เผยผลสำรวจลูกจ้างเหมาค่าแรงรับรายได้-สวัสดิการไม่เป็นธรรม

แสดงความคิดเห็น

ทีดีอาร์ไอเปิดงานวิจัยผลสำรวจลูกจ้างเหมาค่าแรงหรือลูกจ้าง subcontract พบกฎหมายขยายความคุ้มครอง แต่ในทางปฏิบัติยังเหลื่อมล้ำทั้งรายได้และสวัสดิการ เสนอจัดระบบเก็บข้อมูลให้ชัดเจน

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ ได้ศึกษาเพื่อประเมินผลในทางปฏิบัติของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2551 มาตรา 11/1 ว่าเมื่อเปรียบเทียบแรงงานกลุ่มรับจ้างเหมาค่าแรงกับแรงงานที่เป็น ลูกจ้างประจำ ซึ่งตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้นายจ้างต้องดู แลให้ลูกจ้างทั้งสองกลุ่มได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็น ธรรมโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินผลของกฎหมายดังกล่าวได้จากการสอบถาม แรงงานเกี่ยวกับลักษณะการจ้างแรงงาน ลักษณะของงาน ตลอดจนค่าจ้าง/รายได้ และสวัสดิการที่ได้รับ เปรียบเทียบระหว่างลูกจ้างประจำกับลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานใน โรงงานสาขาการผลิต รวม 831 ราย ในจังหวัดปทุมธานี สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี และนครราชสีมา

นางสาวสุวรรณา ตุลยวศินพงศ์ นักวิจัยผู้ทำการศึกษาระบุว่า ผลการศึกษามีข้อค้นพบว่า ปัจจุบันยังมีการจ้างงานลูกจ้างเหมาค่าแรงกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะในย่านนิคมอุตสาหกรรม โดยลูกจ้างเหมาค่าแรงจะสมัครงานผ่านบริษัทผู้รับเหมาค่าแรง ซึ่งมักจะมีการตั้งโต๊ะหรือสำนักงานเล็กๆ เพื่อรับสมัครอยู่บริเวณใกล้แหล่งงานหรือหน้านิคมอุตสาหกรรม หรือแม้กระทั่งหน้าโรงงานที่บริษัทผู้รับเหมาค่าแรงนั้นรับผิดชอบหาคน ป้อนโรงงานอยู่ โดยเหตุผลแรงงานที่เข้ามาทำงานเป็นลูกจ้างรับเหมาค่าแรง เนื่องจากโรงงานไม่เปิดรับคนงานโดยตรง แต่รับผ่านบริษัทตัวแทนผู้รับเหมาค่าแรง

นอกจากนี้ ยังมีแรงงานจำนวนหนึ่งที่มาสมัครงานผ่านบริษัทตัวแทน เพราะต้องการลดขั้นตอนในการสมัครงาน เนื่องจากเห็นว่าการสมัครงานผ่านบริษัทผู้รับเหมาค่าแรงช่วยให้มี โอกาสในการได้งานมากขึ้น เข้างานได้ง่าย ไม่ต้องสอบข้อเขียน มีโอกาสได้เลือกงาน/โรงงานได้หลากหลาย และกรณีมีคุณสมบัติไม่ตรงกับที่โรงงานกำหนด การรับสมัครคนงานของบริษัทผู้รับเหมาค่าแรงซึ่งมีข้อตกลงที่จะต้องส่ง คนงานป้อนโรงงาน มักจะไม่เคร่งครัดในเรื่องคุณสมบัติมากนัก ยิ่งในภาวะขาดแคลนแรงงาน แค่เห็นคนวัยหนุ่มสาวเดินผ่านก็แทบจะถูกเจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้รับ เหมาค่าแรงอุ้มเข้าไปเขียนใบสมัครงาน เมื่อสอบถามลูกจ้างเหมาค่าแรงถึงข้อดีของการเป็นลูกจ้างผ่านบริษัท ผู้รับเหมาค่าแรง ส่วนใหญ่จึงตอบว่าบริษัทผู้รับเหมาค่าแรงช่วยให้ได้งานเร็ว

แต่ในทางกลับกัน ข้อเสียของการเป็นลูกจ้างผ่านบริษัทผู้รับเหมาค่าแรงที่ลูกจ้างส่วน ใหญ่ตอบก็คือ การได้รับค่าจ้างและสวัสดิการน้อยกว่าลูกจ้างประจำ โดยมีความแตกต่างในเรื่องสวัสดิการ เช่น ค่าทำงานล่วงเวลา (OT) ค่าทำงานกะ เบี้ยขยัน ค่าครองชีพ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าเช่าบ้าน และสวัสดิการที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น บริการรถรับ-ส่งพนักงาน สะท้อนว่าลูกจ้างทั้งสองกลุ่มยังได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่ แตกต่างกัน ต่างกับเจตนารมณ์ของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ซึ่งกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้นายจ้างต้องดูแลให้ลูกจ้างทั้ง สองกลุ่มได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่มีการ เลือกปฏิบัติ

งานศึกษายังใช้เทคนิคสมการถดถอยเชิงเส้น คำนวณหาค่าตอบแทนเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างลูกจ้างประจำและลูกจ้างเหมา ค่าแรง พบว่า ค่าตอบแทนที่เป็นแรงจูงใจและผลประโยชน์สวัสดิการอื่นๆ ที่เป็นตัวเงินของลูกจ้างประจำจะสูงกว่าลูกจ้างเหมาค่าแรงประมาณ 1,624 บาทต่อเดือน

ประเด็นที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การได้รับเงินชดเชยกรณีที่นายจ้างต้องการเลิกจ้าง พบว่า สัดส่วนของลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่เข้ามาทำงานในสถานประกอบการ ผ่านบริษัทตัวแทนรับเหมาค่าแรงนั้น มีราวกึ่งหนึ่งที่จะไม่ได้รับค่าชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้าง เพราะลูกจ้างรับเหมาค่าแรงผ่านบริษัทตัวแทนจัดหาคนงานเหล่านี้ มีสภาพเป็นลูกจ้างในทางพฤตินัยของสถานประกอบการเท่านั้น ไม่ได้มีสถานภาพเป็นลูกจ้างโดยตรงของโรงงานตามนิตินัย นายจ้างจึงไม่ต้องกังวลเรื่องการต้องจ่ายค่าชดเชยเป็นการตัดต้นทุน ในการปลดคนงานอีกด้วย

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หากพบปัญหาสภาพการจ้างแรงงานเหมาค่าแรงมีความรุนแรง จำเป็นต้องมีมาตรการที่รัดกุมขึ้น ก็อาจจะพิจารณากำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนเพื่อออกใบอนุญาตเป็นผู้ ประกอบกิจการรับเหมาค่าแรง ประโยชน์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการบริหารระบบแรงงาน การกำกับ และการออกมาตรการเพื่อให้เกิดการจ้างงานที่มีการคุ้มครองลูกจ้างตาม เจตนารมณ์ของกฎหมาย

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1658826

ที่มา: ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 28/05/2556 เวลา 04:02:42

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ทีดีอาร์ไอเปิดงานวิจัยผลสำรวจลูกจ้างเหมาค่าแรงหรือลูกจ้าง subcontract พบกฎหมายขยายความคุ้มครอง แต่ในทางปฏิบัติยังเหลื่อมล้ำทั้งรายได้และสวัสดิการ เสนอจัดระบบเก็บข้อมูลให้ชัดเจน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ ได้ศึกษาเพื่อประเมินผลในทางปฏิบัติของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2551 มาตรา 11/1 ว่าเมื่อเปรียบเทียบแรงงานกลุ่มรับจ้างเหมาค่าแรงกับแรงงานที่เป็น ลูกจ้างประจำ ซึ่งตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้นายจ้างต้องดู แลให้ลูกจ้างทั้งสองกลุ่มได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็น ธรรมโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินผลของกฎหมายดังกล่าวได้จากการสอบถาม แรงงานเกี่ยวกับลักษณะการจ้างแรงงาน ลักษณะของงาน ตลอดจนค่าจ้าง/รายได้ และสวัสดิการที่ได้รับ เปรียบเทียบระหว่างลูกจ้างประจำกับลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานใน โรงงานสาขาการผลิต รวม 831 ราย ในจังหวัดปทุมธานี สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี และนครราชสีมา นางสาวสุวรรณา ตุลยวศินพงศ์ นักวิจัยผู้ทำการศึกษาระบุว่า ผลการศึกษามีข้อค้นพบว่า ปัจจุบันยังมีการจ้างงานลูกจ้างเหมาค่าแรงกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะในย่านนิคมอุตสาหกรรม โดยลูกจ้างเหมาค่าแรงจะสมัครงานผ่านบริษัทผู้รับเหมาค่าแรง ซึ่งมักจะมีการตั้งโต๊ะหรือสำนักงานเล็กๆ เพื่อรับสมัครอยู่บริเวณใกล้แหล่งงานหรือหน้านิคมอุตสาหกรรม หรือแม้กระทั่งหน้าโรงงานที่บริษัทผู้รับเหมาค่าแรงนั้นรับผิดชอบหาคน ป้อนโรงงานอยู่ โดยเหตุผลแรงงานที่เข้ามาทำงานเป็นลูกจ้างรับเหมาค่าแรง เนื่องจากโรงงานไม่เปิดรับคนงานโดยตรง แต่รับผ่านบริษัทตัวแทนผู้รับเหมาค่าแรง นอกจากนี้ ยังมีแรงงานจำนวนหนึ่งที่มาสมัครงานผ่านบริษัทตัวแทน เพราะต้องการลดขั้นตอนในการสมัครงาน เนื่องจากเห็นว่าการสมัครงานผ่านบริษัทผู้รับเหมาค่าแรงช่วยให้มี โอกาสในการได้งานมากขึ้น เข้างานได้ง่าย ไม่ต้องสอบข้อเขียน มีโอกาสได้เลือกงาน/โรงงานได้หลากหลาย และกรณีมีคุณสมบัติไม่ตรงกับที่โรงงานกำหนด การรับสมัครคนงานของบริษัทผู้รับเหมาค่าแรงซึ่งมีข้อตกลงที่จะต้องส่ง คนงานป้อนโรงงาน มักจะไม่เคร่งครัดในเรื่องคุณสมบัติมากนัก ยิ่งในภาวะขาดแคลนแรงงาน แค่เห็นคนวัยหนุ่มสาวเดินผ่านก็แทบจะถูกเจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้รับ เหมาค่าแรงอุ้มเข้าไปเขียนใบสมัครงาน เมื่อสอบถามลูกจ้างเหมาค่าแรงถึงข้อดีของการเป็นลูกจ้างผ่านบริษัท ผู้รับเหมาค่าแรง ส่วนใหญ่จึงตอบว่าบริษัทผู้รับเหมาค่าแรงช่วยให้ได้งานเร็ว แต่ในทางกลับกัน ข้อเสียของการเป็นลูกจ้างผ่านบริษัทผู้รับเหมาค่าแรงที่ลูกจ้างส่วน ใหญ่ตอบก็คือ การได้รับค่าจ้างและสวัสดิการน้อยกว่าลูกจ้างประจำ โดยมีความแตกต่างในเรื่องสวัสดิการ เช่น ค่าทำงานล่วงเวลา (OT) ค่าทำงานกะ เบี้ยขยัน ค่าครองชีพ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าเช่าบ้าน และสวัสดิการที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น บริการรถรับ-ส่งพนักงาน สะท้อนว่าลูกจ้างทั้งสองกลุ่มยังได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่ แตกต่างกัน ต่างกับเจตนารมณ์ของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ซึ่งกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้นายจ้างต้องดูแลให้ลูกจ้างทั้ง สองกลุ่มได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่มีการ เลือกปฏิบัติ งานศึกษายังใช้เทคนิคสมการถดถอยเชิงเส้น คำนวณหาค่าตอบแทนเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างลูกจ้างประจำและลูกจ้างเหมา ค่าแรง พบว่า ค่าตอบแทนที่เป็นแรงจูงใจและผลประโยชน์สวัสดิการอื่นๆ ที่เป็นตัวเงินของลูกจ้างประจำจะสูงกว่าลูกจ้างเหมาค่าแรงประมาณ 1,624 บาทต่อเดือน ประเด็นที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การได้รับเงินชดเชยกรณีที่นายจ้างต้องการเลิกจ้าง พบว่า สัดส่วนของลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่เข้ามาทำงานในสถานประกอบการ ผ่านบริษัทตัวแทนรับเหมาค่าแรงนั้น มีราวกึ่งหนึ่งที่จะไม่ได้รับค่าชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้าง เพราะลูกจ้างรับเหมาค่าแรงผ่านบริษัทตัวแทนจัดหาคนงานเหล่านี้ มีสภาพเป็นลูกจ้างในทางพฤตินัยของสถานประกอบการเท่านั้น ไม่ได้มีสถานภาพเป็นลูกจ้างโดยตรงของโรงงานตามนิตินัย นายจ้างจึงไม่ต้องกังวลเรื่องการต้องจ่ายค่าชดเชยเป็นการตัดต้นทุน ในการปลดคนงานอีกด้วย ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หากพบปัญหาสภาพการจ้างแรงงานเหมาค่าแรงมีความรุนแรง จำเป็นต้องมีมาตรการที่รัดกุมขึ้น ก็อาจจะพิจารณากำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนเพื่อออกใบอนุญาตเป็นผู้ ประกอบกิจการรับเหมาค่าแรง ประโยชน์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการบริหารระบบแรงงาน การกำกับ และการออกมาตรการเพื่อให้เกิดการจ้างงานที่มีการคุ้มครองลูกจ้างตาม เจตนารมณ์ของกฎหมาย ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1658826

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...