"กสทช."เชิญ"สื่อฯ"นั่งถกแนวทางเตือนภัยพิบัติ
วันที่ 28 มี.ค. 56ที่ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมเซนจูรี่ปาร์ค สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “แนวทางปฏิบัติของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร กรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์” เพื่อเป็นไปตามประกาศพระราชบัญญัติจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ระบุให้กสทช.มีอำนาจดูแลให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และรวดเร็ว ดังนั้นกสทช.จึงดำเนินการให้สื่อมวลชนได้บูรณาการความรู้ ความเข้าใจในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหากเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินขึ้นใน ประเทศไทย
นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการสำนักงานกสทช. เปิดเผยถึงการประชุมหาแนวทางปฎิบัติว่า เพื่อให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม และวิทยุชุมชนที่นำเสนอ ข่าวสาร สู่พื้นที่ทั่วประเทศ ได้ปฏิบัติแจ้งเตือนภัยให้ประชาชนทราบในช่องทางต่างๆ ขณะเดียวกันกสทช.ได้ขอความร่วมมือสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย นำเสนอแผนเตรียมความพร้อม ป้องกัน แก้ไข และการบรรเทาเหตุการณ์ มายังกสทช.เพื่อสามารถติดตามการกำกับดูแลกันเองของสื่อมวลชนได้
อย่างไรก็ตามศูนย์เตือนภัยพิบัติได้ดำเนินการแจ้งเตือนภัยพิบัติสู่ประชาชน หลากหลายช่องทาง ได้แก่ ผ่านข้อความเอสเอ็มเอสผ่านทางโทรศัพท์มือถือจำนวน 20 ล้านเครื่อง ส่งแฟกส์อัตโนมัติ โทรศัพท์สายตรง ส่งทางอีเมล์ ออกรายการถ่ายทอดสด อาทิ โทรทัศน์ร่วมการเฉพาะกิจ หรือ ป้ายประชาสัมพันธ์ โดยขั้นตอนการเตือนภัยจะส่งผ่านสัญญาณดาวเทียมไปยังหอเตือนภัยทั่วประเทศรวม กว่า 328 แห่ง และศาลากลางจังหวัด , หอกระจายข่าว จำนวน 654 แห่ง การแจ้งเครื่องวิทยุสื่อสารเตือนภัยของผู้ใหญ่บ้านจำนวน 1,590 เครื่องครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งนี้หอการะจายเสียงสามารถส่งสัญญาณได้ในรัศมี 4 กิโลเมตรและมีภาษาที่ใช้แจ้งเตือนภัย ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษาจีน และภาษาญี่ปุ่น ซึ่งจะครอบคลุมได้ทั้งประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย
ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/technology/193742 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
วันที่ 28 มี.ค. 56ที่ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมเซนจูรี่ปาร์ค สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “แนวทางปฏิบัติของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร กรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์” เพื่อเป็นไปตามประกาศพระราชบัญญัติจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ระบุให้กสทช.มีอำนาจดูแลให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และรวดเร็ว ดังนั้นกสทช.จึงดำเนินการให้สื่อมวลชนได้บูรณาการความรู้ ความเข้าใจในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหากเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินขึ้นใน ประเทศไทย นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการสำนักงานกสทช. เปิดเผยถึงการประชุมหาแนวทางปฎิบัติว่า เพื่อให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม และวิทยุชุมชนที่นำเสนอ ข่าวสาร สู่พื้นที่ทั่วประเทศ ได้ปฏิบัติแจ้งเตือนภัยให้ประชาชนทราบในช่องทางต่างๆ ขณะเดียวกันกสทช.ได้ขอความร่วมมือสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย นำเสนอแผนเตรียมความพร้อม ป้องกัน แก้ไข และการบรรเทาเหตุการณ์ มายังกสทช.เพื่อสามารถติดตามการกำกับดูแลกันเองของสื่อมวลชนได้ อย่างไรก็ตามศูนย์เตือนภัยพิบัติได้ดำเนินการแจ้งเตือนภัยพิบัติสู่ประชาชน หลากหลายช่องทาง ได้แก่ ผ่านข้อความเอสเอ็มเอสผ่านทางโทรศัพท์มือถือจำนวน 20 ล้านเครื่อง ส่งแฟกส์อัตโนมัติ โทรศัพท์สายตรง ส่งทางอีเมล์ ออกรายการถ่ายทอดสด อาทิ โทรทัศน์ร่วมการเฉพาะกิจ หรือ ป้ายประชาสัมพันธ์ โดยขั้นตอนการเตือนภัยจะส่งผ่านสัญญาณดาวเทียมไปยังหอเตือนภัยทั่วประเทศรวม กว่า 328 แห่ง และศาลากลางจังหวัด , หอกระจายข่าว จำนวน 654 แห่ง การแจ้งเครื่องวิทยุสื่อสารเตือนภัยของผู้ใหญ่บ้านจำนวน 1,590 เครื่องครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งนี้หอการะจายเสียงสามารถส่งสัญญาณได้ในรัศมี 4 กิโลเมตรและมีภาษาที่ใช้แจ้งเตือนภัย ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษาจีน และภาษาญี่ปุ่น ซึ่งจะครอบคลุมได้ทั้งประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/technology/193742
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)