CSR แห่งความรัก

แสดงความคิดเห็น

CSR แห่งความรัก

โดย : ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 14 ก.พ.56

http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/pipat/20130214/490315/CSR-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81.html (ขนาดไฟล์: 167)

ชาว CSR ต้องไม่เลือกที่จะรักสังคมเพียงบางช่วงเวลา ขณะที่ในเวลาอื่น ยังคงสร้างผลกระทบทางลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างไม่รับผิดชอบ

วันนี้เป็นวันแห่งความรัก ชาว CSR ที่ทำงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม อาจจะมีวิธีแสดงความรักต่อสังคมที่แตกต่างกันไป บทความหน้าต่าง CSR ในวันแห่งความรักนี้ จึงขอประมวลวิธีแสดงความรักของชาว CSR ที่มีต่อสังคมใน 3 ประเภท ดังนี้

ชาว CSR ประเภท ‘รักที่จะให้’ คือ การดำเนินกิจกรรมของหน่วยงานที่ชาว CSR กลุ่มนี้สังกัดอยู่ ซึ่งโดยมากเป็นองค์กรธุรกิจที่แสวงหากำไร ในรูปของการให้ การบริจาค และการอาสาสมัคร เพื่อสร้างให้เกิดประโยชน์แก่สังคมในด้านต่างๆ โดยกิจกรรมที่ดำเนินการนั้น มักแยกต่างหากจากการดำเนินธุรกิจที่เป็นกระบวนการหลักของกิจการและเกิดขึ้นภายหลัง เช่น การแจกจ่ายสิ่งของช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆ การบริจาคเงิน วัสดุใช้สอยให้แก่ชุมชนรอบถิ่นที่ตั้งของสถานประกอบการ การเป็นอาสาสมัครช่วยบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เรียกว่า CSR-after-process และมักเป็นกิจกรรมที่อยู่นอกเหนือเวลาทำงานตามปกติ

ชาว CSR ประเภท ‘รักที่จะทำ’ คือ การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการทำงานของชาว CSR หรือเป็นการทำธุรกิจที่หากำไรอย่างมีความรับผิดชอบ เช่น การป้องกันหรือกำจัดมลพิษในกระบวนการผลิตเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชน การผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามข้อกำหนดในฉลากผลิตภัณฑ์ การเปิดเผยข้อมูลผลิตภัณฑ์อย่างถูกต้องครบถ้วนต่อผู้บริโภค การชดเชยความเสียหายให้แก่ลูกค้าที่เกิดจากความผิดพลาดและความบกพร่องของพนักงาน ซึ่งการดำเนินความรับผิดชอบเหล่านี้ เรียกว่า CSR-in-process และมักเป็นกิจกรรมที่อยู่ในเวลาทำงานปกติของกิจการ

ชาว CSR ประเภท ‘รักที่จะเป็น’ คือ การก่อตั้งหรือปรับเปลี่ยนองค์กรหรือหน่วยงานของชาว CSR ที่เกิดจากการผสมผสานอุดมการณ์ในแบบนักพัฒนาสังคมเข้ากับการบริหารจัดการในแบบผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นการผนวกจุดแข็งระหว่างแผนงานของภาคประชาสังคมกับกระบวนการที่มีประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ในอันที่จะสร้างให้เกิดประโยชน์แก่สังคมในทุกกระบวนการของกิจการ ขณะเดียวกันก็สามารถอยู่รอดได้ด้วยการพึ่งพาการดำเนินงานของตนเอง แทนการสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอกหรือได้รับการอุดหนุนจากภาษีของประชาชน ซึ่งการดำเนินงานในลักษณะนี้ เรียกว่าเป็น CSR-as-process และชาว CSR ที่บริหารองค์กรเหล่านี้ มักเรียกตัวเองว่า ผู้ประกอบการสังคม (social entrepreneur)

อันที่จริงในทุกองค์กร ล้วนแต่มีการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่แล้วทั้งสิ้น จะต่างกันก็ตรงความเข้มข้นของการดำเนินงานที่มีมากน้อยไม่เหมือนกัน องค์กรหนึ่งอาจมีความสำนึกรับผิดชอบสูงกว่า ขณะที่อีกองค์กรหนึ่งอาจมีการใช้ทรัพยากรในการดำเนิน CSR ได้อย่างมีประสิทธิภาพดีกว่า หรือองค์กรหนึ่งอาจสร้างให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมได้อย่างกว้างขวางกว่า หรือองค์กรอีกแห่งหนึ่งอาจส่งมอบผลลัพธ์จากการดำเนิน CSR ให้แก่สังคมได้ประสิทธิผลมากกว่า ดังนั้น การพิจารณาเรื่อง CSR ในองค์กรหนึ่งๆ จึงต้องคำนึงถึงทั้ง ‘วิธีการ-ผลลัพธ์’ ควบคู่กัน

แต่ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความรักด้วยวิธีใดก็ตาม อย่างน้อยที่สุด สังคมจะได้รับการดูแลและเอาใจใส่จากชาว CSR ไม่มากก็น้อย สิ่งสำคัญคือ ชาว CSR ต้องไม่เลือกที่จะรักสังคมเพียงบางช่วงเวลา ขณะที่ในเวลาอื่น ยังคงสร้างผลกระทบทางลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างไม่รับผิดชอบ หรือขาดความตระหนักในคุณค่าแห่งความรักที่มอบให้แก่กัน จนทำให้นิยามของ CSR แห่งความรัก กลายเป็นเรื่อง ‘ลูบหน้าปะจมูก’ หรือ ‘ตบหัวแล้วลูบหลัง’ ที่ไปบั่นทอนคุณค่าของเรื่อง CSR ลงอย่างน่าเสียดาย

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่โพสต์: 14/02/2556 เวลา 04:23:38

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

CSR แห่งความรัก โดย : ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 14 ก.พ.56 http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/pipat/20130214/490315/CSR-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81.html ชาว CSR ต้องไม่เลือกที่จะรักสังคมเพียงบางช่วงเวลา ขณะที่ในเวลาอื่น ยังคงสร้างผลกระทบทางลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างไม่รับผิดชอบ วันนี้เป็นวันแห่งความรัก ชาว CSR ที่ทำงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม อาจจะมีวิธีแสดงความรักต่อสังคมที่แตกต่างกันไป บทความหน้าต่าง CSR ในวันแห่งความรักนี้ จึงขอประมวลวิธีแสดงความรักของชาว CSR ที่มีต่อสังคมใน 3 ประเภท ดังนี้ ชาว CSR ประเภท ‘รักที่จะให้’ คือ การดำเนินกิจกรรมของหน่วยงานที่ชาว CSR กลุ่มนี้สังกัดอยู่ ซึ่งโดยมากเป็นองค์กรธุรกิจที่แสวงหากำไร ในรูปของการให้ การบริจาค และการอาสาสมัคร เพื่อสร้างให้เกิดประโยชน์แก่สังคมในด้านต่างๆ โดยกิจกรรมที่ดำเนินการนั้น มักแยกต่างหากจากการดำเนินธุรกิจที่เป็นกระบวนการหลักของกิจการและเกิดขึ้นภายหลัง เช่น การแจกจ่ายสิ่งของช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆ การบริจาคเงิน วัสดุใช้สอยให้แก่ชุมชนรอบถิ่นที่ตั้งของสถานประกอบการ การเป็นอาสาสมัครช่วยบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เรียกว่า CSR-after-process และมักเป็นกิจกรรมที่อยู่นอกเหนือเวลาทำงานตามปกติ ชาว CSR ประเภท ‘รักที่จะทำ’ คือ การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการทำงานของชาว CSR หรือเป็นการทำธุรกิจที่หากำไรอย่างมีความรับผิดชอบ เช่น การป้องกันหรือกำจัดมลพิษในกระบวนการผลิตเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชน การผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามข้อกำหนดในฉลากผลิตภัณฑ์ การเปิดเผยข้อมูลผลิตภัณฑ์อย่างถูกต้องครบถ้วนต่อผู้บริโภค การชดเชยความเสียหายให้แก่ลูกค้าที่เกิดจากความผิดพลาดและความบกพร่องของพนักงาน ซึ่งการดำเนินความรับผิดชอบเหล่านี้ เรียกว่า CSR-in-process และมักเป็นกิจกรรมที่อยู่ในเวลาทำงานปกติของกิจการ ชาว CSR ประเภท ‘รักที่จะเป็น’ คือ การก่อตั้งหรือปรับเปลี่ยนองค์กรหรือหน่วยงานของชาว CSR ที่เกิดจากการผสมผสานอุดมการณ์ในแบบนักพัฒนาสังคมเข้ากับการบริหารจัดการในแบบผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นการผนวกจุดแข็งระหว่างแผนงานของภาคประชาสังคมกับกระบวนการที่มีประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ในอันที่จะสร้างให้เกิดประโยชน์แก่สังคมในทุกกระบวนการของกิจการ ขณะเดียวกันก็สามารถอยู่รอดได้ด้วยการพึ่งพาการดำเนินงานของตนเอง แทนการสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอกหรือได้รับการอุดหนุนจากภาษีของประชาชน ซึ่งการดำเนินงานในลักษณะนี้ เรียกว่าเป็น CSR-as-process และชาว CSR ที่บริหารองค์กรเหล่านี้ มักเรียกตัวเองว่า ผู้ประกอบการสังคม (social entrepreneur) อันที่จริงในทุกองค์กร ล้วนแต่มีการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่แล้วทั้งสิ้น จะต่างกันก็ตรงความเข้มข้นของการดำเนินงานที่มีมากน้อยไม่เหมือนกัน องค์กรหนึ่งอาจมีความสำนึกรับผิดชอบสูงกว่า ขณะที่อีกองค์กรหนึ่งอาจมีการใช้ทรัพยากรในการดำเนิน CSR ได้อย่างมีประสิทธิภาพดีกว่า หรือองค์กรหนึ่งอาจสร้างให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมได้อย่างกว้างขวางกว่า หรือองค์กรอีกแห่งหนึ่งอาจส่งมอบผลลัพธ์จากการดำเนิน CSR ให้แก่สังคมได้ประสิทธิผลมากกว่า ดังนั้น การพิจารณาเรื่อง CSR ในองค์กรหนึ่งๆ จึงต้องคำนึงถึงทั้ง ‘วิธีการ-ผลลัพธ์’ ควบคู่กัน แต่ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความรักด้วยวิธีใดก็ตาม อย่างน้อยที่สุด สังคมจะได้รับการดูแลและเอาใจใส่จากชาว CSR ไม่มากก็น้อย สิ่งสำคัญคือ ชาว CSR ต้องไม่เลือกที่จะรักสังคมเพียงบางช่วงเวลา ขณะที่ในเวลาอื่น ยังคงสร้างผลกระทบทางลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างไม่รับผิดชอบ หรือขาดความตระหนักในคุณค่าแห่งความรักที่มอบให้แก่กัน จนทำให้นิยามของ CSR แห่งความรัก กลายเป็นเรื่อง ‘ลูบหน้าปะจมูก’ หรือ ‘ตบหัวแล้วลูบหลัง’ ที่ไปบั่นทอนคุณค่าของเรื่อง CSR ลงอย่างน่าเสียดาย

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...