่อาจเกิดขึ้นจริงในอนาคต

การฝึก ARF DiREx 2013 เป็นการฝึกด้านการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (Humanitarian Assistance and Disaster Relief-HADR) ในกรอบภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

เป้าหมายเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใน การช่วยเหลือผู้ประสบภัย ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการภัยพิบัติ การประสานการปฏิบัติร่วมกันในภูมิภาคในการบรรเทาภัยพิบัติ และการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินกรณีมีเหตุภัยพิบัติใหญ่ๆซึ่งได้มีกฎหมาย พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 เกิดขึ้นมาหลังเหตุการณ์สึนามิ ปี 2547 และเหตุการณ์เครื่องบินไถลรันเวย์ที่ภูเก็ต มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ปี 2550

หน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพหลักระดับประเทศ คือ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) มีหน่วยงานจากหลายกระทรวงร่วมเป็นฝ่าย “ปฏิบัติการ” และฝ่าย “สนับสนุน”

ตำรวจ ถูกกำหนดไว้ในแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2553-2557 มีหน้าที่หลัก การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลและสนับสนุนภารกิจการส่งกลับการจราจร และ กระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยปฏิบัติหลักในเรื่องการช่วยเหลือ ค้นหา ฟื้นฟู บูรณะ โดยใช้ศักยภาพของทหาร 3 เหล่าทัพ

การฝึกซ้อมครั้งนี้ ปภ.มอบหมายให้ บก.กองทัพไทย เป็น “เจ้าภาพ” ตำรวจได้รับภารกิจเพียงสถานการณ์เรื่องหินถล่ม และการพิสูจน์เอกลักษณ์ยืนยันตัวบุคคล

อุบัติภัยเป็นเหตุฉุกเฉินจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนในบทบาทกรณีมีเหตุพิบัติภัยจริง

ตำรวจ ให้ สยศ.ตร.เป็นเจ้าภาพ เมื่อเกิดเหตุจริงต้องบริหารสั่งการตั้ง ศปก.ในระดับผู้บังคับบัญชา ระดับ บช. ระดับสถานีตำรวจ และ ศปก.ส่วนหน้า ณ สถานที่เกิดเหตุ

เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับเหตุการณ์พิบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิด

โดยตำรวจวางตัว พล.ต.ท.จรัมพร เข้ามารับผิดชอบ.

ขอบคุณ... http://www.google.co.th/webhp?hl=th&gl=th&tbm=nws#q=ภัยพิบัติ&hl=th&gl=th&tbm=nws&ei=LEeIUfueLMT4rQe6lYDwAQ&start=0&sa=N&bav=on.2,or.r_qf.&fp=3930ddc3a012a8c4&biw=1280&bih=931

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 7/05/2556 เวลา 03:16:50

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

จากอุบัติภัยและภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ ที่ผ่านมา จึง ทำให้เกิดเป็นที่มาของการ ฝึกซ้อมการบรรเทาพิบัติภัยอาเซียน ARF DiREx 2013 ณ พื้นที่ค่ายพระราม 6 อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ระหว่างวันที่ 7-11 พ.ค.นี้ สำนัก งานตำรวจแห่งชาติได้รับภารกิจในการ “ฝึกซ้อมการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล” โดย พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. มอบให้ พล.ต.ท.จรัมพร สุระมณี ผู้ช่วย ผบ.ตร. เป็นประธาน เชิญผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจงการตั้งคณะกรรมการเต็มรูปแบบเพื่อฝึกซ้อม และเพื่อให้รับทราบการปฏิบัติที่อาจเกิดขึ้นจริงในอนาคต การฝึก ARF DiREx 2013 เป็นการฝึกด้านการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (Humanitarian Assistance and Disaster Relief-HADR) ในกรอบภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เป้าหมายเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใน การช่วยเหลือผู้ประสบภัย ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการภัยพิบัติ การประสานการปฏิบัติร่วมกันในภูมิภาคในการบรรเทาภัยพิบัติ และการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินกรณีมีเหตุภัยพิบัติใหญ่ๆซึ่งได้มีกฎหมาย พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 เกิดขึ้นมาหลังเหตุการณ์สึนามิ ปี 2547 และเหตุการณ์เครื่องบินไถลรันเวย์ที่ภูเก็ต มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ปี 2550 หน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพหลักระดับประเทศ คือ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) มีหน่วยงานจากหลายกระทรวงร่วมเป็นฝ่าย “ปฏิบัติการ” และฝ่าย “สนับสนุน” ตำรวจ ถูกกำหนดไว้ในแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2553-2557 มีหน้าที่หลัก การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลและสนับสนุนภารกิจการส่งกลับการจราจร และ กระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยปฏิบัติหลักในเรื่องการช่วยเหลือ ค้นหา ฟื้นฟู บูรณะ โดยใช้ศักยภาพของทหาร 3 เหล่าทัพ การฝึกซ้อมครั้งนี้ ปภ.มอบหมายให้ บก.กองทัพไทย เป็น “เจ้าภาพ” ตำรวจได้รับภารกิจเพียงสถานการณ์เรื่องหินถล่ม และการพิสูจน์เอกลักษณ์ยืนยันตัวบุคคล อุบัติภัยเป็นเหตุฉุกเฉินจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนในบทบาทกรณีมีเหตุพิบัติภัยจริง ตำรวจ ให้ สยศ.ตร.เป็นเจ้าภาพ เมื่อเกิดเหตุจริงต้องบริหารสั่งการตั้ง ศปก.ในระดับผู้บังคับบัญชา ระดับ บช. ระดับสถานีตำรวจ และ ศปก.ส่วนหน้า ณ สถานที่เกิดเหตุ เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับเหตุการณ์พิบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิด โดยตำรวจวางตัว พล.ต.ท.จรัมพร เข้ามารับผิดชอบ. ขอบคุณ... http://www.google.co.th/webhp?hl=th&gl=th&tbm=nws#q=ภัยพิบัติ&hl=th&gl=th&tbm=nws&ei=LEeIUfueLMT4rQe6lYDwAQ&start=0&sa=N&bav=on.2,or.r_qf.&fp=3930ddc3a012a8c4&biw=1280&bih=931

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...