นักธุรกิจอังกฤษถูกตัดสินผิดจริงขายเครื่องตรวจระเบิดปลอมให้ไทย

แสดงความคิดเห็น

นักธุรกิจอังกฤษที่ขายเครื่องตรวจระเบิดปลอมหลายรุ่น รวมถึง GT200 ให้กับหลายประเทศ

รวมทั้งไทย ถูกศาลอังกฤษตัดสินว่ากระทำผิดจริงและอาจต้องโทษจำคุกถึง 10 ปี

ศาลอาญากลางในกรุงลอนดอนของอังกฤษ มีคำตัดสินเมื่อวานว่า นายเจมส์ แมคคอร์มิค

นักธุรกิจชาวอังกฤษวัย 56 ปี เจ้าของบริษัท ATSC มีความผิดจริงข้อหาฉ้อฉล 3 กระทงจาก

การจำหน่ายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดที่ใช้งานไม่ได้จริงและไม่มีพื้นฐานของหลักวิทยาศาสตร์

ให้กับหลายประเทศ รวมถึง อิรัก จอร์เจีย อียิปต์และไทย โดยจำหน่ายในราคาเครื่องละประมาณ

40,000 ดอลลาร์หรือ กว่า 1 ล้าน 1 แสนบาท

เขารู้ดีว่าอุปกรณ์ของเขาที่มีหลายรุ่นใช้งานไม่ได้ แต่ก็อ้างประสิทธิภาพว่าสามารถตรวจจับ

วัตถุระเบิดได้ทุกชนิดไม่ว่าจะอยู่ลึกลงไปใต้ดิน 1 กม. เหนือพื้นดิน 5 กม. และลึกลงไปใต้น้ำ

ลึก 31 ม. รวมทั้งตรวจหาวัตถุอื่นๆได้ เช่น ยาเสพติด งาช้าง หรือ แม้แต่ธนบัตร แต่ปรากฏว่า

ในความเป็นจริง อุปกรณ์ของเขามีเพียงเสาอากาศ ที่คล้ายเสาอากาศวิทยุ และไม่ได้เชื่อมต่อ

อิเล็กทรอนิกส์ หรือมีแหล่งพลังงานใดๆในตัวเครื่อง เขาทำรายได้จากการขายอุปกรณ์เหล่านี้

ให้กับอิรักเพียงประเทศเดียว 6,000 เครื่องคิดเป็นเงินกว่า 40 ล้านดอลลาร์ช่วงระหว่างปี

2551-2553 บาท

เครื่องตรวจระเบิดที่บริษัทของเขาผลิตและจำหน่ายมีหลายรุ่น เช่น เครื่อง ADE651 และ GT200

ซึ่งรุ่น GT200 เป็นรุ่นที่ทางการไทยซื้อมาและนำไปใช้ในพื้นที่ภาคใต้ และพบว่ามีปัญหาการทุจริต

จัดซื้อในราคาแพง และสินค้าไม่มีประสิทธิภาพที่จะใช้ได้จริง

ศาลอังกฤษนัดฟังคำตัดสินลงโทษแมคคอร์มิคในวันที่ 2 พ.ค.และเขาอาจต้องโทษจำคุกนานถึง

10 ปีสำหรับการก่ออาชญากรรมที่ขาดจิตสำนึกถึงความปลอดภัยของผู้ใช้งานที่หวังพึ่งอุปกรณ์

ตัวนี้ในการปกป้องและรักษาความปลอดภัยในชีวิตของตัวเอง

เดิมในปี 2551 มีคนส่งเอกสารแจ้งเตือนถึงทางการอังกฤษว่า แมคคอร์มิคจำหน่ายเครื่องตรวจ

ระเบิดปลอม ที่อาจทำให้ผู้ใช้งานเสี่ยงได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต แต่กลับไม่ได้รับความสนใดๆ

จนกระทั่งในปี 2543 จึงมีการสั่งระงับการส่งออกอุปกรณ์ดังกล่าวไปยังอัฟกานิสถานและอิรัก

และนายแมคคอร์มิคถูกจับกุม

ขอบคุณ... http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=679084&lang=&cat=

ที่มา: เนชั่นแชลแนลออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 25/04/2556 เวลา 03:20:43

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นักธุรกิจอังกฤษที่ขายเครื่องตรวจระเบิดปลอมหลายรุ่น รวมถึง GT200 ให้กับหลายประเทศ รวมทั้งไทย ถูกศาลอังกฤษตัดสินว่ากระทำผิดจริงและอาจต้องโทษจำคุกถึง 10 ปี ศาลอาญากลางในกรุงลอนดอนของอังกฤษ มีคำตัดสินเมื่อวานว่า นายเจมส์ แมคคอร์มิค นักธุรกิจชาวอังกฤษวัย 56 ปี เจ้าของบริษัท ATSC มีความผิดจริงข้อหาฉ้อฉล 3 กระทงจาก การจำหน่ายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดที่ใช้งานไม่ได้จริงและไม่มีพื้นฐานของหลักวิทยาศาสตร์ ให้กับหลายประเทศ รวมถึง อิรัก จอร์เจีย อียิปต์และไทย โดยจำหน่ายในราคาเครื่องละประมาณ 40,000 ดอลลาร์หรือ กว่า 1 ล้าน 1 แสนบาท เขารู้ดีว่าอุปกรณ์ของเขาที่มีหลายรุ่นใช้งานไม่ได้ แต่ก็อ้างประสิทธิภาพว่าสามารถตรวจจับ วัตถุระเบิดได้ทุกชนิดไม่ว่าจะอยู่ลึกลงไปใต้ดิน 1 กม. เหนือพื้นดิน 5 กม. และลึกลงไปใต้น้ำ ลึก 31 ม. รวมทั้งตรวจหาวัตถุอื่นๆได้ เช่น ยาเสพติด งาช้าง หรือ แม้แต่ธนบัตร แต่ปรากฏว่า ในความเป็นจริง อุปกรณ์ของเขามีเพียงเสาอากาศ ที่คล้ายเสาอากาศวิทยุ และไม่ได้เชื่อมต่อ อิเล็กทรอนิกส์ หรือมีแหล่งพลังงานใดๆในตัวเครื่อง เขาทำรายได้จากการขายอุปกรณ์เหล่านี้ ให้กับอิรักเพียงประเทศเดียว 6,000 เครื่องคิดเป็นเงินกว่า 40 ล้านดอลลาร์ช่วงระหว่างปี 2551-2553 บาท เครื่องตรวจระเบิดที่บริษัทของเขาผลิตและจำหน่ายมีหลายรุ่น เช่น เครื่อง ADE651 และ GT200 ซึ่งรุ่น GT200 เป็นรุ่นที่ทางการไทยซื้อมาและนำไปใช้ในพื้นที่ภาคใต้ และพบว่ามีปัญหาการทุจริต จัดซื้อในราคาแพง และสินค้าไม่มีประสิทธิภาพที่จะใช้ได้จริง ศาลอังกฤษนัดฟังคำตัดสินลงโทษแมคคอร์มิคในวันที่ 2 พ.ค.และเขาอาจต้องโทษจำคุกนานถึง 10 ปีสำหรับการก่ออาชญากรรมที่ขาดจิตสำนึกถึงความปลอดภัยของผู้ใช้งานที่หวังพึ่งอุปกรณ์ ตัวนี้ในการปกป้องและรักษาความปลอดภัยในชีวิตของตัวเอง เดิมในปี 2551 มีคนส่งเอกสารแจ้งเตือนถึงทางการอังกฤษว่า แมคคอร์มิคจำหน่ายเครื่องตรวจ ระเบิดปลอม ที่อาจทำให้ผู้ใช้งานเสี่ยงได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต แต่กลับไม่ได้รับความสนใดๆ จนกระทั่งในปี 2543 จึงมีการสั่งระงับการส่งออกอุปกรณ์ดังกล่าวไปยังอัฟกานิสถานและอิรัก และนายแมคคอร์มิคถูกจับกุม ขอบคุณ... http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=679084&lang=&cat=

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...