ความสามารถในการจัดการและชีวิต

แสดงความคิดเห็น

ความสำเร็จของสังคมหรือของบุคคลมีรากฐานมาจากความ สามารถในการจัดการ ผู้ที่มีความสุขในชีวิตล้วนเป็นผู้ประสบความสำเร็จในการจัดการทั้งสิ้น

การ จัดการ ซึ่งแปลมาจากคำว่า management นั้นอยู่รอบตัวมนุษย์อย่างนึกไม่ถึง บ่อยครั้งที่เรานึกถึงการจัดการในรูปแบบที่เป็นทางการ เช่น การจัดการขององค์กรไม่ว่ารัฐหรือเอกชน แต่เรามักมองข้ามการจัดการของสมาชิกอื่นๆ ของสังคม เช่น แม่บ้านในเรื่องการเลี้ยงอบรมดูลูก ทำงานบ้าน ปรุงอาหาร สอนลูกทำการบ้าน ฯลฯ และสำหรับ “single mums” หรือแม่ที่เลี้ยงดูลูกคนเดียวนั้น ทำงานหนักเหล่านี้แล้วยังทำงานหาเงินไปด้วยในเวลาเดียวกัน

ความสามารถในการจัดการของแม่บ้านเกี่ยวพันกับโลจิก ความเข้าใจลำดับความสำคัญของงาน การฝึกฝนทักษะ ความสามารถในการสื่อสาร ทักษะในการจัดการอารมณ์ของตนเองและของคนรอบข้าง วินัยในการดำรงชีวิต ความอดกลั้น ความอดทน ฯลฯ

แม่บ้านโดยเฉพาะ “single mums” ที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูก ผลิตคนดีที่สามารถยืนบนขาตนเองได้จึงเรียกได้ว่าเป็นนักบริหารจัดการตัวยงที เดียว

นักการทหาร แพทย์ พยาบาล เจ้าของธุรกิจ SME’s ตั้งแต่หาบเร่แผงลอย ขายข้าวแกง ฯลฯ จนถึงเจ้าของร้านอาหาร และผู้บริหารทุกระดับในองค์กรที่ประสบความสำเร็จ ล้วนแล้วแต่มีความสามารถในการจัดการทั้งสิ้น

การจัดการของมนุษย์นั้นอยู่ในสายเลือดตั้งแต่อพยพกันออกมาจากแอฟริกา เมื่อ 150,000-200,000 ปี ถ้าบรรพบุรุษของเราขาดความสามารถในการจัดการ ไม่ว่าในเรื่องการหาอาหาร ป้องกันตนเองและครอบครัวจากภัยต่างๆ สร้างที่อยู่อาศัย ประดิษฐ์เครื่องนุ่งห่ม สะสมภูมิปัญญาในเรื่องการรักษาตนเองจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว พวกเราคงไม่มีวันนี้กันเป็นแน่

มหาบุรุษคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ คือ เจิ้งเหิง (Zheng He (ค.ศ. 1371-1433" ขันทีมุสลิมผู้เป็นนักเดินเรือชาวจีนผู้ยิ่งใหญ่ของโลก นำขบวนเรือครั้งแรกเดินทางไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย (ครั้งที่ 3 มาถึงอยุธยาด้วย) และกลับอย่างปลอดภัยโดยใช้เรือถึง 317 ลำ รวมลูกเรือ 28,000 คน ถ้าหากไม่เข้าใจเรื่องโลจิสติกส์และไม่มีความสามารถในการจัดการอย่างเป็น เลิศแล้วขบวนเรือคงย่อยยับ ไม่มีโอกาสนำออกไปอีก 6 ครั้งเป็นแน่ (โคลัมบัสในปี 1492 นำขบวนเรือเพียง 6 ลำเดินทางไปทวีปอเมริกา)

นักคิดในประวัติศาสตร์โลกหลายคนได้เขียนเรื่องราวของการจัดการแทรกไว้ใน หนังสือ เช่น พระไตรปิฎก รามเกียรติ์ มหาภารตะ สามก๊ก The Art of War (โดยซุ่นหวู่เมื่อ 2,600 ปีก่อน) ฯลฯ ซึ่งถือได้ว่าเป็นตำราสอนผู้คนในวัฒนธรรมต่างๆ ของโลก

ความรู้เรื่องการจัดการสอดแทรกอยู่ในตำราเศรษฐศาสตร์เล่มสำคัญ คือ The Wealth of Nations โดย Adam Smith ใน ค.ศ. 1776 ซึ่งเน้นการทำงานที่มีประสิทธิภาพขององค์กรผ่านการแบ่งงานกันทำ (division of labor) Adam Smith เสนอให้เปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มผลิตภาพ (productivity) โดยยกตัวอย่างเรื่องการผลิตเข็ม แรงงานคนหนึ่งอาจผลิตเข็มได้วันละ 200 เล่ม แต่ถ้าแบ่งงานกันทำโดยเชี่ยวชาญกันคนละอย่าง เช่น ตัดลวด ฝนลวด ตกแต่งฯ จะผลิตเข็มได้วันละ 48,000 เล่ม สิ่งที่เขาบรรยายไว้นี้ก็คือรากฐานของระบบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมใน ปัจจุบัน

ในการเรียนเรื่องการจัดการอย่างเป็นเรื่องเป็นราวนั้น มีตำราเรื่องการจัดการเล่มแรกๆ ตั้งแต่ ค.ศ. 1890 เช่น Science of Management โดย Henry R. Towne

บุคคลที่เพิ่มองค์ความรู้และทำให้วิชาการจัดการแพร่หลายก็คือ Peter Drucker (ค.ศ. 1909-2005) เขาตีพิมพ์หนังสือเล่มสำคัญชื่อ Concept of Organization ในปี 1946 หลังจากที่ Harvard Business School เปิดหลักสูตร MBA ขึ้นเป็นครั้งแรกก่อนหน้านั้น 25 ปี และหลักสูตรนี้มีส่วนอย่างสำคัญที่ทำให้เกิดทฤษฎีการจัดการที่เด่นชัดขึ้นใน ค.ศ. 1920 อย่างไรก็ดีมันยังไม่ใช่ตำราเล่มแรกเกี่ยวกับการจัดการที่ใช้กันใน มหาวิทยาลัย ตำราเล่มแรกนั้นตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1911 โดย J.Duncan

เมื่อหันมาดูการดำเนินชีวิตของผู้คน ความสามารถในการจัดการในสองเรื่องเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้นั่นก็คือ (1) การครองชีวิต และ (2) การจัดการเรื่องเงิน

หากผู้ใดหรือครอบครัวใดครองชีวิตด้วยความประมาท ไม่ระมัดระวัง ไม่รอบคอบขาดปัญญาในการดำเนินชีวิตแล้วก็อาจไม่มีชีวิตที่มีความสุขได้ ชีวิตมนุษย์นั้นเปราะบางอย่างยิ่ง ความสามารถในเรื่องนี้เท่านั้นที่จะช่วยให้เอาชนะความเปราะบางของมันได้

สำหรับความสามารถในการจัดการเรื่องเงินนั้น ความมีวินัยในการบังคับใจตนเองให้มีอำนาจเหนือความปรารถนาในด้านวัตถุอย่าง มีเหตุมีผล มีความสมดุล บวกความสามารถในการจัดการให้เงินที่ตนอดออมได้นั้นงอกเงยเป็นหัวใจสำคัญ

การขาดความสามารถในการจัดการทั้งสองเรื่องข้างต้นซึ่งโดยแท้จริงแล้วเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออกจะนำไปสู่ชีวิตที่ขาดคุณภาพ

เมื่อชีวิตของมนุษย์ไม่มีรีแมช ความสามารถในการจัดการจึงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการหาความสุขจากชีวิตเดียวที่เรามีกัน...โดย : วรากรณ์ สามโกเศศ

ขอบคุณ http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/varakorn_s/20130416/500081/ความสามารถในการจัดการและชีวิต.html (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 16/04/2556 เวลา 04:11:33

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ความสำเร็จของสังคมหรือของบุคคลมีรากฐานมาจากความ สามารถในการจัดการ ผู้ที่มีความสุขในชีวิตล้วนเป็นผู้ประสบความสำเร็จในการจัดการทั้งสิ้น การ จัดการ ซึ่งแปลมาจากคำว่า management นั้นอยู่รอบตัวมนุษย์อย่างนึกไม่ถึง บ่อยครั้งที่เรานึกถึงการจัดการในรูปแบบที่เป็นทางการ เช่น การจัดการขององค์กรไม่ว่ารัฐหรือเอกชน แต่เรามักมองข้ามการจัดการของสมาชิกอื่นๆ ของสังคม เช่น แม่บ้านในเรื่องการเลี้ยงอบรมดูลูก ทำงานบ้าน ปรุงอาหาร สอนลูกทำการบ้าน ฯลฯ และสำหรับ “single mums” หรือแม่ที่เลี้ยงดูลูกคนเดียวนั้น ทำงานหนักเหล่านี้แล้วยังทำงานหาเงินไปด้วยในเวลาเดียวกัน ความสามารถในการจัดการของแม่บ้านเกี่ยวพันกับโลจิก ความเข้าใจลำดับความสำคัญของงาน การฝึกฝนทักษะ ความสามารถในการสื่อสาร ทักษะในการจัดการอารมณ์ของตนเองและของคนรอบข้าง วินัยในการดำรงชีวิต ความอดกลั้น ความอดทน ฯลฯ แม่บ้านโดยเฉพาะ “single mums” ที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูก ผลิตคนดีที่สามารถยืนบนขาตนเองได้จึงเรียกได้ว่าเป็นนักบริหารจัดการตัวยงที เดียว นักการทหาร แพทย์ พยาบาล เจ้าของธุรกิจ SME’s ตั้งแต่หาบเร่แผงลอย ขายข้าวแกง ฯลฯ จนถึงเจ้าของร้านอาหาร และผู้บริหารทุกระดับในองค์กรที่ประสบความสำเร็จ ล้วนแล้วแต่มีความสามารถในการจัดการทั้งสิ้น การจัดการของมนุษย์นั้นอยู่ในสายเลือดตั้งแต่อพยพกันออกมาจากแอฟริกา เมื่อ 150,000-200,000 ปี ถ้าบรรพบุรุษของเราขาดความสามารถในการจัดการ ไม่ว่าในเรื่องการหาอาหาร ป้องกันตนเองและครอบครัวจากภัยต่างๆ สร้างที่อยู่อาศัย ประดิษฐ์เครื่องนุ่งห่ม สะสมภูมิปัญญาในเรื่องการรักษาตนเองจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว พวกเราคงไม่มีวันนี้กันเป็นแน่ มหาบุรุษคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ คือ เจิ้งเหิง (Zheng He (ค.ศ. 1371-1433)) ขันทีมุสลิมผู้เป็นนักเดินเรือชาวจีนผู้ยิ่งใหญ่ของโลก นำขบวนเรือครั้งแรกเดินทางไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย (ครั้งที่ 3 มาถึงอยุธยาด้วย) และกลับอย่างปลอดภัยโดยใช้เรือถึง 317 ลำ รวมลูกเรือ 28,000 คน ถ้าหากไม่เข้าใจเรื่องโลจิสติกส์และไม่มีความสามารถในการจัดการอย่างเป็น เลิศแล้วขบวนเรือคงย่อยยับ ไม่มีโอกาสนำออกไปอีก 6 ครั้งเป็นแน่ (โคลัมบัสในปี 1492 นำขบวนเรือเพียง 6 ลำเดินทางไปทวีปอเมริกา) นักคิดในประวัติศาสตร์โลกหลายคนได้เขียนเรื่องราวของการจัดการแทรกไว้ใน หนังสือ เช่น พระไตรปิฎก รามเกียรติ์ มหาภารตะ สามก๊ก The Art of War (โดยซุ่นหวู่เมื่อ 2,600 ปีก่อน) ฯลฯ ซึ่งถือได้ว่าเป็นตำราสอนผู้คนในวัฒนธรรมต่างๆ ของโลก ความรู้เรื่องการจัดการสอดแทรกอยู่ในตำราเศรษฐศาสตร์เล่มสำคัญ คือ The Wealth of Nations โดย Adam Smith ใน ค.ศ. 1776 ซึ่งเน้นการทำงานที่มีประสิทธิภาพขององค์กรผ่านการแบ่งงานกันทำ (division of labor) Adam Smith เสนอให้เปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มผลิตภาพ (productivity) โดยยกตัวอย่างเรื่องการผลิตเข็ม แรงงานคนหนึ่งอาจผลิตเข็มได้วันละ 200 เล่ม แต่ถ้าแบ่งงานกันทำโดยเชี่ยวชาญกันคนละอย่าง เช่น ตัดลวด ฝนลวด ตกแต่งฯ จะผลิตเข็มได้วันละ 48,000 เล่ม สิ่งที่เขาบรรยายไว้นี้ก็คือรากฐานของระบบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมใน ปัจจุบัน ในการเรียนเรื่องการจัดการอย่างเป็นเรื่องเป็นราวนั้น มีตำราเรื่องการจัดการเล่มแรกๆ ตั้งแต่ ค.ศ. 1890 เช่น Science of Management โดย Henry R. Towne บุคคลที่เพิ่มองค์ความรู้และทำให้วิชาการจัดการแพร่หลายก็คือ Peter Drucker (ค.ศ. 1909-2005) เขาตีพิมพ์หนังสือเล่มสำคัญชื่อ Concept of Organization ในปี 1946 หลังจากที่ Harvard Business School เปิดหลักสูตร MBA ขึ้นเป็นครั้งแรกก่อนหน้านั้น 25 ปี และหลักสูตรนี้มีส่วนอย่างสำคัญที่ทำให้เกิดทฤษฎีการจัดการที่เด่นชัดขึ้นใน ค.ศ. 1920 อย่างไรก็ดีมันยังไม่ใช่ตำราเล่มแรกเกี่ยวกับการจัดการที่ใช้กันใน มหาวิทยาลัย ตำราเล่มแรกนั้นตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1911 โดย J.Duncan เมื่อหันมาดูการดำเนินชีวิตของผู้คน ความสามารถในการจัดการในสองเรื่องเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้นั่นก็คือ (1) การครองชีวิต และ (2) การจัดการเรื่องเงิน หากผู้ใดหรือครอบครัวใดครองชีวิตด้วยความประมาท ไม่ระมัดระวัง ไม่รอบคอบขาดปัญญาในการดำเนินชีวิตแล้วก็อาจไม่มีชีวิตที่มีความสุขได้ ชีวิตมนุษย์นั้นเปราะบางอย่างยิ่ง ความสามารถในเรื่องนี้เท่านั้นที่จะช่วยให้เอาชนะความเปราะบางของมันได้ สำหรับความสามารถในการจัดการเรื่องเงินนั้น ความมีวินัยในการบังคับใจตนเองให้มีอำนาจเหนือความปรารถนาในด้านวัตถุอย่าง มีเหตุมีผล มีความสมดุล บวกความสามารถในการจัดการให้เงินที่ตนอดออมได้นั้นงอกเงยเป็นหัวใจสำคัญ การขาดความสามารถในการจัดการทั้งสองเรื่องข้างต้นซึ่งโดยแท้จริงแล้วเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออกจะนำไปสู่ชีวิตที่ขาดคุณภาพ เมื่อชีวิตของมนุษย์ไม่มีรีแมช ความสามารถในการจัดการจึงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการหาความสุขจากชีวิตเดียวที่เรามีกัน...โดย : วรากรณ์ สามโกเศศ ขอบคุณ http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/varakorn_s/20130416/500081/ความสามารถในการจัดการและชีวิต.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...